ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พรีเซ้น - พุทธปรัชญา

    ลำดับตอนที่ #18 : พุทธปรัชญา - ปัญหาการทำแท้ง

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 526
      0
      20 ก.พ. 54

    การทำแท้ง

    การทำแท้งตามหลักของพุทธปรัชญา ไม่เห็นด้วยและไม่คัดค้าน ไม่พยายามที่จะตัดสิน

    เพราะพระพุทธศาสนาไม่ใช่ศาสนาแห่งการสั่ง บังคับ กฎจริยธรรมไม่ใช่เป็นคำสั่งของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสว่าพระองค์เป็นเพียงผู้ค้นพบความจริง แล้วก็นำเอาความจริงนั้นมาแสดง การที่ว่าบุคคลทำอะไรไปแล้วจะได้รับผลอย่างไรก็เป็นไปตามกฎเกณฑ์แห่งเหตุผลหรือกฎเกณฑ์แห่งเหตุปัจจัยจากการกระทำของตนเอง พระพุทธเจ้าไม่ได้มาลงโทษหรือให้รางวัลใคร

    หลักพุทธปรัชญาได้เสนอทัศนะให้มองการทำแท้งอยู่ในสองส่วนด้วยกัน คือ ๑ .หลักของการมองความจริงนั้นว่าเป็นเช่นไร และ ๒.หลักของการตัดสินใจว่าจะเลือกกระทำเช่นไร แต่มีข้อแม้ว่า ต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ต้นเลือกกระทำ 

    การทำแท้งจึงตามหลักของพุทธปรัชญา เพราะให้เราใช้ปัญญาในการเลือกกระทำ และรับผิดชอบ (พุทธปรัชญามีแนวคิดแบบเป็นกลางๆ และไม่พยายามที่จะตัดสิน คำตอบของพุทธปรัชญาเป็นคำตอบที่ไม่สิ้นสุดและตายตัวเหมือนพุทธศาสนา ) แต่หลักพุทธศาสนาการทำแท้งผิดแน่นอน ทุกประการ เพราะเป็นการทำลายชีวิต ผิดศีลธรรม

    Ex. ตามทัศนะของพุทธปรัชญา เมื่อเรารับรู้ความจริงบางประการเช่น รับรู้ว่าลูกที่จะคลอดออกมาพิการ หรือ อาจทำให้มารดาตาย ดังนั้น ถ้าเป็นเราเราก็พิจารณาว่าจะทำแท้ง เพราะเป็นการรับรู้ความจริงแล้วเลือกที่จะกระทำ และยอมรับผลในการกระทำ ซึ่งพุทธปรัชญาไม่ได้มีอำนาจชี้วัดหรือตัดสินในการกระทำนั้นๆ

    -           แต่ตามหลักพุทธศาสนา ซึ่งเห็นว่าการทำแท้งนั้นเป็นการทำลายชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม ก็คือการผิดศีลธรรม เป็นบาป แต่บาปมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเจตนา พุทธศาสนามิได้ห้ามแต่ให้เว้น

    แนวทางการแก้ปัญหาของพุทธปรัชญา

           -การครองชีวิตโดยใช้สติ(ดำรงชีวิตโดยความไม่ประมาท) ระลึกถึง อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต เพราะป้องกันไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ เมื่อไม่ตั้งครรภ์ก็ไม่มีการทำแท้ง (ไม่ว่าจะทำอะไรก็ต้องคิดให้ดีถึงผลของการกระทำ และรู้จักรับผิดชอบในผลของการกระทำทุกประการ)

           -รับรู้ความจริง โดยใช้ปัญญา

            กรณีมีการตั้งครรภ์แล้วโดยไม่พึงประสงค์ และมองอย่างองค์รวมในการแก้ปัญหา รับผิดชอบต่อการกระทำที่เกิดขึ้น ซึ่งเราต้องเข้าใจว่าการกระทำเหล่านั้นขึ้นอยู่กับกฎของกรรมหรือกฎของเหตุผล

     

    ไม่เข้าใจตรงไหนถามหวายได้นะ ในfb หรือ โทรมาก็ได้  

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×