ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    =~คลังความรู้~=

    ลำดับตอนที่ #150 : ประสบการณ์เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ตอนที่ 2~

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 289
      1
      15 มิ.ย. 50

    ประสบการณ์ในการเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ตอนที่ 2 ┈━═☆



    พี่แทน mugglethai

    Hun04_napason1 Ita04_pichaya Love_afs3 Love_afs2  

    สำหรับเรื่องนี้เป็นประสบการณ์จริงของพี่แทน นักเรียนแลกเปลี่ยน AFS รุ่น 45 ค่ะ

    (ปัจจุบันรุ่นที่ 47 พ.ศ.2551-2552)

    ซึ่งได้ให้ข้อมูล รุ่นน้องที่จะสมัครทุนของ AFS

     เพื่อเป็นแนวทางในการสอบ การสอบสัมภาษณ์ และการเตรียมตัวไปต่างประเทศ

    สำหรับเพื่อนๆที่สนใจสอบทุน AFS ก็อย่าลืมอ่านเพื่อเตรียมตัวก่อนนะคะ

     


    สอบสัมภาษณ์

    เมื่อเราผ่านเข้ามาสู่การสอบสัมภาษณ์ ซึ่งจะสอบที่โรงเรียนเดิมที่เราสอบข้อเขียนครับ การสอบ เขาจะคัดคนที่มีทักษะความคิดอ่านเขียนดีมาก่อน ซึ่งจะดูจากสอบข้อเขียน ต่อมา เขาก็จะต้องดูบุคลิก นิสัยของเรา และศักยภาพของเรา โดยดูจากการสอบสัมภาษณ์ โดยที่การสอบรอบนี้ จะใช้เวลา "ทั้งวัน"

    Q :
    มีอะไรบ้าง

    A :
    การสอบสัมภาษณ์นั้น ใช้เวลาทั้งวัน ซึ่งสิ่งแรกเลยที่เขาจะให้เราทำคือ เข้าไปในห้องสอบ แล้วแจกกระดาษที่มีคำถามแปลกๆ ซึ่งคงจะเดาออกเลยว่า เขาจะถามความเป็นตัวของเรา โดยที่คำถามจะเป็นแนวๆของ

    ถ้ามี......คุณนึกถึงอะไร
    ใครคือ Hero ของคุณ
    นิสัยของคุณ

    จะถามอะไรที่มันเกี่ยวกับตัวเรา และ อย่าเขียนเล่นเลยนะ เพราะกระดาษคำถามพวกนี้ เขาจะอ่าน แล้วใช้สัมภาษณ์เรา ดังนั้น เขียนคำตอบที่มันตรงกับตัวเราไป แล้วเราควรจะอธิบายคำตอบของเราให้ได้ด้วย ไม่ต้องเครียดกับข้อสอบอันนี้ ที่จริง เขาให้เราเขียนๆไป แล้วเขาจะอ่าน ไม่ได้มีคะแนนอะไรมากมาย เป็นการอ่านใจเรา แล้วนำข้อมูลพวกนี้มาถามเราหากเขาจะถาม

    ห้องสอบห้องนึง จะมีคนประมาณ 10 กว่าคนเท่านั้นเอง ดังนั้น เราจึงต้องทำความรู้จักกับเพื่อนๆเหล่านี้ ขอย้ำว่า ต้องทำ

    การสอบสัมภาษณ์ เขาจะจ้องมองคุณตั้งแต่วินาทีแรกที่คุณเดินมาที่ห้องสอบ เขาจะจับตามองคุณไปเรื่อยๆ ว่าคุณทำอะไร ยังไง มีความกล้าแค่ไหน การที่คุณทำความรู้จักกับเพื่อนเหล่านั้น เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะเราต้องทำกิจกรรมด้วยกัน ทั้งวัน นอกเหนือจากการสัมภาษณ์ตัวต่อตัว และอาจารย์ที่คุมห้องสอบเรา ก็จะสังเกตการณ์เราทั้งวันด้วย เขาจะมีรายชื่อของพวกเรา คอยดูเราตลอดทั้งวัน


    และที่ห่วงมากคือ เขาอยากเห็นพวกเรากล้า แต่ไม่อยากเห็นการแสดงของเรา หรือการเสแสร้ง ไม่ใช่ว่าเราบอกให้ทำความรู้จักกับเพื่อนๆ คุณจะถามชื่อคนนั้นคนนี้แล้วแนะนำตัวเองทื่อๆ เหมือนกับว่า ทำมา เพราะเขาให้ทำ มันไม่ใช่ ที่เราทำ เพราะ เราต้องทำ การแนะนำตัวเป็นเรื่องที่สำคัญมากในสังคมต่างชาติ คนไทยไม่มีวัฒนธรรมที่แนะนำตัว ส่วนมาก อย่างที่เห็น ทักทาย แล้วก็อุอิๆๆๆ ไม่พูดไม่จา แบบนี้ เข้าสังคมต่างชาติไม่ได้ เวลาเจอกัน ก็ทักทายเลย คุยกันนิดหน่อย แล้วเราก็ต้องถามชื่อเขา แล้วแนะนำตัวเอง


    อย่านึกว่า พวกนี้ ไม่ใช่คนที่เรารู้จัก เราก็ไม่สนใจเขา เราอยู่ของเราได้ เราทำกิจกรรมกับเขาได้ แต่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปคุยกับเขา...เฮ้อ เพื่อนเราอยู่อีกห้อง ทำไมเราไม่ได้อยู่กับเพื่อนยนะ เดี๋ยวเวลาพัก ไปหาเขาดีกว่า

    ห้ามคิดแบบนี้เป็นอันขาด!!!! หากเรายังมัวแต่อยู่ในโลกของเรา ไม่ปรับเข้าหาคนอื่น คุณจะล้มเหลวในการสอบสัมภาษณ์ทันที คุณต้องปรับตัวให้เข้ากับคนอื่น อย่ามาหวังว่าจะให้เขาปรับตัวเข้าหาเรา แต่ละฝ่าย มีหน้าที่ปรับเข้าหากัน แล้วทุกอย่างจะลงตัว

    การสอบสัมภาษณ์เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน ทุกวินาทีของคุณในการสอบ มีผลต่อคะแนนคุณทั้งนั้น ดังนั้น จงเป็นตัวของตัวเอง หากคุณขี้อาย หรือเป็นคนพูดน้อย จงเปิดกว้าง พยายามคุยกับคนอื่น ที่สำคัญ ยิ้มแย้มแจ่มใส เมืองไทย สยามเมืองยิ้ม อย่าลืม หากคุณเป็นคนอารมณ์ดี ช่างพูดอยู่แล้ว กล้าอยู่แล้ว ก็อย่าพูดให้มันมากนัก อย่าทำตัวเด่น ให้โอกาสคนอื่นได้แสดงออกบ้าง เราก็ต้องมีลิมิตด้วย อย่าลืม

    ที่เราพูดมานี่ ยังไม่เข้าการสัมภาษณ์เลย แต่มันเป็นจุดสำคัญที่เราต้องจำไว้เลย และการสอบสัมภาษณ์ จะมีรุ่นพี่ที่ติด AFS มาคอยดูแลเรา ยังไง ทำความรู้จักกับพี่เขาไว้ และสังเกตเลยว่า รุ่นพี่ AFS ทุกคน จะช่างพูดช่างจา กล้าแสดงออก AFS ต้องการคนแบบนั้นครับ เพราะเราต้องดิ้นรน หาทางเอาตัวรอดในสังคมต่างชาติ อย่าลืม

    หากเราได้เพื่อนในวันนั้น ทุกอย่างจะดีขึ้นเรื่อยๆ เราจะมีเพื่อนคอยแนะนำ หรือ แชร์ความรู้สึกด้วยกัน ช่วยกันแนะว่า พอถึงเวลาเข้าสอบสัมภาษณ์ตัวต่อตัว จะต้องทำอย่างไร เราน่าจะตอบยังไง ความรู้สึกเราในตอนนั้นคือ เพื่อนๆแต่ละคน เข้าไปในห้องสอบ ทีละคน...ทีละคน แล้วหายเงียบอยู่ในนั้นเป็นเวลา 20 นาที บางราย ถึง ครึ่งชั่วโมง พอออกมา ทุกคนที่รออยู่ ต่างอยากรู้อยากเห็น ก็จะถามทุกคนที่ออกมาว่า เป็นอย่างไรบ้าง? เราก็พยายามฟังเพื่อน แล้วพยายามทำสมาธิ อย่าลนลาน หากเราตื่นเต้น ก็คิดเสียว่า เพื่อนข้างๆเราทุกคน ก็ตื่นเต้น เราทุกคนมีจุดประสงค์เดียวกันอยู่แล้ว คุยกับเพื่อน ทำสมาธิ หายใจเข้าออกช้าๆ หรือจะหันไปคุยกับพี่ๆก็ได้
    บางคนออกมาหน้าตายิ้มแย้ม บางคน ออกมา แทบจะเป็นลม อันนี้ขอสาบานว่าเป็นเรื่องจริง บางคนออกมา เหมือนจะเป็นลมแล้ว พอเราถามว่าเกิดอะไรขึ้น เพื่อนคนนั้นตอบว่า อาจารย์ถามเราไล่ๆเรามาจน จนมุม ตอบไม่ได้แล้ว

    ดังนั้น จำไว้เลยว่า อาจารย์ จะพยายามหาจุดอ่อนเรา แล้วต้อนเราให้จนมุม นี่คือ 1 ล่ะที่เพื่อนๆต้องจำไว้เลย

    Q :
    แล้วทำอย่างไร ไม่ให้อาจารย์เห็นจุดอ่อนเรา หรือว่า ต้อนเราจน เราตอบไม่ได้ล่ะ?
    A :
    มันขึ้นอยู่กับบุคลิกของเราด้วยว่า เวลาเราพูด จะทำให้อาจารย์เชื่อถือเราแค่ไหน เราต้องพูดด้วยความหนักแน่น แล้วอย่าทำหน้าเครียด และอย่านั่งทื่อๆ ที่ผมทำในตอนนั้นคือ พยายามยิ้มมากๆ แต่ไม่ใช่อีบ้ายิ้มตลอดเวลานะ และเราก็จะต้องพูดด้วยความเร็วที่พอฟังได้ อย่ายานคาง ไม่ใช่พูดไป ก็ อ่าฮะๆๆๆๆ เอ่อ....

    อย่าลังเล จะพูดก็พูด หากนึกไม่ออก ก็บอกตรงๆเลยว่า ขอเวลาคิด อย่าเงียบ และเวลานั่ง ขยับเก้าอี้เข้ามาให้ชิดโต๊ะ ให้มันกระชับที่สุด ทำท่าทางให้ผู้สัมภาษณ์มองเราว่า เราไม่กลัว ไม่ประหม่า ขยับตัวเล็กน้อย เพื่อกำจัดความตื่นเต้น และขยับตัวเล็กน้อย เพื่อให้เขามองว่า เราเป็นคนที่กระฉับกระเฉง อย่างที่เราทำตอนนั้นคือ ตอบคำถามไป บางที ก็ขยับเก้าอี้เล็กน้อย ปรับท่านั่ง ทำให้มันเป็นกันเองที่สุด และเราต้อง Active ถึงที่สุด แต่ไม่ใช่ ไฮเปอร์

    ก้าวแรกที่เข้าไปในห้องสอบสัมภาษณ์

    ก้าวแรกที่จะเข้าไปในห้องสอบ คงจะเป็นจุดเริ่มต้นเลยที่อาจารย์จะให้คะแนน เราจะเดินตัวสั่นเข้าไป? หรือเดินยิ้มแหะๆเหมือนพวกสติไม่ดีเข้าไป หรือ เราจะเดินเข้าไปอย่างเรียบๆ พร้อมจะตอบคำถาม หรือเราจะเดินไปด้วยความมั่นใจ ยิ้มแย้มทักทายอาจารย์ หรืออาจจะเดินเข้าไปด้วยความมั่นใจ จนลืมมารยาท?

    ทางที่ดี หากคุณเข้าไปแล้ว อย่าแสดงให้เห็นว่า ประหม่า คุณไม่จำเป็นว่าเดินเข้าไปต้องยิ้มแย้ม หรือแสดงท่าทีว่า เรามั่นใจนะ แต่ที่เราควรทำมากๆเลยคือ กล่าวทักทายอาจารย์ครับ เราคนไทย ทักทายท่านไว้ เราไม่รู้ว่าคนที่สัมภาษณ์เราน่ะคือใคร แต่ยังไง เรียกท่านว่า อาจารย์ครับ เรียกให้ติดปาก ครับ/ค่ะ ห้ามลืม พอเข้าไป ก็ทักทายเลย สวัสดีครับอาจารย์!


    Q :
    สภาพห้องสอบ
    ?
    A :
    สภาพในห้องสอบนั้น จะมี โต๊ะ 2-3 ตัววางเรียงกันมีอาจารย์ 2-4 ท่านนั่งอยู่ และอีกฝั่ง คือ เก้าอี้ ให้เรานั่ง เราคนเดียว ต่ออาจารย์ อีก 2-4 คน อาจารย์ จะถามเราทีละคน แต่จะมี 1 คน ที่คอยจดบันทึก อาจารย์บางท่าน อาจจะ เป็นมิตร บางท่าน ถามด้วยหน้าตาเคร่งเครียด คนแบบนี้มีทุกประเภท ที่เราควรคำคือ ยังไง เราก็เป็นมิตรไว้ก่อนดีกว่า เราอย่าไปกลัวเขาละกัน หน้าที่ของเราคือ ทำตรงนั้นให้ดีที่สุด ใครจะถาม ก็ช่างเขา แต่ เราเป็นมิตรกับเขาไว้ และอย่าลืม ต้องมองตาด้วยเวลาพูด บางห้อง อาจจะถามโดยใช้ภาษาอังกฤษมากหน่อย บางห้องอาจจะถาม อังกฤษครึ่งนึง ไทยอีกครึ่งนึง บางห้องอาจจะถามเป็นภาษาไทยเยอะมากเป็นส่วนใหญ่ ยังไงตรงนี้ มันแล้วแต่ดวง อาสัยถามเพื่อนๆที่สอบก่อนหน้าเราก็ได้ ว่าอาจารย์ถามอะไร
    ?

    พอเราเข้าไป ทักทายแล้ว อาจารย์ อาจจะถามเรานิดหน่อย เป็นยังไงบ้าง ก่อนที่จะเข้าเรื่อง

    สิ่งที่อาจารย์บางท่านจะให้เราทำเลยคือ ให้เราแนะนำตัวเองก่อน บางคนอาจจะต้องโดนเป็นภาษาไทย บางห้องเป็นภาษาอังกฤษ หรือบางห้อง อาจารย์ จะศึกษาประวัติเรามาว่าเราสนใจประเทศไหน บางคน ลงว่าอยากไป ประเทศจีน เขาอาจจะใช้จุดนี้ถามเลยว่า ลองพูดเป็นภาษาจีนได้ไหม??? จุดนี้ น่าจะเป็นหน้าที่ของเพื่อนๆเลยที่จะไปนึกหัวข้อว่า หากเราแนะนำตัว น่าจะพูดเรื่องไหน? ที่สำคัญเลยคือ ชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น อายุ เรียนชั้นอะไร? โรงเรียนไหน ชอบทำอะไรในเวลาว่าง และอย่าลืมปิดท้าย ยินดีที่ได้รู้จัก / It's nice to meet you. เป็นมารยาท อย่าลืม

    บางท่านอาจจะให้เรายืนขึ้น และแนะนำตัว เราก็ยืนนิ่งๆละกัน ไม่ใช่เอนไปเอนมา อยู่ไม่สุข พอพูดจบก็ยิ้มนิดๆ แล้วก็กลับมานั่ง ไม่ต้องเชื่อที่เราบอกก็ได้ แต่ทำยังไง ที่จะทำให้อาจารย์มองว่า มันเป็นตัวตอนของเรา หรือว่า จะมองว่า เรา กระตือรือร้น และอย่างที่เราบอกคือ กระฉับกระเฉงไว้ เพื่อที่จะได้กันไม่ให้อาจารย์หาช่วงที่จะเห็นจุดอ่อนเรา หลายคนที่จะเผยจุดอ่อนเพราะความลังเล เราก็อย่าลังเลสิ หากเราลังเลจริงๆ ก็พยายามขยับเก้าอี้ตามที่เราบอก หรือจะวิธีอื่นก็ได้ มันก็เพื่อทำให้เราดู Active จะไปกลบๆจุดอ่อนของเรา ความลังเลของเรานั่นเอง

    Q :
    แล้วเขาถามอะไรบ้าง?
    A :
    แต่ละคน ก็ถามไม่เหมือนกันหรอกนะ แต่AFS คือ การที่เราไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และการอยู่รอดในสังคม ดังนั้น คำถาม จึงย่อมออกมาในแนวของเรื่องของวัฒนธรรม การถามคำถามเชิงไหวพริบ หรือถามว่าเราจะเผยแพร่วัฒนธรรมของเราอย่างไร? อาจจะมีการยกตัวอย่างเหตุการณ์อย่างหนึ่งมา แล้วถามว่า เราจะทำอย่างไร
    ?

    และคำถามที่น่าจะจำไว้เลยคือ ทำไมถึงเลือกประเทศนี้? ทุกอย่าง มันต้องมีเหตุผล เราเลือกประเทศนี้ มันก็ต้องมีเหตุ ที่ทำให้เราเลือกประเทศนั้นๆ คิดไว้เลย เพราะเกือบทุกห้อง จะถามคำถามนี้ ขอแนะว่า อย่าย้ำเรื่องความสวยงามของประเทศมากนัก เราพูดได้ว่า เราเลือกไปประเทศนี้เพราะมีทิวทัศน์สวยงาม แต่เราก็ต้องมีเหตุผลอื่นมาประกอบด้วย เพราอย่าลืมว่า เราไม่ได้มาเที่ยว นี่ไม่ใช่โครงการเที่ยว เราควรจะหาเหตุผลอื่นมาประกอบด้วย อย่างเช่น....ผู้คนประเทศนั้น น่าจะเป็นมิตร...ประเทศนั้นมีสถาปัตยกรรมสวยงาม หรือมีประวัติศาสตร์น่าสนใจ มีความเจริญทางวัฒนธรรม มีกฎระเบียบที่แน่นอน บ้านเมืองสงบสุข หรือ เราอาจจะสนใจสังคม วัฒนธรรมของประเทศนั้น เลยเลือกที่จะไปประเทศนี้ คิดไว้เลยละกัน เพราะเราว่าเขาถามแน่ๆ เขาจะถามไล่ๆเลย ทั้ง 3 อันดับที่เราเลือก ไล่ทีละประเทศ เราก็ต้องตอบให้ได้ทั้ง 3 ประเทศครับ


    จะใช้เวลาตรงส่วนคำถามนี้ค่อนข้างนานนะ แล้วเขาก็จะถามต่อไปในคำถามอื่นๆ จะยกตัวอย่างให้ละกัน


    -
    เมื่อคุณไปถึงที่นั่น คุณมีวิธีเผยแพร่วัฒนธรรมไทยอย่างไร?

    หากจะให้เราแนะนำคำถามนี้ ที่สำคัญเลยคือ การสวัสดี เราก็ตอบว่า เราจะสอนให้เขารู้จักกับการสวัสดี การทักทายของไทย หรือ เราอาจจะสอนเขาให้รู้จักกับการละเล่นง่ายๆของไทย หรือแม้แต่ทำอาหารไทยให้ทาน เช่นไข่เจียว


    หากจะสอดมุขอะไรเข้าไปหน่อยก็ดีนะครับ อย่าปล่อยให้การสัมภาษณ์เป็นเรื่องเครียด ผู้สัมภาษณ์อยากเห็นเราอารมณ์ดีแน่นอนครับ

    -
    หากคุณไปงานปาร์ตี้ของเพื่อนๆชาวต่างชาติ แล้วเขาสูบบุหรี่ คุณไม่ชอบเลย จะบอกเขาว่าอะไร?

    ต้องคิดแล้ว อันนี้เป็นคำถามวัดไหวพริบนะครับ หากเราไปเจอเหตุการณ์นี้จริงๆ มันก็น่าคิดว่า จะทำยังไง พูดยังไงให้อีกฝ่าย ไม่โกรธ มันต้องมีวิธี เราก็ควรจะพูดแบบมีเหตุมีผล และหนักแน่น เราตอบว่า อย่าสูบได้ไหม มันทำให้เราเวียนหัว


    อาจารย์ถามต่อ ว่าหากเขาไม่หยุด จะทำอย่างไร? เราก็ตอบแบบจริงๆจังๆเลยว่า ถ้าไม่หยุด ก็ต้องออกห่างเลย เพราะมันก็เป็นอันตรายกับเราเอง

    เวลาตอบ อย่าพูดอ้อม พูดตรงๆเลยก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม

    -
    คุณจะมีของฝากอะไรไปให้ Host Family?

    อันนี้เพื่อนเราเจอ ข้อนี้ ขอแนะว่า เวลาตอบ อย่าตอบในแนวของความฟุ่มเฟือยว่า จะให้ยังงั้นยังงี้ หัวใจคือ เราควรจะให้ของที่สื่อวัฒนธรรมของเราให้ได้ดีที่สุดตังหากล่ะ อาจจะบอกว่า เป็นพวกกุญแจ หนังสือเที่ยวไทย หรือภาษาไทยเบื้องต้น ลูกตะกร้อ ผ้าไทยเล็กๆน้อยๆ อย่าลืมเหตุผล อาจจะบอกว่า เป็นของไทยที่สวยงาม และน่าจะสื่อความเป็นไทยได้ดี จะตอบว่าเอาของ OTOP ไปก็ได้-*- เราว่าอาจารย์เขาจะขำนะ ซึ่งเป็นเรื่องดี แต่อย่าลืมเหตุผลละกันว่า ทำไมถึงเลือกสินค้า OTOP ไป
    ^^


    และจะมีคำถามที่แปลกมากๆ ที่เพื่อนร่วมห้องสอบเราเจอ คือ


    "
    หากมีคนมาขอร่วม sex กับคุณ จะทำอย่างไร
    ?"

    อันนี้ ไม่ใช่เรื่องทะลึ่ง หากมัวแต่คิดเลยเถิด "เฮ้ย นี่ถามไรวะ?" นั่นคือการเผยจุดอ่อนเลยนะ หากเขาถาม เราก็มีหน้าที่ต้องตอบ อย่าคิดว่ามันเป็นเรื่องตลก หรือทะลึ่ง หาคำตอบที่เหมาะสมมาตอบก็แล้วกัน เราไม่ได้เจอคำถามนี้ แต่หากเราเจอ เราก็คงไม่มัวมานั่งตกใจคำถามนี้หรอกนะ มีสมาธิไว้ครับ


    คำถามที่เราเล่านี้ ครึ่งนึงของทั้งหมด ถามเป็น ภาษาอังกฤษนะ ^^" เราไม่ต้องเลือกคำยากๆมาหรอก คำง่ายๆก็สามารถใช้ได้ เวลาสอบสัมภาษณ์ เขาไม่ได้ดูว่า เราใช้คำศัพท์สวยหรูเลย เขากลับมองว่า เราจะสื่อยังไง? จะพูดออกมายังไง? สื่อสารพอเข้าใจหรือเปล่า? บุคลิกดีหรือเปล่า ตังหาก


    และอย่าลืมกระดาษที่เราเขียนตอนแรก เขาก็เอามาถามจริงๆครับ อย่างคำถามที่เราเจอคือ ฮีโร่ของคุณ คือใคร?

    อย่างเรา ตอบว่า Steven Spielberg ตรงจุดนี้ อย่าลืมว่า อาจารย์ท่านอ่านมาหมดเลย เขารู้ว่าเราตอบอะไร เขารู้ว่าเราเขียนอะไร เขาพร้อมที่จะถามเลยว่า ทำไมถึงชอบ? ทำไมถึงคิดว่าเขาคนนี้เป็นฮีโร่? คุณก็ต้องตอบด้วยความเห็นของคุณเลย


    และข้อสำคัญ คือ พยายามดันๆให้อาจารย์ถามถึงเรื่องที่เราถนัด อย่างเมื่อมาถึง Steven Spielberg แล้ว ก็ดันๆไปเรื่องหนังสิ ชวนเขาคุยเรื่องหนัง อะไรก็ได้ที่ทำให้เราคุยได้เต็มที่ครับ

    อย่างเพื่อนๆที่อยู่บอร์ดนี้ เราก็มีอะไรเหมือนกันอย่างนึงคือ เราชอบ Harry Potter เหมือนกัน! ทำไมไม่เอาจุดที่เราชอบ มาเป็นจุดที่ทำให้เราได้เปรียบเวลาสัมภาษณ์ล่ะ ใช้จุดนี้สิครับ เวลาสอบ เอามันเข้าไปเลย หนังสือ แฮร์รี่ พอตเตอร์ เอาไปซักเล่มนึง จะทำเป็นว่าตอนนี้อ่านอยู่ เลยเอาติดมือไปก็ได้ แล้วเวลาพูด ก็หาทางวกมาเรื่องนี้สิครับ^^ อาจารย์เขามีตา เขาย่อมสังเกตว่า เราเอาอะไรเข้าไป เขาอาจจะถามเลยด้วยซ้ำว่า เอาอะไรเข้ามา แล้วเขาอาจจะชวนเราคุยเรื่องนี้ ก็ได้ครับ

    หากเราเลือกไปประเทศอังกฤษอันดับแรก เหตุผลที่ชาว MT น่าจะตอบ คือ England is the home of Harry Potter. อะไรประมาณนี้ อาจจะหาคำที่มันดีกว่านี้ก็ได้ นี่ไง เราก็วกมาเรื่องนี้ได้แล้ว อาจารย์ เขาย่อมถามเราต่อว่า

    Why do you like Harry Potter?
    แค่นี้ ก็น่าจะคุยโม้ต่อได้นานเลยนะครับ เพราะเราเจอมาแล้ว


    ขอนอกเรื่องนิดว่า ตอนนั้น เป็นวันที่ 17 กรกฎาคม 2005 เป็นวันหลังจาก The Half-Blood Prince วางขาย แค่วันเดียว เราไปไหน ก็จะเอาหนังสือไปด้วย เลยเอาจุดนี้แหละมาเป็นเรื่องคุย พอเราเข้าห้องสอบ ก็วางเล่ม 6 สีเขียว ดังปึ้ง!!! ลงที่โต๊ะเลย แล้วหาทางวกมาเรื่อง Harry potter ซึ่งก็ได้ผล เราก็คุยได้ดีทีเดียวในเรื่องที่เราชอบ

    ผลจากการวกมาเรื่องนี้ ทำให้เราเจอคำถามเกี่ยวกับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ดังนี้ครับ

    ทำไมถึงชอบ แฮร์รี่พอตเตอร์?
    ระหว่างหนังกับหนังสือ คุณชอบอะไรมากกว่ากัน? ทำไม
    ?
    หากคุณจะเสกคาถา คาถาหนึ่งแก่ประเทศไทย คุณจะเลือกคาถาไหน


    คำถามสุดท้ายออกจะแหวกแนวสักนิดนึง แต่ หากคุณตอบได้ดี ก็คงจะกินใจอาจารย์ได้เลย คิดดีๆ หากวกมาเรื่องแฮร์รี่พอตเตอร์แล้ว คุณก็น่าจะตอบได้ ไม่ว่าจะเจอคำถามรูปแบบไหนนะครับ

    หากมีคำถามที่คุณไม่เข้าใจเวลาสัมภาษณ์ หรือคำถามนั้นเป็นภาอังกฤษ ซึ่งยังไม่เข้าใจ คุณควรที่จะถามอาจารย์

    Excuse me could you repeat the question again?
    อาจจะไม่ถูกหลักแกรมม่าหรอกนะครับ แต่หากเราถามแบบนี้ มันก็บอกว่า เรายังไม่เข้าใจคำถามนะ เราก็ถามไปตรงๆ ดีกว่ายังไม่เข้าใจคำถามแล้วยังดันๆตอบผิดตอบถูกไปทั้งๆที่ยังไม่เข้าใจคำถาม...คนไทยจะมีนิสัยคือ ขี้เกรงใจ ยังไง ถอนนิสัยนี้ออกไปก่อนตอนสอบสัมภาษณ์ละกัน หากสงสัย ถาม หากไม่เข้าใจ ถาม อาจารย์เขาจะเอ็นดูเราด้วยซ้ำ หากเราไม่เข้าใจ แล้วบอกตรงๆน่ะครับ เขาจะมองว่า เรา กล้าที่จะถามครับ

    เมื่อจบการสัมภาษณ์ เขาก็จะสังเกตเราจนถึงก้าวสุดท้ายที่เราออกนอกประตูไป อย่าลืม กล่าวอำลา และ ขอบคุณ อาจารย์ จะเป็นภาษาไหน ก็แล้วแต่



    แล้วก็จบการสัมภาษณ์ตัวต่อตัว ขอสรุป

    -
    เป็นตัวของตัวเอง กล้าพูด
    -
    กระฉับกระเฉง
    -
    ปกปิดจุดอ่อนตัวเอง อย่าให้อาจารย์ มีโอกาสจับผิด หรือต้อนเราจน ตอบไม่ได้
    -
    ยิ้มแย้มแจ่มใส
    -
    ครับ/ค่ะ ขอบคุณ Thankyou Good Moring คำทักทายกล่าวอำลาให้ติดปากไว้
    -
    อย่าเครียด สอดแทรกความสนุกสนานไว้
    -
    เตรียมคอนเซปพูดไว้เผื่อก็ได้
    -
    ไม่เข้าใจ ก็ ถาม
    -
    หาอุปกรณ์ หรือ วกมาในเรื่องที่เราถนัด
    -
    พยายามสื่อสารให้เข้าใจ
    -
    อย่าลังเลนานเกิน อย่าตะกุกตะกัก และ เวลาพูด ต้องมองตา



    กิจกรรมช่วงบ่าย

    กิจกรรมช่วงบ่ายนะครับ จะเป็นการนันทนาการ มีการร้องเพลง มีการเต้น มีการทำกิจกรรม โดยที่มีอาจารย์ท่านเดิมที่สัมภาษณ์ คอยสังเกตการณ์เรา

    ทางที่ดีคือ อย่าไปสนใจอาจารย์ ยังไง ก็สนุกกับมัน พี่ๆ AFS จะเป็นผู้ทำกิจกรรม หากเราเป็นคนไม่กล้าแสดงออก ก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องกล้า จะไปสนอะไรล่ะครับ? อายทำไม? หากเขาจะให้เราทำอะไร เราก็ต้องทำ ไปอยู่ต่างประเทศ มีสิทธิ์เลือกงั้นหรือ?

    สิ่งที่จะมีเยอะสุด คือการเต้นประกอบเพลง ประเภทไก่ย่างอะไรแบบนั้นน่ะ -*- เราก็เต้นไปเหอะ ไม่มีอะไรหรอก จะมีการเล่นละครด้วย เราก็ต้องเล่น


    ถ้าเราแนะนำนะ ง่ายๆคือ เต็มที่ ครับ


    แค่คำว่า เต็มที่ คงอธิบายได้หมด ทั้งการกล้าแสดงออก การให้ความร่วมมือกับกิจกรรม ความทุ่มเท
    และก็อย่าลืมเพื่อนๆ ซึ่งก็เป็นชุดเดิมกับตอนเช้า ทำความรู้จักไว้ คุยๆกันไว้ เพราะมันสำคัญกับตอนบ่ายนั่นเอง^^ บางกิจกรรม อาจจะต้องใช้ความสามัคคี อย่างเช่น ช่วยกันต่อหอคอยที่ทำจากหนังสือพิมพ์ เป่ายิ้งฉุบรถไฟเอย หรืออาจจะมีการฝึกแก้ปัญหาอย่างเช่นปมมนุษย์-*- หรือเรียงประโยค อาจจะต้องมาการร้องเพลง มีการเต้น หรือทดสอบความจำเกี่ยวกับเรื่องของเพื่อน อาจจะต้องมีการแสดงละคร หากเรา เต็มที่ ผมก็คิดว่า เพื่อนๆทุกคน ทำได้ เต็มที่เลย เรามาสนุกครับ ลืมเรื่องตอนเช้า ลืมอาจารย์ที่กำลังสังเกตการณ์ เราเต็มที่ครับ เต็มที่~!!!! อย่าลืม เรื่องของเพื่อน อย่าปิดตัวเอง เปิดกว้างกับเพื่อนใหม่ ไม่มีใครชอบคนที่นั่งแยกคนเดียว หรือไม่พูดไม่จาหรอกครับ อาจารย์ที่คอยสังเกต ก็หักคะแนนคุณตายเลย


    มีการขออาสาสมัครอะไร ก็ทุ่มเท อาสาบ่อยๆครับ กล้าที่จะเสนอตัวเอง แต่อย่าถึงกับเสนอหน้า และกล้าแสดงออกด้วย ยิ้มแย้มกับเพื่อน กับพี่ กับอาจารย์

    เราว่า หากเรากล้าพอที่จะฝ่าด่านนี้ไปได้ มันก็มีแค่ความ "เต็มที่" น่ะแหละครับ หากคุณเต็มที่กับวันนั้น ทุกอย่างมันก็เป็นของคุณแล้วล่ะครับ อีก 1 เดือนนับจากนั้น ก็รอชื่อของคุณในรายชื่อคนที่ได้ทุน AFS ได้เลย

    หากยังหมกมุ่นในโลกของตัวเอง ยังเงียบ ไม่ปรับตัว ก็พยายามหาจุดที่แก้ไขตัวเองก็แล้วกัน หากคุณเป็นคนไม่กล้าแสดงออก อย่างน้อย ก็ทำเพื่อประโยชน์ของตัวเอง ยิ้มเข้าไว้ครับ^__^


    สรุปของกิจกรรมช่วงบ่าย


    -
    บ้า บอ คอ แตก
    -
    กล้าแสดงออก
    -
    เป็นมิตร
    -
    หมั่นอาสา
    -
    ทุ่มเทในทุกกิจอรรม

    ซึ่งก็รวมเป็น "เต็มที่ครับ"

    -----------------------------------------------------------------

     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×