ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    =~คลังความรู้~=

    ลำดับตอนที่ #151 : ประสบการณ์เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ตอนที่ 3~

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 729
      3
      15 มิ.ย. 50

    ประสบการณ์ในการเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ตอนที่ 3 ┈━═☆



     

    พี่แทน mugglethai


    สำหรับเรื่องนี้เป็นประสบการณ์จริงของพี่แทน นักเรียนแลกเปลี่ยน
    AFS รุ่น 45 ค่ะ

    (ปัจจุบันรุ่นที่ 47 พ.ศ.2551-2552)

    ซึ่งได้ให้ข้อมูล รุ่นน้องที่จะสมัครทุนของ AFS

     เพื่อเป็นแนวทางในการสอบ การสอบสัมภาษณ์ และการเตรียมตัวไปต่างประเทศ

    สำหรับเพื่อนๆที่สนใจสอบทุน AFS ก็อย่าลืมอ่านเพื่อเตรียมตัวก่อนนะคะ

    .................................................................

    1 เดือนผ่านไป...... . . . . . . .

    ก็จะประกาศรายชื่อ ผู้ที่ติด AFS ครับ อย่าลืมว่า ใน 1 สนามสอบ จาก 700 จะเหลือ 100 แต่ใน 100 นั้น หมายถึง ตัวจริงซึ่งหมายถึง คุณน่ะ ได้ไปแน่นอน ชัวร์ 100% แล้วประเทศที่คุณได้ไป คือคือ ใน 3 อันดับที่คุณเลือกน่ะแหละ

    แต่ยังมี อีก 200 คนที่มีสถานะเป็น ตัวสำรองซึ่งหมายถึง คะแนนคุณ ก็ผ่าน แต่คุณ ยังไม่มีประเทศที่จะไป ซึ่งยังไงสถานะของคุณ ก็คือ ติดโครงการ AFS เช่นกัน แต่ยังไม่มีประเทศไป ซึ่งภายหลัง เขาจะโทรมาบอกประเทศที่คุณมีสิทธิ์เลือกครับ

    จะบอกว่า พวกตัวสำรอง มีสิทธิ์เลือกมากกว่า ตัวจริงด้วยซ้ำ บางคนมีตัวเลือกมาเป็น สิบๆเลย มานั่งเลือกไปสบายใจ ในขณะที่ตัวจริง ถูกจับยัดลง ใน 3 อันดับที่เลือก โดยที่ เปลี่ยนไม่ได้-*-

    ดังนั้น หากเพื่อนๆ ได้ตัวสำรอง อย่าพึ่งเป็นห่วง เขาจัดการให้แน่นอนครับ^^

    ส่วนเพื่อนๆที่ไม่ติด ปีหน้า ลองใหม่นะครับ เรามาถึงสอบสัมภาษณ์แล้ว คงได้อะไรไปเยอะล่ะครับ


    ทีนี้ เรามาดูในส่วนของคนที่ติด ยังไงตอนนี้พวกคุณ ก็ได้ก้าวเข้ามาสู่โอกาสที่หาไม่ได้ง่ายๆแล้ว คุณจะได้เดินทางไปอยู่ในต่างประเทศ เกือบ 1 ปี ไม่ใช่อะไรที่หาง่ายๆ นอกจาก ควักเงินเป็นล้านๆ ไปอยู่เอง รอบนี้เป็นโอกาสนะครับ^^ คุณยังมีโอกาสที่จะสละสิทธิ์ แล้วตัวสำรอง ก็จะเข้ามาแทนที่คุณครับ หรือคุณ จะตกลง เป็น เยาวชน AFS แล้วก้าวไปสู่ขั้นต่อไป

    สำหรับตัวสำรอง คุณ ก็จะรอคนที่สละสิทธิ์ แล้วเข้าไปแทนที่นั่นเอง หรือ AFS จะจัดหาประเทศหลากหลายมาเป็นตัวเลือกให้คุณได้ในที่สุด ทุกๆปี ตัวสำรองส่วนใหญ่ จะได้ไปกันหมดเช่นกันครับ

    ดังนั้น ถือซะว่า ตัวสำรอง อาจจะมีการดำเนินการหาประเทศช้ากว่านิดนึง นอกนั้น คุณ ก็จะมาเป็น เยาวชน AFS เช่นกันครับ

    ทีนี้ จะเล่ารวบ 2 พวกเลยนะครับ พอคุณมีประเทศแล้วพวกตัวจริง จะได้ประเทศตั้งแต่เริ่มเลย)
    ก็จะมี เอกสาร ปึกยักษ์ใหญ่ มากมายล้นหลามเป็น สิบๆชุด จะรวมไปถึง ใบกรอกประวัติทั่วไป กรอกประวัติครอบครัว ฟอร์มสุขภาพ ใบอนุญาตจากโรงเรียน ใบระเบียนคะแนนหรือ Transcript ซึ่งต้องไปทำเรื่องขอจากโรงเรียน รวมแล้ว การเตรียมเอกสารเหล่านี้ ใช้เวลาเป็น เดือนๆครับ คุณต้องไปที่โรงพยาบาล เพื่อตรวจสุขภาพเพื่อเอาใบรับรองจากแพทย์ ทั้งเรื่องวัคซีน และอะไรอีกมากมายต้องเขียนเรียงความแนะนำตนเอง เป็นภาษาอังกฤษ ต้องเขียนเรียงความแนะนำครอบครัว และผู้ปกครอง ก็ยังต้องเขียนเรียงความเกี่ยวกับลูก เป็นภาษาอังกฤษ ต้องทำอัลบั้มรูปขอตัวเอง 3 ชุด ต้องทำเรื่องกับอาจารย์ประจำชั้น มีใบรับรองของอาจารย์ประจำชั้น

    สรุปแล้ว การเตรียมเอกสารนั้น ยุ่งยากมาก!!!!! คุณต้องประสานงานกับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะไปถึง

    สำนักงานเขต / กรมกงสุล / โรงพยาบาล / ห้องทะเบียนของโรงเรียน / ติดต่อ อาจารย์แนะแนว อาจารย์ประจำชั้น / เขียนเรียงความ ด้วยตนเอง เป็นภาษาอังกฤษ / ให้ผู้ปกครองขียนเรียงความ

    เยอะมากครับ ยังไง เพื่อนพยายามเข้า ไหนๆมาถึงตรงนี้ แต่เรื่องเอกสาร จิ๊บจ๊อย! ใช้เวลาเดือนกว่า จัดการให้เสร็จนะครับ!

    แล้วจะมีการปฐมนิเทศ ซึ่งเราจะไปส่งเอกสารทั้งหมดตอนนั้น

    แล้วทุกอย่างจะหายเงียบเลยครับ และในช่วงเวลาเหล่านั้น จะมีการ จ่ายเงินครับ มี 3 งวด ยังไงติดตามดีๆ AFS จะส่งจดหมายมาเรื่อยๆครับว่า ถึงเวลาชำระเงิน ไม่ต้องห่วงครับ

    คือว่า ประเทศที่ AFS จัดส่ง จะแบ่งเป็น 2 พวกคือ ภาคพื้นทวีปเหนือ และ ภาคพื้นทวีปใต้

    พวกใต้ จะเดินทางในช่วงเดือน ธันวาคมไปจนถึงช่วงต้นไปครับ
    แต่พวกเหนือ จะเดินทาง อีก 1 ปีให้หลังนู่นนนน AFS จะจัดการส่งพวกภาคพื้นทวีปใต้ไปก่อน ใครที่อยู่เหนือ ก็รอก่อนครับ หลังจาก AFS จัดส่งเยาวชน ภาคพื้นทวีปใต้เรียบร้อยแล้ว AFS จะหันมาทำงานเกี่ยวกับ ภาคพื้นทวีปเหนือทันที เราขอเล่าในมุมมของทวีปเหนือนะครับ แต่มันก็เหมือนกับใต้น่ะแหละ

    สิ่งที่คุณจะได้รู้ตามมาคือ เรื่องของ Host family คุณจะรู้ว่า จะได้ไปที่ไหน เมืองอะไร แต่บางคน อาจจะรู้ช้า บางคนรู้ 2 อาทิตย์ก่อนเดินทาง บางคนรู้ก่อนเดินทางนานมาก อันนี้ อย่าไปกังวล ได้ไป คือได้ไป มาเตรียมตัวก่อนเดินทางดีกว่า

    หลังจากเรากรอกเอกสาร ระลอกใหญ่ไปแล้ว และจ่ายค่าธรรมเนียม 3 งวดแล้ว จะมีเรื่องอย่างอื่น ตามมา ดังนี้ครับ

    1.
    กรอกเอกสาร ระลอก 2 -*-
    2.
    การปฐมนิเทศ(ส่งเอกสารชุดแรก)
    3.
    การเข้าค่ายอบรม

    เอกสารระลอก 2 นั้นทิ้งช่วงยาวพอสมควร เพราะจะส่งก่อนเข้าค่ายอบรมครับ เอกสารระลอก 2 จะง่ายกว่าชุดแรกเยอะเลยล่ะ เพราะ จะมีเรื่องของ ใบอนุญาตของโรงเรียน ใบอนุญาตของผู้ปกครอง ซึ่งทำเรื่องไม่นานครับ มีสำเนาพาสปอร์ต สูติบัตร ทะเบียนบ้าน เตรียมเอาไว้ แล้วก็จะมี ฟอร์มวีซ่า ซึ่งจะกรอกตอนเข้าค่าย

    สรุปแล้ว เราก็พิมพ์ตามที่ เขามีฟอร์มให้น่ะแหละครับ เขาจะมีตัวอย่างให้หมด ทำตามนั้น เบๆ ><” ส่งให้ทันก็แล้วกัน ><

    ต่อไป ที่สำคัญอย่างมาก คือ การ เข้าค่าย

    การเข้าค่ายนั้น มันจะเกี่ยวกับการเอาตัวรอด เราจะได้เพื่อนใหม่มากมายครับผม การเข้าค่ายจะใช้เวลา 3 วัน โดยที่จะมีกิจกรรมต่างๆนาๆ ทั้งการเต้นแร้งเต้นกา การนั่งฟังรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์เล่าเรื่องที่น่ารู้ อะไรที่เราสงสัย ก็ถามรุ่นพี่ได้เลยครับ กิจกรรมจะเป็นแบบไหน อันนี้ไม่เล่าดีกว่า เดี๋ยวไม่สนุก แต่จะบอกว่า ยังไง ขอให้เพื่อนกล้าเอาไว้ก่อนละกันนะครับ ทุกคนที่ผ่านเข้ามาถึงตรงนี้ ต้องมีอะไรดีครับ ไม่งั้น เราไม่มาถึงตรงนี้หรอก ยังไง กล้าที่จะทำความรู้จักกับเพื่อนเอาไว้นะ^^ เพื่อนมีเป็นร้อยๆ และที่สำคัญทุกคน เป็นคนกล้าครับ เรารับประกัน ทุกคนที่มาถึงตรงนั้น คือคนที่กล้าแสดงออก กล้าพูด กล้าคิด กล้าทำ(ลองนึกไปตรงที่เราบอกตรงสอบสัมภาษณ์สิครับ) สรุปแล้ว เราว่าทุกคนที่ไปถึงตรงนั้น ย่อมกล้าที่จะคุยกัน เวลา 3 วันมันน้อยมาก แต่หากคุณใช้มันให้คุ้ม คุณจะได้เพื่อนไปอีกมาก และยังได้ความรู้ ความรู้สึกดีๆ และการเตรียมตัว ก่อนเดินทาง ไปประเทศที่คุณต้องการครับ

    การเตรียมตัวเดินทาง(เล็กน้อย)

    สิ่งที่เพื่อนๆต้องเตรียมยัดลงกระเป๋านั้น จะต้องใช้ไปอีกเกือบปี กับของในกระเป๋าใบนั้นใบเดียว หากประเทศที่คุณไปเป็นเมืองหนาว ก็เตรียมเสื้อผ้าที่มันเหมาะสมไป บางคนใช้วิธี เตรียมไปเท่าที่จำเป็น แล้วไปหาซื้อเอาที่นั่นครับ

    เรื่องเงิน บางคนใช้ฝากเงินเข้าบัญชี แล้วไปเปิดเอาที่นั่น
    หรือบางคน ก็จะพกบัตรเครดิต ไปรูดๆเอาที่นั่น แต่ถ้าจะเอาเงินสดไปทั้งดุ้นเลย ระวังให้ดีๆนะครับ - - ไม่แนะนำวิธีนั้น-*-

    ของฝาก อันนี้ก็ต้องเตรียมไป ไม่ต้องหรูหรามาก แต่เอาไปฝาก เพื่อเป็นพิธี รักษาน้ำใจคนไทย^^ อาจจะมีของที่ใหญ่ๆหน่อย ให้กับ Host Family ของเรา และของเล็กๆน้อยๆให้เพื่อน เช่น พวกกุญแจ ที่คั่นหนังสือ แต่อย่าลืม ต้องเป็นของไทยๆนะครับ และอย่าให้พร่ำเพรื่อ เราต้องรู้จักเพื่อนคนนั้นก่อน แล้วค่อยให้ เพราะถ้าอยู่ๆเราให้ไป ใครก็ไม่รู้ เขาอาจจะโยนทิ้งก็ได้

    การแสดง อันนี้ ไม่มีใครรับประกันว่าจะได้แสดงหรือไม่ บางคนอาจจะหาโอกาสได้ บางคนก็ไม่มีโอกาส อย่างน้อย เตรียมๆไว้เผื่อๆก็ได้ครับ อย่างเช่น รำวง รำมวยไทย เรียนไว้เล็กๆน้อยๆก็ได้ครับ อาจจะไม่ได้ใช้ แต่เผื่อๆไว้
    การลาพักการเรียน อันนี้ขาดไม่ได้เลย-*- เขาจะมี 2 ทางเลือกครับ คือ

    -
    กลับมา จะซ้ำชั้น เรียนกับรุ่นน้อง
    -
    กลับมา ก็กลับไปเรียนกับเพื่อนตามเดิม ไม่ต้องซ้ำชั้น แต่ต้องตามเก็บของชั้นที่เราโหว่ไปให้ทัน

    ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละคน สำหรับเรา เราเลือกซ้ำชั้น เพราะผู้ชาย อาจจะลำบากหน่อย เพราะมี รด. เข้ามาเกี่ยว หากเราไม่ซ้ำชั้น ก็หมายความว่า พอเราเข้ามหาวิทยาลัย เราก็ต้องเรียน รด. อีกปี ซึ่งยุ่งยากมาก แต่ปีที่เราไป AFS ทาง AFS จะทำการ drop รด. ปีนั้นของเราให้ เรียบร้อย ไม่ต้องห่วง

    และขอย้อนกลับไปตอนสมัครว่า หากคุณสมัครตอน ม.3 จะได้ไป ตอน ม.4
    หากคุณสมัคร ตอน ม.4 จะได้ไปตอน ม.5
    หากสมัครตอน ม.5 จะได้ไปตอน ม.6
    แต่ไม่มีสมัครตอน ม.6 แล้วไปตอนมหาวิทยาลัยนะครับ

    ใครที่จะไปตอน ม.6 ก็ต้องคิดดีๆก่อนนะครับ ไปน่ะไปได้ แต่ยังไง กลับมา อย่าลืม เก็บความรู้ให้ทัน เพราะคุณก็จะต้องเจอกับสนามสอบเข้ามหาวิทยาลัย และที่สำคัญเลย ตอนนี้เป็น ระบบแอดมิชชั่นด้วย ต้องขยันมากๆครับ

    และก่อนที่จะเดินทาง จะมีการเรียกประชุมกันอีกครั้ง เพื่อสรุปทุกอย่างก่อนไป ทั้งการขนของ การแลกค่าเงิน และทุกๆอย่างครับ และเมื่อออกเดินทางไปถึงประเทศนั้นแล้ว จะมีการเข้าค่ายอบรมก่อนที่จะแยกย้ายไปยัง Host Family ของคุณ

    การปรับตัวเริ่มแรก..

    เมื่อเราไปถึง หรือก่อนเดินทาง เราต้องนึกแล้วว่า เราต้องจากบ้าน จากคุณพ่อคุณแม่มาใช้ชีวิตอยู่คนเดียว อาจจะเป็นซักแห่งในโลก คุณจะต้องปรับตัวเข้ากับที่นั่นให้ได้ ทั้งเรื่องของสภาพอากาศ เรื่องของการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมต่างชาติ ไม่ว่าจะภาษา การเข้าเรียน การปรับเข้ากับเพื่อนๆ เราต้องมีเพื่อนครับ

    แต่ไม่ใช่ว่า หากเราไปเจอเพื่อนคนไทยด้วยกัน ซึ่งโอกาสมันมีได้ครับ แนะนำเลยว่า อย่าติดกันตลอด ไม่ใช่ว่า เจอเพื่อนคนไทยด้วยกัน ชั้นจะอยู่กับคนนี้ เราช่วยเหลือกัน ... มันไม่ใช่ครับ ถ้าเราอยู่ด้วยกันแบบนั้น มันจะไม่ได้อะไรเลย เราต้องลุยสิครับ หาเพื่อนต่างชาติต่างหาก เพื่อนคนไทยด้วยกัน คุยเมื่อไหร่ก็ได้ ตอนนี้เรามาแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ยังไง ลองเข้าสังคมใหม่ๆจะดีกว่าครับ อย่ามัวพึ่งแต่เพื่อนคนไทย และอย่าคุยโทรศัพท์นานเกิน ไม่ว่าจะคุยกับ คุณพ่อ คุณแม่ เขาแนะมาว่า เดือนละครั้ง 2 ครั้ง ก็ พอแล้ว หากคุยมากกว่านั้น เราอาจจะปรับตัวไม่ได้ครับ แล้วอย่าลืม ค่าโทรศัพท์ของ Host Family - -'

    ทางที่ดีที่สุดในการมีเพื่อนคือ ทำกิจกรรม หากเราได้ทำกิจกรรมที่เราชอบ เช่น การเล่นกีฬา ชมรมนั้น ชมรมนี้ แล้วได้ทำงานในสิ่งที่ตัวเองชอบ และเพื่อนๆคนอื่นก็ชอบ ยังไง เราก็ย่อมจะได้เพื่อนแน่นอน และอย่าลืม เรา ต้องปรับตัวเข้าหาเขา ไม่ใช่ให้เขา ปรับตัวเข้าหาเรา และเราก็ต้องช่างคุยหน่อยนะครับ อย่าหมกตัวอยู่ในห้อง MSN อะไรนี่ ต้องตัดทิ้งไปเลย(จากคำแนะนำของพี่ๆ) เพราะถ้าเรามัวหมกอยู่กับตัวเอง ก็อาจจะทำให้ไม่ได้อะไรเท่าไหร่น่ะครับ เราก็สามารถช่วย Host ทำงานบ้านก็ได้ ช่วยทำอาหาร ยังไง ก็พยายามเข้าไปคุย และ ต้องเป็นคนที่มีวินัยในตนเอง ตรงต่อเวลา และห้ามพูดโกหก หัดเป็นคนซื่อสัตย์เอาไว้ หากชาวต่างชาติจับเราเรื่องโกหกได้ เรื่องใหญ่นะจะบอกให้ อาจจะถึงขั้น เลิกเชื่อถือ หากมีอะไร เราพูดตามตรงครับ ผิดคือผิดครับ ยิ่งถ้าชาวต่างชาติ คือ ฝรั่ง ยิ่งง่าย เพราะ ฝรั่งนั้น โกรธง่ายหายเร็ว และพูดตรงมาก คนไทยนี่พูดอ้อมเป็นยากันยุงเลยครับ-*-

    ยังไง เราก็ยังมีคุณพ่อคุณแม่คอยให้กำลังใจครับ เรามาถึงจุดนี้ พ่อแม่ของคุณ ต้องภูมิใจแน่นอนครับ ดังนั้น อย่าทำให้ท่านผิดหวังนะ^^



    แล้วก็เริ่มต้นการดำรงชีวิตของคุณ ในสภาพสังคมที่แปลกใหม่ ที่จะเปลี่ยนให้คุณได้เรียนรู้อะไรอีกมาก และกลายเป็นคนที่มีคุณภาพมากขึ้น แล้วเมื่อกลับมาที่ไทยอีกครั้ง คุณคงจะเป็นคนใหม่ ที่เปี่ยมไปด้วยความคิดต่างๆนาๆ



    แล้วคำแนะนำของเรา ก็หมดลงเพียงเท่านี้ครับ หากเพื่อนคนไหนที่สนใจ ก็อย่าลังเล ไปสมัครได้ เราจะเป็นกำลังใจให้ และขอให้โชคดีกับการสอบ AFS เราเขียนแนะนำมายาวเหยียดนี่ก็เพราะว่า อยากให้ทุกๆคนไปสอบจริงๆ อยากให้ทุกๆคน ได้มีโอกาส ได้พัฒนาตนเอง ได้ลองกับสิ่งใหม่ๆ ไม่รักจริง ก็คงไม่เขียนซะยาวเหยียดหรอกนะครับ ยังไง ก็ขอให้โชคดีก็แล้วกันครับ

    สวัสดีครับ


          .................................................................................

    ประเทศที่มีให้เลือกระยะยาวดังนี้ค่ะ

    Year Program 2008: โครงการเยาวชนเอเอฟเอสเพื่อการศึกษาและแลกเปลี่ยนเยาวชน
     นานาชาติ ระยะ 1 ปี

    Europe Asia & Pacific Americas Africa

     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×