คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #25 : ความขัดแย้งและการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ : การประสานประโยชน์
องค์การสันนิบาตชาติ
สันนิบาตชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1919 จากการประชุมสันติภาพที่ปารีส ของประเทศผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เพื่อป้องกันสงครามและความขัดแย้งในอนาคต โดยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประเทศด้วยการเจรจาและการทูต รวมทั้งพัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์
ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson)แห่งสหรัฐอเมริกา ได้เสนอหลักการ 14 ข้อ (Wilson’s Fourteen Points)เพื่อใช้เป็นหลักในการเจรจาทำสนธิสัญญาสันติภาพต่อผู้นำของประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลี ซึ่งเป็นแนวความคิดที่จะป้องกันมิให้เกิดสงครามร้ายแรงที่จะทำลายล้างประชาชาติขึ้นอีก โดยให้สถาปนาองค์การสันนิบาตชาติขึ้นเพื่อเป็นองค์กรกลางที่จะใช้แก้ปัญหากรณีพิพาทระหว่างประเทศ โดยสันติวิธีเพื่อดำรงรักษา สันติภาพอันถาวรไว้ สันนิบาตไม่มีกองกำลังของตัวเอง จึงต้องพึ่งพาชาติมหาอำนาจในการดำเนินการตามคำสั่ง สันนิบาตชาติจึงล้มเหลวในการป้องกันสงครามโลกครั้งที่สอง และเมื่อสงครามจบถูกยุบไปและแทนที่ด้วยสหประชาชาติ
สมาชิกภาพ
ประเทศที่เป็นฝ่ายชนะในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทุกประเทศได้ร่วมลงนามใน สนธิสัญญาสันติภาพและเป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติโดยอัตโนมัติ ประเทศที่แพ้สงครามมีสิทธิเข้าเป็นสมาชิกขององค์การนี้ได้แต่ต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาสันติภาพให้เรียบร้อยเสียก่อน ส่วนประเทศอื่น จะเข้าเป็นสมาชิกได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากการออกเสียงสองในสามของประเทศสมาชิก ส่วนสหรัฐอเมริกาแม้จะเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดตั้งองค์การนี้ไม่ได้เป็นสมาชิก เนื่องจากสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาไม่ยอมให้สัตยาบัน ประเทศที่เป็นฝ่ายชนะในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทุกประเทศต่างร่วมลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพเป็นสมาชิกองค์กรสันนิบาตชาติ ส่วนประเทศที่แพ้สงครามมีสิทธิเข้าเป็นสมาชิกขององค์กรได้ต่อเมื่อปฏิบัติตามสนธิสัญญาสันติภาพให้เรียบร้อยเสียก่อน
วัตถุประสงค์
การดำรงสันติภาพและป้องกันสงครามในอนาคต
1.ร่วมมือกันรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงระหว่างประเทศ
2.เป็นองค์กรกลางในการตัดสินชี้ขาดกรณีพิพาทระหว่างประเทศ
3.ร่วมมือกันดำเนินการลดกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์
4.ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อเปิดความสัมพันธ์ทางการทูต
สมัชชา
สมัชชา คือ ที่ประชุมใหญ่ขององค์การ ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทั้งหมดกล่าวคือ ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศจะส่งผู้แทนไปประจำได้ประเทศละ 3 คน เป็นอย่างมากแต่การออกเสียงแต่ละประเทศลงคะแนนได้ 1 เสียง มีวาระการประชุมปีละครั้งเพื่อพิจารณาปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อสันติภาพของโลกคณะมนตรี ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารองค์การประกอบด้วยสมาชิกประเภทถาวร 4 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี และญี่ปุ่น และสมาชิกประเภทไม่ถาวร ที่มาจากการเลือกตั้งอีก 4 ประเทศคณะมนตรีนี้ประชุมกันปีละครั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆ
ที่เป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพของโลกและปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของสมัชชาสำนักงานเลขาธิการ มีเลขาธิการซึ่งได้รับเลือกจากคณะมนตรีมีหน้าที่เป็นสำนักงาน จัดทำรายงานรักษาเอกสารหลักฐาน อำนวยการวิจัยและประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ คณะกรรมาธิการ มีคณะกรรมาธิการฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่องค์การอนามัยระหว่างประเทศ สำนักแรงงานสากล คณะกรรมาธิการฝ่ายดินแดนในอาณัติศาลยุติธรรมระหว่างประเทศทำหน้าที่ เกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศในการพิจารณาคดีต่าง ๆ และกรณีพิพาทเกี่ยวกับพรมแดนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 คน
คณะมนตรี
สำนักงานเลขาธิการ ได้รับเลือกจากคณะมนตรี มีหน้าที่เป็นสำนักงานจัดทำรายงาน รักษาเอกสารหลักฐาน
คณะกรรมาธิการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการด้านเศรษฐกิจและสังคม
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ทำหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศในการพิจารณาคดีต่างๆ และกรณีพิพาทเกี่ยวกับพรมแดนประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 คน
ผลงานขององค์การสันนิบาตชาติ
ผลงานที่ประสบความสำเร็จ
ผลงานที่ประสบความสำเร็จ กรณีหมู่เกาะอาลันด์ ที่สวีเดนและฟินแลนด์ต่าง แย่งชิงกันจะเข้าครอบครององค์การสันนิบาตชาติตัดสินให้มอบหมู่เกาะอาลันด์ อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของฟินแลนด์ แต่ต้องเป็นดินแดนปลอดทหารและมีสถานภาพกึ่งอิสระ
ผลงานที่ไม่ประสบความสำเร็จ
- เหตุการณ์ญี่ปุ่นรุกรานแคว้นแมนจูเรียของจีน องค์การสันนิบาตชาติไม่สามารถใช้มาตรการใดๆลงโทษญี่ปุ่นได้
- เหตุการณ์รุนแรงที่เกาะคอร์ฟู อิตาลีใช้กำลังเข้ายึดครองเกาะคอร์ฟูของกรีซ ซึ่งองค์การสันนิบาตชาติไม่สามารถยับยั้ง
หรือลงโทษอิตาลีได้ ทั้งๆที่กรีซและอิตาลีต่างก็เป็นสมาชิกขององค์การ
- เยอรมนีละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซาย โดยการส่งทหารเข้าสู่เขตปลอดทหารไรน์แลนด์ของเยอรมนี
-สงครามอะบิสซิเนีย ที่อิตาลีส่งกองทัพบุกอะบิสซิเนีย (เอธิโอเปีย) โดยไม่ประกาศสงคราม และสามารถยึดกรุงแอดดิสอาบาบาได้ ซึ่งสมัชชาขององค์การสันนิบาตชาติได้ลงมติประณามอิตาลีว่าเป็นฝ่ายรุกราน และลงโทษอิตาลีโดยการงดติดต่อค้าขายกับอิตาลี แต่ไม่ได้ผลเพราะอิตาลีได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนี อีกทั้งอิตาลียังตอบโต้ด้วยการลาออกจากการเป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติ อีกด้วย
การที่องค์การสันนิบาตชาติเกิดความอ่อนแอ องค์การสันนิบาตชาติไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้และประสบความล้มเหลวตลอดมา จนกระทั่งองค์การสันนิบาตชาติสิ้นสภาพในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
จุดอ่อนขององค์การสันนิบาตชาติ
1. การที่ประเทศมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ไม่ได้เป็นสมาชิก ทำให้กฎข้อบังคับขององค์การสันนิบาตชาติบังคับใช้ได้ผลก็เฉพาะกับประเทศสมาชิก
ที่ไม่ค่อยมีอำนาจและบทบาทมากนัก ไม่มีผลบังคับประเทศมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่
2. ประเทศมหาอำนาจโจมตีประเทศอื่น มหาอำนาจหลายประเทศได้แสดงความก้าวร้าวรุกรานประเทศอื่นเสียเอง ได้แก่ ฝรั่งเศสและเบลเยียมเข้ายึดครอง เหมืองถ่านหินในแคว้นรูห์ ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นโลหิตใหญ่ของเยอรมนี เยอรมันนีตอบโต้ด้วยการนัดหยุดงานทั่วประเทศการที่ประเทศต่างๆไม่ได้ให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน ขององค์การสันนิบาตชาติ ซึ่งมีจุดหมายที่จะนำสันติภาพมาสู่มนุษยชาติ ทำให้การดำเนินงานขององค์การนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ
องค์การสหประชาชาติ(United Nations;UN)
สหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่มุ่งเน้นในการช่วยเหลือ มนุษยชาติ และรักษาสันติภาพของโลก เพื่อให้อยู่ร่วมกันโดยสันติ ก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ผู้ที่ร่วมกันวางแนวทางตั้งองค์กรรักษาสันติภาพ คือผู้แทนของประเทศมหาอำนาจ ได้แก่ นายวินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีของ สหราชอาณาจักร และประธานาธิบดี
ธีโอดอร์ รุสเวลต์ แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับประเทศต่างๆ 51 ประเทศ ก่อตั้งองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรมของประชากรโลก
กฎบัตรสหประชาชาติ เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488
วัตถุประสงค์
1. ธำรงรักษาไว้ซึ่งความสันติ และความมั่นคงของโลก โดยการใช้มาตรการการร่วมมือกัน
2. เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อช่วยกันคลี่คลายและ แก้ปัญหาทางด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสิทธิมนุษยชน
3. เป็นศูนย์กลางพัฒนาความสัมพันธ์อันดี และประสานงานกันระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อให้การดำเนินงานได้บรรลุผลตามเป้าหมาย
ประเภทสมาชิก และเงื่อนไขของการเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ คือ
1. ประเภทสมาชิก มี 2 ประเภทคือ
สมาชิกดั้งเดิม คือประเทศที่ได้ร่วมการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยองค์การระหว่างประเทศที่ซานฟรานซิสโก และร่วมกันลงนามในปฏิญญา สหประชาชาติ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2485
สมาชิกที่สมัครเข้าภายหลัง ได้แก่ประเทศที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติ และสมัครเข้าเป็นสมาชิกภายหลัง
ประเภทสมาชิก และเงื่อนไขของการเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ คือ
2. เงื่อนไขการเข้าเป็นสมาชิกภาพ สหประชาชาติจะรับประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกโดยพิจารณาจากเงื่อนไขต่อไปนี้
-เป็นประเทศที่รักสันติภาพ ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงที่สหประชาชาติตั้งไว้
-ยอมรับฟังความคิดเห็น และคำตัดสินต่างๆของสหประชาชาติ ในกรณีที่เกิดข้อพิพาท หรือข้อขัดแย้ง
-ต้องได้รับคะแนนเสียงจำนวน 2 ใน 3 ของสมัชชาใหญ่ โดยมีคณะมนตรีความมั่นคงประกาศรับสมาชิกใหม่
สหประชาชาติมีหน่วยงานและองค์กรหลัก 6 องค์กร คือ
1.สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เป็นหนึ่งใน 6 องค์กรหลักของสหประชาชาติ สมัชชานี้ประกอบด้วยสมาชิกของสหประชาชาติทั้งหมด โดยแต่ละรัฐมีสิทธิออกเสียงหนึ่งเสียงเท่ากันสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเป็นที่ประชุมและถกปัญหาต่าง ๆ ที่เข้าสู่วาระการประชุม และเพื่อแสดงความเห็น ให้คำปรึกษา ข้อสงสัย ข้อแนะนำ ตลอดจนข้อโต้แย้ง แก่ประเทศสมาชิก รวมทั้งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ อย่างไรก็ตาม สมัชชาแห่งนี้จะไม่พิจารณาให้ข้อคิดเห็นต่อประเด็นที่กำลังอยู่ในการพิจารณาของคณะมนตรีความมั่นคง เว้นแต่จะได้รับการร้องขอจากคณะมนตรีความมั่นคงเอง
ยกเว้นในเรื่องงบประมาณแล้ว มติของสมัชชาแห่งนี้ไม่มีสภาพบังคับใดๆ ในทางกฎหมายต่อประเทศสมาชิก ผลของมติเป็นเพียงการแสดงออกร่วมกันของประเทศสมาชิกเท่านั้น
2.คณะมนตรีความมั่นคง (Security council)
คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา และสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) อีก 10 ประเทศ
สมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติใน พ.ศ. 2553ได้แก่ ออสเตรีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บราซิล กาบอง ญี่ปุ่น เลบานอน เม็กซิโก ไนจีเรีย ตุรกี และอูกันดา ในส่วนของประเทศไทยนั้นเคยได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อ พ.ศ. 2528 - 2529
บทบาทและหน้าที่
1.ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ
2. สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ
3. เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน
4. วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ
5. ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร
6.เรียกร้องให้สมาชิกประเทศทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน
7. ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน
8. เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
9. ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์
10. เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก
11. ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
3.คณะมนตรีเศรษฐกิจ และสังคม (Economic and Social council)
เป็นหนึ่งใน 6 องค์กรหลักของสหประชาชาติ ประกอบด้วยตัวแทนจาก 54 ประเทศ ในแต่ละปี 18 ประเทศสมาชิกจะได้รับการเลือกตั้งโดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติโดยมีวาระ 3 ปี
คณะมนตรีนี้มีภาระหน้าที่ดั้งเดิมคือการช่วยเหลือประเทศที่ต่อต้านสงครามในยุโรปและเอเชีย แต่ปัจจุบัน ปัญหาของประเทศกำลังพัฒนาเป็นปัญหาใหญ่ ดังนั้น จึงหันมาทำหน้าที่ในการศึกษาประเด็นที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สังคม มนุษยธรรม วัฒนธรรม การศึกษา และเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทำงานประสานกับองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเหล่านี้
การตัดสินใจในเรื่องต่างๆจะถูกนำมาถกในที่ประชุมของคณะมนตรี ที่ซึ่งสมาชิกแต่ละประเทศมีอำนาจออกเสียงเพียงหนึ่งเสียงเท่านั้น และจากนั้นก็จะส่งความคิดเห็นไปยังสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่นๆของสหประชาชาติ อาทิ ร่วมในการคัดเลือกคณะกรรมการขององค์การชำนัญพิเศษต่างๆ ของสหประชาชาติ เช่น ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency : IAEA) เป็นต้น
4.คณะมนตรีภาวะทรัสตีแห่งสหประชาชาติ (Trusteeship council)
ประกอบด้วยประเทศสมาชิกที่ปกครองดินแดนในภาวะทรัสตี ประเทศที่เป็นสมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคง และประเทศอื่น ๆ เท่าที่จำเป็น เพื่อให้ได้สัดส่วนของประเทศที่ปกครอง และมิได้ปกครองภาวะทรัสตีจำนวนเท่า ๆ กัน มีหน้าที่พิจารณารายงานของประเทศที่ทำหน้าที่ปกครองดินแดน และจัดทำข้อเสนอแนะ เพื่อเร่งรัดการให้ดินแดนในภาวะทรัสตีเจริญก้าวหน้ารวดเร็ว สามารถปกครองตนเองหรือเป็นเอกราชได้
5.ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice)
นอกจากนี้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศยังมีอำนาจวินิจฉัยเพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาในทางกฎหมายระหว่างประเทศ (advisory opinion) ในกรณีสามกรณีหลัก คือ กรณีแรก ตามที่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติหรือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติร้องขอ กรณีที่สอง ตามที่องค์กรอื่นภายใต้สหประชาชาติหรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติร้องขอโดยได้รับการอนุมัติจากสมัชชาใหญ่ และ กรณีที่สาม ตามที่ได้มีการให้อำนาจวินิจฉัยปัญหาไว้โดยสนธิสัญญา
ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมี 15 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 9 ปี คนละวาระเดียว การพิจารณาพิพากษาคดี ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 9 คนนั่งบัลลังก์ จึงจะเป็นองค์คณะ อนึ่ง ศาลจะเลือกประธานและรองประธานศาลเอง
6.สำนักงานเลขาธิการ (Secretariat)
สำนักงานเลขาธิการแห่งสหประชาชาติ (Secretariat) มีเลขาธิการสหประชาชาติเป็น
หัวหน้าฝ่ายบริหารของสหประชาชาติ ปฏิบัติการในอำนาจหน้าที่ของเลขาธิการในการประชุมทั้งปวงของสมัชชา คณะมนตรีความมั่นคง คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม และคณะมนตรีภาวะทรัสตี รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่ที่องค์กรเหล่านี้มอบหมาย พร้อมทั้งจัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับสหประชาชาติเสนอต่อสมัชชาฯ
ผลการปฏิบัติงาน
องค์การสหประชาชาติได้ปฏิบัติงานสำเร็จในหลายด้าน
1.ด้านความขัดแย้งเช่น ปัญหาสงครามในคาบสมุทรเกาหลี ปัญญาอิรักยึดครองดินแดนคูเวต เป็นต้น
2.ด้านการลดอาวุธมีการจัดทำสนธิสัญญาลดอาวุธและควบคุมอาวุธขึ้นหลายฉบับเพื่อให้เกิดความมั่นคงระหว่างประเทศและไม่ก่อสงครามขึ้นอีก
3.ด้านเศรษฐกิจและสังคมมีการส่งเริมและสนับสนุนทางด้านการเงิน เศรษฐกิจ บุคลากรและสังคม
โดยให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่กำลังพัฒนา
4.ด้านสิทธิมนุษยชนมีการกำหนดว่า วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันมนุษยชนโลกเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษย์ทั่วโลกให้มีสิทธิ เสมอภาค และเทียมกัน
5.ด้านกฎหมายมีการจัดร่างกฎหมายระหว่างประเทศขึ้นหลายฉบับ เพื่อรักษาความยุติธรรมเช่น กฎหมายว่าด้วยการทูต กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายทางทะเล เป็นต้น
6.ด้านความเป็นเอกราชของประเทศดินแดนที่อยู่ในความดูแลของคณะมนตรีภาวะทรัสตีแห่งสหประชาชาติ
ได้รับการปลดปล่อยเป็นเอกราช เช่น ปาปัวนิวกินี นาอูรู โตโก เป็นต้น
องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(North Atlantic Treaty Organization หรือ NATO)
*ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 4 เมษายน พ.ศ. 2492 เมื่อประเทศภาคีสมาชิก ลงนามในสนธิสัญญาร่วมป้องกันภูมิภาคแอตแลนติกเหนือ ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก สหรัฐอเมริกา แคนาดา เดนมาร์ก ไอซ์แลนด์ อิตาลี นอร์เวย์และโปรตุเกส เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 กรีซ และตุรกี เข้าร่วมเป็นสมาชิก ในปี พ.ศ. 2498 เยอรมนีตะวันตกเข้าร่วมเป็นสมาชิก
*การก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ เป็นการร่วมมือทางทหารเพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของของอดีตสหภาพโซเวียต และต่อต้านสนธิสัญญาวอร์ซอ เป็นผลของความขัดแย้งระหว่างโลกเสรี ซึ่งมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ และโลกคอมมิวนิสต์ นำโดยอดีตสหภาพโซเวียต
วัตถุประสงค์ และสาระสำคัญ ในการก่อตั้ง องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ คือ
1.สร้างความมั่นคงร่วมกันระหว่างกลุ่มประเทศประชาธิปไตยในยุโรป ด้วยความร่วมมือและช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกา แคนาดา
2. สำนักงานใหญ่ขององค์การนี้ตั้งอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
3. กติกาสำคัญของสัญญานี้ กล่าวว่า ถ้าประเทศหนึ่งประเทศใดแห่งสมาชิกสัญญานี้ ถูกโจมตี ให้ถือว่าทุกประเทศถูกศัตรูรุกราน ซึ่งเป็นภาระที่ต้องร่วมมือกันต่อสู้ และป้องกันตัวเองของประเทศสมาชิก
4. สนธิสัญญานี้ ไม่มีการจำกัดอายุ แต่ภาคีสมาชิกอาจลาออกได้ หลังก่อตั้งองค์การไปแล้ว 20 ปี โดยจะต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี
ฐานะขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ในปัจจุบัน
จุดมุ่งหมายของ NATO เมื่อแรกก่อตั้งคือ การรวมกลุ่มพันธมิตรทางการทหารเพื่อถ่วงดุลอำนาจกับสหภาพโซเวียตในยุคสงครามเย็น (The Cold War) นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ในปัจจุบัน สงครามเย็นได้สิ้นสุดลงแล้ว เพราะการล่มสลายของสหภาพโซเวียต และลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก จึงทำให้บทบาทความสำคัญของ NATO ทางด้านการทหารปัจจุบันลดลงไปด้วย
1.นส. ณิชาภัทร ลาภศรีวิวัฒน์ ม6.1 เลขที่ 13
2.นส.ธัญชนก กมลชัยวานิช ม6.1 เลขที่ 16
องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ ( Warsaw Treaty Organization )
หรือกติกาสัญญาวอร์ซอ ( Warsaw Pact )
เป็นองค์การความร่วมมือทางการทหารของค่ายคอมมิวนิวต์ ซึ่งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก โดยมีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ และมีสมาชิกทั้งหมดรวม 8 ประเทศ ได้แก่ สหภาพโซเวียต เยอรมนีตะวันออก โปแลนด์ เชโกสโลวาเกีย ฮังการีโรมาเนีย บัลแกเรีย แอลเบเนีย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ.1955
ข้อตกลงสำคัญของสนธิสัญญาฉบับนี้ คือ เพื่อเป็นการป้องกันร่วมกัน และประเทศภาคีสมาชิกทุกประเทศต่างยินยอมให้กองทัพของสหภาพโซเวียตเข้าไปตั้งในประเทศของตนได้ กติกาสัญญาวอร์ซอนอกจากจะเป็นสัญญาทางด้านการทหารแล้วยังเป็นข้อผูกพันทางด้านการต่างประเทศด้วย โดยประเทศภาคีสมาชิกต่างแสดงเจตจำนงที่จะสร้างสรรค์แนวทางความร่วมมือกันดำเนินนโยบายด้านการต่างประเทศ ซึ่งหมายถึงการดำเนินนโยบายต่างประเทศขององค์การนี้จะต้องมีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำด้วย องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอจึงเท่ากับเป็นปฏิกิริยาของกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ที่แสดงการตอบโต้กลุ่มประเทศเสรีประชาธิปไตย
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่ตามมา คือ ประเทศยุโรปตะวันออกต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียต ทั้งนี้เพราะมีกองทัพของ สหภาพโซเวียตอยู่ในประเทศของตน แต่ต่อมาประเทศสมาชิกหลายประเทศได้พยายามปฏิรูปการปกครองของตนให้มีประชาธิปไตย มากขึ้น เช่น โปแลนด์ โรมาเนีย เป็นต้น จึงทำให้กติกาสัญญาวอร์ซอได้ลดบทบาทลง จนกระทั่งปลายค.ศ. 1991 สหภาพโซเวียตได้ล่มสลายลงองค์การสนธิสัญญาวอร์ซอจึงต้องยุติลงไปโดยปริยาย
องค์การการค้าโลก( World Trade Organization : WTO )
องค์การการค้าโลกเกิดจากประเทศสมาชิก 85 ประเทศ ของข้อตกลงทั่วไปเกี่ยวกับอัตราภาษีศุลกากรและแกตต์ ( General Agreement on Tariffs and Trade-GATT ) ได้ร่วมเจรจาทางการค้ารอบอุรุกวัยขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1986 – 1993 โดยมติจากการประชุมแกตต์รอบอุรุกวัยตกลงให้ก่อตั้งองค์การการค้าโลกขึ้น ซึ่งเริ่มปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1995 ในปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 148 ประเทศ และมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิซเซอร์แลนด์
วัตถุประสงค์
เพื่อเจรจาลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างประเทศ และเจรจาเกี่ยวกับมาตรการด้านการค้า สินค้า บริการ และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
องค์การการค้าโลกมีความแตกต่างจากแกตต์ คือ เป็นองค์การที่ก่อตั้งขึ้นมาในลักษณะขององค์การระหว่างประเทศ ส่วนแกตต์นั้นเป็นเพียงข้อตกลงที่เจรจาในแต่ละรอบเท่านั้น
ประเทศไทยได้เข้าร่วมกับองค์การการค้าโลกเมื่อค.ศ. 1982 ซึ่งขณะนั้นยังคงเป็นแกตต์ ซึ่งผลประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก คือ
1) มีหลักประกันทางการค้าระหว่างประเทศ
2) ได้รับประโยชน์ตามสิทธิและสิทธิพิเศษ
3) ได้ขยายการค้าของประเทศ
4) ได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการ
5) มีเวทีสำหรับร้องเรียนและเจรจาเพื่อแก้ไขปัญญาต่างๆ
องค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน( Organization of Petroleum Exporting Countries : OPEC )
จัดขึ้นเพื่อความร่วมมือด้านนโยบายน้ำมันและช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและเทคนิคระหว่างภาคสมาชิก ก่อตั้งเมื่อค.ศ.1960 ประเทศสมาชิกที่เริ่มก่อตั้ง ได้แก่ อิหร่าน อิรัก คูเวต ซาอุดิอาระเบีย และเวเนซุเอลา ปัจจุบันจึงมีสมาชิกรวม 12 ประเทศได้แก่ กาตาร์ คูเวต ซาอุดิอาระเบีย ไนจีเรีย ลิเบีย เวเนซุเอลา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิรัก อิหร่าน แอลจีเรีย แองโกลา เอกวาดอร์
โอเปกเป็นกลุ่มประเทศที่ใช้น้ำมันเป็นเครื่องต่อรองเพื่อผลประโยชน์ของตนทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง
ตัวอย่างเช่น ในค.ศ. 1983 เมื่อเกิดสงครามระหว่างประเทศอาหรับกับอิสราเอล ประเทศอาหรับที่เป็นสมาชิกของโอเปกพร้อมใจกันขึ้นราคาน้ำมัน และยังกำหนดโควตาปริมาณการจำหน่ายน้ำมันในแก่ประเทศต่างๆ ตามสัดส่วนที่ประเทศนั้นๆให้ความสนับสนุนประเทศอาหรับ เช่น งดส่งน้ำมันให้สหรัฐอเมริกา เนื่องจากให้การสนับสนุนประเทศอิสราเอล ส่วนไทยแม้จะไม่ถูกประเทศอาหรับผู้ผลิตน้ำมันงดส่งหรือกำหนดโควตาการส่งน้ำมันให้ก็ตาม แต่ก็ได้รับผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าและการคมนาคมขนส่งที่ต้องปรับราคาให้สูงตามไปด้วย
นโยบายและผลการปฏิบัติงาน
ส่วนใหญ่เป็นการกำหนดปริมาณการผลิตน้ำมันและการกำหนดราคาน้ำมันของประเทศสมาชิก จึงทำให้น้ำมันมีปริมาณการผลิตสูงขึ้นและมีราคาสูงขึ้นด้วย และทำให้ประเทศสมาชิกต่างร่ำรวยขึ้น และได้นำเงินไปเสริมสร้างความมั่นคงและพัฒนาประเทศด้านต่างๆทั้งยังให้ประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีประชากรส่วนใหญ่หรือบางส่วนนับถือศาสนาอิสลามกู้ยืมด้วย
สหภาพยุโรป ( European Union : EU )
วัตถุประสงค์
1. เพื่อรวบรวมระบบเศรษฐกิจ ความร่วมมือในการพัฒนาสังคม และการปกครองแบบประชาธิปไตยของประเทศสมาชิกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว
2. เพื่อยกระดับการดำรงชีวิตของประชากรชาวยุโรปให้ดีขึ้น
3. เพื่อจัดตั้งสหภาพศุลกากรโดยการขจัดอุปสรรคต่างๆทางการค้า
4. ให้มีการจัดตั้งสถาบันการเงินแห่งยุโรป (European Monetary Institute : EMI) ขึ้นภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2537 เพื่อเป็นการรองรับการจัดตั้งธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ซึ่งมีหน้าที่ในการออกเงินตราสกุลเดียวกัน เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการค้าระหว่างประเทศสมาชิก
5. ให้ประเทศสมาชิกประสานงานนโยบายเศรษฐกิจในด้านต่างๆเพื่อลดความแตกต่าง ทางด้านค่าเงินของแต่ละประเทศ
สถาบันหลักของสหภาพยุโรป
คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป(the Council of the European Union)
เป็นสถาบันที่มีอำนาจในการตัดสินใจหลักและทำงานด้านนิติบัญญัติร่วมกับสภายุโรป ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกที่มาประชุมเพื่อแสดงจุดยืนและประนีประนอมทางด้านผลประโยชน์ระหว่างกัน ในกรณีที่มีการตัดสินใจเกี่ยวกับแนวนโยบายสำคัญ ๆ การประชุมจะทำในระดับผู้นำประเทศเรียกว่า การประชุมคณะมนตรียุโรปหรือที่ประชุมสุดยอดยุโรป (European Council)
• หน้าที่หลักของคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป มีดังนี้
1. ทำงานร่วมกับสภายุโรปในการบัญญัติกฎหมาย
2. ประสานแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก
3. ใช้อำนาจร่วมกับสภายุโรปในการอนุมัติงบประมาณของสหภาพยุโรป
4. ประสานความร่วมมือระหว่างตำรวจและศาลยุติธรรมในการปราบปรามอาชญากรรม
ประเทศสมาชิกในปัจจุบันสหภาพยุโรป
มีสมาชิกทั้งหมด 27 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน สหราชอาณาจักร ไซปรัส เช็ก เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย สโลวะเกีย โรมาเนีย และบัลแกเรีย
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป
1.ด้านการเมือง ไทยกับประเทศต่างๆ ในกลุ่มสหภาพยุโรปได้มีความสัมพันธ์อันดี ตลอดมาโดยมีผู้นำของแต่ละฝ่ายได้เดินทางไปเยี่ยมเยือนเพื่อกระชับสัมพันธไมตรีต่อกัน
2. ด้านการค้าขาย ไทยได้มีการค้าขายกับประเทศสมาชิกของกลุ่มสหภาพยุโรป มาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน โดยเฉพาะกับสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิตาลี และเดนมาร์ก กระทั่งถึงปัจจุบัน ไทยก็ยังมีสัมพันธไมตรีทางการค้ากับประเทศเหล่านี้อยู่ สินค้าสำคัญ ของไทยที่ส่งให้กับประเทศต่างๆในกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป ได้แก่ สิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้า ได้แก่ เครื่องจักรกล และ ยานยนต์
3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม ไทยมักจะได้รับความสนใจและความช่วยเหลือจากประเทศสมาชิกในกลุ่มสหภาพยุโรปอยู่เสมอ เช่น การส่งนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่างๆ มาให้คำแนะนำหรือเป็นที่ปรึกษา โครงการต่างๆ และการให้ทุนแก่นักศึกษาไทยไปศึกษาต่อต่างประเทศ
สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป หรือเอฟตา ( European Free Trade Association : EFTA )
เอฟตาเป็นการรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในยุโรปตะวันตกที่ไม่พอใจต่อการดำเนินงานของสหภาพยุโรป และมีจุดประสงค์คล้ายคลึงกับสหภาพยุโรป คือ การปฏิรูประบบการค้าสินค้าอุตสาหกรรมในประเทศภาคีสมาชิก โดยการกำหนดวิธีการและแนวทางปฏิบัติทางด้านรายการสินค้าและภาษีศุลกากร
ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ.1960 โดยมีสมาชิกเพียง 4 ประเทศ คือ นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ และไอซ์แลนด์
เอฟตามีเป้าหมายว่า ตั้งแต่ค.ศ.1977 เอฟตาจะทำงานประสานกับตลาดร่วมยุโรปเพื่อกำหนดเขตการค้าเสรีร่วมกัน
โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
ไทยมีการค้าขายกับประเทศสมาชิกของเอฟตา
สินค้าออกที่สำคัญของไทยคือ อัญมณี สิ่งทอ น้ำตาลทรายดิบ สัตว์น้ำ ข้าว ประเทศที่นำเข้าอาหาร และวัตถุดิบจากประเทศไทยมากคือ สวิตเซอร์แลนด์
สินค้าเข้า คือ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องจักร กระดาษ เหล็ก สิ่งสกัดที่ใช้ในการฟอกหนังและย้อมสี เภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ยานพาหนะ
ในอนาคตถ้าเอฟตามีมาตราการกีดกันทางการค้า เช่น กำหนดมาตราฐานสินค้า จำนวนภาษีศุลกากร และการนำเข้าสินค้า อาจทำให้ไทยสูญเสียตลาดกลุ่มนี้ไปได้
เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ หรือ นาฟตา ( North American Free Trade Area : NAFTA )
นาฟตามีการลงนามจัดตั้งใน ค.ศ.1992 และมีผลบังคับใช้ในค.ศ.1994 โดยมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 3 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก
วัตถุประสงค์
1. เพื่อแสวงหาตลาดสินค้าส่งออกในภูมิภาคอื่น
2. เพื่อส่งเสริมการจ้างงาน การเคลื่อนย้ายแรงงาน ที่จะผลิตสินค้าให้ได้ราคาถูกและมีคุณภาพดี
3. เพื่อส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กให้ขยายตัวและมีประสิทธิภาพสูง
ผลต่อประเทศไทย
ผลดี คือ ไทยจะขายสินค้าอุตสาหกรรมขนาดย่อม และสินค้าทางการเกษตรบางชนิดได้มากขึ้น โดยใช้เม็กซิโกเป็นฐานการส่งออก
ผลเสีย คือ ขณะนี้สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดการส่งออกที่สำคัญที่สุดประเทศหนึ่งของไทย มีมูลค่าการส่งออกจำนวนมากทุกปี เมื่อก่อตั้งนาฟตาแล้วเม็กซิโกอาจเป็นตลาดสินค้านำเข้าของสหรัฐอเมริกาแทนประเทศไทย เพราะไทยและเม็กซิโกคล้ายคลึงกันหลายประการ เช่น ค่าแรงงานต่ำ
เขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA ) หรือข้อตกลงเขตการค้าเสรี ( Free Trade Agreement : FTA )
FTA เป็นการตกลงระหว่าง 2 ประเทศขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์จะลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกันให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อให้เกิดการค้าเสรีระหว่างกัน และปัจจุบันประเทศต่างๆ ก็ได้ขยายขอบเขตของ FTA ให้ครอบคลุมการค้าด้านบริการ อาทิ บริการท่องเที่ยว การรักษา พยาบาล การสื่อสาร การขนส่ง ฯลฯ พร้อมกับความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น การลงทุน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการอำนวยความสะดวกทางการค้าด้วย
FTA ของประเทศไทย
ปัจจุบัน ไทยทำ FTA กับ 8 ประเทศ ได้แก่ จีน นิวซีแลนด์ บาห์เรน ญี่ปุ่น เปรู สหรัฐอเมริกา อินเดีย และออสเตรเลีย และ 1 กลุ่มเศรษฐกิจ BIMST-EC โดยเหตุผลสำคัญเพื่อรักษาสถานภาพและศักยภาพในการส่งออกของไทยโดยการขยายโอกาสในการส่งออก และ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าไทยทั้งในตลาดสำคัญในปัจจุบัน เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อาเซียน และตลาดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ เช่น จีน อินเดีย ออสเตรเลีย BIMST-EC นอกจากนี้ไทยยังจัดทำ FTA กับประเทศที่จะเป็นประตูการค้าสู่ภูมิภาคอื่นๆ ของโลก เช่น บาห์เรน เปรู
นางสาวพัชรพร ศิริถาพร ม.6.1 เลขที่ 30
นางสาวศรัณย์พร ม่วงทรัพย์สม ม.6.1 เลขที่ 35
:) Shalunla
ความคิดเห็น