Κατάρα: Katara; ผู้ต้องสาป - นิยาย Κατάρα: Katara; ผู้ต้องสาป : Dek-D.com - Writer
×

    Κατάρα: Katara; ผู้ต้องสาป

    ชะตากรรมที่ถูกกำหนด ลิขิตจากฟ้าที่มิอาจเลี่ยงได้ หน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ ภาระกิจที่ต้องได้รับ พลังอำนาจที่มิอาจมีใครต่อกรได้ มันคือพรจากสวรรค์ หรือ คำสาปที่ไม่มีวันลบล้างกันแน่

    ผู้เข้าชมรวม

    2,196

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    15

    ผู้เข้าชมรวม


    2.19K

    ความคิดเห็น


    65

    คนติดตาม


    21
    หมวด :  แฟนตาซี
    จำนวนตอน :  12 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  11 ก.พ. 55 / 05:31 น.

    อีบุ๊กจากนิยาย ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ


     



     

    Κατάρα : Katara ; ผู้ต้องสาป
    ภาค Ψυχή : Psycho; จิตวิญญาณ

    พันธุ์กรรมก็คือโองการจากสวรรค์ที่ส่งมายังสิ่งมีชีวิตบนโลก

    คำสั่งจากพระเจ้าเหล่านั้นถูกลิขิตไว้ในรูปของรหัสพันธุ์กรรมบนสายดีเอ็นเอ

    ยีนบนสารพันธุกรรมที่ว่านี้ เป็นผู้สนองคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า
    แปลสารจากพระองค์ให้แสดงออกมาเป็นสิ่งมีชีวิตแต่ละรูปแบบ

    บรรพบุรุษของพวกเราพยายามทุกวิถีทางเพื่อที่จะคงโองการเหล่านี้ไว้ โดยส่งต่อให้แก่ลูกหลานของตน

    ใช่แล้ว พวกเราตอบสนองต่อคำสั่งของพระองค์เสมอมา

     

    ไม่เคยมีใครคาดคิดเลยว่า ลิขิตของพระผู้เป็นเจ้าจะเปลี่ยนแปลงไปได้ โดยปราศจากพระหัตถ์ของพระองค์

    จนกระทั่งเหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้พันธะสัญญาระหว่างสวรรค์กับสิ่งมีชีวิตขาดลง

    พวกกลายพันธุ์ที่ไม่ได้มาจากลิขิตจากเบื้องบนก็ก่อกำเนิดขึ้นและแพร่ไปสู่สิ่งมีชีวิตบางส่วนของโลก

    ผู้คนที่ยังคงโองการของสวรรค์ต่างรังเกียจและหวาดกลัวสิ่งมีชีวิตกลายพันธุ์เหล่านี้

    เนื่องจากพลังวิเศษที่พวกนั้นมี แต่พวกเขาไม่มี
    มันทำให้พวกเขาหวาดกลัว และรังเกียจ โดยเฉพาะมนุษย์ด้วยกันเอง

    จึงขนานนาม สิ่งมีชีวิตกลายพันธุ์ที่ไม่ได้มาจากพระหัตถ์ของพระเจ้าว่า คาทารา หรือ ผู้ต้องสาปนั่งเอง

     

    ร่วมติดตามชม ฟอร์ทิส เด็กหนุ่มกลายพันธุ์ ผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ต้องสาป

    ด้วยพลังจิตวิญญาณที่เขามี เขาจึงถูกรังเกียจและหวาดกลัว

    แม้แต่ตัวของเขาเองก็ยังรู้สึกเช่นนั้นเหมือนกัน จนเขาไม่กล้าที่จะใช้

    และในที่สุดเขาก็ใช้พลังนั้นไม่เป็นเสียเลย

    แต่ด้วยคำสาปที่ติดตัวเขามาตั้งแต่เกิด มันชักนำให้เขาต้องกลับมาใช้พลังนั่นอีกครั้ง

    และแล้วเรื่องราวมากมายที่เขาไม่เคยคาดฝัน มันก็เข้ามาหา

    คุณก็จะเป็นอีกคนหนึ่งที่จะได้มีโอกาสพบกับเรื่องราวน่าตื่นเต้นนั้น ใน คาทารา ผู้ต้องสาป 

     

     

                นี่เป็นครั้งแรก และเรื่องแรก ในการเป็นนักเขียนฝึกหัดของผม

    ดี ไม่ดีอย่างไร ขอคำแนะนำและติดชมเป็นกำลังใจด้วยนะครับ

    หากใครชอบก็กดแอดเป็นแฟนนิยายได้นะครับ ว่างๆก็มาคุยกัน

    หากใครจะทำตัวเป็นนักอ่านเงาผมก็ไม่เกี่ยง ผมต้อนรับอยู่แล้วครับ

    ขอบคุณที่กดอ่านนะครับ แต่จะขอบคุณมากถ้ากดแอดครับ J

    วันนี้เป็นวันเกิดของผมครับ ผมจะมาประกาศข่าวเศร้าว่า
    มีปัญหาเรื่องเนื้องเรื่องและพล็อตเล็กน้อยครับ
    ซึ่งจะต้องแก้ไขก่อนจึง
    สามารถแต่งต่อได้ กว่าจะได้แก้ไขคงประมาณเมษาครับ
    ผมจึงมาประกาศข่าวร้ายว่า จะหยุดอัพสักเดือนกว่า ก่อนที่จะรีไรท์
    ขอบคุณที่ติดตามผลงานนะครับ จะแก้ให้ดีขึ้น 
    ส่วนใครยังไม่เคยอ่าน ก็ยังคงอ่านได้อยู่นะครับ ขอบคุณทุกท่านครับ


    ปล. บทแรกอาจจะพรรณาตอนแรกมาไปนิดนะครับ แต่อ่านไปหน่อยแล้วจะลื่นไหลฮะ


    โพล129484

      

     

     
    Credit คุณซ่อนนาม ยังไม่มีฝีมือทำเองยืมเขามาก่อน ขอบคุณครับ


    รับนิยายเพื่อนบ้าน

      
    มาลุ้นกันว่าเธอ จะเลือกแฝดพี่่หรือน้อง กุ๊กกิ๊กน่ารัก อบอุ่น

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    "วิจารณ์ Κατάρα: Katara; ผู้ต้องสาป"

    (แจ้งลบ)

    Κατάρα: Katara; ผู้ต้องสาป ผลงานของ ไลเคน นับเป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาวอีกเรื่องหนึ่ง ขณะนี้เป็นการนำเสนอภาค “จิตวิญญาณ” ซึ่งโพสต์ถึงตอนที่ 12 หากจะให้เดา เรื่องนี้น่าจะมีหลายภาค เพราะว่าผู้ต้องสาปที่จะกล่าวถึงนั้นสามารถแยกออกได้เป็น 13 กลุ่มตามธาตุพื้นฐานสำคัญที่ให้ไฟธาตุมีความต่างกันถึง 13 ชนิด ธาต ... อ่านเพิ่มเติม

    Κατάρα: Katara; ผู้ต้องสาป ผลงานของ ไลเคน นับเป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาวอีกเรื่องหนึ่ง ขณะนี้เป็นการนำเสนอภาค “จิตวิญญาณ” ซึ่งโพสต์ถึงตอนที่ 12 หากจะให้เดา เรื่องนี้น่าจะมีหลายภาค เพราะว่าผู้ต้องสาปที่จะกล่าวถึงนั้นสามารถแยกออกได้เป็น 13 กลุ่มตามธาตุพื้นฐานสำคัญที่ให้ไฟธาตุมีความต่างกันถึง 13 ชนิด ธาตุจิตวิญญาณในภาคนี้ได้รับพลังมาจากธาตุไซโค ซึ่งให้ไฟธาตุสีม่วง โดยมีตัวละครหลักที่เป็นตัวแทนของผู้ต้องสาปที่ได้รับพลังธาตุนี้คือ ฟอร์ทิส เด็กชายที่เกิดมาพร้อมกลับกลายเป็นผู้ต้องสาปแห่งคาทารา ซึ่งติดเชื้อไวรัสขณะที่อยู่ในครรภ์มารดา ทำให้เมื่อเกิดมากลายเป็นสิ่งมีชีวิตกลายพันธุ์หรือเด็กต้องสาปที่ถูกผู้คนในสังคมรอบข้างรังเกียจ ทำให้ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก ตกอยู่ในความทุกข์ทรมานมาตลอดนับตั้งแต่เกิด และที่สำคัญเขามีความสามารถพิเศษในการรับทราบความรู้สึกนึกคิดที่อยู่ในใจคนอื่นได้ ขณะเดียวกันก็ต้องฝืนแสดงออกว่าร่าเริง เพื่อปกปิดความทุกข์ทรมานให้คนในครอบครัวที่รักเขาต้องทุกข์ทรมานไปกับเขาด้วย ก่อนอื่นต้องยอมรับว่าอ่านนิยายเรื่องนี้จบถึงที่ ไลเคน โพสต์ตอนล่าสุดคือตอนที่ 12 ไว้นานมากแล้ว แต่ที่ยังไม่วิจารณ์เพราะต้องการรอให้ rewrite นิยายตามที่แจ้งไว้ว่าจะขอแก้ไขในช่วงเดือนเมษายนก่อน แต่ขณะนี้ก็ยังไม่ได้ rewrite จึงตัดสินใจวิจารณ์เลยเผื่อข้อคิดบางประการที่เสนอไว้อาจจะช่วยในการ rewrite ได้บ้าง นิยายเรื่องนี้เปิดบทนำได้อย่างน่าตื่นเต้นและน่าติดตามเป็นอย่างมาก แต่น่าเสียดายที่ ไลเคน ไม่ได้นำเรื่องราวในบทนำพัฒนาหรือมีส่วนในการพัฒนาเรื่องในตอนต่อๆ ไปเลย เพียงแต่บอกว่าเรื่องราวในบทนำเป็นเพียงความฝันของ ฟอร์ทิสเท่านั้น ทั้งๆ ที่ขณะอ่านเรื่องราวในตอนต่อๆ มากลับรู้สึกว่าเรื่องราวในบทนำนั้นแท้ที่จริงน่าจะเป็นจุดกำเนิดที่ก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตกลายพันธุ์หรือคาทาราขึ้นมามากกว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆ สิ่งที่ค้างใจที่ยังหาคำตอบไม่ได้ก็คือ ผู้หญิงท้องแก่ที่มีแสงสีม่วงส่องออกมาจากครรภ์ของเธอที่อยู่ในบทนำมีความสัมพันธ์กับฟอร์ทิส (ที่มีธาตุพิเศษของคาทาราเป็นสีม่วงเช่นกัน) อย่างไร ประการต่อมาที่พบคือ พัฒนาการของเนื้อเรื่องดูจะผูกพันอยู่เฉพาะกับฟอร์ทิส ซึ่งเป็นตัวละครหลักในเรื่องเป็นสำคัญ โดยให้ฟอร์ทิสเป็นศูนย์กลางของเรื่อง ขณะเดียวกันก็ให้เขาเป็นตัวดำเนินเรื่องด้วย แต่เนื่องจากว่าฟอร์ทิสเป็นตัวละครที่ย้ำคิดย้ำทำ และมักจะหมกมุ่นอยู่กับความรู้สึกหม่นเศร้าของตนที่ต้องมารับรู้ความรู้สึกนึกคิดของคนรอบข้างที่รังเกียจและเกลียดกลัวเขาจนไม่อยากเข้าใกล้ จนทำให้ดูเหมือนว่าเรื่องดูจะวนซ้ำๆ ในประเด็นเดิมเสมอ แม้ว่าจะมีตัวละครอื่นๆ เสริมเข้ามาเพื่อดึงให้เรื่องดำเนินไปทางอื่นๆ ได้บ้าง แต่ท้ายที่สุดเรื่องก็มาจบลงที่ความรู้สึกหดหู่และเศร้าโศกของฟอร์ทิสอยู่ดี ด้วยเหตุนี้จึงอยากเสนอว่า ไลเคน น่าจะวางโครงเรื่องหลักไว้อย่างชัดเจนว่าจะเปิดเรื่องอย่างไร จะให้เรื่องดำเนินไปในทิศทางใด มีปมปัญหาใดบ้าง ซึ่งต้องพัฒนาปมปัญหาไปจนถึงจุดสูงสุด ก่อนที่จะมีการคลี่คลายปัญหาที่นำไปสู่ตอนจบของเรื่องต่อไป หากจะมีภาคต่ออาจจะต้องเริ่มแนะนำตัวละครในภาคต่อมาบ้างแล้ว และคงต้องคิดถึงการทิ้งท้ายเรื่องในตอบจบเพื่อจะต่อไปยังภาคต่อไปด้วย ในการวางโครงเรื่องไว้อย่างชัดเจนเช่นนี้ อาจจะช่วยลดปัญหาที่ว่าทำอย่างไรให้เรื่องดำเนินไปโดยไม่ต้องผูกติดกับความรู้สึกนึกคิดและการดำเนินชีวิตของฟอร์ทิสมากนัก แม้ว่าจะให้ฟอร์ทิสเป็นตัวดำเนินเรื่องก็ตาม ความชัดเจนของคำอธิบายเกี่ยวกับ “ผู้ต้องสาป” หรือ คาทารา” ก็มีความสำคัญ เพราะเนื้อหาโดยรวมจะกล่าวถึงเรื่องนี้เป็นหลัก แต่ขณะนี้ดูเหมือนว่าเหตุผลที่ผู้เขียนให้ไว้เกี่ยวกับผู้ต้องสาปหรือคาทารายังไม่ชัดเจนนัก และบางครั้งข้อมูลที่เกี่ยวกับคาทาราก็ดูจะขัดกันเองอยู่ หากพิจารณาจากคำอธิบายในเรื่องจะพบว่า จุดกำเนิดของคาทาราหรือผู้ต้องสาปเกิดการระเบิดของศูนย์วิจัยจนทำให้กัมมันตภาพรังสีที่ใช้ในการทดลองรั่วไหลออกสู่อากาศ และกลายพันธุ์เป็นไวรัส ซึ่งผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสดังกล่าวจะกลายเป็นคาทารา ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไวรัสนี้คือเด็กในครรภ์มารดา และนอกจากคนแล้ว สิ่งมีชีวิตที่สามารถกลายพันธุ์เป็นคาทาราได้อีกคือ พืช และสัตว์ แต่ผู้เขียนยังไม่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอะไรคือจุดเด่นหรือเอกลักษณ์สำคัญที่ทำให้คาทาราต่างจากสิ่งมีชีวิตธรรมดา จนกระทั่งสามารถแยกออกได้แค่เพียงการมองเห็น นอกจากนี้สิ่งที่น่าแปลกใจอีกประการหนึ่งคือ คุณลักษณะของคาทาราหรือผู้ต้องสาปก็น่าจะคล้ายคลึงกัน เพราะเกิดมาจากสารต้นกำเนิดเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ หรือ พืช แต่เหตุใดจึงดูเหมือนว่ามีแต่เฉพาะคาทาราที่เป็นคนเท่านั้นที่มีอันตรายและเป็นที่เกรงกลัวและรังเกียจจากคนทั่วๆไป จนกระทั่งเด็กบางคน แม้แต่พ่อแม่ยังรังเกียจเขาเลย เช่น อาเทอร์ ด้วยเหตุนี้จึงเห็นว่าหากคนส่วนใหญ่ในสังคมรู้สึกว่าคาทาราที่เป็นคนมีอันตรายมากขนาดนี้ก็น่าจะมีมาตรการป้องกันและควบคุมคาทาราเหล่านี้ให้รัดกุมขึ้น เช่นมีสถานที่เฉพาะสำหรับคนกลุ่มพิเศษกลุ่มนี้ หรือมีวิธีการสั่งสอนหรืออบรมให้คนกลุ่มนี้รู้จักวิธีการใช้พลังหรือควบคุมพลัง เพราะคนเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็เป็นเด็กๆ ทั้งนั้น ขณะเดียวกันก็จะเห็นว่าคนกลุ่มนี้มักจะแสดงพลังพิเศษออกมาก็ต่อเมื่อถูกรังแกจนถึงขีดสุดเท่านั้น พวกเขามิใช่ผู้ที่คิดว่าตนมีอำนาจพิเศษแล้วทำตัวเกะกะระรานผู้ที่อ่อนแอกว่าจนกลายเป็นที่หวาดเกรงของคนทั่วไป ขณะเดียวกันเนื้อเรื่องที่นำเสนอตั้งแต่ต้นก็มิได้แสดงให้เห็นว่าคาทาราที่เป็นคนเหล่านี้เป็นภัยร้ายแรงที่ต้องกำจัดแต่อย่างใด เพราะยังมีการจัดแข่งขันร่วมกันระหว่างคนธรรมดากับคาทาราเพื่อขจัดอคติระหว่างกันด้วย สำหรับการแข่งขันในครั้งนี้ หากอ่านเพียงวัตถุประสงค์ก็ดูเหมือนว่าน่าจะเป็นสิ่งที่จะช่วยให้คาทาราอยู่ในสังคมนี้ได้อย่างเป็นสุข แต่เมื่อไปดูรายละเอียดในการแข่งขันแล้ว ดูประหนึ่งว่ายิ่งจะทำให้เกิดความแตกแยกมากขึ้น และอาจจะเป็นการสร้างความชอบธรรมให้คนทั่วไปสามารถที่จะรังแกและทำร้ายคาทาราได้มากขึ้นกว่าเดิมเสียอีก เพราะคาทารากลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการแข่งขันครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแข่งขัน ผู้แสวงหา (ต้องตามหาสิ่งมีชีวิตที่ต้องสาปมากที่สุด) หรือ ผู้ควบคุม (ฝึกคาทาราของตนให้แข่งแกร่งในการประลองกับคาทาราของผู้อื่น) จึงเกิดข้อสงสัยว่าจุดยืนของเรื่องที่ ไลเคน ตั้งใจอยู่ที่กันแน่ เพราะขณะหนึ่งแสดงให้เห็นว่าแสดงความเห็นใจคาทารา แต่การกระทำต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเรื่องดูจะเป็นการกระหน่ำซ้ำเติมให้คาทาราต้องทุกข์ทรมานมากขึ้นไปอีกอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฉากที่พ่อของฟอร์ทิสนำต้นเซ็นทิสกลับมาที่บ้าน ซึ่งเขาเองก็ทราบว่าต้นไม้ชนิดนี้เป็นต้นไม้ที่นำมาใช้ทำกำไรคาสลิสเพื่อใช้จับและกักขังพลังของคาทารา ก็ไม่น่าจะนำกลับมาบ้าน เพราะว่าต้นไม้ชนิดนี้จะมีผลร้ายกับเฟอร์ทิสลูกชายของเขาเอง ท้ายที่สุดก็ดูเหมือนว่าพ่อตั้งใจจะใช้ฟอร์ทิสเป็นเสมือนหนูทดลองเพื่อจะได้ทราบคุณลักษณะที่แท้จริงของต้นเซ็นทิสสายพันธุ์ใหม่ที่เขาเพิ่งค้นพบ จึงสงสัยว่าแท้ที่จริงแล้วพ่อรักเขาหรือกลัวเขากันแน่ ในส่วนของการเขียนนั้นพบว่า ไลเคน สามารถเขียนบทบรรยายได้ดี โดยเฉพาะการบรรยายความรู้สึกของตัวละครที่ถูกกระทำที่หม่นเศร้า หดหู่ และแปลกแยกจากสังคม จนทำให้ผู้อ่านสามารถเกิดความรู้สึกคล้อยตามและสงสารตัวละครเหล่านั้นได้ แต่บางครั้งการบรรยายลักษณะตัวละครหรือฉากต่างๆ ก็ยังไม่สื่อความได้อย่างชัดเจนเท่าใดนัก เช่น บรรยายอาร์เทอร์หน้าเหมือนเด็กมัธยมต้น ซึ่งเมื่ออ่านแล้วก็ไม่สามารถจินตนาการได้ว่าหน้าตาของเด็กมัธยมต้นที่ผู้เขียนต้องการอธิบายนั้นเป็นอย่างไร เพราะคำว่ามัธยมต้นยังไม่สามารถสื่อความในเชิงภาพพจน์ได้อย่างชัดเจน หรือยังมีคำขยายในการบรรยายที่แปลกๆ เช่น บรรยายว่า ตึกทั้งตึกสั่นระรัวราวกับลูกแมวเปียกฝนที่หนาวสั่น ก็นึกภาพของตึกที่สั่นเหมือนลูกแมวไม่ออกว่าเป็นอย่างไร และบางครั้งก็มีการบรรยายที่ผิดบริบทไปบ้าง จนทำให้การบรรยายในส่วนนั้นแปลกแยกจากเรื่องทั้งหมด จะเห็นได้ว่าเรื่องราวที่ดำเนินอยู่นั้นน่าจะเป็นประเทศใดประเทศหนึ่งที่มิใช่ประเทศไทยหรือประเทศในโซนเอเซีย แต่ผู้แต่งกลับให้ตัวละครกินโจ๊ก หรือ เคารพธงชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่ามีคำที่เขียนผิดประปราย เช่น ปรารนา เขียนเป็น ปรารถนา ฮะ หรือ หา เขียนเป็น ห๊ะ พะรุงพะรัง เขียนเป็น พรุงพรัง สัญชาตญาณ เขียนเป็น สัญชาติญาณ ขนลุกเกรียว เขียนเป็น ขนลุกเกียว อัคคี เขียนเป็น อัคคีย์ บริภาษ เขียนเป็น บริพาท ปฏิหารย์ เขียนเป็น ปาฏิหาริย์ แป๊บ เขียนเป็น แปบ อนุญาต เขียนเป็น อนุญาติ มหาศาล เขียนเป็น มหาศาส ภรรยา เขียนเป็น ภรรญา สถิต เขียนเป็น สถิตย์ ซาบซึ้ง เขียนเป็น ทราบซึ้ง ซุ่มซ่าม เขียนเป็น สุ่มซ่าม ว้าก เขียนเป็น ว๊าก กฎ เขียนเป็น กฏ ขยะแขยง เขียนเป็น ขยักแขยง เถา เขียนเป็น เถาว์ เถาวัลย์ เขียนเป็น เถาว์วัลย์ หอมกรุ่น เขียนเป็น หอมกรุน เขียวเข้ม เขียนเป็น เขี้ยวเข้ม พรุ่งนี้ เขียนเป็น พุร้งนี้ เวทมนตร์ เขียนเป็น เวทมนต์ ใช่ เขียนเป็น ใช้ สู้ เขียนเป็น สู่ โธ่เว้ย เขียนเป็น โถ่เว้ย ศีรษะ เขียนเป็น ศรีษะ แปรเปลี่ยน เขียนเป็น แปลเปลี่ยน ฉัน เขียนเป็น ชั้น โศกเศร้า เขียนเป็น โสกเศร้า หา เขียนเป็น ห๋า กำไล เขียนเป็น กำไร ตระเวน เขียนเป็น ตระเวร นอกจากนี้ยังมีคำบางคำที่ไม่นิยมใช้ คือ ห้อโลหิต แต่จะใช้ว่า ห้อเลือด มากกว่า ทั้งนี้ ผู้วิจารณ์หวังว่าข้อสังเกตที่เสนอไปข้างต้นอาจจะมีส่วนช่วยในการ rewrite เรื่องนี้ได้บ้างไม่มากก็น้อย -----------------------------------------   อ่านน้อยลง

    bluewhale | 13 ก.ย. 55

    • 5

    • 0

    "ห้องวิจารณ์นิยายสไตล์กันเอง"

    (แจ้งลบ)

    เนื่องจากดองงานมาเป็นเดือนT^T จึงอาจจะโดนว่าเอาได้(แต่ก็ไม่โดนอ่า) เราจะวิจารณ์ให้แล้วนะ ตื่นเต้นเปล่า(เลิกลีลาเหอะ//เสียงจากทุกคน) คืออธิบายก่อนว่าห้องวิจารณ์นิยายนี่จะมีเกณฑ์แบบนี้(เราอาจจะเพิ่มให้บ้างนิดนึง) ชื่อเรื่อง-.......... (9/10) ชื่อเรื่องก็น่าสนใจดีนะ รู้เลยว่าเป็นแนวแฟนตาซี แต่ทีไม่ให้เต็มเพราะว่า มีวงเล็บและอะไรต่อมิอะไรยาวย ... อ่านเพิ่มเติม

    เนื่องจากดองงานมาเป็นเดือนT^T จึงอาจจะโดนว่าเอาได้(แต่ก็ไม่โดนอ่า) เราจะวิจารณ์ให้แล้วนะ ตื่นเต้นเปล่า(เลิกลีลาเหอะ//เสียงจากทุกคน) คืออธิบายก่อนว่าห้องวิจารณ์นิยายนี่จะมีเกณฑ์แบบนี้(เราอาจจะเพิ่มให้บ้างนิดนึง) ชื่อเรื่อง-.......... (9/10) ชื่อเรื่องก็น่าสนใจดีนะ รู้เลยว่าเป็นแนวแฟนตาซี แต่ทีไม่ให้เต็มเพราะว่า มีวงเล็บและอะไรต่อมิอะไรยาวยืด แล้วเวลาหาชื่อเรื่องในค้นหานิยาย คำนี้Κατάρα εκ Ψυχή จะหาไม่เจอ(หรือเราไม่เจอคนเดียวก็ไม่รู้) โครงเรื่อง (9.5/10) ในส่วนของโครงเรื่อง น่าติดตาม เพราะถือว่าบรรยายได้น่าอ่าน- - มีเด็กกลายพันธุ์ด้วย>< ไม่เคยพบเคยเห็น ส่วนมากนิยายแฟนตาซีจะเป็นเกมออนไลน์อ่ะเนอะ(แถมนอนในเครื่องยาวๆ เหมือนกันแทบทุกเรื่อง= =) มันก็แปลกดี ไม่ซ้ำใครด้วย คำพูดของตัวละคร (.10/10) คำพูดของตัวละครก็ไม่วิบัติ!!! ภาษาไทยเป๊ะทุกแกรมม่า(เกี่ยว?) มันก็แบบมีผิดเล็กน้อย ตกหล่นไปบ้าง แต่น้อยมากๆ บทบรรยาย (10/10) นี่คือสิ่งที่อยากวิจารณ์ บทบรรยายดีอ่ะ บรรยายเก่งจัง บรรยายไม่น่าเบื่อ ชอบการบรรยายแบบนี้นะ มีคำพูดแล้วก็บรรยายให้เห็นถึงหน้าตา อารมณ์ของตัวละคร แล้วสามารถทำให้คนอ่านรู้ได้ถึงอารมณ์ สีหน้าโดยไม่ต้องใช้ อีโมติคอนแบบนี่ O [ ] o หรืออะไรแบบนี้>>>T^T การจัดหน้า(อ่านสบายสายตาแค่ไหน) (9/10) รู้สึกว่าฟอนต์ตอนแรกกับตอนล่าสุดนี้ไม่เหมือนกัน แต่เปลี่ยนฟอนต์ก็ดีแล้วน่อ อ่านสบายตาขึ้นมากๆ เราว่าฟอนต์ตอนแรกๆเนี่ย มันเบียดๆซ้อนๆยังไงก็ไม่รู้ แล้วก็การจัดหน้า ถือว่าดี ส่วนการตกแต่งจะพูดตอนท้ายจ้า ชื่อตอน (8/10) ยาวอีกแว้ว สงสัยว่าภาษาข้างหน้าสุดคืออะไร- - เลยนั่งอ่านเม้นท์ ปรากฎว่าใส่ให้เท่ห์เฉยๆ-0- แต่ไม่เป็นไร ยังถือว่าผ่าน ความสมเหตุสมผล (9/10) เนื่องจากเราไม่ได้อ่านครบทุกตอน และนิยายยังไม่จบ แต่นั่งๆอ่านไป มันก็สมเหตุสมผลของมันดี โอเช ใช้ได้ ภาษา สำนวนที่ใช้ (10/10) เราชอบภาษามาก บอกตั้งแต่แรกแล้วว่าชอบบทบรรยายอะไรแบบนี้มาก มันดูพลิ้วๆ(?) ภาษาสวยดี ความสนุก/ความน่าติดตาม (20/20) สังเกตจากคอมเม้นท์ฯลฯ น่าติดตามนี่นา มีคนอยากอ่านตอนต่อไปกันตรึม สรุปโดยรวม (.../100) นั่งนับคะแนน=w= ได้ 84.5 คะแนน เชิญปรบมือ! คะแนนสูงนะนั่น ย่อยๆฝอยๆ(พิเศษเฉพาะทาคุมิ) การตกแต่งบทความ เปิดมาหน้าบทความ มีลาเบลแอดเฟบ มีลาเบลโหวต เยอะแยะ และของแต่งมากมาย แต่ไม่มีธีม เรารู้สึกว่าธีมมันสามารถช่วยให้นิยายบทความอะไรน่าอ่านขึ้นได้นะ ถ้าลองเลือกแนวธีมให้เข้ากับแนวนิยาย ก็โอแล้ว แบนเนอร์ ใหญ่ไปมั้ยๆ แต่สวยงามดี ที่บอกว่าใหญ่ไปเพราะว่าปกติจะเป็นแต่ขนาด250x75 pix เลยรู้สึกว่าแบนเนอร์นี้ใหญ่ แต่ถ้าจะใช้ก็ไม่เป็นไรจ้า เพระว่านิยายสำคัญที่เนื้อหาอยู่แล้ว สุดท้ายนี้... ถ้าไม่พอใจอะไรในคำวิจารณ์ก็ขอโทษด้วยนะ เราเป็นคนวิจารณ์แบบนี้แหละ//โค้งให้   อ่านน้อยลง

    ทาคุมิ ฟูจิวาระ | 20 ม.ค. 55

    • 4

    • 0

    ดูทั้งหมด

    คำนิยมล่าสุด

    "วิจารณ์ Κατάρα: Katara; ผู้ต้องสาป"

    (แจ้งลบ)

    Κατάρα: Katara; ผู้ต้องสาป ผลงานของ ไลเคน นับเป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาวอีกเรื่องหนึ่ง ขณะนี้เป็นการนำเสนอภาค “จิตวิญญาณ” ซึ่งโพสต์ถึงตอนที่ 12 หากจะให้เดา เรื่องนี้น่าจะมีหลายภาค เพราะว่าผู้ต้องสาปที่จะกล่าวถึงนั้นสามารถแยกออกได้เป็น 13 กลุ่มตามธาตุพื้นฐานสำคัญที่ให้ไฟธาตุมีความต่างกันถึง 13 ชนิด ธาต ... อ่านเพิ่มเติม

    Κατάρα: Katara; ผู้ต้องสาป ผลงานของ ไลเคน นับเป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาวอีกเรื่องหนึ่ง ขณะนี้เป็นการนำเสนอภาค “จิตวิญญาณ” ซึ่งโพสต์ถึงตอนที่ 12 หากจะให้เดา เรื่องนี้น่าจะมีหลายภาค เพราะว่าผู้ต้องสาปที่จะกล่าวถึงนั้นสามารถแยกออกได้เป็น 13 กลุ่มตามธาตุพื้นฐานสำคัญที่ให้ไฟธาตุมีความต่างกันถึง 13 ชนิด ธาตุจิตวิญญาณในภาคนี้ได้รับพลังมาจากธาตุไซโค ซึ่งให้ไฟธาตุสีม่วง โดยมีตัวละครหลักที่เป็นตัวแทนของผู้ต้องสาปที่ได้รับพลังธาตุนี้คือ ฟอร์ทิส เด็กชายที่เกิดมาพร้อมกลับกลายเป็นผู้ต้องสาปแห่งคาทารา ซึ่งติดเชื้อไวรัสขณะที่อยู่ในครรภ์มารดา ทำให้เมื่อเกิดมากลายเป็นสิ่งมีชีวิตกลายพันธุ์หรือเด็กต้องสาปที่ถูกผู้คนในสังคมรอบข้างรังเกียจ ทำให้ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก ตกอยู่ในความทุกข์ทรมานมาตลอดนับตั้งแต่เกิด และที่สำคัญเขามีความสามารถพิเศษในการรับทราบความรู้สึกนึกคิดที่อยู่ในใจคนอื่นได้ ขณะเดียวกันก็ต้องฝืนแสดงออกว่าร่าเริง เพื่อปกปิดความทุกข์ทรมานให้คนในครอบครัวที่รักเขาต้องทุกข์ทรมานไปกับเขาด้วย ก่อนอื่นต้องยอมรับว่าอ่านนิยายเรื่องนี้จบถึงที่ ไลเคน โพสต์ตอนล่าสุดคือตอนที่ 12 ไว้นานมากแล้ว แต่ที่ยังไม่วิจารณ์เพราะต้องการรอให้ rewrite นิยายตามที่แจ้งไว้ว่าจะขอแก้ไขในช่วงเดือนเมษายนก่อน แต่ขณะนี้ก็ยังไม่ได้ rewrite จึงตัดสินใจวิจารณ์เลยเผื่อข้อคิดบางประการที่เสนอไว้อาจจะช่วยในการ rewrite ได้บ้าง นิยายเรื่องนี้เปิดบทนำได้อย่างน่าตื่นเต้นและน่าติดตามเป็นอย่างมาก แต่น่าเสียดายที่ ไลเคน ไม่ได้นำเรื่องราวในบทนำพัฒนาหรือมีส่วนในการพัฒนาเรื่องในตอนต่อๆ ไปเลย เพียงแต่บอกว่าเรื่องราวในบทนำเป็นเพียงความฝันของ ฟอร์ทิสเท่านั้น ทั้งๆ ที่ขณะอ่านเรื่องราวในตอนต่อๆ มากลับรู้สึกว่าเรื่องราวในบทนำนั้นแท้ที่จริงน่าจะเป็นจุดกำเนิดที่ก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตกลายพันธุ์หรือคาทาราขึ้นมามากกว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆ สิ่งที่ค้างใจที่ยังหาคำตอบไม่ได้ก็คือ ผู้หญิงท้องแก่ที่มีแสงสีม่วงส่องออกมาจากครรภ์ของเธอที่อยู่ในบทนำมีความสัมพันธ์กับฟอร์ทิส (ที่มีธาตุพิเศษของคาทาราเป็นสีม่วงเช่นกัน) อย่างไร ประการต่อมาที่พบคือ พัฒนาการของเนื้อเรื่องดูจะผูกพันอยู่เฉพาะกับฟอร์ทิส ซึ่งเป็นตัวละครหลักในเรื่องเป็นสำคัญ โดยให้ฟอร์ทิสเป็นศูนย์กลางของเรื่อง ขณะเดียวกันก็ให้เขาเป็นตัวดำเนินเรื่องด้วย แต่เนื่องจากว่าฟอร์ทิสเป็นตัวละครที่ย้ำคิดย้ำทำ และมักจะหมกมุ่นอยู่กับความรู้สึกหม่นเศร้าของตนที่ต้องมารับรู้ความรู้สึกนึกคิดของคนรอบข้างที่รังเกียจและเกลียดกลัวเขาจนไม่อยากเข้าใกล้ จนทำให้ดูเหมือนว่าเรื่องดูจะวนซ้ำๆ ในประเด็นเดิมเสมอ แม้ว่าจะมีตัวละครอื่นๆ เสริมเข้ามาเพื่อดึงให้เรื่องดำเนินไปทางอื่นๆ ได้บ้าง แต่ท้ายที่สุดเรื่องก็มาจบลงที่ความรู้สึกหดหู่และเศร้าโศกของฟอร์ทิสอยู่ดี ด้วยเหตุนี้จึงอยากเสนอว่า ไลเคน น่าจะวางโครงเรื่องหลักไว้อย่างชัดเจนว่าจะเปิดเรื่องอย่างไร จะให้เรื่องดำเนินไปในทิศทางใด มีปมปัญหาใดบ้าง ซึ่งต้องพัฒนาปมปัญหาไปจนถึงจุดสูงสุด ก่อนที่จะมีการคลี่คลายปัญหาที่นำไปสู่ตอนจบของเรื่องต่อไป หากจะมีภาคต่ออาจจะต้องเริ่มแนะนำตัวละครในภาคต่อมาบ้างแล้ว และคงต้องคิดถึงการทิ้งท้ายเรื่องในตอบจบเพื่อจะต่อไปยังภาคต่อไปด้วย ในการวางโครงเรื่องไว้อย่างชัดเจนเช่นนี้ อาจจะช่วยลดปัญหาที่ว่าทำอย่างไรให้เรื่องดำเนินไปโดยไม่ต้องผูกติดกับความรู้สึกนึกคิดและการดำเนินชีวิตของฟอร์ทิสมากนัก แม้ว่าจะให้ฟอร์ทิสเป็นตัวดำเนินเรื่องก็ตาม ความชัดเจนของคำอธิบายเกี่ยวกับ “ผู้ต้องสาป” หรือ คาทารา” ก็มีความสำคัญ เพราะเนื้อหาโดยรวมจะกล่าวถึงเรื่องนี้เป็นหลัก แต่ขณะนี้ดูเหมือนว่าเหตุผลที่ผู้เขียนให้ไว้เกี่ยวกับผู้ต้องสาปหรือคาทารายังไม่ชัดเจนนัก และบางครั้งข้อมูลที่เกี่ยวกับคาทาราก็ดูจะขัดกันเองอยู่ หากพิจารณาจากคำอธิบายในเรื่องจะพบว่า จุดกำเนิดของคาทาราหรือผู้ต้องสาปเกิดการระเบิดของศูนย์วิจัยจนทำให้กัมมันตภาพรังสีที่ใช้ในการทดลองรั่วไหลออกสู่อากาศ และกลายพันธุ์เป็นไวรัส ซึ่งผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสดังกล่าวจะกลายเป็นคาทารา ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไวรัสนี้คือเด็กในครรภ์มารดา และนอกจากคนแล้ว สิ่งมีชีวิตที่สามารถกลายพันธุ์เป็นคาทาราได้อีกคือ พืช และสัตว์ แต่ผู้เขียนยังไม่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอะไรคือจุดเด่นหรือเอกลักษณ์สำคัญที่ทำให้คาทาราต่างจากสิ่งมีชีวิตธรรมดา จนกระทั่งสามารถแยกออกได้แค่เพียงการมองเห็น นอกจากนี้สิ่งที่น่าแปลกใจอีกประการหนึ่งคือ คุณลักษณะของคาทาราหรือผู้ต้องสาปก็น่าจะคล้ายคลึงกัน เพราะเกิดมาจากสารต้นกำเนิดเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ หรือ พืช แต่เหตุใดจึงดูเหมือนว่ามีแต่เฉพาะคาทาราที่เป็นคนเท่านั้นที่มีอันตรายและเป็นที่เกรงกลัวและรังเกียจจากคนทั่วๆไป จนกระทั่งเด็กบางคน แม้แต่พ่อแม่ยังรังเกียจเขาเลย เช่น อาเทอร์ ด้วยเหตุนี้จึงเห็นว่าหากคนส่วนใหญ่ในสังคมรู้สึกว่าคาทาราที่เป็นคนมีอันตรายมากขนาดนี้ก็น่าจะมีมาตรการป้องกันและควบคุมคาทาราเหล่านี้ให้รัดกุมขึ้น เช่นมีสถานที่เฉพาะสำหรับคนกลุ่มพิเศษกลุ่มนี้ หรือมีวิธีการสั่งสอนหรืออบรมให้คนกลุ่มนี้รู้จักวิธีการใช้พลังหรือควบคุมพลัง เพราะคนเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็เป็นเด็กๆ ทั้งนั้น ขณะเดียวกันก็จะเห็นว่าคนกลุ่มนี้มักจะแสดงพลังพิเศษออกมาก็ต่อเมื่อถูกรังแกจนถึงขีดสุดเท่านั้น พวกเขามิใช่ผู้ที่คิดว่าตนมีอำนาจพิเศษแล้วทำตัวเกะกะระรานผู้ที่อ่อนแอกว่าจนกลายเป็นที่หวาดเกรงของคนทั่วไป ขณะเดียวกันเนื้อเรื่องที่นำเสนอตั้งแต่ต้นก็มิได้แสดงให้เห็นว่าคาทาราที่เป็นคนเหล่านี้เป็นภัยร้ายแรงที่ต้องกำจัดแต่อย่างใด เพราะยังมีการจัดแข่งขันร่วมกันระหว่างคนธรรมดากับคาทาราเพื่อขจัดอคติระหว่างกันด้วย สำหรับการแข่งขันในครั้งนี้ หากอ่านเพียงวัตถุประสงค์ก็ดูเหมือนว่าน่าจะเป็นสิ่งที่จะช่วยให้คาทาราอยู่ในสังคมนี้ได้อย่างเป็นสุข แต่เมื่อไปดูรายละเอียดในการแข่งขันแล้ว ดูประหนึ่งว่ายิ่งจะทำให้เกิดความแตกแยกมากขึ้น และอาจจะเป็นการสร้างความชอบธรรมให้คนทั่วไปสามารถที่จะรังแกและทำร้ายคาทาราได้มากขึ้นกว่าเดิมเสียอีก เพราะคาทารากลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการแข่งขันครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแข่งขัน ผู้แสวงหา (ต้องตามหาสิ่งมีชีวิตที่ต้องสาปมากที่สุด) หรือ ผู้ควบคุม (ฝึกคาทาราของตนให้แข่งแกร่งในการประลองกับคาทาราของผู้อื่น) จึงเกิดข้อสงสัยว่าจุดยืนของเรื่องที่ ไลเคน ตั้งใจอยู่ที่กันแน่ เพราะขณะหนึ่งแสดงให้เห็นว่าแสดงความเห็นใจคาทารา แต่การกระทำต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเรื่องดูจะเป็นการกระหน่ำซ้ำเติมให้คาทาราต้องทุกข์ทรมานมากขึ้นไปอีกอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฉากที่พ่อของฟอร์ทิสนำต้นเซ็นทิสกลับมาที่บ้าน ซึ่งเขาเองก็ทราบว่าต้นไม้ชนิดนี้เป็นต้นไม้ที่นำมาใช้ทำกำไรคาสลิสเพื่อใช้จับและกักขังพลังของคาทารา ก็ไม่น่าจะนำกลับมาบ้าน เพราะว่าต้นไม้ชนิดนี้จะมีผลร้ายกับเฟอร์ทิสลูกชายของเขาเอง ท้ายที่สุดก็ดูเหมือนว่าพ่อตั้งใจจะใช้ฟอร์ทิสเป็นเสมือนหนูทดลองเพื่อจะได้ทราบคุณลักษณะที่แท้จริงของต้นเซ็นทิสสายพันธุ์ใหม่ที่เขาเพิ่งค้นพบ จึงสงสัยว่าแท้ที่จริงแล้วพ่อรักเขาหรือกลัวเขากันแน่ ในส่วนของการเขียนนั้นพบว่า ไลเคน สามารถเขียนบทบรรยายได้ดี โดยเฉพาะการบรรยายความรู้สึกของตัวละครที่ถูกกระทำที่หม่นเศร้า หดหู่ และแปลกแยกจากสังคม จนทำให้ผู้อ่านสามารถเกิดความรู้สึกคล้อยตามและสงสารตัวละครเหล่านั้นได้ แต่บางครั้งการบรรยายลักษณะตัวละครหรือฉากต่างๆ ก็ยังไม่สื่อความได้อย่างชัดเจนเท่าใดนัก เช่น บรรยายอาร์เทอร์หน้าเหมือนเด็กมัธยมต้น ซึ่งเมื่ออ่านแล้วก็ไม่สามารถจินตนาการได้ว่าหน้าตาของเด็กมัธยมต้นที่ผู้เขียนต้องการอธิบายนั้นเป็นอย่างไร เพราะคำว่ามัธยมต้นยังไม่สามารถสื่อความในเชิงภาพพจน์ได้อย่างชัดเจน หรือยังมีคำขยายในการบรรยายที่แปลกๆ เช่น บรรยายว่า ตึกทั้งตึกสั่นระรัวราวกับลูกแมวเปียกฝนที่หนาวสั่น ก็นึกภาพของตึกที่สั่นเหมือนลูกแมวไม่ออกว่าเป็นอย่างไร และบางครั้งก็มีการบรรยายที่ผิดบริบทไปบ้าง จนทำให้การบรรยายในส่วนนั้นแปลกแยกจากเรื่องทั้งหมด จะเห็นได้ว่าเรื่องราวที่ดำเนินอยู่นั้นน่าจะเป็นประเทศใดประเทศหนึ่งที่มิใช่ประเทศไทยหรือประเทศในโซนเอเซีย แต่ผู้แต่งกลับให้ตัวละครกินโจ๊ก หรือ เคารพธงชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่ามีคำที่เขียนผิดประปราย เช่น ปรารนา เขียนเป็น ปรารถนา ฮะ หรือ หา เขียนเป็น ห๊ะ พะรุงพะรัง เขียนเป็น พรุงพรัง สัญชาตญาณ เขียนเป็น สัญชาติญาณ ขนลุกเกรียว เขียนเป็น ขนลุกเกียว อัคคี เขียนเป็น อัคคีย์ บริภาษ เขียนเป็น บริพาท ปฏิหารย์ เขียนเป็น ปาฏิหาริย์ แป๊บ เขียนเป็น แปบ อนุญาต เขียนเป็น อนุญาติ มหาศาล เขียนเป็น มหาศาส ภรรยา เขียนเป็น ภรรญา สถิต เขียนเป็น สถิตย์ ซาบซึ้ง เขียนเป็น ทราบซึ้ง ซุ่มซ่าม เขียนเป็น สุ่มซ่าม ว้าก เขียนเป็น ว๊าก กฎ เขียนเป็น กฏ ขยะแขยง เขียนเป็น ขยักแขยง เถา เขียนเป็น เถาว์ เถาวัลย์ เขียนเป็น เถาว์วัลย์ หอมกรุ่น เขียนเป็น หอมกรุน เขียวเข้ม เขียนเป็น เขี้ยวเข้ม พรุ่งนี้ เขียนเป็น พุร้งนี้ เวทมนตร์ เขียนเป็น เวทมนต์ ใช่ เขียนเป็น ใช้ สู้ เขียนเป็น สู่ โธ่เว้ย เขียนเป็น โถ่เว้ย ศีรษะ เขียนเป็น ศรีษะ แปรเปลี่ยน เขียนเป็น แปลเปลี่ยน ฉัน เขียนเป็น ชั้น โศกเศร้า เขียนเป็น โสกเศร้า หา เขียนเป็น ห๋า กำไล เขียนเป็น กำไร ตระเวน เขียนเป็น ตระเวร นอกจากนี้ยังมีคำบางคำที่ไม่นิยมใช้ คือ ห้อโลหิต แต่จะใช้ว่า ห้อเลือด มากกว่า ทั้งนี้ ผู้วิจารณ์หวังว่าข้อสังเกตที่เสนอไปข้างต้นอาจจะมีส่วนช่วยในการ rewrite เรื่องนี้ได้บ้างไม่มากก็น้อย -----------------------------------------   อ่านน้อยลง

    bluewhale | 13 ก.ย. 55

    • 5

    • 0

    "ห้องวิจารณ์นิยายสไตล์กันเอง"

    (แจ้งลบ)

    เนื่องจากดองงานมาเป็นเดือนT^T จึงอาจจะโดนว่าเอาได้(แต่ก็ไม่โดนอ่า) เราจะวิจารณ์ให้แล้วนะ ตื่นเต้นเปล่า(เลิกลีลาเหอะ//เสียงจากทุกคน) คืออธิบายก่อนว่าห้องวิจารณ์นิยายนี่จะมีเกณฑ์แบบนี้(เราอาจจะเพิ่มให้บ้างนิดนึง) ชื่อเรื่อง-.......... (9/10) ชื่อเรื่องก็น่าสนใจดีนะ รู้เลยว่าเป็นแนวแฟนตาซี แต่ทีไม่ให้เต็มเพราะว่า มีวงเล็บและอะไรต่อมิอะไรยาวย ... อ่านเพิ่มเติม

    เนื่องจากดองงานมาเป็นเดือนT^T จึงอาจจะโดนว่าเอาได้(แต่ก็ไม่โดนอ่า) เราจะวิจารณ์ให้แล้วนะ ตื่นเต้นเปล่า(เลิกลีลาเหอะ//เสียงจากทุกคน) คืออธิบายก่อนว่าห้องวิจารณ์นิยายนี่จะมีเกณฑ์แบบนี้(เราอาจจะเพิ่มให้บ้างนิดนึง) ชื่อเรื่อง-.......... (9/10) ชื่อเรื่องก็น่าสนใจดีนะ รู้เลยว่าเป็นแนวแฟนตาซี แต่ทีไม่ให้เต็มเพราะว่า มีวงเล็บและอะไรต่อมิอะไรยาวยืด แล้วเวลาหาชื่อเรื่องในค้นหานิยาย คำนี้Κατάρα εκ Ψυχή จะหาไม่เจอ(หรือเราไม่เจอคนเดียวก็ไม่รู้) โครงเรื่อง (9.5/10) ในส่วนของโครงเรื่อง น่าติดตาม เพราะถือว่าบรรยายได้น่าอ่าน- - มีเด็กกลายพันธุ์ด้วย>< ไม่เคยพบเคยเห็น ส่วนมากนิยายแฟนตาซีจะเป็นเกมออนไลน์อ่ะเนอะ(แถมนอนในเครื่องยาวๆ เหมือนกันแทบทุกเรื่อง= =) มันก็แปลกดี ไม่ซ้ำใครด้วย คำพูดของตัวละคร (.10/10) คำพูดของตัวละครก็ไม่วิบัติ!!! ภาษาไทยเป๊ะทุกแกรมม่า(เกี่ยว?) มันก็แบบมีผิดเล็กน้อย ตกหล่นไปบ้าง แต่น้อยมากๆ บทบรรยาย (10/10) นี่คือสิ่งที่อยากวิจารณ์ บทบรรยายดีอ่ะ บรรยายเก่งจัง บรรยายไม่น่าเบื่อ ชอบการบรรยายแบบนี้นะ มีคำพูดแล้วก็บรรยายให้เห็นถึงหน้าตา อารมณ์ของตัวละคร แล้วสามารถทำให้คนอ่านรู้ได้ถึงอารมณ์ สีหน้าโดยไม่ต้องใช้ อีโมติคอนแบบนี่ O [ ] o หรืออะไรแบบนี้>>>T^T การจัดหน้า(อ่านสบายสายตาแค่ไหน) (9/10) รู้สึกว่าฟอนต์ตอนแรกกับตอนล่าสุดนี้ไม่เหมือนกัน แต่เปลี่ยนฟอนต์ก็ดีแล้วน่อ อ่านสบายตาขึ้นมากๆ เราว่าฟอนต์ตอนแรกๆเนี่ย มันเบียดๆซ้อนๆยังไงก็ไม่รู้ แล้วก็การจัดหน้า ถือว่าดี ส่วนการตกแต่งจะพูดตอนท้ายจ้า ชื่อตอน (8/10) ยาวอีกแว้ว สงสัยว่าภาษาข้างหน้าสุดคืออะไร- - เลยนั่งอ่านเม้นท์ ปรากฎว่าใส่ให้เท่ห์เฉยๆ-0- แต่ไม่เป็นไร ยังถือว่าผ่าน ความสมเหตุสมผล (9/10) เนื่องจากเราไม่ได้อ่านครบทุกตอน และนิยายยังไม่จบ แต่นั่งๆอ่านไป มันก็สมเหตุสมผลของมันดี โอเช ใช้ได้ ภาษา สำนวนที่ใช้ (10/10) เราชอบภาษามาก บอกตั้งแต่แรกแล้วว่าชอบบทบรรยายอะไรแบบนี้มาก มันดูพลิ้วๆ(?) ภาษาสวยดี ความสนุก/ความน่าติดตาม (20/20) สังเกตจากคอมเม้นท์ฯลฯ น่าติดตามนี่นา มีคนอยากอ่านตอนต่อไปกันตรึม สรุปโดยรวม (.../100) นั่งนับคะแนน=w= ได้ 84.5 คะแนน เชิญปรบมือ! คะแนนสูงนะนั่น ย่อยๆฝอยๆ(พิเศษเฉพาะทาคุมิ) การตกแต่งบทความ เปิดมาหน้าบทความ มีลาเบลแอดเฟบ มีลาเบลโหวต เยอะแยะ และของแต่งมากมาย แต่ไม่มีธีม เรารู้สึกว่าธีมมันสามารถช่วยให้นิยายบทความอะไรน่าอ่านขึ้นได้นะ ถ้าลองเลือกแนวธีมให้เข้ากับแนวนิยาย ก็โอแล้ว แบนเนอร์ ใหญ่ไปมั้ยๆ แต่สวยงามดี ที่บอกว่าใหญ่ไปเพราะว่าปกติจะเป็นแต่ขนาด250x75 pix เลยรู้สึกว่าแบนเนอร์นี้ใหญ่ แต่ถ้าจะใช้ก็ไม่เป็นไรจ้า เพระว่านิยายสำคัญที่เนื้อหาอยู่แล้ว สุดท้ายนี้... ถ้าไม่พอใจอะไรในคำวิจารณ์ก็ขอโทษด้วยนะ เราเป็นคนวิจารณ์แบบนี้แหละ//โค้งให้   อ่านน้อยลง

    ทาคุมิ ฟูจิวาระ | 20 ม.ค. 55

    • 4

    • 0

    ดูทั้งหมด

    ความคิดเห็น