ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ชวนอ่าน

    ลำดับตอนที่ #4 : บุพนิวาส โดย น้ำฟ้า

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 299
      1
      8 ก.พ. 55

           

    บุพนิวาส 
           โดย น้ำฟ้า

    ฆาตกรรมที่กู่กุดกลางสวนหม่อนของเฮือนเอื้องดอยชักนำให้เอกตระกูลและกัลฐ์ลดาได้พบกันเป็นครั้งแรกในภพนี้  บางสิ่งบางอย่างจากที่นั่น ติดตามสโรสินีเพื่อนสาวคนสนิทของเอกตระกูลกลับไปด้วยจุดมุ่งหวังที่เกี่ยวเนื่องมาแต่ปางก่อน  จากหญิงสาวที่เก่งกาจเชื่อมั่น กลับกลายเป็นคนละคน 

    ในขณะเดียวกันนั้นการเข้าพักในเฮือนเอื้องดอยกับเเม่เลี้ยงวงเดือน ผู้มีศักดิ์เป็นยายของกัลฐ์ลดานั้น ชักพาเรื่องราวและภาพประหลาดเรียงรายเข้ามาในมโนนึกของหญิงสาวราวกับเป็นภาพยนต์ที่กรอฟิล์มกลับ โดยเฉพาะเมื่อได้พบกับระมิงค์และนักรบ นักเขียนสาวและอาจารย์หนุ่มประจำมหาวิทยาลัยที่กัลฐ์ลดาศึกษาอยู่ ทั้งสองมีความผูกพันธ์กับเวียงกุมกาม เมืองเก่าที่จมหายไปกับสายน้ำปิงเมื่อหลายร้อยปีก่อน  ความเเค้นความชังของวิญญาณที่กู่กุด กับเด็กหญิงผมจุกชื่อเดียวกันกับเรือนที่พักอาศัยที่ไม่มีใครเห็นตัว  เสียงโหยหวนลอยลมยามวิกาลที่เธอไม่เข้าใจ นกเค้าแมวที่วนเวียนไม่ห่างไกล  ทั้งหมดนี้ราวกับภาพปริศนาที่กัลฐ์ลดาจะต้องปะติดปะต่อทีละนิด จนพบความสัมพันธ์ของทั้งสองภพ ระหว่างแสนเมืองและกาสะลอง เอกตระกูลและตัวเธอเอง เพื่อจะนำไปสู่การปลดปล่อยดวงวิญญาณของมะยะตะหน่าโซที่ถูกสาป ให้พ้นทุกข์เวทนา  แต่ในขณะเดียวกัน เรื่องของความรัก ความแค้นแต่ภพก่อน ยังส่งผลมาถึงภพนี้ ความเเค้นคำสาปของคนทั้งสองตระกูลบนสองฝั่งแม่น้ำปิงยังคงแยกคนทั้งสองเป็นดังเส้นขนาน หากความรักของคนทั้งสองเป็นดั่งสายน้ำ เวลาที่ผ่านไปหลายร้อยปีคือระยะทางที่สายรักไหลลงสู่แอ่งใหญ่มหาสมุทรกว้าง แลได้บรรจบกันสักวันหนึ่งด้วยบุพนิวาสอุ้มสม

    ....................................................................................................................

     

    พู่กันเองก็ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนเหมือนกันค่ะพี่เต้ เพราะดูเหมือนจะมีคนที่เกี่ยวข้องด้วยมากมายเต็มไปหมด

    คำพูดของกุลฐ์ลดาที่บุหลันคงต้องยืมมาใช้เปิดการพูดคุยถึงบุพนิวาส เป็นจริงที่พู่กันหรือกุลฐ์ลดาพ้อไว้ตอนกลาง ๆเรื่อง เพราะเหตุใดอย่างนั้นหรือคะ จำเเนกจากชื่อเรื่อง คงจะพอคาดเดาได้ บุพพะ คือแต่ก่อน ปางก่อน นิวาส คือ ที่อยู่ การร่วมเรียงเคียงอยู่   ตัวละครในเเต่ละยุคนั้นพอสมควรอยู่แล้ว เมื่อสองยุคมาเปิดมิติแถวๆ กู่สาปหรือกู่กุด เล่นเอางงงันไปบ้างเหมือนกัน แต่เมื่อตั้งสติดีๆ และค่อยเรียบเรียงแบบไม่ข้ามขั้น จะเริ่มสนุกสนานร่วมไปกับพู่กัน นั่นคือผู้อ่านหยิบแผ่นภาพมาเรียงต่อตามมุม ตามฉาก แต่อาจจะต่างกับพู่กันหน่อยหนึ่งตรงที่ตัวละครในเรื่องมองไม่เห็น มะยะตะหน่าโซ แต่ผู้อ่านเห็น ...ตรงนี้น่าเสียดาย มิเช่นนั้นคนอ่านจะได้ภาพตัวต่อมหัศจรรย์ถึงสองภาพในเวลาเดียวกัน คือหนึ่ง หาเหตุเเห่งเรื่องราวที่เกิดข้างในบุพนิวาส สอง หาความสัมพันธ์ของคนสองภพ  ใครคือกาสะลองในยุคนี้ ใครคือแสนเมือง  ใครคือเจ้านางสร้อยแสงดาว  ทั้งเรื่องที่ไม่ต้องหาว่าเป็นใครในภพนี้คงมีเพียงสามตน สองในสามอยู่ในกู่ หนึ่งอยู่ในน้ำ ... อ๊ะ...อย่าถามค่ะว่าตนไหน บุหลันไม่บอก   

     น้ำฟ้าขึ้นบทนำด้วยปัจจุบันจริง ที่หากเผลอมองจากทั้งเรื่องในตอนถัดไปจะคล้ายกับว่าคืออนาคต ...ตามทันไหมคะ ... นั่นคือการเล่า คล้ายจะย้อนอดีตทั้งหมด  วิธีการเล่าเรื่องแบบนี้จะเห็นบ่อยในงานที่มีการผ่านมิติเข้ามาเกี่ยวข้อง  ให้ความรู้สึกของความสมจริงว่าการเล่าสดตรงที่ว่ามั่นคงและครุ่นคิดเเล้วเนื่องจากเป็นเรื่องของอดีต และอีกประการหนึ่งคือยืนยันผลลัพธ์ ตรงยืนยันผลลัพธ์นี่อยากให้มองถึงหนังสือเล่มหนึ่งอยู่ในกำมือของเรา ...ถามตัวเองสิคะว่ามีกี่ท่านที่ไม่เปิดตอนท้าย แอบดูเสียหน่อย แล้วค่อย ๆถอยมาตอนต้น หรือแอบๆ พลิกข้ามอ่านตรงกลางนิดนึง เอาให้ชัวร์ว่าตอนท้ายจบแฮปปี้เอ็นดิ้ง นั่นแหละค่ะที่บุหลันมองว่าวิธีเล่าแบบนี้ยืนยันผลลัพธ์   แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความละเอียดและชั้นเชิงการเล่าที่แปลก จะสังเกตว่าแทบจะไม่มีการเกริ่นว่า ณที่นั่น เวลานี้ แบบชี้จุด... ผู้อ่านจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด นับเป็นเทคติกที่ดีมาก ขนาดบุหลันเองเผลอข้าม ยังต้องวกมาใหม่  ฉากตัดข้ามมิติส่วนใหญ่ใช้วิธีคล้ายปรากฎการคู่ขนานเช่น นางผีสมุนร้องในภพนี้ จะตัดไปที่ปากกว้างของนางข้าในภพก่อนส่งเสียงร้องเช่นกัน  ส่งลูกช่วงโยนไปมา   สำหรับผู้สนใจงานเเนวลึกลับตัดข้ามฉาก ขอจับตาดีๆค่ะ

    นอกจากบทละครตามเรื่องที่น้ำฟ้ารังสรรค์มาให้ชื่นชอบแล้ว สิ่งที่น่าสนใจคือบทเสริมเกี่ยวกับวัฒนธรรมและขนมธรรมเนียมของทางล้านนา ซึ่งจุดนี้หาที่ติเเทบไม่ได้ ท่านที่คิดถึงเรื่องคำเมืองกระเทินๆ(กระเทินนี่น่าจะเป็นคำเมืองเช่นกัน ไม่ค่อยมั่นใจนัก น่าจะตีความพอกับกระท่อนกระเเท่น )จะต้องเข้าใจการเขียนงานในภาษาถิ่นสักหน่อยว่าใช่เรืองง่ายเสียเมื่อไร จะใช้เต็มร้อยคงจะไม่ได้ ครั้นจะไม่ใช้เสียเลยก็ไม่ได้อรรถรสนัก

    น่าประหลาดว่าเมื่ออ่านจบแล้ว หลายๆคู่ในเรื่องนั้น แม้กระทั่งคู่เอกเอง ไม่สะท้อนให้เห็นความรักมากมายนัก แต่กลับสะท้อนความพันผูกที่มาจากความแค้น โดยเฉพาะคู่เอก  ..เดี๋ยวค่อยย้อนมาจับทีหลังนะคะ ขอพูดถึงคู่ที่ส่งสาสน์ความรักออกมาอย่างท่วมท้น คือรุ่นใหญ่ ประโยค  ...การได้รับรักแท้แค่เพียงเศษเสี้ยววินาทีก็เป็นสุขแล้ว ... ในฉากสุดท้ายของไจแก้ว และวงเดือนนั้น สะท้อนความรักความผูกพันที่เป็นบุพนิวาสอย่างแท้จริง ทั้ง ๆ ที่ไม่มีเหตุในอดีตของตัวละครทั้งสอง ส่วนคู่เอกนั้น ราวกับว่าความเเค้นของมะยะตะหน่าโซเท่านั้นที่ทำให้ทั้งสองต้องมาพบกันในภพนี้ด้วยเหตุแห่งฆาตกรรม

    พูดถึงสตรีเมืองม่านนางนี้แล้วให้ต้องหันมองบุพนิวาสให้ลึกซึ้งอีกสักครั้ง ชะตากรรมของนางมะยะตะหน่าโซนั้น มีความคล้ายคลึงกับเรื่องราวของเจ้านางทางเหนือกับราชวงศ์ทางใต้ในต้น ๆสมัย  ...การเมืองกับความรักต้องเลือกว่าจะทำเพื่อบ้านเมืองหรือเพื่อตนเอง... ที่น้ำฟ้าอ้างถึงไว้ในเเง่ความรักของเจ้าน้อยศุขเกษม กับมะเมี้ยะสาวพม่า อาจจะตีความได้หลายกรณีทีเดียว  คิดว่าถ้าท่านผู้อ่านได้จับบุพนิวาสขึ้นมาแล้วคงจะเห็นเช่นพ้องกันว่า ผีพม่านางนั้นน่าสงสารไม่น้อยทีเดียว เมื่อตัวเอง ทั้งชีวิตและความรักทั้งหมดมีค่าเพียงเเค่เบี้ยตัวหนึ่งของการเมืองเท่านั้น 

    ผีอีกนางที่จะต้องขอพูดถึงคือสมุนของสะหย่ามะ (ไม่ขอบอกอีกเช่นกันว่าคือใคร) นับว่าฉีกบทของบ่างช่างยุ ขุนพลอยพยักได้ดีทีเดียว อีกทั้งยังคงไว้ซึ่งความสัยต์ซื่อจงรักนายจนสมควรที่จะได้รับการกล่าวขวัญถึง แม้ว่าบทจะไม่ได้มากมายและอาจจะไม่จับตา จึงขอนำมาไว้ฉายสปอร์ตไลต์กันโต้ง ๆ

    อาจจะเป็นเพราะคำบุพนิวาสที่เมื่อหลับตานึกจะหอมหวานราวกับดอกกาสะลอง กลิ่นเย็นเยือกจึ่งจางไปสักนิด ไม่เพียงพอที่จะทำให้ไรขนอ่อนลุกกรูเกรียวกับเเซ้ โซ แด หรือนกราตรีจ้าวอเวจีตากลมโต แต่เมื่อหน้าสุดท้ายของบุพนิวาสปิดลงนั้น หลาย ๆ คนคงอยากจะลองหลับตาลง ให้ความมืดส่องบุพพะจนไสวสว่าง เเลนิมิตเห็นคู่ร่วมนิวาส     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×