ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    นักเรียนหมอขอเมาท์

    ลำดับตอนที่ #68 : เมาท์ : Ward ของเด็ก ... กุมารเวชศาสตร์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.81K
      2
      27 ส.ค. 53

    กุมารเวชศาสตร์


     

                “กรี๊งงง....” เสียงนาฬิกาปลุกดังมาจากหัวนอนของพี่ ราวกับจะบอกว่า ตื่นได้แล้วนี่มันกี่โมงแล้ว ต้องไปเจาะเลือดเด็กแล้วนะ พี่ตื่นขึ้นมาทั้งๆ ที่ก็ยังง่วงอยู่ ก็ใช่สินี่มันเพิ่งตีห้าสี่สิบห้าจะรีบไปเปิดวอร์ด(ward)หรือยังไง จากนั้นพี่จึงตัดสินใจเอื้อมมือน้อยๆ ของพี่ไปกดที่นาฬิกา แล้วตะโกนให้เพื่อนพี่ไปอาบน้ำก่อน ก็ถ้าเป็นวันก่อนๆ พี่ก็คงยังนอนอยู่ในผ้าห่มอุ่นๆ มีแอร์เย็นๆอยู่เลย

                “เฮ้ย...อาบก่อนเลย เราราวน์เจ็ดโมงครึ่ง” เสียงเพื่อนพี่ก้องเข้ามาในหูทำให้พี่สะดุ้งตื่นขึ้นมาทันทีพร้อมกับยอมรับสภาพความเป็นจริง “ก็ใช่สิ....เราอยู่วอร์ดเด็กเล็กหนิ”

                จริงๆ แล้ววอร์ดกุมารเวชศาสตร์หรือวอร์ดเด็กเนี่ยพูดให้ใครๆ ฟังก็คงคิดว่าชีวิตคงสดใสอยู่กับเด็กๆ(ผู้ป่วยตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุสิบห้าปี) แต่จริงๆ แล้ววอร์ดนี้เป็นวอร์ดหนึ่งในสี่วอร์ดแห่งตำนาน เป็น Major ward นอกเหนือจากสูตินารีเวช ศัลยกรรม อายุรกรรม ซึ่งที่วชิรพยาบาลจะต้องวนมาที่วอร์ดนี้ตอนปีห้า และปีหกรวมๆ กันก็ประมาณสิบหกสัปดาห์ซึ่งมันก็จะแบ่งย่อยๆ ออกเป็น
                -    วอร์ดเด็กแรกเกิด
                -    วอร์ดเด็กคลอดก่อนกำหนด
                -   
    วอร์ดเด็กโต

                ซึ่ง activity ที่ทำส่วนมากก็จะไม่ต่างจากวอร์ดอื่นๆ คือการราวน์ แต่ที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือน้องจะได้ตื่นขึ้นมาแต่เช้าเพื่อมาเจาะเลือดเจ้าตัวเล็ก ซึ่งเนี่ยแหละคือปัญหา! เพราะ น้องคงไม่สามารถคุยกับเด็กอายุวันสองวันรู้เรื่อง

                ลองมองในอีกมุมนึง ถ้าเราเป็นเจ้าตัวน้อย อยู่ดีๆ มีไอ้ร่างโตจากไหนไม่รู้เดินเข้ามาใกล้ๆ ทำหน้าแอ๊บแบ๊วๆ ใส่ จากนั้นไม่พูดพร่ำทำเพลงก็จับมือน้องขึ้นมาแล้วเอาอะไรไม่รู้ทิ่มที่มือน้อง แน่นอนถ้าเป็นอย่างนั้นสิ่งที่น้องทำได้มากที่สุดคือการ ร้องไห้

                และถ้ามีเจ้าตัวน้อยร้องแค่คนเดียว เจ้าตัวน้อยอีกสี่ห้าคนในห้องเดียวกันอาจจะร้องตามๆ กันมา และนี่ก็เป็นอีก activity นึงที่น้องต้องทำคือ “ทำยังไงให้เด็กหยุดร้องเนี่ย” จริงๆแล้วมันมีหลากหลายวิธี

                ขั้นแรกเริ่มตั้งแต่ ทำหน้าแอ๊บแบ๊ว เอาแบบว่าเด็กเห็นมันยังอาย แล้วเดี๋ยวก็จะหยุดร้องเอง หรือพี่บางคนอาจจะพูดกับเจ้าตัวเล็กประหนึ่งว่าน้องเค้ารู้เรื่อง

                “หยุดร้องนะลูก พี่ผิดไปแล้วจะไม่ทำหนูเจ็บอีกแล้วน้า” พร้อมกับตีตัวเอง “นี่แหนะๆ ต้องตีคนที่ทำให้หนูเจ็บ” และแน่นอนล่ะ เด็กไม่รู้เรื่อง (ก็จะให้รู้ได้ยังไงเพึ่งอายุหนึ่งวัน).....เพราะฉะนั้น “อุแว้ๆๆ...” 

                อีกวิธีนึงต้องเลื่อนระดับมาเป็นการ จับเจ้าตัวเล็กห่อผ้าให้อุ่น แล้วอุ้มประดุจดั่งพ่อแม่ที่แท้จริงของน้องเค้า วิธีนี้จะได้ผลพอสมควร

                แต่ถ้าวิธีที่ผ่านมาไม่ได้ผลมีอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลมากที่สุดคือ การเดินห่างจากเตียงเจ้าตัวเล็ก บางครั้งแค่หันหลัง น้องเค้าก็หยุดร้องแล้ว
               
                ส่วนการราวน์วอร์ดนั้น น้องก็จะได้ราวน์กับพี่ resident extern และอาจารย์ ซึ่งก็จะร่วมกันพูดคุยหาทางแก้ปัญหาให้เจ้าตัวน้อยและน้องก็จะได้การบ้านจากอาจารย์ พี่เดนท์ พี่เอ็กเทิร์น ตั้งแต่ ปัญหาเด็กกินไม่ได้ ถ่ายไม่ได้ ตัวเหลือง ตัวเขียว รวมไปถึงจะผสมนมยังไงให้น้องเค้าโตและกลับเข้าสู้อ้อมกอดของพ่อและแม่

                ส่วนในวอร์ดเด็กโตนั้นก็จะเป็นอารมณ์เดียวกับวอร์ดอายุรกรรม แต่กลุ่มโรคจะเน้นไปทางโรคในเด็กซะมากกว่า โดยรวมแล้ววอร์ดนี้ถ้าเทียบกันใน major ward พี่ว่ามีความสุขที่สุด เพราะ ถึงน้องแกล้งเด็ก ไม่ว่าจะเอานิ้วไปจิ้มแก้ม ลูบหัว อุ้มแล้วก็วาง อุ้มแล้วก็วาง ยังไงเด็กก็ทำได้มากสุดคือร้องไห้ และถ้าน้องรักเด็กจะยิ่งมีความสุขมากๆ เลยแหละ

                วอร์ดเด็กมีอะไรที่มากมายกว่าทีพี่เขียนไว้นะ มีหลากหลายความรู้สึก หลายๆอารมณ์ แต่เมื่อน้องเข้ามาค่ายเปิดเสื้อกาวน์น้องก็จะได้รู้อะไรมากกว่าคนอื่นพอสมควรเลยแหละ แต่ถ้าจะให้เข้าใจจริงๆ ก็คงต้องเข้ามาเป็นนักศึกษาแพทย์ ซึ่งถ้าน้องคิดว่ามันเหมาะกับน้อง น้องรักในวิชาชีพ พี่ว่าน้องมาเรียนเถอะน้องจะไม่ผิดหวัง แต่ที่สำคัญอย่าเลือกเรียนแพทย์ตามแฟชั่นล่ะ เพราะน้องอาจจะไม่มีความสุขกับมันเลยก็ได้นะ

    ฮิฮิ ^-^
    พี่ฮั่น BM14

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×