ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    นักเรียนหมอขอเมาท์

    ลำดับตอนที่ #59 : เมาท์ : วิชาหมอ : Biochem

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.6K
      0
      10 ส.ค. 53

    Biochemistry


         วิชา Biochemistry  ชื่อ ก็บอกอยู่แล้วล่ะนะ ว่ามาจาก ชีวะ รวมกับเคมี  พี่จะพูดย่อๆแล้วกันนะว่าวิชานี้พี่เรียนอะไรกันบ้าง  ตามหลักสูตรของแพทย์รามาฯ วชิระฯ และพระบรมราชชนก  เราจะเรียนด้วยกันตอนปีหนึ่งเทอมสอง  แทนที่จะเรียนชีววิทยาเหมือนศิริราชและคณะอื่นๆ  โดยทั่วไปเนื้อหาวิชานี้จะแบ่งเป็นสองส่วนหลักๆ  คือ

    1. Metabolism  จะ เรียนเกี่ยวกับเนื้อหาการเผาผลาญสารอาหารเพื่อให้ร่างกายได้พลังงานมาใช้  ตั้งแต่โปรตีน  คาร์โบไฮเดรต  ไขมัน   นิวคลีโอไทด์  ฮีม  จะเป็นการย่อยในระดับเซลล์  ดังนั้นเนื้อหาจะเป็น pathway ซะส่วนมาก  อย่างเช่นเนื้อหาที่น้องๆเคยเรียนในสมัยมัธยมปลาย จะเรียนตัวเดียวที่ละเอียดคือ glucose  จะมีการสลายหลายขั้นตอน ทั้ง glycolysis , การเปลี่ยนเป็นAcetyl-CoA ,  Kreb’s cycle , electron transport reaction  เป็นต้น ตามรูปภาพทางด้านข้าง  ซึ่ง แต่ละขั้นตอนการเปลี่ยนก็จะมีเอนไซม์เป็นตัวในการเร่งเกิดปฏิกิริยา  น้องก็จะจำว่าแต่ละขั้นมีอะไรบ้าง   เนื้อหาในตอนม.ปลายนั้น พี่บอกได้ว่านับเป็นแค่เศษเสี้ยวของวิชานี้  วิชานี้ต้องเรียนการสลายของตัวอื่นๆด้วย  เอนไซม์ก็แตกต่างกันไป  สรุปได้ว่าเนื้อหาก็มากพอควร  หลักในการจำวิชานี้ จึงต้องฝึกเขียน pathway ต่างๆ ให้เป็น ก็จะง่ายต่อการจำ  ข้อสอบส่วนใหญ่มักจะออกเอนไซม์ตัวหลักๆ  และก็มีการนำเนื้อหามาประยุกต์กับโรคบางโรคที่เกี่ยวข้อง   นอกจากเรื่อง metabolism แล้ว เนื้อหาที่เกี่ยวข้องก็ยังมีเรื่อง Vitamin& Coenzyme  ที่สำคัญๆ ว่าโครงสร้างเป็นอย่างไร   เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคใดบ้าง

    2.
    DNAและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อันนี้จะเน้นเนื้อหาไปที่ระดับโมเลกุลอ่ะนะ ว่ามีโครงสร้างของ nucleic acid ยังไง  กระบวนการสังเคราะห์ DNA RNA  คล้ายๆ ที่น้องเรียนตอนม.ปลาย เช่น DNA replication , Transcription, Translation  เป็น ต้น แต่ว่าเนื้อหาจะละเอียดกว่า  และก็เรียนเนื้อหาเกี่ยวกับพันธุวิศวกรรม เช่น การโคลนนิ่ง  การเพิ่มจำนวนยีนที่เราต้องการโดยใช้การตัดต่อยีนในแบคทีเรีย  เป็นต้น  ซึ่งเวลาเรียนในเนื้อหาส่วนนี้จะน้อยกว่าส่วน metabolism

    นอกจากการเรียน lecture (บรรยาย) ยังมีการเรียน lab เป็นการทดลองเรื่องเกี่ยวกับเอนไซม์  การเพิ่มจำนวน DNA  อะไรแบบนี้  ซึ่งการเรียนแลปจะมีเนื้อหาน้อยกว่า  ส่วนวิธีการเรียนที่สำคัญๆของนศพ.ยังมีอีก 3 อย่าง  คือการเรียน PBL  TBL  และ Conference พี่จะไล่ให้ดูในแต่ละส่วน

    -
      PBL  ย่อมาจาก problem-based learning เป็นการเรียนจากเคสของผู้ป่วย  แต่ละกลุ่มจะมี 12-13 คน แล้วมีการ discuss ถกปัญหากันว่าผู้ป่วยคนนี้น่าจะเป็นโรคใด เกิดโรคได้อย่างไร  และควรมีการรักษาอย่างไร

    -
     
    TBL  ย่อมาจาก Team-based learning  เป็นการเรียนเป็นทีมคือ จะมีเนื้อหามาให้เราอ่านก่อนเรียน 2-3 วัน แล้วเมื่อถึงเวลาเรียนจะมีการทดสอบเนื้อหาที่เราได้อ่านไป เป็นข้อสอบเดี่ยว และกลุ่ม (เป็นกลุ่มคือส่งแค่ฉบับเดียว)  จากนั้นเมื่อทดสอบเสร็จอาจารย์ จะเฉลยแล้วให้เราทำทดสอบกลุ่มหลังจากที่เรียนอีกครั้งหนึ่ง  วิธีการเรียนแบบนี้จะช่วยให้แต่ละคนระดมความคิด รู้จักการทำงานเป็นทีมมากขึ้น

    -  Conference เป็นการเรียนที่อาจารย์ให้เคสผู้ป่วยมา และให้โจทย์เราไปหาคำตอบ ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะแบ่งคนไปหาคำตอบนั้นเป็นข้อๆไป  อาจจะข้อละสองคน หรือสามคน  เป็นต้น แล้วนำคำตอบที่ได้มาแชร์กันในห้องเรียน โดยอธิบายคำตอบข้อนั้นๆให้เพื่อนๆฟัง  การเรียนแบบนี้จะช่วยทำให้เราเข้าใจปัญหาและคำตอบได้ในเวลารวดเร็ว  เพราะมีการแบ่งการทำงานกัน

                    การเรียนทั้ง lecture lab  PBL  TBL  และ Conference จะมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกัน  ทำให้เราเข้าใจในเนื้อหาได้มากขึ้น  นำไปใช้ในการเรียนเกือบทุกหน่วยรายวิชาของ นศพ.  

                    พี่ก็ได้อธิบายมาพอควรแล้วกับเนื้อหาวิชานี้  สุดท้ายก็ขอให้น้องๆที่ตั้งใจจะมาเรียนหมอทุกๆคน มีความพยายามให้มากๆ นะ  อย่าเพิ่งท้อกับเนื้อหาที่ต้องอ่าน  เพราะ น้องเข้ามาเรียนหมอแล้วจะรู้ซึ้งเองว่า เนื้อหาที่น้องอ่านนั้นมันน้อยนิดมากกกกก ห้าห้า  ขอให้น้องๆประสบความสำเร็จทุกๆคนค่ะ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×