คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #10 : วิจารณ์ [เลือดหงส์] เงื่อนไขรัก
[เลือดหงส์] เงื่อนไขรัก
ก่อนอื่นขออนุญาตเรียกไรเตอร์ว่า “รุ้ง” นะคะ
“ภาษา”
- เนื้อเรื่อง –
นิยายเรื่องนี้ไม่ใช่นิยายรักหวานแหวว แต่มันเป็นนิยายที่มีบู๊ การต่อสู้ ปริศนา ในการใช้ภาษาในการอธิบายมิสคิดว่ารุ้งอธิบายได้ดีนะคะ เนื้อหาสนุกค่ะ แต่ว่ามันดูไม่ค่อยน่าติดตามสักเท่าไหร่ ปริศนาในเรื่องนี้ก็มีหลายอย่าง มิสไม่แน่ใจว่ารุ้งจงใจวางทิ้งไว้ให้รีดเดอร์งงหรือว่าไม่ได้จงใจนะคะ 555555555 แต่ถ้าจงใจก็ควรที่จะทำให้มันน่าค้นหากว่านี้ค่ะ เช่น เรื่องของภัควารินกับพิมฐา คือมันก็ชวนให้น่าสงสัยนะคะแต่ว่ามันยังไม่ถึงที่สุดอะค่ะ (อาจจะหาว่ามิสเวอร์เกินไปรึเปล่าแต่มิสคิดว่ารุ้งก็คงต้องเคยอ่านนิยายที่เนื้อหามันลุ้นมากๆจนอยากเปิดอ่านหน้าต่อไปไวๆ) การที่จะแต่งนิยายแนวนี้มิสรู้ค่ะว่ามันยากกว่าการแต่งนิยายรักวัยเรียนหรือหวานแหววทั่วไป เพราะการแต่งนิยายรักอย่างน้อยๆมันก็เป็นเรื่องราวชีวิตประจำวันที่ปกติ แต่ในเมื่อรุ้งคิดจะแต่งแนวเกี่ยวกับพวกบู๊ๆ ต่อสู้ ซึ่งมันก็ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เราคนปกติทั่วไปจะรู้ดีสักเท่าไหร่ รุ้งก็ต้องทำให้รีดเดอร์เนี่ยเข้าถึงอารมณ์ให้ได้ค่ะแต่ถ้าจะให้พูดภาพรวมๆของเนื้อเรื่องแล้วเนี่ยก็ดีค่ะ
- ชื่อเรื่อง, เรื่องย่อ –
ชื่อเรื่องยังไม่น่าสนใจเท่าที่ควรค่ะ เนื้อเรื่องและเรื่องย่อนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่รีดเดอร์เวลาหานิยายอ่านเนี่ยส่วนใหญ่ก็จะดูที่เรื่องย่อและชื่อเรื่องกันทั้งนั้น ชื่อเรื่องที่รุ้งแต่งคือ [เลือดหงส์] เงื่อนไขรัก คือมิสไม่เข้าใจค่ะว่าวงเล็บเลือดหงส์เนี่ยคืออะไร =_= คือถ้าแต่งนิยายหลายเรื่องนี่อาจจะคิดว่าเป็นชื่อเซ็ท แต่ก็ไม่ใช่ 5555555555555 ส่วนเรื่องย่อเนี่ย คนที่เห็นแว๊บแรกคือ เนี่ยเพื่อนพระเอกมาบอกกับพระเอกว่า นางเอกกำลังจะแต่งงานกับคนอื่น ประโยคต่อมามันก็ควรที่จะออกแนวสื่อแบบ แกต้องทำอะไรสักอย่างนะ ไม่ก็ ไปจัดการไอ้เจ้าบ่าวนั่นซะ ที่มิสกล่าวมาคือเวอร์ชั่นที่ 1 ซึ่งใช้ประโยคแรกกับประโยคที่ 2 เป็นหลัก แต่ถ้าจะใช้ประโยคสามเป็นหลักเนี่ย ก็ควรจะเรียบเรียงคำให้ดีกว่านี้หน่อยค่ะ คือเรื่องย่อที่รุ้งจะสื่อนี่คือ พระเอกยิงคนที่จะแต่งงานกับนางเอกไปแล้วแล้วมารู้ทีหลัง แต่พออ่านแล้วมันงงๆ น่าจะใช้ประโยคแบบ “แกรู้มั้ยว่าคนที่แกยิงไปวันนั้นน่ะเป็นว่าที่เจ้าบ่าวของพิมฐา” “ห้ะ?” “ถ้าแกไม่ยิงเขาในวันนั้นป่านนี้เข้าสองคนคงแต่งงานกันไปแล้ว” อะไรเทือกๆนั้นนะคะ 55555555555555
คะแนนรวมเรื่อง ภาษา : 1/3 คะแนน
“การเชื่อมต่อเหตุการณ์”
มิสคิดว่ารุ้งทำได้ดีนะคะ แต่ว่าในบางช่วงเหตุการณ์มันก็ดูรวบรัดเกินไป แต่ก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นบ่อยนัก จะมีแค่บางช่วงเหตุการณ์ที่อาจจะงงๆหน่อยช่วงแรกๆตอนที่พิมฐาถูกจับตัวไป (ช่วงอินโทรกับตอนที่ 1) ซึ่งมิสคิดว่าสองตอนนี้มีความสำคัญรองจากชื่อและเรื่องย่อบทความมากๆเลยค่ะ เนื่องจากรีดเดอร์ที่ความอดทนต่ำบางคนเขาอาจจะเลือกที่จะไม่อ่านต่อเพราะงงหรือไม่เข้าใจในเหตุการณ์ก็เป็นได้ พูดง่ายๆคือถ้าพวกเขาอ่านแล้วรู้สึกเบื่อเนี่ยเขาก็อาจจะไม่อ่านต่อก็ได้ค่ะ ทั้งๆที่ตอนต่อไปมันอาจจะอ่านสนุกหรือไม่ก็ตาม ถ้ารุ้งแต่งนิยายเรื่องหน้าก็ขอให้คำนึงถึง 2 ตอนนี้มากๆนะคะ ^^
คะแนนรวมเรื่องการเชื่อมต่อเหตุการณ์ : 3/3 คะแนน
“การสื่ออารมณ์ของตัวละคร”
แน่นอนค่ะว่าการสื่ออารมณ์ของตัวละครในนิยายแนวนี้เป็นเรื่องค่อนข้างยาก เพราะเหตุการณ์ที่ตัวละครจะต้องเจอนั้นมันเป็นเหตุการณ์ที่ฉุกละหุก เสี่ยงอันตราย น่าหวาดกลัว แค้น หรืออะไรก็แล้วแต่ที่คนปกติจะไม่เจอละนะคะ 55555555555 รุ้งบรรยายนิยายเรื่องนี้และเหตุการณ์ต่างๆได้ดีค่ะ แต่ว่ารุ้งยังเข้าถึงอารมณ์ของตัวละครได้ไม่ดีพอค่ะ อย่างตอนที่พิมฐาจะตกหน้าผา รุ้งยังสื่ออารมณ์ของตัวเตชินท์ได้ไม่พอค่ะ มันยังทำให้คนอ่านในบางช่วงก็อินกับมันแต่บางทีก็ไม่อิน มันติดๆขัดๆน่ะค่ะ ในเหตุการณ์ที่คอขาดบาดตายตัวละครควรที่จะมีอารมณ์ที่หวาดกลัว คือรุ้งก็ทำให้มันหวาดกลัวแหละค่ะแต่มันยังไม่พอ 555555555 ส่วนเรื่องนิสัยของตัวละครมิสคิดว่ารุ้งยังกำหนดมันไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่ค่ะ รุ้งลองจินตนาการเวลาแต่งว่าเรื่องนี้มันเป็นเรื่องจริงสิคะ แล้วก็เอานิสัยของคนรอบตัวมาใส่กับตัวละครก็ได้ มันจะทำให้แต่งง่ายขึ้นค่ะ เพราะว่านิสัยของตัวละครในบางทีมันก็จะเชื่อมไปกับการตัดสินใจของตัวละครแล้วก็เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นด้วย
คะแนนรวมเรื่องการสื่ออารมณ์ของตัวละคร : 2/3 คะแนน
“คำผิด”
นิยายเรื่องนี้เท่าที่มิสอ่านมา (ประมาณ 7 – 8 ตอน) มิสเจอคำผิดคำเดียวค่ะซึ่งก็คือคำว่า “อบอวล” คำๆนี้ตอนที่รุ้งพิมพ์รุ้งอาจจะไม่มั่นใจว่ามันสะกดยังไง ถ้ามันมีคำไหนที่ไม่มั่นใจก็พึ่งนี่เลยค่ะ กูเกิล ช่วยได้แน่นอน 55555555555
คะแนนรวมเรื่องคำผิด : 1/1 คะแนน
รวม 7 เต็ม 10 คะแนน
ชื่อ :
ชื่อเรื่องนิยาย :
ลิงค์นิยาย :
พอใจกับคำวิจารณ์มั้ย? :
มีสิ่งอะไรที่อยากให้มิสแก้ไข :
ความคิดเห็น