桜の物語 ใต้เงาซากุระ [ลบแล้ว] - นิยาย 桜の物語 ใต้เงาซากุระ [ลบแล้ว] : Dek-D.com - Writer
×

    桜の物語 ใต้เงาซากุระ [ลบแล้ว]

    ซากุระคือดอกไม้ตัวแทนของซามูไร เพราะซากุระนั้นงดงาม แต่มีอายุที่แสนสั้น 'ฮาระ ชิอากิ' เองก็เป็นหนึ่งในดอกไม้เหล่านั้นที่ต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อให้มีชีวิตอยู่ท่ามกลางสงครามที่พร้อมจะเผาพวกเธอให้เป็นจุณ

    ผู้เข้าชมรวม

    6,244

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    13

    ผู้เข้าชมรวม


    6.24K

    ความคิดเห็น


    114

    คนติดตาม


    12
    หมวด :  ซึ้งกินใจ
    จำนวนตอน :  3 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  13 ส.ค. 55 / 14:55 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ


     ลบเนื้อเรื่องออกแล้วค่ะ

    ไรท์เตอร์ได้ลงเท้าความ (ประวัติศาสตร์อันเป็นที่มาของเรื่อง) + เรื่องย่อ เอาไว้แทนนะคะ :]




    *ถ้าไรท์เตอร์มีเวลาว่างเมื่อไหร่ จะเอาภาคพิเศษของริทสึโกะกับคาสึมะ (รุ่นพ่อ - รุ่นแม่) มาลงนะคะ ยังไม่เคยเขียนฉากหวาน ๆ ของคู่นี้เลย :3





     



     

     

     

     

    *ห้ามไม่ให้มีการคัดลอก หรือดัดแปลงเนื้อหานิยายโดยไม่ได้รับอนุญาติเด็ดขาด
     



    "ดัดแปลง" หมายความว่า ทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม หรือจำลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสำคัญโดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่า ทั้งหมดหรือบางส่วน

    มาตรา ๒๗ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
    (๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
    (๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

    มาตรา ๓๑ ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของ ผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดัง ต่อไปนี้
    (๑) ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ
    (๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
    (๓) แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์
    (๔) นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร


    มาตรา ๖๙ ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๕๒ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็น การกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

    มาตรา ๗๐ ผู้ใดกระทำการอันละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๓๑ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่น บาทถึงหนึ่งแสนบาท ถ้าการกระทำ ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่ ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

     

     
    (อ้างอิงจาก พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. ๒๕๓๗)
     

    อสิรยา
    14/07/2555





    บทความนี้ได้รับการวิจารณ์โดย

        

      

        

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    "เต็มใจวิจารณ์"

    (แจ้งลบ)

    เต็มใจมาแล้วค่ะ:) ขอบอกอีกครั้งนะคะว่าวิจารณ์ในฐานะนักอ่านคนหนึ่งเท่านั้น ข้อความต่อไปนี้เป็นความคิดส่วนตัวของเต็มใจที่มีต่องานเขียนไรเตอร์ อุ๊ว้าววว ญี่ปุ่น ประเทศที่เต็มใจใฝ่ฝัน แต่ก็นะ โดยปกติแล้วนิยายแนวนี้เป็นแนวที่เต็มใจอ่านน้อยที่สุด แต่ก็เคยอ่านมาบ้าง อิงประวัติศาสตร์อะไรอย่างนี้ เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า ยอมรับเลยว่าคุณไรเตอร์ศึกษาประ ... อ่านเพิ่มเติม

    เต็มใจมาแล้วค่ะ:) ขอบอกอีกครั้งนะคะว่าวิจารณ์ในฐานะนักอ่านคนหนึ่งเท่านั้น ข้อความต่อไปนี้เป็นความคิดส่วนตัวของเต็มใจที่มีต่องานเขียนไรเตอร์ อุ๊ว้าววว ญี่ปุ่น ประเทศที่เต็มใจใฝ่ฝัน แต่ก็นะ โดยปกติแล้วนิยายแนวนี้เป็นแนวที่เต็มใจอ่านน้อยที่สุด แต่ก็เคยอ่านมาบ้าง อิงประวัติศาสตร์อะไรอย่างนี้ เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า ยอมรับเลยว่าคุณไรเตอร์ศึกษาประวัติศาสตร์เรื่องนี้ได้ค่อนข้างดีเลยที่เดียว(เราก็ชอบประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น) และมีน้อยคนนักที่จะแหวกแนวการแต่งนิยายแบบนี้ค่ะ การบรรยายโครงเรื่องบางตอนทำได้ดี แต่บางตอนเหมือนมันขัดๆไป เหมือนทำมาได้ดีแต่จบการบรรยายได้ไม่สวยเท่าไหร่ อะไรประมาณนั้น แล้วตัวละครเยอะมากกก อีกการอ้างอิงด้วยว่าตาคนนี้คืออะไร แบบยกกำลัง1 ไว้เพื่ออิงประวัติศาสตร์ ในฐานะนักอ่านทั่วไปเราว่ามันดูเกะกะอ่ะ แต่การบรรยายตัวละครก็ดีอยู่นะ ได้รู้ว่าเขาเป็นใคร ทำอะไร แต่พล็อดเรื่องก็เป็นไปได้ดีค่ะ ลุ้นว่าคนนี้กำลังทำอะไร จะเป็นยังไงต่อไป น่าติดตามดีค่ะ ยังไงก็สู้ๆนะคะไรเตอร์ เต็มใจเป็นกำลังใจให้ค่ะ   อ่านน้อยลง

    เต็มใจ | 5 เม.ย. 55

    • 10

    • 0

    "บทวิจารณ์ ใต้เงาซากุระ"

    (แจ้งลบ)

    นิยายเรื่องใต้เงาซากุระเขียนจบในส่วนภาคแรกซึ่งมีเจ็ดตอนและภาคสองเขียนถึงตอนที่สิบสี่ ใต้เงาซากุระเป็นเรื่องราวความรักของฮาระ อิชิกิ(นางเอก) กับ นิชิดะ ฮิโรทากะ(พระเอก) สองหนุ่มสาวจากตระกูลซามูไรที่มีหน้ารับผิดชอบต่อตระกูลซามูไรของตนเองและการรับใช้นายอย่างภักดีตามแบบวิถีแห่งซามูไร การดำเนินเรื่องอยู่ภายใต้สงครามเก็นเปน ซึ่งเป็นสงครามการแก่งแย่ง ... อ่านเพิ่มเติม

    นิยายเรื่องใต้เงาซากุระเขียนจบในส่วนภาคแรกซึ่งมีเจ็ดตอนและภาคสองเขียนถึงตอนที่สิบสี่ ใต้เงาซากุระเป็นเรื่องราวความรักของฮาระ อิชิกิ(นางเอก) กับ นิชิดะ ฮิโรทากะ(พระเอก) สองหนุ่มสาวจากตระกูลซามูไรที่มีหน้ารับผิดชอบต่อตระกูลซามูไรของตนเองและการรับใช้นายอย่างภักดีตามแบบวิถีแห่งซามูไร การดำเนินเรื่องอยู่ภายใต้สงครามเก็นเปน ซึ่งเป็นสงครามการแก่งแย่งชิงอำนาจของขุนนางตระกูลต่างๆ รวมถึงการพยายามรักษาอำนาจและสถานภาพของจักรพรรดิญี่ปุ่น ภาคแรกเป็นการดำเนินเรื่องราวความรักที่สดใส มิตรภาพระหว่างเพื่อน และความรักสามเส้าระหว่างพระเอก นางเอก และโซตะ บุตรชายคนเล็กแห่งตระกูลซามูไรโอโนะ ในภาคสองของนิยายมีความเข้มข้นขึ้น แม้ว่าความรักของอิชิกิและฮิโรทากิจะสมหวังและได้แต่งงานกัน แต่สิ่งนั้นอยู่ท่ามกลางความสูญเสียทั้งของตระกูลฮาระและนิชิดดะจากสงครามเก็นเปน และอุปสรรคต่างๆ ที่เข้ามาเพื่อที่จะพิสูจน์ความรักของพระเอกและนางเอกมีต่อกันและการร่วมกันฝ่าฟันอุปสรรคของทั้งสองจะมีเรื่องราวความน่าประทับใจอย่างไร และจุดจบความรักของพระเอกและนางเอกเป็นอย่างไรเราคงต้องติดตามกันต่อไป ผู้เขียนดำเนินเรื่องจากภาคแรกและภาคสองมาถึง 21 ตอนแล้ว เรื่องน่าจะดำเนินมาถึงกลางเรื่องแล้ว แต่การดำเนินเรื่องหลักของนิยายเรื่องนี้ช้ามาก ไม่เห็นพัฒนาการด้านความรัก ความเข้าใจ การฝ่าฟันปัญหาของพระเอกและนางเอกเท่าไรนัก ผู้เขียนยังคงเพิ่งดำเนินโครงเรื่องหลักที่ให้พระเอกและนางเอกต้องฝ่าฟันอุปสรรคและปัญหาร่วมกันท่ามกลางสงครามเก็นเปน และอุปสรรคและปัญหาที่ผู้เขียนผูกปมกลับส่งผลให้คนรอบข้างเจ็บปวดเสียมากกว่าตัวละครเอกเสียอีก เช่นเมื่อบิดาของนางเอกเสียชีวิตจากการทำสงคราม ผู้เขียนได้บรรยายเน้นย้ำว่าแม่ของนางเอกเศร้าโศกเสียใจถึงต้องลาบวชชี ในขณะที่นางเอกซึ่งเป็นลูกสาวคนเดียวและใกล้ชิดกลับทั้งผู้เป็นพ่อและแม่แทบจะไม่ได้รับผลกระทบนี่เลย หรือความขัดแย้งในชีวิตสมรสของนิชิดะ คาสึโนริ น้องชายของพระเอก กับ มิยาบาระ นานาเสะ จนถึงการตายของคาสึโนริ ซึ่งผู้เขียนตั้งปมปัญหาว่าส่วนหนึ่งนั้นมาจากทั้งพระเอกและนางเอก แต่พระอกและนางเอกไม่ตระหนักว่าความสูญเสียนั้นเกิดขึ้นเพราะมีเหตุมากจากตนเองด้วย ประเด็นนี้ผู้วิจารณ์ยังไม่แน่ใจว่าผู้เขียนจะเก็บให้เป็นปมปัญหาในตอนต่อไปหรือไม่ ผู้เขียนเลือกเขียนนิยายแนวย้อนยุคโดยเลือกที่จะใช้เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นในช่วงสงครามเก็นเปนเป็นฉากหลังที่สำคัญ และให้การฝ่าฟันความรักของพระเอกกับนางเอกเป็นตัวดำเนินเรื่องที่สำคัญ ผู้วิจารณ์ต้องชมผู้เขียนว่า การเขียนเรื่องย้อนเวลา วัฒนธรรม วิถีชีวิต ของคนชาติอื่นซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากต้องมีการค้นคว้าข้อมูล ศึกษา เพื่อที่จะทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้และนำมาเขียนเป็นนิยาย ในส่วนนี้ผู้เขียนศึกษาค้นคว้ามาเป็นอย่างดีมาก แต่สิ่งที่ผู้เขียนต้องตระหนักว่าตนเองกำลังเขียนนิยาย การเขียนนิยายไม่ควรใส่เชิงอรรถ ดังนั้นข้อมูลที่ผู้เขียนค้นคว้า ศึกษามาทุกอย่างนั้นควรจะแทรกข้อมูลความรู้เหล่านี้กลมกลืนเป็นเนื้อเรื่องเดียวกับนิยาย ทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิต การแต่งกาย อาวุธ ข้าวของเครื่องใช้ และอาหารการกิน ข้อปกพร่องในประเด็นที่ผู้เขียนควรปรับแก้ เช่น ผู้แต่งสามารถที่จะอธิบายความเป็นมาและการดำเนินของสงครามเก็นเปนนี้ได้ในฉากต่างๆ ของนิยาย หรือจะให้ตัวละครเป็นผู้เล่า หรือสนทนากับตัวละครอื่นเกี่ยวกับสงครามนี้ก็ได้ การที่ผู้เขียนใช้เชิงอรรถในการอธิบายความทำให้เสียอรรถรสในการอ่านอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการอ่านบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ต้องมาตามอ่านเชิงอรรถอธิบายซึ่งอยู่ในช่วงท้ายสุดทำให้การอ่านสะดุดไม่ต่อเนื่อง บางครั้งต้องยอมรับว่าไม่ได้ตามไปอ่านในเชิงอรรถที่ให้ไว้ จึงอยากให้ผู้เขียนปรับปรุงในส่วนนี้ ทั้งนี้เข้าใจว่าผู้เขียนเสียดายข้อมูลที่ค้นคว้ามา แต่ต้องไม่ลืมว่าข้อจำกัดในการแต่งนิยาย คือการสกัดบางส่วนที่ค้นคว้ามาเพื่อสร้างความสมจริงให้กับเรื่องเท่านั้น มิใช่นำเสนอความจริงทั้งหมดที่ค้นคว้ามาได้จึงเป็นที่น่าเสียดายที่ข้อมูลที่ผู้เขียนค้นคว้ามาไม่ได้นำมาใช้เพื่อการเขียนนิยายเรื่องนี้อย่างเต็มที่ รูปแบบการเขียนบรรยาย กับ การสนทนา ผู้เขียนมักจะเว้นบรรทัดแยกจากกัน ซึ่งทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสนหลายครั้ง จึงเห็นว่าหากเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องกันผู้เขียนไม่ต้องขึ้นบรรทัดใหม่ก็ได้ เพราะจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเป็นส่วนที่ขึ้นบรรทัดใหม่เป็นความที่แยกออกจากกันไม่เกี่ยวข้องกัน และหากยังเป็นการบรรยายเรื่องเดียวกันอยู่ก็ไม่ต้องขึ้นบรรทัดใหม่ เนื่องจากจะทำให้การอ่านขาดอรรถรส เพราะถูกขัดจังหวะและทำให้การอ่านขาดเป็นช่วงๆ จุดอ่อนอีกจุดประการหนึ่งคือ การเขียนบรรยายฉากและบรรยากาศ เนื่องผู้เขียนบรรยายฉากและสถานที่ต่างๆ น้อยมากทำให้ผู้อ่านไม่สามารถสร้างจินตนาการได้ว่าเรื่องนั้นดำเนินในสถานที่มีลักษณะเช่นไร เช่นทะเลโอซึ่งเป็นสถานที่แห่งความทรงจำของทั้งพระเอกและนางเอก แต่ผู้เขียนบรรยายสถานที่แห่งนี้น้อยมากจนไม่ทำให้รู้สึกว่าเป็นสถานที่อันน่าประทับใจและเป็นฉากที่มีความสำคัญของนิยายเรื่องนี้ นอกจากนี้ยังรวมถึงการบรรยายลักษณะท่าทาง การแต่งกาย เสื้อผ้า ทรงผม การแต่งหน้า เครื่องประดับต่างๆ ของตัวละครที่มีการบรรยายน้อยเช่นกัน จึงอยากให้เพิ่มรายละเอียดในการบรรยายในส่วนนี้เข้าไปจะช่วยให้ผู้อ่านใกล้ชิดและมีความรู้สึกร่วมกับนิยายเรื่องนี้ได้ แต่สิ่งที่ผู้เขียนบรรยายได้เป็นอย่าดีคืออารมณ์ของตัวละคร ที่ผู้เขียนอาจเน้นและให้ความสำคัญมาก แม้ว่านิยายเรื่องนี้จะเน้นเรื่องความรักระหว่างพระเอกและนางเอก แต่ผู้เขียนกลับให้ความสำคัญกับตัวละครอื่นมากกว่าและบรรยายตัวละครอื่นๆได้ดี เช่นนี้กลบบทบาทของพระเอกและนางเอก จนรู้สึกว่าบทบาทของพระเอกในเรื่องมีน้อยไปหรือไม่ เนื่องจากผู้เขียนให้พระเอกเป็นซามูไรในตระกูลเก่าแก่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบที่สำคัญมากมาย แต่กลับไม่ได้ให้ความสำคัญที่จะบรรยายรายละเอียดต่างๆ ว่าพระเอกทำอะไรบ้างจะเห็นได้ว่ามีเพียงการอธิบายว่าพระเอกต้องไปออกรบเป็นประจำตามคำสั่งของขุนนางที่ตระกูลตนเองจงรักภักดี และมีหน้าที่รับผิดชอบใดภาระการทำงานอื่นๆ ของพระเอกที่ดูกลายเป็นความลับไปเพราะแม้แต่นางเอกผู้เป็นภรรยาร่วมทุกข์ร่วมสุขยังไม่รู้ ซึ่งประเด็นนี้เองที่เป็นข้อขัดแย้งของเรื่องนี้ เพราะผู้เขียนให้นางเอกซึ่งเป็นคนในตระกูลซามูไรและได้รับการฝึกฝนอย่างซามูไร แต่กลับไม่มีส่วนร่วมหรือรับรู้ในหน้าที่การงานของผู้เป็นสามีรวมถึงความเป็นไปของบ้านเมือง แม้ว่าผู้เขียนอธิบายไว้แล้วว่าผู้หญิงไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องบ้านเมืองหรือภาระหน้าที่การงานของผู้ชาย นอกจากนี้ยังมีข้อย้อยแย้งขึ้นกับตัวนางเอกเสนอที่จะไปออกรบกับสามี แม้ว่าผู้เขียนจะให้นางเอกจะได้รับการฝึกอย่างซามูไร แต่ไม่ได้เกริ่นนำมาก่อนว่านางเอกมีความสนใจในด้านการทำสงคราม รู้กลยุทธ์ทางด้านสงครามหรือการเมือง แม้แต่แรงผลักดันที่ให้นางเอกต้องการออกรบร่วมกับสามี ทำให้ผู้วิจารณ์ยังไม่เห็นเหตุผลที่นางเอกจะขอออกรบร่วมกับพระเอก การที่นางเอกขอร่วมออกรบจึงเป็นการดำเนินไปตามโครงเรื่องหลักที่ผู้เขียนได้วางไว้เท่านั้น ประเด็นที่ผู้เขียนต้องระวังคือการใช้คำ โดยเฉพาะคำที่ใช้แสดงในการลำดับญาติ ข้อผิดพลาดเช่น การที่หลานชายของนางเอกซึ่งเกิดจากพี่ชายคนโตเรียกนางเอกว่า “ท่านน้า” ตามการลำดับญาติน้องของพ่อไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย เรียกว่า “อา” เพราะฉะนั้นลูกของพี่ชายนางเอกจะต้องเรียกนางเอกว่า “ท่านอา” ซึ่งอาจะเติมเป็น “ท่านอาหญิง” ก็ได้ และ อีกจุดหนึ่งในคืนวันแต่งงานระหว่างชิอากิกับฮิโรทากะ ฮิโรทากะเรียกคาซากิ ซึ่งเป็นพี่ชายคนโตชิอากิว่า “ท่านพี่เขย” คาซากินั้นมีศักดิ์เป็น “พี่ภรรยา” ของฮิโรทากิ แค่คำว่าพี่เขยเป็นคำที่ใช้เรียกบุคคลที่เป็นสามีของพี่สาว นอกจากนี้ผู้เขียนยังสับสนกับคำที่ใช้เรียกที่พักอาศัย เนื่องจากผู้เขียนใช้ทั้ง คฤหาสน์ เรือน ปราสาท ตำหนัก ทั้งที่ในความเป็นจริงคำเหล่านี้มีลักษณะการใช้ในเฉพาะความหมายที่ต่างกันคือคฤหาสน์ใช้เรียกที่อยู่อาศัยของขุนนาง ซึ่งในคฤหาสน์จะมีที่พักแยกออกเป็นส่วนต่างๆ ส่วนนี้เรียกว่าเรือน ส่วนปราสาทเป็นที่อยู่อาศัยของจักรพรรดิ เชื้อพระวงศ์ โชกุน เช่นเดียวกันจะมีส่วนที่พักอาศัยแยกออกเป็นส่วนๆ เรียกว่าตำหนัก ผู้เขียนต้องระวังในส่วนนี้ด้วย การใช้คำอธิบายขยายความของผู้เขียน ผู้วิจารณ์สังเกตว่าผู้เขียนมักจะมีคำขยายที่ไม่เข้ากัน เช่น ดวงตาประกายระริก เมื่อผู้เขียนใช้คำว่าริกขยายคำว่าประกายแล้ว ความหมายที่ออกมาไม่ใช่หมายถึงความสว่างสดใสอย่างที่ผู้เขียนต้องการแต่เป็นว่าดวงตาที่สว่างที่ไม่อยู่นิ่ง ผู้เขียนยังใช้คำว่า กริ่งเกรง เพื่อเลี่ยงใช้คำว่าเกรงกลัว เกรงขาม แต่ความหมายนั้นมีความหนักแน่นไม่เท่ากับสองคำหลัง และผู้เขียนยังมักใช้กริยา “ตวัด” กับอากัปกริยาที่ต้องเคลื่อนที่ เช่น ตวัดตา ตวัดตัวขึ้นหลังม้า ตวัดดาบ ผู้เขียนควรจะเลือกใช้คำอื่นที่มีความหมายที่เหมือนกัน ใกล้เคียงกัน และให้ความหมายที่ถูกต้องกว่า เพราะไม่ใช้คำว่าตวัดตา หรือตวัดตัว แต่ตวัดใช้กับดาบ ดังนั้นควรใช้ เหลือบตา ปรายตา สะบัดตา หรือ เหวี่ยงตัวขึ้นหลังม้า ในส่วนการเขียนคำผิดมีน้อยมากซึ่งผู้เขียนได้ตรวจทานมาเป็นอย่างดี สิ่งที่ผู้วิจารณ์อยากแนะนำในการเขียนนิยายย้อนยุคว่า ถ้าหากผู้เขียนได้เก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนมาเป็นอย่างดีแล้ว ผู้เขียนไม่ต้องกลัวในการนำข้อมูลต่างๆ มาเขียนเป็นนิยายในแนวทางของตัวเอง การจะสร้างตัวละครขึ้นมาใหม่เพื่อให้สัมพันธ์กับบุคคลที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ หรือจะสร้างเหตุการณ์ใหม่ให้มีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ในอดีตนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่ต้องมีความสอดคล้องกัน เป็นเหตุเป็นผลที่จะทำให้ผู้อ่านเชื่อ คุณอสิริยาผู้เขียนนิยายเรื่องนี้ยังมีความกลัวในประเด็นนี้อยู่มากจึงได้บรรยายเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์เป็นเชิงอรรถอธิบาย ผู้เขียนควรจะนำข้อมูลและข้อเท็จจริงในอดีตมาหลอมรวมกับจินตนาการของตนเองเพื่อสร้างงานเขียนที่มีคุณภาพในด้านบันเทิงและยังให้ความรู้ควบคู่ไปด้วย หากทำได้สมดุล งานเขียนนั้นจะเป็นงานเขียนที่มีคุณภาพได้ไม่ยาก   อ่านน้อยลง

    bluewhale | 30 ก.ค. 55

    • 6

    • 0

    ดูทั้งหมด

    คำนิยมล่าสุด

    "ความอบอุ่นที่สัมผัสได้ 'ใต้เงาซากุระ'"

    (แจ้งลบ)

    ออกตัวก่อนว่ามาจากห้องวิจารณ์จ้า วันนี้กำลังจะโละคำวิจารณ์แล้วจึงได้นำบทวิจารณ์มาติดไว้ที่บทความค่ะ :) เราขออนุญาตใช้ภาษาพูดเป็นกันเองนะ เพื่อจะให้คุณอสิรยาเข้าใจมากขึ้น แต่ก่อนอื่นเราขอบอกอะไรสักหน่อย เนื่องจากนิยายของคุณอสิรยานี้ยังไม่จบเลยไม่สามารถที่จะวิจารณ์ได้อย่างเต็มที่มากนะคะ เพราะเรายังไม่รู้โครงเรื่องทั้งหมดของนิยาย การจะพูดถึงการ ... อ่านเพิ่มเติม

    ออกตัวก่อนว่ามาจากห้องวิจารณ์จ้า วันนี้กำลังจะโละคำวิจารณ์แล้วจึงได้นำบทวิจารณ์มาติดไว้ที่บทความค่ะ :) เราขออนุญาตใช้ภาษาพูดเป็นกันเองนะ เพื่อจะให้คุณอสิรยาเข้าใจมากขึ้น แต่ก่อนอื่นเราขอบอกอะไรสักหน่อย เนื่องจากนิยายของคุณอสิรยานี้ยังไม่จบเลยไม่สามารถที่จะวิจารณ์ได้อย่างเต็มที่มากนะคะ เพราะเรายังไม่รู้โครงเรื่องทั้งหมดของนิยาย การจะพูดถึงการผูกเรื่อง แนวทางการเป็นไปของเรื่อง รวมถึงสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้นในเรื่องเลยเป็นการยากอยู่ค่ะ การวิจารณ์ครั้งนี้ก็เลยครึ่งๆกลางๆอยู่ อยางไรก็ขอขอโทษมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ เอาล่ะมาเข้าการวิจารณ์เลยดีกว่า ขั้นต้นที่เราจะต้องดูก่อนเลยก็คือชื่อเรื่องของนิยายนั่นคือ 桜花の影 (Ouka no Kage) ใต้เงาซากุระ วูบแรกที่เห็นบอกได้เลยค่ะว่าดีและน่าสนใจทีเดียว เพราะคำว่าใต้เงาซากุระนั้นเป็นคำที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นและเย็นสบายเป็นแรงดึงดูดผู้อ่านได้ดีและยังมีความหมายต่างๆที่เข้ากับเรื่องนี้อีกด้วย อาทิ แผ่นดินญี่ปุ่น เพราะสถานที่ที่ซากุระจะเกิดได้นั้นคือแดนอาทิตย์อุทัย ใต้เงาซากุระก็หมายถึงแผ่นเดินของญี่ปุ่นอันเป็นสถานที่ดำเนินเรื่องราวของนิยาย และยังทำให้เกิดความหมายในแนวโรแมนซ์ขึ้นมาด้วยชื่อสถานที่สวยๆแบบนี้ซึ่งเข้ากับแนวนิยายของเรื่องนี้ดีค่ะ ส่วนเรื่องเล็กๆน้อยๆที่ขาดไม่ได้ก็เช่นการสร้างความอยากรู้บางอย่างให้ผู้อ่านว่า ' ชื่อใต้เงาซากุระล่ะเฮ้ย! มันจะต้องมีเหตุการณ์สำคัญสักอย่างเกิดใต้ต้นซากุระนี่แน่เลย ' ทำนองนั้น ส่วนคำที่เป็นภาษาญี่ปุ่นนี้ก็ทำให้เรารู้สึกถึงความเป็นญี่ปุ่นมากขึ้น เป็นตัวช่วยเสริมกับภาษาไทย ถือว่าเข้าใจเลือกดีค่ะ ด้านต่อมาก็โครงเรื่องจากเท่าที่ได้อ่านค่ะ ในส่วนของโครงเรื่องนั้นจากเท่าที่อ่านมาถึงตอนที่สองของภาคสองตอนที่สองนี้เราว่าโอเคนะ อันที่จริงก็ไม่เคยอ่านมาแนวนี้มาก่อนและไม่เคยคิดว่าจะได้อ่านจริงๆ แต่พอได้ลองมาอ่านใต้เงาซากุระก็รู้สึกถึงเสน่ห์อีกรูปแบบที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน มันจะมีโครงเรื่องที่ทำให้นึกถึงละครจีนๆตอนเย็นทำนองนั้นเลยล่ะ.. จะออกนอกเรื่องแล้วนะเนี่ย - -; โอเคกลับมาอีกรอบ คือที่ว่าโครงเรื่องโอเคนี้เนื่องมาจากมันมีแรงดึงดูดค่ะ จะอธิบายคร่าวๆให้ดูนะคะ คือแรกเริ่มเดิมทีตัวละครหลักของเรื่องนี้เป็นเพื่อนสนิทกัน พอโตๆไปความผูกพันธ์จากคำว่าเพื่อนก็เริ่มแปรเปลี่ยนเป็นความรู้สึกที่พิเศษยิ่งขึ้นกลายเป็นฮิโรทากะและโซตะได้มีใจให้แก่ชิอากิ ถึงตรงนี้ก็เดาได้ลางๆว่ามันต้องมีปัญหาเกิดขึ้นเหมือนในนิยายแนวรักแน่ๆ แต่ถึงจะรู้ว่ามันจะเป็นยังไงแต่ก็อดที่จะติดตามต่อไม่ได้ ( แนวอมตะนะเนี่ย ๕๕ ) แต่แล้วไม่ทันไรตระกูลโอโนะก็ได้เกิดการแปรพักตร์ไปเข้ากับตระกูลไทระ เป็นเหตุให้ความสัมพันธ์ของโซตะที่มีต่อฮิโรทากะและชิอากิมีอันต้องขาดสะบั้น.. อ่านมาถึงตรงนี้ก็เกิดความรู้สึกติดตามว่า ' อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป? ' แน่นอนว่ามาถึงจุดนี้ความน่าติดตามมันเริ่มเข้มข้นขึ้นแล้วยิ่งมีพิ้นฐานเรื่องอยู่ที่ความเป็นซามูไรก็ยิ่งเพิ่มความน่าติดตามของมันมียิ่งขึ้นๆไปอีก ( โซตะกับฮิโรทากะจะมาฉะกันหรือปล่าว? แล้วชิอากิล่ะจะเป็นไง? ลูกผู้หญิงผู้ชายอะไร.. อันหลังไม่ใช่มั้ง - -;; ) ในเรื่องโครงเราก็ขอชื่นชมค่ะ โครงดีจริงๆถึงแม้จะมีคนเคยเขียนแนวทำนองนี้มาแล้วแต่คุณก็ทำให้ความจำเจนั้นเลือนไปจากนิยายเรื่องนี้เลยค่ะ :)) แล้วก็มาถึงจุดที่นักเขียนมักตกม้าตายอย่างเนื้อเรื่องกัน คือที่บอกจุดตกม้าตายนี่ก็เพราะว่าถึงโครงดีน่าอ่านแค่ไหน แต่ถ้าเนื้อหาที่ดำเนินไปนั้นจืดชืดหรือหย่อนหรือตึงเกินไปมันก็ทำให้ผู้อ่านเลิกสนใจนิยายของคุณได้ง่ายๆ ในเรื่องใต้เงาซากุระนี้ปัญหาก็มีอยู่ค่ะถึงจะไม่เยอะมาก แต่เราขอไปตามเสต็ปตั้งแต่ตอนแรกเลยแล้วกัน - แรกเริ่มนั้นการเดินเรื่องไปอย่างเรียบง่ายค่ะและมันก็เรียบง่ายไปอีกตลอดเรื่อง.. เรียบจริงๆ คือการดำเนินเรื่องของคุณนั้นแทบไม่มีอิทธิพลต่อารมณ์ผู้อ่านในบางส่วนก็ไม่ต่อเนื่อง มีแปปเดียวก็หายๆ อย่างเหตุการณ์คาซึมะและคาเครุที่สิ้นชีพในสงครามมันให้ความรู้สึกที่เศร้าสะเทือนค่ะ ซึ่งมันก็ให้ฟิลลิ่งในส่วนนั้นดีนะ แต่จู่ๆอารมณ์ของผู้อ่านมันก็ถูกตัดฉับด้วยการแต่งงานของคู่พระคู่นางเลยมันทำให้รู้สึกตะขิดตะขวงอยู่ไม่น้อยเลยล่ะค่ะ แถมตัวละครอย่างริทสึโกะที่น่าจะยังมีความรู้สึกเศร้าเสียใจอยู่ดันมาตกลงการแต่งงานเสียได้ อารมณ์เศร้าในทำนองนี้มันไม่ใช่ว่าจะมากำจัดออกด้วยงานมงคล อันที่จริงมันควรให้อารมณ์นี้หมดไปก่อนหรือลดลงก่อนไปมากในระดับหนึ่งด้วยซ้ำก่อนจะจัดงานมงคลแบบนี้ ( เรื่องนี้ก็เกี่ยวเนื่องกับความสมเหตุสมผลอยู่เหมือนกันค่ะ ) ในด้านนี้ก็มีอยู่ในจุดอื่นประปรายแต่อันที่เห็นภาพชัดที่สุดก็เรื่องแต่งงานนี่ล่ะค่ะ แล้วอย่างอีกเหตุการณ์อย่างตอนที่ได้ออกมาเดินนอกตำหนักโฮโจแล้วฮิโรทากะก็ได้ทำกิริยาเกินงามกับชิอากิ เหตุการณ์แบบนี้มันน่าจะดึงอารมณ์ผู้อ่านได้มากกว่านี้นะคะ เพราะตอนที่อ่านนี่มันก็รู้สึกเพียงว่ามันจะมีใครมาเห็นไหมหวา? เท่านั้นค่ะ ความรู้สึกหรืออารมณ์ตอนเจอฉากหวานแบบนี้มันมีมานิดนึงเองในเรื่องนี้เดี๋ยวจะเอาไปขยายความอีกทีในการบรรยายนะคะ เพราะการบรรยายก็มีส่วนกับเหตุการณ์เหล่านี้เหมือนกัน - การดำเนินเรื่องนี้ก็ดีอยู่ค่ะ ไปเรื่อยๆเร็วและช้า แต่ก็ใช่จะเป๊ะทุกครั้งยังมีขาดๆเกินๆอยู่บ้าง อันนี้ลองอ่านิยายของตัวเองดูโดยรู้สึกว่าตัวเองอยู่ในฐานะนักอ่าน จะได้เข้าใจมากขึ้นนะ - ในเรื่องของเหตุการณ์ย่อย อย่างเหตุการณ์ที่มีคนร้ายบุกเข้าในงานชมซากุระตอนอยู่ที่ตำหนักโฮโจ ฉากอย่างการต่อสู้ของชิอากิน่าจะเรียกอารมณ์ได้กว่านี้นะ สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการต่อสู้น่าจะมีส่วนที่ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ตื่นเต้นหรือลุ้นระทึกมากกว่านี้ ( อาจใส่การบรรยายขยายความการต่อสู้หรือเหตุการณ์น่าใจหายลงไปก็ได้นะ ) - และเรื่องสุดท้ายคืออารมณ์ตัวละคร ( อันที่จริงมันน่าอยู่ในหมวดตัวละครนะ ) คือความสัมพันธ์ของตัวเอกทั้งสาม โดยเฉพาะชิอากิและฮิโรทากะที่มีความสัมพันธ์เกินเพื่อนอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ เพราะมันน่าจะมีเหตุการณ์ที่ทำให้ชิอากิรู้สึกผูกพันกับฮิโรทากะมากกว่านี้ค่ะ ทีแรกก็ไปเรียบๆเรื่อยๆดี แต่จู่ๆชิอากิเกิดหวั่นไหวแต่หวั่นเพียงชั่วครู่กับกลายว่าปิ๊งอิโระซะแล้ว มันแลดูจะข้ามขั้นอยู่นะคะ ด้านนี้อาจไม่มีอิทธิพลต่อนักอ่านเท่าไรแต่สำหรับนักวิจารณ์เรื่องพิ้นฐานนี่ละเลยไม่ได้เลยล่ะจ้ะ :) ในด้านเนื้อเรื่องก็มีหลักก็อยู่ที่อารมณ์เท่านี้ค่ะ อย่างไรก็มีภาพรวมที่ใช้ได้ไม่แย่จนเกินไปและไม่ดีจนเกินไปค่ะ การแก้ไขนั้นแนะนำให้นำนิยายไปอ่านดูค่ะ ถ้าทุกอย่างไปอย่างสมเหตุสมผลอารมณ์จะแล่นไปอย่างที่ควรจะเป็นค่ะ หรือให้คนอื่นอ่านแล้วถามความรู้สึกก็ได้ :) มาเรื่องตัวละครกันบ้างดีกว่านะคะ ทุกตัวละครนั้นมีความสมเหตุสมผลในการกระทำต่างๆดีค่ะ และคาแรกเตอร์ของแต่ละคนนั้นถึงไม่โดดเด่นแต่ก็เป็นเอกลักษณ์ อย่างชิอากิที่มีความสวยคมและยังมีความดุโผล่มาเล็กน้อยเป็นเสน่ห์ เป็นต้น ในด้านนี้แทบไม่เป็นปัญหาเท่าไร และมีจุดที่น่าชื่นชมอยู่ด้วย อย่างในภาคสองหลังจากที่ตัวละครอายุย่างบรรลุนิติภาวะ ( ประมาณสิบเก้าหรือยี่สิบ ) ตัวละครที่เคยเด็กๆอย่างชิอากิและโซตะก็และดูเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นเป็นความสมเหตุถสมผลที่เราพุดไปในตอนต้นยังไงล่ะ ด้านนี้ก็ไม่มีอะไรให้ติดก็ผ่านไได้ง่ายๆเลยค่ะ ๕๕ แล้วเราก็มาเจอจุดพร่องที่ใหญ่หลวงอีกครั้งหนึ่งนะคะ นั่นคือการใช้ภาษานั่นเอง - เรื่องคำผิด : เรื่องนี้จอชื่นชมจากใจจริง มีความรอบคอบอยู่ไม่น้อยเลยล่ะค่ะเพราะหาคำผิดจากการสะกด ( เช่น เศร้า เป็น เสร้า ) ได้น้อยจริงๆ ที่จะมีบ้างก็เพราะการรีบพิมพ์นี่ล่ะค่ะ เช่น ตลิ่ง พิมพ์เป็น ตลิง , ฮิเดโนริ พิมพ์เป็น ฮิเดโนระ เรียงราย พิมพ์เป็น เรียงราว เป็นต้น ( จดเอาไว้แต่จำบทที่เจอคำผิดไม่ได้ขอโทษนะคะ ) และที่ขาดไม่ได้คือคำว่า และ ในเรื่อง ตัวอย่างเช่น ชิอากิเดินเข้าไปตามคำกล่าวของนางและนั่งลงบนเบาะที่ถูกจะเตรียมไว้ ควรแทนด้วยคำว่า แล้วจึง มากกว่าค่ะ เพราะคำว่า และ มันมีความหมายไปในทางที่ว่าการกระทำที่พร้อมกันค่ะ ในจุดนี้ก็มีให้เห็นอยู่เรื่อยๆค่ะ เป็นอีกจุดที่ยังขัดๆอยู่ค่ะและนี่ก็คือจุดบกพร่องที่น้อยที่สุดของคุณอสิรยาในเรื่องการใช้ภาษาค่ะ - การเว้นวรรค : ในด้านนี้มีให้เห็นอยู่ประปรายเรื่อยๆ ตัวอยางประโยคเช่น สาวใช้ยกหีบผ้าของชิอากิขึ้นไปไว้บนเกวียนที่ทางตระกูลโฮโจส่งมาขนสัมภาระของเด็กทั้งสามซึ่งมีมากพอสมควรขณะที่ชิอากิหันไปร่ำลาบิดาและมารดาด้วยความรู้สึกที่หนักอึ้งอยู่ในอก ตัวอย่างนี้มันไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไร แต่ก็ควรเว้นวรรคระหว่างคำว่าสมควรกับขณะค่ะ ( ที่จริงมันมีประโยคนึงในตอนหลังๆ แต่เราไม่ได้จดเอาไว้ ขอโทษด้วยนะคะ ) ในเรื่องความสำคัญของการเว้นวรรคนั้นเยอะอยู่เหมือนกัน ได้แก่ ความสบายตาของผู้อ่าน จะได้อ่านความบางตอนไม่ผิดเพี้ยนไปจากความที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ ในด้านนี้ก็เลยอยากจะให้ลองกลับไปอ่านๆทวนดูค่ะ - ย่อหน้า : ในบ่างส่วนบางตอนนั้นมีระยะย่อหน้าไม่เท่ากับบรรทัดอื่นๆ ซึ่งนั่นทำให้ความเป็นระเบียบลดลงไปอยู่เหมือนกัน อย่างในตอนต้นของบทในวันดอกไม้บานค่ะ และในบทอื่นๆก็มีนะคะก็ลองเช็คดูนะ :) - ปัญหาในประโยค : มีให้เห็นอยู่เรื่อยๆแทบทุกตอนค่ะค่ะ เช่นประโยคว่า แม้แต่เด็กหนุ่มที่นั่งเฝ้าอยู่ด้านนอกก็ยังได้เข้าร่วมงานเพราะมีคนนำขนมและเหล้ามาแบ่งกัน การใช้ประโยคนี้ผิดค่ะเพราะที่เด้กหนุ่มได้เข้าร่วมงานนั้นไม่ใช่เพราะมีคนเอาขนมและเหล้ามาแบ่ง หากแต่มันเป็นหน้าที่ของพวกเขาเอง จากความเข้าใจของเราควรจะเปลี่ยนเป็น แม้แต่เด็กหนุ่มที่นั่งเฝ้าอยู่ด้านนอกก็ยังได้รับขนมและเหล้าที่คนเข้าร่วมงานนำมาแบ่งปัน ( ผิดประการใดขออภัยด้วยค่ะ ) มันจะไปเข้าคู่กับเว้นวรรคอยู่เหมือนกันนะ และอีกเรื่องคือความไม่สลวยของประโยคค่ะ เช่น ตอนนั้นทุกอย่างสำหรับ 'ฮาระ ชิอากิ' คือเด็กสาวผู้มีพร้อมครบทุกอย่าง ครอบครัวที่อบอุ่น เสียงหัวเราะและรอยยิ้ม ความสุขทั้งมวล มันไม่เหมาะและไม่สลวยค่ะ อาจลองเปลี่ยนเป็น ในขณะนั้นคำจำกัดความสำหรับ 'ฮาระ ชิอากิ' คือเด็กสาวผู้มีพร้อมครบทุกอย่าง ครอบครัวที่อบอุ่น เสียงหัวเราะและรอยยิ้ม มันจะเหมาะกับการใช้คำว่า คือ มากกว่านะ และเรื่องสุดท้ายคือการใช้คำในประโยคบ่งครั้วงก็มีปัญหาค่ะ เช่น ลมจะพัดเข้ามาวูบหนึ่งจะทำหน้าที่เปรียบประหนึ่งสัญญาณ คำว่าจะควรเปลี่ยนเป็น 'ที่' ค่ะจะเหมาะสมกว่า - ระดับภาษา : : อยู่ในเกณฑ์ดีค่ะ ใช้ภาษาถูกแนวและเหมาะสมกับยุคของนิยาย และมีความสละสลวย จุดนี้เราว่าดีมากๆ ( ถึงขั้นเป็นเสน่ห์ของนิยายเรื่องนี้เลยล่ะค่ะ ) - การบรรยาย : การบรรยายนั้นมีปัญหาสืบเนื่องมาจากส่วนข้างบนนี่ล่ะ แต่เราจะมาพูดในเรื่องอื่นๆกัน อย่างที่บอกไปว่าจะมาพูดถึงเหตุการณ์ของฮิโรทากะกับชิอากิตรงริมแม่น้ำตอนอยู่ในเขตของโฮโจ ในส่วนนั้นน่าจะเพิ่มบทบรรยายลงไปดูค่ะ เพราะมันจะทำให้ความรู้สึกและอารมณ์พุ่งตาม คำบรรยายนี้ก็เป็นเรื่องบรรยากาศโดยรอบและลักษณะของตัวละครในตอนนั้นค่ะ ( ในฉากอื่นๆที่สำคัญๆก็แนะนำให้ทำแบบนี้ค่ะ ลองเพิ่มคำบรรยายดูแต่อย่าให้มันมากจนรกไปนะคะ ) และในสถานที่ต่างๆก็ควรบรรยายบรรยากาศและสภาวะแวดล้อมมากขึ้นค่ะ เพราะนี้เป็นนิยายแนวย้อนยุคการที่ดึงผู้อ่านเข้าไปร่วมอยู่กับเหตุการณ์พวกนั้นนับเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าแก้ได้มันจะสามารถไปช่วยผลักให้ความเรียบง่ายของนิยายมีสีสันขึ้นมาระดับหนึ่งเลยล่ะ เพราะเหตุการณ์และเรื่องราวในนิยายนี้มีปมที่เดาง่ายจนแทบไม่มีจุดน่าตื่นเต้น ( ความน่าติดตาม ) เข้ามาเท่าไรเลย แต่ว่าข้อดีในใต้เงาซากุระอย่างการใช้วรรณศิลป์ที่เรียบลื่นไม่เยิ่นเย้อมาบรรยายจนทำให้ผู้อ่านสามารถอ่านได้อย่างลื่นไหลไม่สะดุดนี่ก็นับเป็นเรื่องของการบรรยายที่ดีของคุณเหมือนกัน จุดนี้ขอชื่นชมจริงๆค่ะ สุดยอดมาก :) ( นวนิยายออนไลน์หาแบบนี้ยากจริงๆนะเออ! ฮิๆ ) - เพิ่มเติม : อันนี้เอาสั้นๆนะคะ มันเยอะเกินไปแล้วเนี่ย / คำญี่ปุ่นในบางที่อย่าง โอะเน่ซัง แนะนำให้เปลี่ยนมาใช้คำไทยอย่าง ท่านพี่ จะดีกว่าเพราะมีบัญญัติในภาษาไทยอยู่แล้ว ถึงมันจะมีเรื่องอารมณ์เข้ามาเกี่ยว แต่คำว่าท่านพี่จะให้ความรู้สึกอบอุ่นดีกว่าค่ะ / มาเรื่องคำบ้าง อย่างคำว่า หาก ในบางจุดยังมีการใช้ผิดอยู่นะ คือมันเป็นคำเงื่อนไขจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุและผลมาเป็นปัจจัยค่ะ เช่น หากในตอนนี้เจ็บระบมไปทั่วทั้งตัว หนำซ้ำยังอับอายสายตาชาวบ้านที่ต่างก็จ้องมองมาและหันไปกระซิบกระซาบ บ้างก็หัวร่อต่อกระซิกกันด้วยความสะใจเพราะทุกคนต่างก็เก็บงำความเกลียดชังที่มีต่อตัวชายร่างสูงเอาไว้ ไม่กล้าจะลุกฮือขึ้นสู้เพราะอีกฝ่ายมีดาบแหลมเป็นอาวุธ คำว่าหากมันเหมือนขึ้นต้นด้วยผล แต่พออ่านๆไปมันกลับไม่มีเหตุ.. ก็เลยรู้สึกว่าน่าจะเป็นเพราะการใช้ผิด เพราะก็เห็นปัญหานี้อยู่ประปรายแทบทุกบทเหมือนกันค่ะ / คำว่า ซัง แนะนำให้มาใช้คำว่าคุณเพราะมันให้อารมณ์ลึกซึ้งดีกว่าและมันก็มีบัญญัติในภาษาไทยแล้วด้วย / คำว่า มัน ในบางจุดใช้สรรพนามนี้เยอะและไม่เหมาะค่ะ / เรื่องคำเปลือง ในบางจุดบางตำแหน่งนั้นมีอยู่ค่ะ มันคือการบรรยายที่ไม่จำเป็นต้องเอามาเสริม เพราะมันไมได้ทำให้ดูชัดเจนหรือสลวย แต่มันเป็นตัวเกะกะในข้อความนั้นเลยค่ะ ลองดูละกันนะคะ ( ไม่ได้จดเอาไว้เหมือนกัน ขอโทษด้วย T/\T ) แต่ถ้ายกตัวอย่างที่ตัวเองคิดก็ประมาณว่า พบศพเสียชีวิตในพงหญ้าเมื่อคืนก่อน ทำนองนี้ค่ะ เป็นการใช้คำไม่ประหยัดและทำให้อารมณ์ในการอ่านลดลงไปอยู่เหมือนกัน / และเรื่องอื่นๆก็มีอยู่บ้างค่ะ แต่เริ่มน้อยแล้วอย่างไรก็ลองตรวจดูนะคะ ( คือเห็นมันไม่มีอะไรเลยไม่ได้จด ขอโทษอีกครั้งหนึ่งค่ะ ) เอ้อ! เกือบลืมๆ ปัญหาจากการพิมพ์ก็ยังมีอยู่จ้ะ อย่างการขึ้นบรรทัดใหม่ค่ะมันเป็นแบบนี้ " แบบนี้ค่ะ " มันเลยขาดช่วงอยู่สักหน่อยน่ะนะ และการเว้นบรรทัดของคุณก็มีระยะห่างที่มากไปค่ะ เวลาที่เปลี่ยนฉากก็เลยดูไม่ออก แนะนำให้เอนเทอร์สักเคาะเดียวพอนะคะ เพราะยิ่งทำให้มันห่างกันมากก็ยิ่งทำให้รู้สึกว่าเนื้อหามันมากค่ะ บางครั้งคนอ่านเห็นแล้วก็รู้สึกเหนื่อยเหมือนกัน หลักๆก็เท่านี้ล่ะ ขืนเจาะไปเกินกว่านี้มีหวังตาลายเป็นเท่าทวีคูณค่ะ อย่างไรถ้ามันมากไปก็ขอโทษด้วยนะคะ แต่โดยรวมการบรรยายของเรื่องนี้ดีนะ มันเรื่อยๆและอบอุ่นดีมากเลยล่ะ แต่มันก็มีจุดที่อดจะบกไม่ได้อยู่ล่ะนะ แหะๆ อีกอย่างคือเรื่องชื่อตอน การตั้งชื่อตอนนั้นก็บอกได้ตามการตั้งชื่อเรื่องเลยค่ะ ตั้งดีแล้วล่ะค่ะ :)) อืม.. เรามาเพิ่มอีกนิดพอดีรู้สึกลืมอะไรบางอย่างไป.. คือในข้อความในบางส่วนที่เป็นการขยายความคำพูดโน้นนี้ที่มีอยู่ในเนื้อความนิยายน่ะค่ะ ( ส่วนที่ไม่ได้ติดเลข 1 2 3 น่ะนะ ) อย่างตอนอธิบายเรื่องการพกอาวุธเข้าออกตำหนัก เป็นต้น มันควรจะมีความสมูธแบบไม่วิชาการจนเกินไปค่ะ มันจะทำให้ความลื่นไหลของสำนวนของคุณลดลงค่ะ อาจนำไปรวมอยู่กับพวกคำขยายความท้ายบทก็ได้ เพราะถ้าลองอ่านข้ามส่วนขยายความนั้นไป ส่วนใหญ่ก็ยังคงอ่านรู้เรื่องอยู่ค่ะ   อ่านน้อยลง

    elda chan | 19 ม.ค. 56

    • 2

    • 0

    "บทวิจารณ์ ใต้เงาซากุระ"

    (แจ้งลบ)

    นิยายเรื่องใต้เงาซากุระเขียนจบในส่วนภาคแรกซึ่งมีเจ็ดตอนและภาคสองเขียนถึงตอนที่สิบสี่ ใต้เงาซากุระเป็นเรื่องราวความรักของฮาระ อิชิกิ(นางเอก) กับ นิชิดะ ฮิโรทากะ(พระเอก) สองหนุ่มสาวจากตระกูลซามูไรที่มีหน้ารับผิดชอบต่อตระกูลซามูไรของตนเองและการรับใช้นายอย่างภักดีตามแบบวิถีแห่งซามูไร การดำเนินเรื่องอยู่ภายใต้สงครามเก็นเปน ซึ่งเป็นสงครามการแก่งแย่ง ... อ่านเพิ่มเติม

    นิยายเรื่องใต้เงาซากุระเขียนจบในส่วนภาคแรกซึ่งมีเจ็ดตอนและภาคสองเขียนถึงตอนที่สิบสี่ ใต้เงาซากุระเป็นเรื่องราวความรักของฮาระ อิชิกิ(นางเอก) กับ นิชิดะ ฮิโรทากะ(พระเอก) สองหนุ่มสาวจากตระกูลซามูไรที่มีหน้ารับผิดชอบต่อตระกูลซามูไรของตนเองและการรับใช้นายอย่างภักดีตามแบบวิถีแห่งซามูไร การดำเนินเรื่องอยู่ภายใต้สงครามเก็นเปน ซึ่งเป็นสงครามการแก่งแย่งชิงอำนาจของขุนนางตระกูลต่างๆ รวมถึงการพยายามรักษาอำนาจและสถานภาพของจักรพรรดิญี่ปุ่น ภาคแรกเป็นการดำเนินเรื่องราวความรักที่สดใส มิตรภาพระหว่างเพื่อน และความรักสามเส้าระหว่างพระเอก นางเอก และโซตะ บุตรชายคนเล็กแห่งตระกูลซามูไรโอโนะ ในภาคสองของนิยายมีความเข้มข้นขึ้น แม้ว่าความรักของอิชิกิและฮิโรทากิจะสมหวังและได้แต่งงานกัน แต่สิ่งนั้นอยู่ท่ามกลางความสูญเสียทั้งของตระกูลฮาระและนิชิดดะจากสงครามเก็นเปน และอุปสรรคต่างๆ ที่เข้ามาเพื่อที่จะพิสูจน์ความรักของพระเอกและนางเอกมีต่อกันและการร่วมกันฝ่าฟันอุปสรรคของทั้งสองจะมีเรื่องราวความน่าประทับใจอย่างไร และจุดจบความรักของพระเอกและนางเอกเป็นอย่างไรเราคงต้องติดตามกันต่อไป ผู้เขียนดำเนินเรื่องจากภาคแรกและภาคสองมาถึง 21 ตอนแล้ว เรื่องน่าจะดำเนินมาถึงกลางเรื่องแล้ว แต่การดำเนินเรื่องหลักของนิยายเรื่องนี้ช้ามาก ไม่เห็นพัฒนาการด้านความรัก ความเข้าใจ การฝ่าฟันปัญหาของพระเอกและนางเอกเท่าไรนัก ผู้เขียนยังคงเพิ่งดำเนินโครงเรื่องหลักที่ให้พระเอกและนางเอกต้องฝ่าฟันอุปสรรคและปัญหาร่วมกันท่ามกลางสงครามเก็นเปน และอุปสรรคและปัญหาที่ผู้เขียนผูกปมกลับส่งผลให้คนรอบข้างเจ็บปวดเสียมากกว่าตัวละครเอกเสียอีก เช่นเมื่อบิดาของนางเอกเสียชีวิตจากการทำสงคราม ผู้เขียนได้บรรยายเน้นย้ำว่าแม่ของนางเอกเศร้าโศกเสียใจถึงต้องลาบวชชี ในขณะที่นางเอกซึ่งเป็นลูกสาวคนเดียวและใกล้ชิดกลับทั้งผู้เป็นพ่อและแม่แทบจะไม่ได้รับผลกระทบนี่เลย หรือความขัดแย้งในชีวิตสมรสของนิชิดะ คาสึโนริ น้องชายของพระเอก กับ มิยาบาระ นานาเสะ จนถึงการตายของคาสึโนริ ซึ่งผู้เขียนตั้งปมปัญหาว่าส่วนหนึ่งนั้นมาจากทั้งพระเอกและนางเอก แต่พระอกและนางเอกไม่ตระหนักว่าความสูญเสียนั้นเกิดขึ้นเพราะมีเหตุมากจากตนเองด้วย ประเด็นนี้ผู้วิจารณ์ยังไม่แน่ใจว่าผู้เขียนจะเก็บให้เป็นปมปัญหาในตอนต่อไปหรือไม่ ผู้เขียนเลือกเขียนนิยายแนวย้อนยุคโดยเลือกที่จะใช้เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นในช่วงสงครามเก็นเปนเป็นฉากหลังที่สำคัญ และให้การฝ่าฟันความรักของพระเอกกับนางเอกเป็นตัวดำเนินเรื่องที่สำคัญ ผู้วิจารณ์ต้องชมผู้เขียนว่า การเขียนเรื่องย้อนเวลา วัฒนธรรม วิถีชีวิต ของคนชาติอื่นซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากต้องมีการค้นคว้าข้อมูล ศึกษา เพื่อที่จะทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้และนำมาเขียนเป็นนิยาย ในส่วนนี้ผู้เขียนศึกษาค้นคว้ามาเป็นอย่างดีมาก แต่สิ่งที่ผู้เขียนต้องตระหนักว่าตนเองกำลังเขียนนิยาย การเขียนนิยายไม่ควรใส่เชิงอรรถ ดังนั้นข้อมูลที่ผู้เขียนค้นคว้า ศึกษามาทุกอย่างนั้นควรจะแทรกข้อมูลความรู้เหล่านี้กลมกลืนเป็นเนื้อเรื่องเดียวกับนิยาย ทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิต การแต่งกาย อาวุธ ข้าวของเครื่องใช้ และอาหารการกิน ข้อปกพร่องในประเด็นที่ผู้เขียนควรปรับแก้ เช่น ผู้แต่งสามารถที่จะอธิบายความเป็นมาและการดำเนินของสงครามเก็นเปนนี้ได้ในฉากต่างๆ ของนิยาย หรือจะให้ตัวละครเป็นผู้เล่า หรือสนทนากับตัวละครอื่นเกี่ยวกับสงครามนี้ก็ได้ การที่ผู้เขียนใช้เชิงอรรถในการอธิบายความทำให้เสียอรรถรสในการอ่านอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการอ่านบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ต้องมาตามอ่านเชิงอรรถอธิบายซึ่งอยู่ในช่วงท้ายสุดทำให้การอ่านสะดุดไม่ต่อเนื่อง บางครั้งต้องยอมรับว่าไม่ได้ตามไปอ่านในเชิงอรรถที่ให้ไว้ จึงอยากให้ผู้เขียนปรับปรุงในส่วนนี้ ทั้งนี้เข้าใจว่าผู้เขียนเสียดายข้อมูลที่ค้นคว้ามา แต่ต้องไม่ลืมว่าข้อจำกัดในการแต่งนิยาย คือการสกัดบางส่วนที่ค้นคว้ามาเพื่อสร้างความสมจริงให้กับเรื่องเท่านั้น มิใช่นำเสนอความจริงทั้งหมดที่ค้นคว้ามาได้จึงเป็นที่น่าเสียดายที่ข้อมูลที่ผู้เขียนค้นคว้ามาไม่ได้นำมาใช้เพื่อการเขียนนิยายเรื่องนี้อย่างเต็มที่ รูปแบบการเขียนบรรยาย กับ การสนทนา ผู้เขียนมักจะเว้นบรรทัดแยกจากกัน ซึ่งทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสนหลายครั้ง จึงเห็นว่าหากเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องกันผู้เขียนไม่ต้องขึ้นบรรทัดใหม่ก็ได้ เพราะจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเป็นส่วนที่ขึ้นบรรทัดใหม่เป็นความที่แยกออกจากกันไม่เกี่ยวข้องกัน และหากยังเป็นการบรรยายเรื่องเดียวกันอยู่ก็ไม่ต้องขึ้นบรรทัดใหม่ เนื่องจากจะทำให้การอ่านขาดอรรถรส เพราะถูกขัดจังหวะและทำให้การอ่านขาดเป็นช่วงๆ จุดอ่อนอีกจุดประการหนึ่งคือ การเขียนบรรยายฉากและบรรยากาศ เนื่องผู้เขียนบรรยายฉากและสถานที่ต่างๆ น้อยมากทำให้ผู้อ่านไม่สามารถสร้างจินตนาการได้ว่าเรื่องนั้นดำเนินในสถานที่มีลักษณะเช่นไร เช่นทะเลโอซึ่งเป็นสถานที่แห่งความทรงจำของทั้งพระเอกและนางเอก แต่ผู้เขียนบรรยายสถานที่แห่งนี้น้อยมากจนไม่ทำให้รู้สึกว่าเป็นสถานที่อันน่าประทับใจและเป็นฉากที่มีความสำคัญของนิยายเรื่องนี้ นอกจากนี้ยังรวมถึงการบรรยายลักษณะท่าทาง การแต่งกาย เสื้อผ้า ทรงผม การแต่งหน้า เครื่องประดับต่างๆ ของตัวละครที่มีการบรรยายน้อยเช่นกัน จึงอยากให้เพิ่มรายละเอียดในการบรรยายในส่วนนี้เข้าไปจะช่วยให้ผู้อ่านใกล้ชิดและมีความรู้สึกร่วมกับนิยายเรื่องนี้ได้ แต่สิ่งที่ผู้เขียนบรรยายได้เป็นอย่าดีคืออารมณ์ของตัวละคร ที่ผู้เขียนอาจเน้นและให้ความสำคัญมาก แม้ว่านิยายเรื่องนี้จะเน้นเรื่องความรักระหว่างพระเอกและนางเอก แต่ผู้เขียนกลับให้ความสำคัญกับตัวละครอื่นมากกว่าและบรรยายตัวละครอื่นๆได้ดี เช่นนี้กลบบทบาทของพระเอกและนางเอก จนรู้สึกว่าบทบาทของพระเอกในเรื่องมีน้อยไปหรือไม่ เนื่องจากผู้เขียนให้พระเอกเป็นซามูไรในตระกูลเก่าแก่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบที่สำคัญมากมาย แต่กลับไม่ได้ให้ความสำคัญที่จะบรรยายรายละเอียดต่างๆ ว่าพระเอกทำอะไรบ้างจะเห็นได้ว่ามีเพียงการอธิบายว่าพระเอกต้องไปออกรบเป็นประจำตามคำสั่งของขุนนางที่ตระกูลตนเองจงรักภักดี และมีหน้าที่รับผิดชอบใดภาระการทำงานอื่นๆ ของพระเอกที่ดูกลายเป็นความลับไปเพราะแม้แต่นางเอกผู้เป็นภรรยาร่วมทุกข์ร่วมสุขยังไม่รู้ ซึ่งประเด็นนี้เองที่เป็นข้อขัดแย้งของเรื่องนี้ เพราะผู้เขียนให้นางเอกซึ่งเป็นคนในตระกูลซามูไรและได้รับการฝึกฝนอย่างซามูไร แต่กลับไม่มีส่วนร่วมหรือรับรู้ในหน้าที่การงานของผู้เป็นสามีรวมถึงความเป็นไปของบ้านเมือง แม้ว่าผู้เขียนอธิบายไว้แล้วว่าผู้หญิงไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องบ้านเมืองหรือภาระหน้าที่การงานของผู้ชาย นอกจากนี้ยังมีข้อย้อยแย้งขึ้นกับตัวนางเอกเสนอที่จะไปออกรบกับสามี แม้ว่าผู้เขียนจะให้นางเอกจะได้รับการฝึกอย่างซามูไร แต่ไม่ได้เกริ่นนำมาก่อนว่านางเอกมีความสนใจในด้านการทำสงคราม รู้กลยุทธ์ทางด้านสงครามหรือการเมือง แม้แต่แรงผลักดันที่ให้นางเอกต้องการออกรบร่วมกับสามี ทำให้ผู้วิจารณ์ยังไม่เห็นเหตุผลที่นางเอกจะขอออกรบร่วมกับพระเอก การที่นางเอกขอร่วมออกรบจึงเป็นการดำเนินไปตามโครงเรื่องหลักที่ผู้เขียนได้วางไว้เท่านั้น ประเด็นที่ผู้เขียนต้องระวังคือการใช้คำ โดยเฉพาะคำที่ใช้แสดงในการลำดับญาติ ข้อผิดพลาดเช่น การที่หลานชายของนางเอกซึ่งเกิดจากพี่ชายคนโตเรียกนางเอกว่า “ท่านน้า” ตามการลำดับญาติน้องของพ่อไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย เรียกว่า “อา” เพราะฉะนั้นลูกของพี่ชายนางเอกจะต้องเรียกนางเอกว่า “ท่านอา” ซึ่งอาจะเติมเป็น “ท่านอาหญิง” ก็ได้ และ อีกจุดหนึ่งในคืนวันแต่งงานระหว่างชิอากิกับฮิโรทากะ ฮิโรทากะเรียกคาซากิ ซึ่งเป็นพี่ชายคนโตชิอากิว่า “ท่านพี่เขย” คาซากินั้นมีศักดิ์เป็น “พี่ภรรยา” ของฮิโรทากิ แค่คำว่าพี่เขยเป็นคำที่ใช้เรียกบุคคลที่เป็นสามีของพี่สาว นอกจากนี้ผู้เขียนยังสับสนกับคำที่ใช้เรียกที่พักอาศัย เนื่องจากผู้เขียนใช้ทั้ง คฤหาสน์ เรือน ปราสาท ตำหนัก ทั้งที่ในความเป็นจริงคำเหล่านี้มีลักษณะการใช้ในเฉพาะความหมายที่ต่างกันคือคฤหาสน์ใช้เรียกที่อยู่อาศัยของขุนนาง ซึ่งในคฤหาสน์จะมีที่พักแยกออกเป็นส่วนต่างๆ ส่วนนี้เรียกว่าเรือน ส่วนปราสาทเป็นที่อยู่อาศัยของจักรพรรดิ เชื้อพระวงศ์ โชกุน เช่นเดียวกันจะมีส่วนที่พักอาศัยแยกออกเป็นส่วนๆ เรียกว่าตำหนัก ผู้เขียนต้องระวังในส่วนนี้ด้วย การใช้คำอธิบายขยายความของผู้เขียน ผู้วิจารณ์สังเกตว่าผู้เขียนมักจะมีคำขยายที่ไม่เข้ากัน เช่น ดวงตาประกายระริก เมื่อผู้เขียนใช้คำว่าริกขยายคำว่าประกายแล้ว ความหมายที่ออกมาไม่ใช่หมายถึงความสว่างสดใสอย่างที่ผู้เขียนต้องการแต่เป็นว่าดวงตาที่สว่างที่ไม่อยู่นิ่ง ผู้เขียนยังใช้คำว่า กริ่งเกรง เพื่อเลี่ยงใช้คำว่าเกรงกลัว เกรงขาม แต่ความหมายนั้นมีความหนักแน่นไม่เท่ากับสองคำหลัง และผู้เขียนยังมักใช้กริยา “ตวัด” กับอากัปกริยาที่ต้องเคลื่อนที่ เช่น ตวัดตา ตวัดตัวขึ้นหลังม้า ตวัดดาบ ผู้เขียนควรจะเลือกใช้คำอื่นที่มีความหมายที่เหมือนกัน ใกล้เคียงกัน และให้ความหมายที่ถูกต้องกว่า เพราะไม่ใช้คำว่าตวัดตา หรือตวัดตัว แต่ตวัดใช้กับดาบ ดังนั้นควรใช้ เหลือบตา ปรายตา สะบัดตา หรือ เหวี่ยงตัวขึ้นหลังม้า ในส่วนการเขียนคำผิดมีน้อยมากซึ่งผู้เขียนได้ตรวจทานมาเป็นอย่างดี สิ่งที่ผู้วิจารณ์อยากแนะนำในการเขียนนิยายย้อนยุคว่า ถ้าหากผู้เขียนได้เก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนมาเป็นอย่างดีแล้ว ผู้เขียนไม่ต้องกลัวในการนำข้อมูลต่างๆ มาเขียนเป็นนิยายในแนวทางของตัวเอง การจะสร้างตัวละครขึ้นมาใหม่เพื่อให้สัมพันธ์กับบุคคลที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ หรือจะสร้างเหตุการณ์ใหม่ให้มีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ในอดีตนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่ต้องมีความสอดคล้องกัน เป็นเหตุเป็นผลที่จะทำให้ผู้อ่านเชื่อ คุณอสิริยาผู้เขียนนิยายเรื่องนี้ยังมีความกลัวในประเด็นนี้อยู่มากจึงได้บรรยายเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์เป็นเชิงอรรถอธิบาย ผู้เขียนควรจะนำข้อมูลและข้อเท็จจริงในอดีตมาหลอมรวมกับจินตนาการของตนเองเพื่อสร้างงานเขียนที่มีคุณภาพในด้านบันเทิงและยังให้ความรู้ควบคู่ไปด้วย หากทำได้สมดุล งานเขียนนั้นจะเป็นงานเขียนที่มีคุณภาพได้ไม่ยาก   อ่านน้อยลง

    bluewhale | 30 ก.ค. 55

    • 6

    • 0

    ดูทั้งหมด

    ความคิดเห็น