ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #242 : (รีวิวไลท์โนเวลแบบแมวๆ) My Boss Lover ท่านผู้นำของผมไม่ได้น่ารักขนาดนี้

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.67K
      4
      10 ก.ค. 56

    บทความนี้ผมขอเปลี่ยนบรรยากาศการดูไลท์โนเวลญี่ปุ่น เล่นเกม และการ์ตูนอย่างแมวๆ หันมาวิจารณ์ไลท์โนเวลเรื่องหนึ่งที่ผมอ่านในเว็บเด็กครับ  ซึ่งสาเหตุที่เขียนก็มีอะไรหลายครับนอกเหนือจากวิจารณ์นิยายแล้ว ยังพูดถึงนิยามจริงๆ ของไลท์โนเวล และการเขียนนิยายแนวฮาเร็มนั้นมันยากกว่าที่หลายคนคิดเอาไว้

     

    ก่อนที่จะพูดถึงไลท์โนเวลที่ผมจะพูดถึงในบทความนี้ผม ก็ขอนิยามไลท์โนเวลแบบฉบับผมสักหน่อย …..

    ผมเชื่อว่าในที่นี้หลายคนคงสับสนตนเองเกี่ยวกับไลท์โนเวลเหมือนกันน่ะครับ ว่าตกลงแล้วไลท์โนเวลคืออะไรกันแน่?

    แน่นอนไลท์โนเวลก็คือหนังสือแปลญี่ปุ่นที่วางแผงตามชั้นวางหนังสือนั้นแหละคือไลท์โนเวล แต่ปัญหาจริงๆ คือคนที่คิดจะแต่งไลท์โนเวล และคนที่ไปเห็นนิยายเรื่องไหนที่หลายคนอ้างว่าเป็นไลท์โนเวลหากแต่เมื่อคุณเห็นคุณอ่านแล้วเกิดความสับสนว่านี้ใช่ไลท์โนเวลจริงหรือ?

                    ในเว็บเด็กดีก็มีคนเขียนนิยายแล้วบอกว่านิยายเรื่องนี้คือไลท์โนเวล อย่างไรก็ตามเมื่อผมอ่าน ผมส่ายหัวพร้อมกับการตั้งคำถามว่า “ที่อ่านนี่มันใช่ไลท์โนเวลแล้วเหรอ ทำไมอ่านแล้วไม่รู้สึกแบบนั้นเลย ”

    แน่นอนว่า ความหมายของไลท์โนเวลไม่ว่าคุณไปอ่านที่ไหน จะมีความหมายประมาณว่า

    1.พล๊อตเรื่อง มีการวางพล๊อตที่มีส่วนคล้ายเกมส์หรือการ์ตูนอยู่มาก และมักมีกลิ่นของแฟนตาซีปะปนอยู่เสมอ

    2.ภาษาเข้าใจง่าย ดำเนินเรื่องไว มีตัวหนังสือน้อย กระชับฉับไว ไม่เน้นบรรยายหรือประโยคยืดยาวให้น่ารำคาญ

    3.ภายในรูปเล่มมีภาพประกอบแบบการ์ตูน-คอมมิคแทรกเป็นระยะ ๆ

    4. รูปเล่มมีขนาดเล็กสามารถพกพาไปไหนได้สะดวก

    นี่คือความหมายคราวๆ ของไลท์โนเวล อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเราจะเห็นไลท์โนเวลหลายเรื่อง (เอาที่วางแผงบ้านเราตอนนี้ก็ได้) จะพบว่าหลายเรื่องมีเนื้อหาฉีกกฎไลท์โนเวลเลย เป็นต้นว่า

    -พล็อตเรื่องปัจจุบันเนื้อหาไลท์โนเวลไม่ได้มีกลุ่นอายของแฟนตาซีไปเสียอย่างเดียว หรือเน้นเรื่องคอมาดี้ชีวิตประจำวันในโรงเรียนอย่างที่หลายคนคิด เพราะไลท์โนเวลจำนวนมากที่มีเนื้อหาไม่คอเมดี้เลย เนื้อหายังดราม่า บีบอารมณ์ เอานิยายไลท์โนเวลที่วางแผงในไทยก็ได้ อย่างเช่น “การผจญภัยของคิโนะ” ที่สอดแทรกปรัชญายากๆ ความหมายของชีวิต การดำเนินเรื่องที่แสนโหดร้ายอย่างน่าตาเฉย หรือจะเป็นเรื่อง “ยมทูตสีขาว” ที่เน้นดราม่าบีบอารมณ์อีกเรื่อง หรือจะเป็นคินดะอิจิ (ฉบับนิยายไลท์โนเวล) ที่เน้นการฆาตกรรมเลือดความตายกับดราม่าของฆาตกรปริศนาในเรื่อง สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าไลท์โนเวลไม่ได้คอเมดี้อย่างเดียว เพียงแต่คอเมดี้นั้นฮิตกว่าเท่านั้น

    (หลายคนอาจไม่รู้ เท่าที่ผมเห็นไลท์โนเวลปัจจุบัน แนวที่ได้รับนิยมมากที่สุดคือแนว “โรงเรียนเวทมนต์” แนวที่เคยฮิตในเว็บเด็กดีสมัยก่อนนี้แหละ แม้พล็อตจะไม่เหมือนกันก็เพราะ โดยพล็อตโรงเรียนเวทมนต์ญี่ปุ่นที่ฮิตเวลานี้คือ พระเอกย้ายมาโรงเรียนเวทมนตร์ จู่ๆ ก็มีอีเวนท์ไปเจอนางเอกสายสวยแก้ผ้า จากนั้นนางเอกก็โมโหท้าพระเอกสู้ ตอนแรกพระเอกไม่สนใ  แต่ตอนหลังโดนบีบ พอสู้นางเอกก็พบว่าพระเอกเก่ง และนางเอกแพ้ และเป็นจุดเริ่มต้นของคู่พระนาง.....)

    -ส่วนรูปภาพประกอบการ์ตูนนั้น เป็นส่วนหนึ่งของไลท์โนเวล แต่ไม่ใช่สำคัญมากมาย สังเกตว่าไลท์โนเวลบางเรื่องรูปประกอบไม่สวยเลย แสดงให้เห็นว่าภาพประกอบไม่จำเป็นก็เป็นไปได้

    -อย่างไรก็ตามต่อให้มีรูปประกอบเป็นการ์ตูนก็ตาม มีรูปเล่มขนาดเล็กก็ตาม หากแต่ลักษณะการเขียนนั้นไม่ใช่แบบไลท์โนเวล นิยายที่ว่าก็ไม่ใช่ไลท์โนเวล ซึ่งหลายคนก็รู้ว่ามีรูปแบบนิยายมากมายที่มีภาพประกอบ (วรรณกรรมเยาวชนแบบนาเนีย,  หนังสือเด็กเล็ก, นิยายเรื่องสั่นทั่วไป) ซึ่งอาจรวมไปถึงนิยายที่เยาวชนไทยเขียนที่มีรูปเล่มเล็กมีภาพประกอบสวยงามแต่ข้างในสำนวนหรือภาษาการบรรยายอ่านยังไงก็ไม่ใช่ไลท์โนเวล

    -อีกกรณีหนึ่งอ่างกรณีสำนักพิมพ์บงกตที่มีลิขสิทธิ์ไลท์โนเวลหากแต่เมื่อแปลและทำรูปเล่มนั้น เล่มของนิยายมีขนาดใหญ่มาก สาเหตุเพราะช่วงแรกหลายคนไม่รู้จักไลท์โนเวล สำนักพิมพ์เลยพิมพ์หนังสือไลท์โนเวลให้มีขนาดใหญ่ให้เหมือนนิยายทั่วไปเพื่อที่จะขายได้

    -จุดประสงค์ตอนแรกของไลท์โนเวลนั้นทำขึ้นเพื่อให้วัยรุ่นอ่าน การทำรูปเล่มเล็กเพื่อสะดวกในการพกพาไปอ่านที่ไหนก็ได้ อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีไลท์โนเวลที่มีขนาดใหญ่เล่มหนาๆ พกไม่สะดวก กับนิยายไลท์โนเวลประเภทหนึ่งที่เรียกว่าไลท์โนเวล H ซึ่งเป็นไลท์โนเวลเฉพาะกลุ่ม คนอายุมากกว่า 18 ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ (วัยร่นโตแล้วหรือพวกแหกกฎ) เท่านั้น (ซึ่งผมจะกล่าวในโอกาสต่อไป)

    -ไลท์โนเวลบางเรื่องอ่านแล้วอาจไม่เข้าใจ เต็มไปด้วยศัพท์แสง หรือสำนวนที่อ่านยาก และบางครั้งก็บรรยายละเอียด ซึ่งทั้งนั้นอาจเป็นเพราะเทคนิคของการเขียนของแต่ละคนมากกว่า มันก็เหมือนกับเค้กที่คตนทำเค้กอาจไม่ใช่สูตรมาตราฐานเสมอไปอาจมีการดัดแปลงเพื่อให้ดูน่าสนใจมากขึ้น หรือตามสไตล์ของตนเองมากขึ้น ทำให้เกิดไลท์โนเวลแบบแปลกๆ ที่ฉีกฎไลท์โนเวลธรรมดา

    สรุปคือนิยามของไลท์โนเวลนั้นช่างน่าปวดหัวเสียยิ่งกระไร เอาเป็นว่าแล้วแต่ตรรกะของท่านละกัน ว่าความรู้สึกในการอ่านนิยายนั้นเหมือนไลท์โนเวลหรือเปล่า ซึ่งตรงจุดนั้นก็ลองอ่านไลท์โนเวลฉบับญี่ปุ่นมากๆ ค่อยเอามาเปรียบเทียบว่าเทคนิคของแต่ละคนเป็นยังไง ใช้รูปแบบอะไรในการเล่าเรื่อง บรรยาย (แปล) อย่างไรล่ะกัน 

    และคำถามหลาคนมักถามบ่อยๆ คือแต่งนิยายยังไงให้เป็นไลท์โนเวล? คำถามนี้ตอบยากเหมือนกันเพราะมันไม่มีสูตรตายตัวว่าจะเขียนยังไงให้เป็นไลท์โนเวล แต่ถ้าตามความคิดผม ตามตรรกะของผมนั้นก่อนอื่นเลยคือพยายามสร้างไลท์โนเวลที่มีเนื้อหาเข้าใจง่าย อ่านให้เหมือนการ์ตูน เน้นอีเวนท์ (อวยตัวละคร) มากกว่าเน้นการดำเนินเนื้อเรื่อง มีภาพประกอบนิดหน่อย จะไลท์โนเวลหรือไม่ไลท์โนเวลนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่จะทำยังไงให้นิยายน่าสนใจ อ่านแล้วสนุกมากกว่า

    ที่จริงในเว็บเด็กดี ก็มีนิยายหลายเรื่องที่ก็เข้าข่ายความเป็นไลท์โนเวลอยู่แล้ว (หากคุณยึดหลัก 4 ข้อของไลท์โนเวล หรือไม่ได้ตั้งใจเป็นไลท์โนเวลก็ตาม) เพียงปัญหาอยู่ตรงที่การทำอย่างไรให้นิยายน่าสนใจ น่าติดตามเสียมากกว่า ซึ่งแน่นอนว่าการทำให้น่าสนใจและน่าติดตามนั้นปัจจัยมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสำนวนการเขียน การวางเนื้อเรื่อง ตัวละครก็เป็นปัจจัยหลักด้วย หากนิยายสนุกคนก็เข้ามาอ่านมาอวยเอง แต่ดูเหมือนว่าคนในเว็บเด็กดีหลายคนไม่ค่อยไม่ได้ให้ความสำคัญตรงจุดนี้สักเท่าไหร่  (มักตั้งกระทู้ถามเสมอว่านิยายผมสนุกหรือเปล่า มีจุดตำหนิตรงไหน หากคุณไม่เข้าใจนิยายตนเอง แล้วคนอื่นจะรู้เหรอครับ)

    เอาล่ะนอกเรื่องมานาน ที่นี้มาถึงเรื่องที่ผมจะพูดในบทความนี้ คือการวิจารณ์ (ไม่เชิงวิจารณ์สับเลยเละเลยแหละ) นิยายเรื่องหนึ่งซึ่งที่จริงผมก็ได้วิจารณ์ไปแล้ว เขียนไปเยอะพอสมควร (หากละเอียดยิบนี้ ผมว่าเขียนนิยายเองยังจะดีกว่า)  แต่เจ้าของนิยายอยากให้ผมมาเผยแพร่ในที่นี้ และผมก็ไม่ขัดศรัทธาแต่อย่างใด

     

     

    My Boss Lover ท่านผู้นำของผมไม่ได้น่ารักขนาดนี้ 
    รูป
    by Cammy

    (มันเป็นธรรมเนียมผมน่ะ จะวิจารณ์นิยายในเว็บเด็กดีต้องวาดรูปเป็นที่ให้ทุกครั้ง)

    ติดตามได้ใน http://writer.dek-d.com/Writer/story/view.php?id=782394

     

    “จะเกิดอะไรขึ้นถ้า ท่านผู้นำแห่งประเทศเผด็จการตกอับกลายเป็นสาวน้อยอายุ 17 ปีและเธอคนนั้นอยู่ที่บ้านของคุณ คุณจะทำยังไง นั้นคือชีวิตของ เอก นักเรียนแลกเปลี่ยนชาวไทยที่เก็บเธอมาจากกองขยะในสภาพมอมแมมทั้งตัวก่อนจะได้พบว่า หน้าตาที่น่ารักของเธอนั้นช่างสวนกลับนิสัยแสนจะเอาแต่ใจ ปากร้าย และเผด็จการแบบสุดๆชนิดที่ว่า ท่านผู้นำประเทศไหนก็เอาไม่อยู่” (นิยามหน้านิยาย)

     My Boss Lover ท่านผู้นำของผมไม่ได้น่ารักขนาดนี้ เป็นผลงานนิยาย (ที่เจ้าตัวบอกว่าเป็นไลท์โนเวลและฮาเร็ม) ผลงานของ Seberjung หากใครมาอ่านบทความผมบ่อยๆ ก็คงจะเห็นเนมเบอร์นี้เม้นบ้างเป็นบางครั้ง (ลองไปสักตอนล่าสุด เม้นแรกๆ อาจจะเห็น) เท่าที่อ่านนิยาย วิเคราะห์ว่าเนมเบอร์คนนี้คาดว่าจะเป็นวัยรุ่น (เรียนมหาลัยแล้ว)  จังหวัดสระบุรี (ทานตะวันเยอะ)  รสนิยมคล้ายๆ ผม (ชอบฮาเร็มเหมือนกัน) เพศนั้นไม่ทราบเดาไม่ออก แต่ส่วนใหญ่คนใช้นามปากกานี้น่าจะเป็นหญิง  (แล้วคนใช้นามปากกา Cammy เป็นหญิงเหรอฟ่ะ) น่าจะชอบ Fate/Zero  และเรลกัน (เพราะชอบชวนผมดูเป็นประจำ) และน่าจะมีความรู้เรื่องการ์ตูนพอสมควร........... (การวิจารณ์นิยายต้องดูประวัติคนเขียนสักหน่อย)

    ผลงานเป็นรูปธรรมก็แต่งนิยายมาบ้าง (ผมไม่ได้อ่านผลงานก่อนหน้านั้น)  ตีพิมพ์หรือเปล่าไม่รู้ เพราะไม่ได้ติดตาม (วงการนิยายไทยผมไม่สนหรอก) พอดี เจ้าตัวบอกผมว่าเรื่องนี้เป็นไลท์โนเวลและเป็นแนวฮาเร็ม ผมเลยเข้าไปอ่านเสียหน่อย

    ปกติผมก็ไม่ได้อ่านนิยายในเว็บเด็กดีสักเท่าไหร่ เพราะผมไม่ได้เข้าเว็บเพื่อหานิยายอาสย ผมเข้าเขียนบทความให้คนอ่าน (ก็แปลถูกแปลผิดบ้างแล้วแต่อารมณ์ความขยัน) และเขียนบทความการ์ตูนสยองรสนิยมตนเองเสียมากกว่า ถ้าอ่านและวิจารณ์นิยายนี้จะต้องเป็นคนรู้จักจริงๆ เพราะสมัยก่อนเคยวิจารณ์นิยายคนอื่นแล้วดราม่าเลยเข็ดไปพักใหญ่ (ประกอบกับอ่านนิยายเรื่องหนึ่งแล้วป่วยหนักเพราะห่วยแตกสุดๆ)

    หลังผมอ่านนิยายเรื่องนี้จับความเรื่องราวคราวๆ ว่าพระเอกเป็นเด็กมัธยมปลายไทยที่ไม่ปรากฏชื่อที่มาเรียนประเทศญี่ปุ่น (แบบนักเรียนแลกเปลี่ยน) ที่หลายคนในเรื่องเรียกว่า “เอก” (ซึ่งผมก็มานั่งสงสัยว่าหากคนไทยไปทำงานญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นนี้จะเรียกคนไทยง่ายๆ คงไม่ใช่ชื่อเอกหรอกมั่ง คงชื่อญี่ปุ่นง่ายๆ มากกว่า)  

    พระเอกที่ว่านั้นตามแสกนของพระเอกฮาเร็มคือเป็นคนดี หน้าตาธรรมดา ฉลาดบ้างไม่ฉลาดบ้าง (พูดอ่านญี่ปุ่นได้คงฉลาดอยู่แหละ) กำลังอยู่ในช่วงสับสนตนเองว่า “ฉันมาเรียนญี่ปุ่นเพื่ออะไรเนี้ย?” กับสภาพแวดล้อมที่แสนไม่คุ้นเคย การเรียนเริ่มไม่ไหว อีกทั้งประสบปัญหาไม่มีเงิน ทำให้พระเอกที่ต้องหาเงินรายได้เสริม (คาดว่าพระเอกคงใช้เงินพ่อแม่มาเรียน ไม่ก็ทุนรัฐบาลโดนตัดอะไรสักอย่าง)

    วันแสนธรรมดาผ่านไปเรื่อยเปื่อย เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น หากแต่วันหนึ่ง หลังเลิกงานพระเอกคนที่ว่าได้กลับบ้าน และเขาก็พบสาวเปลือยกำลังนอนสลบอยู่บริเวณกองขยะ (ดิจิดอลเลดี้กับเดียรส์เรอะ!!) ด้วยความใจดีเขาเลยพากลับบ้าน (แทนที่จะพาส่งโรงพยาบาลและสถานตำรวจ สงสัยคงกลัวคนอื่นมองว่าพระเอกเป็นโรคจิตละมั่ง

     

    หลังจากพระเอกปากเด็กสาวลึกลับกลับมาบ้านพัก สักพักสาวน้อยลึกลับก็ลืมตาตื่นขึ้น และสิ่งที่พระเอกพบอย่างแรกคือสาวน้อยดังกล่าวไม่น่ารักเรียบร้อยเลยแม้แต่น้อย เธอทั้งขี้โวยวาย เอะอะอะไรก็ใช้กำลัง เธอบอกตัวเองชื่อ “ลอร่า เอริ์ล เบเนวิกซ์” เป็นผู้นำแห่งอาณาจักรเซมิเฟเลียประเทศเล็กๆ ที่พึ่งโดนกอรัฐประหารไปหมาดๆ จนเจ้าตัวต้องหนีออกนอกประเทศ ลี้ภัยการเมืองมาประเทศญี่ปุ่น (ส่วนทำไมตัวเปลือยก็ไม่รู้สิ)

    จากนั้นลอร่าก็บังคับให้พระเอกมาเป็นทาสของตนด้วยการทำพันธัสัญญา (เวทมนต์??) จากนั้นชีวิตของพระเอกก็ต้องเจอแต่เรื่องวุ่นวายไม่หยุดหย่อน เมื่อคนรอบตัวของเขาไม่ว่าจะเป็นรุ่นพี่, ประธาน หรือแม้แต่เพื่อนร่วมห้องไม่ใช่คนธรรมดาที่เขาคิดเอาไว้ พวกเขามีเบื้องหลังที่น่าตกใจ และชะตากรรมของพระเอกจะเป็นเช่นไรนั้นก็ติดตามในนิยายเรื่องนี้ในเว็บเด็กหรือลิงค์ข้างล่าง

    http://writer.dek-d.com/Writer/story/view.php?id=782394

    Seberjung ดูเหมือนจะเป็นคนที่กระตือรือร้นอยู่เสมอ เห็นได้จากการการอัฟที่สม่ำเสมอ ความฝันที่อยากให้นิยายได้รับการตีพิมพ์ ถามคนอื่นจากหลายๆ ที่เกี่ยวกับเทคนิคการแต่งนิยาย อยากให้คนอื่นอ่าน ติ ชม นิยายที่ตนเองแต่ง ซึ่งเป็นปกติธรรมดาสำหรับคนเขียนนิยายในเว็บเด็กดี ขอให้มีคนอ่านนิยายตนเองสักคนแบบจริงๆ จัง อ่านตั้งแต่ต้นจนจบก็ดีใจ

    แน่นอนว่าผมก็เป็นคนหนึ่งที่ Seberjung ขอให้อ่าน  ที่จริงผมก็วิจารณ์นิยายคนอื่นไม่ค่อยเก่งสักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่มักเน้นรสนิยมของตนเอง อีกอย่างที่สำคัญ ตั้งแต่เขาเว็บเด็กดีมาไม่เคยแต่งนิยายสักเรื่อง!! เลยมีความคิดว่าตนเองยังไม่ได้แต่งนิยายคนอื่น การเอานิยายคนอื่นมาพูดก็กระไรอยู่

    เอาเถอะไหนๆ ก็ไหนแล้ว ผมลองวิจารณ์นิยายสักหน่อย และอาจแทรกเรื่อง “การแต่งนิยายแนวฮาเร็มมันยากกว่าที่คิดเอาไว้” ด้วย (เรื่องไลท์โนเวลตัดได้เลย เพราะนิยามของไลท์โนเวลปัจจุบันไม่มีแน่นอนอีกต่อไปแล้ว)

    อันดับแรกเลยที่ผมอยากจะบอกคือ การแต่งนิยายในเว็บเด็กดี และอยากให้คนให้คนอ่านเยอะๆ นั้น นอกเหนือจากเนื้อหาและการโฆษณาแล้ว สิ่งที่สำคัญก็คือการตกแต่งหน้านิยาย การเรียงตัวหนังสือ และพื้นหลังนิยาย ซึ่งแม้ไม่เกี่ยวกับกับเนื้อหา แต่กระนั้นมันก็เป็นจุดเล็กๆ ที่สำคัญ ที่ส่งผลต่อการอ่านเป้นอย่างยิ่ง หากหน้านิยายไม่สวย คนเห็นก็ไม่อนยากจะอ่านสักเท่าไหร่ เพราะแรงดึงดูดใจไม่พอ

    ปกติแล้วหน้าอ่านนิยายของเว็บเด็กดีพื้นเป็นสีเหลือง (พื้นเนื้อหานิยายเหลืออ่อน และพื้นหลังสีเหลืองเข้ม) ค่อนข้างแสบตามากหากอ่านนานๆ  (เฉพาะหน้าอ่านนิยายน่ะ ส่วนหน้าหลักนิยายตกแต่งยังไงก็ได้)

    แต่หน้านิยายของท่านนั้นขอบอกว่าอ่านยากมากๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เป็นสีเหลือง (ผมแนะนำให้เปลี่ยนสีพื้นเป็นสีดำในหน้าอ่านนิยาย)  ตัวหนังสือสีเป็นสีเทา (หากปรับตัวอักษรให้อ่านง่าย หรือไม่ก็เพิ่มลูกเล่นตัวอักษรจะดีขึ้น) สิ่งเหล่านี้ทำให้อ่านยาก และทำให้ตาล้า ซึ่งใช้เวลาอ่านนานมาก (หรืออายุผมมาก ดูคอมนานไม่ได้ก็ไม่รู้) และนอกจากนี้การจัดหน้านิยายไม่ควรใช้ลูกเล่นสีสันเลิศหรูมากเกินไปเพราะอาจทำให้คนอ่านหมั่นไส้พล่านไม่ประทับใจตั้งแต่แรกเห็น ดังนั้นควรทำให้เรียบง่ายแต่สวยงามดูแล้วอยกาเข้ามาอ่านจะดีกว่า 

                    เอาล่ะเรื่องรูปแบบตัวอักษรและพื้นหลังนิยายผ่านไป  สำหรับนิยายหลายคนที่ไม่มีการปรับพื้นหลังและตัวหนังสือจางๆ ก็อยากขอแนะนำให้ปรับอักษรสีดำเข้มๆ การจัดเรียงอักษรให้สวยงามและน่าอ่าน บางคนเว้นบรรทัดเป็นกิโล มันกรอกสายตายากน่ะครับ

                    ดูเหมือนว่า Seberjung จะเป็นประเภทคล้ายๆ กับผม คือค่อนข้างใจร้อน อยากเขียนผลงานออกมาเร็วๆ คิดอะไรก็เขียนอย่างนั้น (หรือไม่ก็คิดตอนเช้าแล้วก็เขียนเย็นเลย) เห็นได้จากการเขียนค่อนข้างมีอารมณ์สด ติดๆ ขัดๆ ไปบ้าง เพราะไม่ได้กลั่นกรอง และมีคำผิดและคำซ้ำอยู่เยอะโดยไม่ตรวจทานแต่อย่างใด ตรงจุดนี้ผมก็บ่นไม่ค่อยได้ เพราะผมก็เขียนผิดๆ ถูกๆ บ่อยๆ เหมือนกัน

                    ต่อไปนี้เป็นจุดสำคัญในเรื่อง นั้นคือเทคนิคการเขียน การเล่าเรื่อง ความรู้สึกที่อ่าน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดผู้อ่าน และความภูมิใจของผู้เขียนวาสามารถอวดคนเขียนได้หรือเปล่า ซึ่งตอนแรกหลังจากที่ผมอ่านจนเกือบหมด ความรู้สึกแรกคือ ผมอยากให้คนเขียนนิยายกลับไปเขียนแก้ใหม่หมด!!

                    ผมให้เหตุผลในการอยากให้คนเขียนเอานิยายกลับมาแก้ไขใหม่มาการบรรยายทำได้ไม่มีอารมณ์  ร่วม สาเหตุเพราะใช้ภาษา รูปประโยค การบรรยายที่ทำไม่ค่อยดี ทำให้นิยายเรื่องนี้ลดความสนุกที่ว่าไปเยอะพอสมควร ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาร้ายแรงที่สุดในนิยายเรื่องนี้

    และหลังจากที่ผมให้วิจารณ์ไปครั้งแรก Seberjung ก็กลับไปเขียนนิยายใหม่อีกครั้ง ครั้งนี้ดีขึ้นเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตามผมก็ยังยืนยันประโยคเหมือนตอนแรกว่า ผมอยากให้คนเขียนนิยายกลับไปเขียนแก้ใหม่หมด!!

    ดีขึ้นแต่ใช่มันจะผ่าน ยิ่งช่วงหลังๆ ผมอ่านแล้วยังเป็นห่วงแทน (แถมยังอายแทนนิดๆ) เออ....อย่าพึ่งน้อยใจหรือโกรธครับ ผมจะชำแหละให้ดูว่าทำไมผมอยากให้คนเขียนนิยายกลับไปแก้ไขใหมี่ ซึ่งพอดีผมเห็น Seberjung โฆษณานิยายเรื่องนี้และหวังนิยายเรื่องนี้ค่อนข้างมาก ผมเลยต้องพูดอีกครั้ง คราวนี้ยาวกว่าครั้งแรกหน่อย

    เริ่มจากพล็อตโดยภาพรวม ผมให้ผ่าน เพราะหากอ่านแบบคร่าวสนุกและน่าติดตามดีพล็อต My Boss Lover ท่านผู้นำผมไม่น่ารักขนาดนี้  พล็อตน่าสนใจมากครับ เรื่องของผู้นำเผด็จการตัวเล็กๆ สาวน้อยซึนเดเระที่ต้องหนีจากต่างประเทศและมาอาศัยอยู่บ้านสามัญชนธรรมดา แม้พล็อตแบบนี้จะเห็นในการ์ตูนทั่วไป แต่พูดตามตรงว่าผมชอบมาก ไม่งั้นหลายคนจะทำมาซ้ำๆซากๆ ทำไมล่ะ คิดดูสิครับ การที่ผู้หญิงสูงศักดิ์ (เจ้าหญิง, จอมมารหญิง, นางฟ้าหญิง, มังกรน้อย, พระเจ้าโลลิ ฯลฯ)  มาอยู่บ้านสามัญชนธรรมดาแบบนี้สำหรับโอตากุแล้วถือว่า เทพประทานพร เพราะมันไม่มีทางเกิดขึ้นเลย มันเป็นพล็อตในฝัน เอามาทำกี่ทีก็ไม่มีอะไรน่าเบื่อ ไม่งั้นการ์ตูนหลายเรื่องไม่ทำพล็อตลักษณะแบบนี้หรอกครับ

                    พล็อตน่ะดีแต่ปัญหาอยู่ที่การเขียนมากกว่า ที่ท่านต้องปรับเทคนิคการเขียนพอสมควร เพราะต่อให้เขียนกี่ร้อยตอนนิยายฮาเร็มเรื่องนี้ก็ไม่ซาบซ่า ไร้ซึ่งอารมณ์ (แต่ผมยังติดตามอยู่) หากเปรียบเหมือนอะไรสักอย่างก็เหมือนกับพ่อครัวที่ปรุงอาหารไม่ดีเลยทั้งๆ ที่มีวัตถุดิบชั้นดีอยู่ตรงหน้าแบบไม่อั้นแล้วแท้ๆ

                    คำถามต่อมานิยายของ Seberjung ไม่ดีตรงไหน และควรปรับปรุงตรงไหน

                    ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันแนวฮาเร็มนั้นมีมากมายหลายเรื่อง ซ้ำซากก็เยอะ ตัวละครก็ซ้ำเยอะ แม้หลายคนจะมาบ่น (ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าคนที่บ่นนี้เคยอ่านแนวนี้หรือเปล่า) แต่ยังก็ตามแนวฮาเร็มก็ยังขายได้ทั้งมังงะ ไลท์โนเวล และอนิเมะที่ดัดแปลงจากมังงะและไลท์โนเวล (ออจินอลฮาเร็มนี้ผมไม่เคยเห็น) บางเรื่องประสบความสำเร็จ ในขณะที่บางเรื่องล้มเหลว ก็เพราะอะไรล่ะ คำตอบง่ายๆ คือรูปแบบการนำเสนอนั้นเอง การสร้างจุดเด่น การวางตัวละคร บท การเขียนบรรยากาศ ฉากต่างๆ นาๆ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญให้ฮาเร็มประสบความสำเร็จ

                    ฮาเร็มนั้นมีหลายแบบ ปัจจุบันพล็อตแนวฮาเร็มที่เยอะที่สุดคือแนวโรงเรียนเวทมนตร์ที่พระเอกเป็นนักเรียนย้ายมาใหม่ และด้วยสถานการณ์ (อีเวนท์) พระเอกได้พบนางเอก และต่อมานางเอกก็ท้าสู้พระเอก ผลสุดท้ายพระเอกก็ชนะนางเอก และได้ใจนางเอกไป (แต่ยังปักธงไม่แน่น)

                    อย่างไรก็ตามนอกเหนือแนวฮาเร็มโรงเรียนเวทมนต์แล้ว ยังมีฮาเร็มอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแนวฮาเร็มชีวิตประจำวันในโรงเรียนเรื่อยเปื่อยธรรมดา ฮาเร็มแฟนตาซี หรือฮาเร็มชีวิตประจำวันที่ใส่เรื่องเหนือธรรมชาติเข้าไปหน่อยก็น่าสนใจขึ้น

                    หลังจากผมอ่านนิยายของ Seberjung สรุปได้ว่าเป็นแนวการ์ตูนฮาเร็มที่ผสมกับแฟนตาซีและชีวิตประจำวันลงไป  การวางเนื้อหานั้นเหมือนการ์ตูนเรื่องหนึ่งเลยก็ว่าได้  แต่ปัญหาคือท่านทำบทอวยตัวละครหรืออีเวนท์ไม่ดีพอ ซึ่งปัญหานี้ถือว่าใหญ่ที่สุดในนิยายของท่าน

    ทำไม Boku wa Tomodachi ga Suku nai [ชมรมคนไร้เพื่อน] ถึงได้กลายเป็นการ์ตูนที่ได้รับความนิยม ทั้งๆ ที่เนื้อหาเหมือนไม่มีอะไรเลย ไม่มีการดำเนินเรื่องเป็นเรื่องเป็นราว นั้นก็เพราะฮาเร็มเรื่องนี้มีจุดเด่นคือการเน้นอวยตัวละครที่ตัวละครในเรื่องมีความโดดเด่น ยิ่งเรื่องดำเนินมากเท่าไหร่ตัวละครเริ่มมีความเด่น น่ารักมากขึ้นนิสัยโดดเด่นน่าจดจำ

    การทำฉากอวยตัวละครนั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในฮาเร็ม (แม้ฮาเร็มหลายเรื่องไม่ได้เน้นเรื่องนี้ อย่างเช่น พระเอกตัววุ่นโลกแตก ซึ่งผมไม่ได้ประทับใจกับเรื่องนี้มากนัก)

    นิยายของ Seberjung ไม่ทำให้ผมรู้สึกอวยตัวละครเลย ทั้งๆ ที่ตัวละครอย่างเผด็จการตกอับนั้นน่าอวยแท้ๆ (แต่ล่าสุดตัวละครอบย่างเพื่อนร่วมห้องทำให้ผมน่าสนใจขึ้น)

                    แน่นอนว่านิยายของ Seberjung ก็มีฉากอวยเช่นกัน แต่ทำไมความรู้สึกที่ผมอ่านถึงไม่อวยเท่าที่ควร เพราะท่านดันไปเน้นการดำเนินเรื่องนิยายมากกว่าที่จะเน้นการอวยตัวละคร ซึ่งส่วนใหญ่เยาวชนไทยมักแต่งนิยายแบบนี้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นแนวใด คือเน้นการดำเนินเรื่องให้ถึงเนื้อหา แต่ขาดการรู้จักตัวละคร (บางคนไปเพิ่มตัวละครหลายตัวโดยไม่รู้จะหาบทไหนมาใส่) และนั้นทำให้ตัวละครค่อนข้างแบนไม่มีมิติเท่าที่ควร

     

    ผู้นำของผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอก
     

                    แล้วจุดไหนที่ Seberjung ควรปรับปรุง? แต่งยังไงถึงอวยตัวละคร ให้ตัวละครน่ารัก และดึงจุดเด่นของตัวละครได้

                    ถ้าผมอธิบายหมดทุกจุดนี้คงไม่ได้ เพราะทำแบบนี้สู้ผมไปแต่งนิยายเองดีกว่า เอาเป็นว่าผมจะยกจุดสำคัญในเรื่อง ซึ่งเน้นภาค 1 (หรือที่ท่านแรกเรียกว่าเล่ม 1) ล่ะกัน

                    -อันดับแรกให้คิดแบบนี้ นิยายไลท์โนเวลไม่ใช่นิยายที่ใช้ภาษาง่ายๆ เขียนสั้นๆ ห้วนๆ หากแต่จะทำอย่างไรให้คนอ่านเข้าถึงเนื้อหาและสนุกอินกับนิยายที่แต่งได้ต่างหาก

                    -พระเอก ซึ่งผมเชื่อแล้วว่า Seberjung คงรู้แล้วว่าพระเอกฮาเร็มที่ดีเป็นอย่างไร นั้นคือพระเอกธรรมดา ใจดี ชอบช่วยเหลือคนอื่น ไม่เคยทำให้คนอื่นร้องไห้ (โดยเฉพาะผู้หญิง) ตรงจุดนี้ทำดีแล้ว แต่สิ่งที่คนเขียนขาดไปนั้นคือ “พระเอกตบมุก” หรือพูดง่ายๆ นิยายของท่านขาดสิ่งที่ว่ามุกตลกนั้นเอง ซึ่งจะว่าไปมันก็ยากพอดีสำหรับคนเขียนนิยายแนวฮาเร็มชีวิตประจำวันให้มีมุกตลก แต่อย่างไรก็ตามมุกตลกที่ใช้บ่อยๆ แนวนี้ก็คือมุกตลกที่เหนือสามัญสำนึกของเรา หรือนิสัยของตัวละครที่สุดโด่ง  ยกตัวอย่างมุกข้างล่าง

                    “เอ่อ......ลอล่า แล้วเจ้าประเทศอาณาจักรเซมิเฟเลียมันอยู่ไหนของซีกโลกล่ะ?

                    “แค่นี้ก็ไม่รู้เหรอเจ้าทาส หัดไปเรียนประวัติศาสตร์ซะบ้าง ประเทศอาณาจักรเซมิเฟเลียน่ะ มันก็อยู่คิดพรมแดนทางเหนือของประเทศลิโปเลียน ทางใต้ติดกับประเทศเอโซเนีย ค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับประเทศไวกีกิน่ะ”

                    “หา!!!???? แล้วมันอยู่ส่วนใหนของซีกโลกฟ่ะะะะะะ!!

    เราเรียกเทคนิคนี้ว่าตลกชงมุกและตบมุก ชงมุกหมายถึงเท้าความหรือเหล่าเรื่องนำ ส่วนตบมุกคือจุดหักมุมให้มันฮ่า ซึ่งในการ์ตูนแนวฮาเร็มที่เป็นแนวคอมเมดี้เรามักเห็นบ่อยๆ ซึ่งนอกเหนือจะทำให้คอเมดี้ตลกขึ้นแล้ว ยังทำให้แสดงถึงจุดเด่นของตัวละครนั้นๆ การทำให้ตัวละครเด่นคือ พระเอกเด่นขึ้น อ่านแล้วเพลินจนบอย่างรวดเร็ว และเป็นการยืดเนื้อหาแบบไม่อืดน่าเบื่อแต่อย่างใด (หากมุมดีจริง หรือทำออกมาได้น่าสนใจ)

                    สำหรับตัวอย่างพระเอกตบมุกเก่งๆ ก็เช่น สึดะ ทาคาโทชิ (Seitokai Yakuindomo), เคียวน์ (Haruhi) ชินปาจิ (Gintama), โคดากะ (ชมรมไร้เพื่อน), ฯลฯ (ลองไปศึกษาดูน่ะครับ)

    ส่วนมุกชงหรือตัดมุกที่แนะนำสำหรับ Seberjung เกี่ยวกับนิยายเรื่องนี้ ความจริงมุกตลกก็ไม่จำเป็นต้องตลกมาก พื้นฐานนิยายที่เราเห็นได้อ่านมาหรือได้ดูก็ได้ โดยที่แนะนำคือ

    -มุกประเภทแรกคือการดึงจุดเด่นของตัวละครให้สุดโด่ง ที่นิสัยไม่ธรรมดา ทำอะไรให้เราตกใจและไม่เหมือนชาวบ้าน ซึ่งตัวละครในเรื่องนี้ที่ผมอ่านก็มีตัวละครที่มีมุกชงได้เยอะ อย่างลอร่าที่เผด็จการตกอับที่ทำอะไรแสบๆ ในสังคมพระเอกอยู่  ตัวละครอย่างรุ่นพี่นักดาบก็ลองเอาแบบอ่อนต่อโลกหรือชอบของน่ารักที่ตรงกันข้ามกับที่พระเอกวาดฝันไว้ดู

    -มุกเกี่ยวกับประเทศ ในเรื่องนี้มีคนสามสัญญาติ ไม่ว่าจะเป็นพระเอกคนไทย, ลอร่าคนยุโรป (ทางเหนือ??) และตัวละครที่เป็นคนญี่ปุ่น ลองเอาจุดเด่นของประเทศนั้นๆ มาเล่นดู อย่างพระเอกที่เป็นคนไทยนี้เอามาเล่นเยอะ แต่นิยายเรื่องนี้กลับไม่ได้ใช้จุดนี้มาเล่นเท่าไหร่ ทั้งๆ ที่คนญี่ปุ่นเองไม่รู้เกี่ยวกับประเทศไทยของเราสักเท่าไหร่ การที่คนญี่ปุ่นเจอคนไทยน่าจะมีอะไรที่แปลกๆ ไปบ้าง ยกตัว

    นี้นาย วันนี้ฉันอารมณ์ดีน่ะ เลยทำอาหารให้นายทานเป็นกรณีพเศษเลยแหละ จงสำนึกถึงความมีพระคุณของฉํนบ้างน่ะ!

    ลอร่า เขวี้ยงแมลงสาปมาตรงหน้าของผม

    “ว๊ากกกกกก ทำอะไรของเธอเนี้ย ยัยบ้า!!

    “ไหนว่าบ้านนายกินพวกแมลงเป็นอาหารไง แค่แมลงสาบแค่นี้ นายกินได้สบายอยู่แล้ว ดูสิตัวอ้วนน่ากันเชียว” ลอร่าทำหน้าตา งง สงสัย

    ยัยบ้านี้ ทั้งๆ ที่น่าจะคิดได้น่ะว่าไม่มีชาติไหนบนโลกหรอกกินแมลงสาปได้หรอก ต่อให้เป็นคนไทยก็เถอะ

    คำเตือนอย่าเล่นมุกการเมืองและของสูงน่ะครับ (ฮ่า)

    นอกเหนือจากนั้นก็เป็นที่การเอาวัฒนธรรมของประเทศที่เราเหมือนเป็นเรื่องธรรมดา หากแต่เมื่อมาทำในประเทศนี้ก็กลายเป็นแปลกทันที อย่างยุโรปการอาบน้ำเปลือยเป็นเรื่องปกติ เป็นต้น

     

    -มุกหญิง VS หญิง เท่าที่อ่านมา นิยายเรื่องนี้ไม่ค่อยมีฉาก VS ระหว่างสาวๆ มากนัก (ภาค 2 ยังมีตอนทำอาหาร แต่อยากให้เพิ่มอีกนิด ส่วนภาคแรกมาถูกทางตรงที่เกริ่นตัวละครก่อนถือว่าโอเคอยู่) ซึ่งลองคิดดูสิมันจะสนุกแค่ไหน แค่บทตบมุกชงมุกระหว่างพระเอกกับผู้หญิงสองคนนั้นทำนานๆ น่าเบื่อเกินไป ลองเพิ่มการจับสาวสองคนมาอยู่รวมกัน และตอนแล้วไม่ชอบหน้ากัน ทำสงครามเย็นกัน แขวะใส่กันคงจะดีไม่น้อย (ลองเพิ่มตัวละครให้มีสีสันดูน่ะครับ)

    และสิ่งที่ระลึกเอาไว้การมุกชงและการตบมุกในฮาเร็มไม่ใช่ต้องการให้ผู้อ่านตลก หกฮ่า หรือบ้าบอคอแตกไร้สาระ หากแต่เป็นการแสดงให้ถึงจุดเด่นของตัวละครไม่ว่าจะเป็นตัวเอกชายหรือหญิงต่างหาก หากดึงจุดเด่นนี้ได้ มุกตลกก็มาเองครับ (เช่น ริโกะเน้นมุกหื่น, เซนะเน้นบ้าเกมจีบสาวและซาดิสต์เต็มขั้น, โยโซระแกล้งเซนะ, โคโบโตะจูนิเบียว)

     

     

    ผู้นำของผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอก (แบบไม่ตกแต่งเพราะขี้เกียจ)

    วาด By Cammy

     

    ข้อคิดและการพัฒนาจิตใจ หากสังเกตดีๆ นิยายฮาเร็ม (และนิยายเกือบทุกเรื่อง) มักสอดแทรกคติคุณธรรมสอนใจเสมอ (หากแนวต่อสู้ เพื่อนคือทุกสิ่ง, สามัคคีคือพลัง, รักเพื่อน ฯลฯ) แนวศอมบีหรือแนวเอาตัวรอดก็สอนเรื่องด้านมืดของมนุษย์และการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ในนิยายแนวฮาเร็มก็เหมือนกัน ที่สอนอะไรมากมายหลายอย่าง (ที่จริงก็มีฮาเร็มบางเรื่องเหมือนกันที่ไม่ได้สอนอะไรเลย )

    ส่วนมากข้อคิดของฮาเร็มน่าจะเป็นการพัฒนาจิตใจของตัวละครมากกว่า การพัฒนาจิตใจคือการทำให้ตัวละครเปลี่ยนแปลงไปให้เป็นคนดีเหมือนคนปกติธรรมดาขึ้น (แต่ก็ไม่ทิ้งเอกลักษณ์เดิมๆ ของตน) ซึ่งก่อนหน้าหน้าตัวละครค่อนข้างที่จะมีด้านลบที่ไม่ดีเป็นส่วนมาก

    นอกเหนือจากด้านไม่ดีของตัวละครแล้ว  ก็ยังมีปัญหาจากบาดแผลในอดีตของตัวละคร ที่เป็นอดีตด้านมืดที่ไม่อยากจดจำ บางอดีตทำให้ตัวละครกลายมาเป็นคนแบบนี้ และอดีตได้นำสู่เรื่องราวที่ป็นดราม่าหรือจุดไคแม็กซ์ของเรื่อง

    พูดง่ายๆ คือนิยายหนึ่งเรื่องจะมีโจทย์ให้พระเอกแก้ปมปัญหาว่าจะทำอย่างไร เพื่อนำไปสู่การปักธงของเหล่าสาวๆ ในเรื่อง ซึ่งความจริงนิยายเรื่องนี้มาถูกทางแล้ว คือ หนึ่งภาค เน้นตัวละครเด่นหนึ่งคน แต่ปัญหาคือการวางปม และการพัฒนาจิตใจยังไม่แน่นพอ

    -ลอร่า เผด็จการตกอับ ที่ชีวิตไม่เหมือนเด็กสาวทั่วไป ที่อยู่ในความขัดแย้งของชาติ (ทั้งผู้สนับสนุนและไม่สนับสนุน) สักวันหนึ่งต้องกลับประเทศ

                    -รุ่นพี่ความแค้นที่ต้องชำระ

                    จากสองภาคนี้น่าจะเป็นจุดเด่น  Seberjung วางไว้แล้ว และสูตรของฮาเร็มทั้งปวง เพียงแต่ว่าอารมณ์เรียกว่าว่าปมปัญหาและปมอดีตนั้นยังไม่ดีพอ ยังไม่หนักพอ สร้างความลึกให้กับคาแร็คเตอร์ยังไม่พอ โดยเฉพาะความแค้นของรุ่นพี่นั้น น่าจะบรรยายให้หนักกว่านี้ การเผยอดีต (ไม่ใช่ฉากย้อนอดีต แต่เป็นการพูดคุยกับตัวละคร) ก็น่าจะช่วยให้ปมปัญหามีความแน่นขึ้น

                    (ยกตัวอย่างเช่น ภาคสอง ตอนที่รุ่นพี่เจอนักฆ่าจากเกาหลี Seberjung แค่เขียนห้วนๆ คือชื่อนักฆ่าที่ผมไม่ค่อยได้จำสักเท่าไหร่ ตรงชุดนี้น่าจะเขียนบรรยายความโกรธแค้นอันก้นบึ้งของรุ่นพี่มากกว่านี้ เป็นต้น)

                    การปักธง (หรือ Flag) ถือว่าเป็นจุดสำคัญที่สุดในเรื่อง ซึ่งหมายถึงการเกิดอีเวนท์กับพระเอกและตัวละครสาวคนนั้นๆ เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เกิดเหตุการณ์อารมณ์มากมาย แต่ทั้งหมดจะส่งผลทำให้เธอคนนั้นเกิดความประทับใจในตัวพระเอก รักพระเอกอย่างแท้จริง (ตอนแรกๆ รักเล่นๆ รักหลอกๆ)  

    สำหรับการปักธงนั้นคือพระเอกต้องทุ่มสุดตัวแรงกล้า ถึงขั้นยอมเสี่ยงชีวิต (ใครที่ไม่อ่านแนวฮาเร็มชอบสงสัยว่าพระเอกในเรื่องมีดีตรงไหน มันอยู่ตรงนี้แหละ จะมีพระเอกคนไหนเสี่ยงชีวิตทุ่มสุดตัวให้ผู้หญิงคนหนึ่งแม้ตนจะอ่อนแอก็ตาม จะมีใครที่ทำอะไรโดยไม่ได้ผลตอบแทน จะมีอะไรที่ยอมเสียสละชื่อเสียงเพื่อให้พวกเธอมีความสุขกัน) ซึ่งตรงจุดนี้ Seberjung ก็ทำไว้แล้ว แต่ปัญหาแค่ท่านบรรยายไม่ละเอียดพอ

                    นอกเหนือจากนั้น จุดสำคัญที่ควรระลึกเอาไว้ ที่จะทำให้บทฮาเร็มได้ดี ก็คือการวางบทพระเอกให้เป็นจุดศูนย์กลางทั้งหมด ชนิดที่ว่าปัญหาปมจิตใจหรือปมอดีตนั้นมีเพียงพระเอกที่จะสามารถแก้ไขได้ ก่อนที่จะปักธงตอนท้าย ซึ่งเมื่อขจัดปมปัญหาและสามารปักธงได้อารมณ์ที่ออกมาจะเรียกว่า “ซาบซ่า” ซึ่งถือว่าเป็นอารมณ์เอกลักษณ์ของฮาเร็ม นี้แหละคือสิ่งสำคัญในฮาเร็มก็ว่าได้

    สรุปคือนิยายแนวฮาเร็ม (ที่ไม่มีนางเอกแน่นอนและตัวละครหญิงหลายคน) จะประกอบด้วยการวางโครงเรื่องแบบนี้ เริ่มต้นด้วยการแนะนำตัวเอก จากนั้นก็เริ่มตัวละครหญิงที่เด่นในบทนั้น สถานการณ์ที่ชวนหัววุ่นวายตลก ก่อนที่จะเผยปมปัญหาจิตใจของตัวเอกหญิงเหล่านั้น เนื้อหาดราม่า (จะปวดตับหรือแบบเบาๆ ก็ว่ากันไป ก่อนที่จะนำสู่บทคลี่คลาย การแก้ปัญหาของพระเอก จบลงแบบแช่มชื่น นี้แหละคือสิ่งสำคัญในฮาเร็มก็ว่าได้

    จุดที่น่าตำหนิที่สุดของ Seberjung อยู่ที่การบรรยาย ที่เล่าเหตุการณ์ไม่ละเอียดพอ ทำให้นิยายดูแหว่งๆ ขาดอารมณ์ร่วมเป็นอย่างยิ่ง เพราะ  Seberjung เน้นเขียนสั้นๆ พยายามเขียนให้จบเร็ว (ซึ่งผมเดาว่าคงไม่ได้วางโครงเรื่องหลายวัน นึกจะเขียนก็เขียนและลงเลย ทำให้ขาดรายละเอียดดังกล่าว)

                    -การบรรยายลักษณะตัวละคร แน่นอนว่าการบรรยายตัวละครนั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในฮาเร็ม หากไม่บรรยายให้ออกมาให้เด่นชัดก็ไม่แสดงตัวตนของสาว ไม่สามารถอวยได้ ไม่ว่าจะเป็น ลักษระรูปร่างหน้าตา การแต่งตัว และกริยาที่มักทำเป็นประจำ (ยกตัวอย่างโยโซระชอบม้วนผมเวลาคิดหรืออาย เป็นต้น) สิ่งเหล่านี้ส่งเสริมให้อวยตัวละครตามมา

                    โอเคพระเอกไม่จำเป็นต้องบรรยายก็ได้ เพราะการบรรยายใช้มุมมองพระเอก (มันคงบ้าแน่ๆ ที่พระเอกมันบรรยายตัวเองเนี้ย แต่บรรยายก็ดี ให้บรรยายเนียนๆ เช่นตอนรุ่นพี่บอกว่าชอบพระเอก พระเอกก็คิดว่า “ผมก็ใช่ว่าหน้าตาดีอะไรมากมาย แม้ผิวจะขาวกว่าคนไทยทั่วไปจนเหมือนคนญี่ปุ่น แต่อย่างอื่นใช่ว่าจะดีเลิศรูปร่างก็เตี้ย การเรียนก็งั้นๆ กีฬาก็ไม่เอาไหน ที่พอเก่งก็แค่งานบ้านงานเรือน ทำไมผมเนื้อหอมหว่า?”)

    จุดสำคัญคือการบรรยายตัวละครหญิง โอเคตัวละครหลักนั้นนิยายเรื่องนี้บรรยายแล้วในตอนแรก แต่ปัญหาคือตัวละครบางตัวดันไม่ได้บรรยาย โดยเฉพาะโซระเพื่อนพระเอก (ที่ตอนแรก)

     

     

    การบรรยายตัวละครโซระเท่าที่เห็น

     

                    เท่าที่วิเคราะห์ เดาว่า Seberjung พยายามวางตัวโซระให้เป็นตัวละครที่คนไม่สนใจในตอนแรก และพยายามให้เด่นในภาค 3 แต่อย่างไรก็ตามน่าจะบรรยายลักษณะตัวละครให้มากกว่านี้ ไม่ว่าจะเป็น การแต่งตัว ทรงผม หน้าตา ลักษณะท่าทาง ฯลฯ เพราะตอนแรกผมมองภาพของโซระไม่ออกเลย และจินตนาการเป็นพวกบ้าพลังด้วยซ้ำ (เพราะเป็นนักกีฬานี้น่า)

     

     

    คิคุจิ มาโคโตะ [Kikuchi Makoto] จากไอดอลมาสเตอร์

     

                    คำแนะนำของผมคือการบรรยายโซระให้เป็นคิคุจิ มาโคโตะ น่าจะดีนะครับ  ส่วนนิสัยกำหนดเองละกัน เพื่อให้เข้ากับรูทฮาเร็ม

                    และตัวละครนอกเหนือจากตัวละครสาวตัวหลักก็ไม่ก็ไม่ได้บรรยายมากนัก ซึ่งอยากแนะนำสักนิด ช่วยบรรยายสักหน่อย ไม่ว่าจะเป็นตัวละครชาย (แค่บรรยายสั้นๆ ว่าหน้าตาดูไม่เป็นมิตรและน่ากลัวก็ได้) หรือตัวละครประกอบก็ตาม

                    ส่วนที่อยากเสริมคือแม้จะบรรยายลักษณะตัวละครหญิงเสร็จแล้ว แต่ใช่ว่าจะเลิกจะบรรยายต่อ เพราะยังไงบทต่อมา ฉากต่อมาก็ต้องบรรยายการแต่งตัว หรือลักษณะในตอนนั้นด้วย และอีกอย่างควรเสริมเรื่องการแสดงกริยาท่าทางที่ทำประจำจนติดนิสัย (ใครที่เล่นเกมจีบสาว เราจะเห็นตัวละครหญิงชอบปฏิกริยาท่าทางน่ารักประจำ เช่น เสยผมเบาๆ, ยิ้ม เป็นต้น)

                    ขอนอกเรื่องนิยายผู้นำฯ  แล้วมาพูดนิยายของหลายคนในเว็บเด็กดีสักหน่อย หลายคนที่อ่านจนถึงบัดนี้ จะเห็นว่าผมมุ่งเน้นเรื่องรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างมาก ผมให้ความสำคัญหมดเกือบทุกจุด โดยเฉพาะการบรรยายครับ การบรรยายเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้นิยายของท่านมีคุณค่ามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการบรรยายตัวละคร, บรรยายสถานที่, บรรยายสภาพแวดล้อมตัวละครล้วนสำคัญ หากแต่หลายคนไม่ได้คำนึงถึงการบรรยายเลย คิดว่าแค่เขียนบทพูดก็ไม่จำเป็นแล้ว บางคนบอกให้คนอ่านจิ้นเอาเอง บางคนเอารูปดาราไม่ก็การ์ตูนจากไหนสักแห่งบอกว่านี้คือตัวละครเรื่องนี้ชื่ออะไรและ ไม่บรรยายเลยเพราะให้ดูรูปแล้ว  ขอบอกว่านั้นคือความคิดที่ผิดครับ การบรรยายนั้นมีส่วนสำคัญที่ทำให้นิยายของทุกคนมีคุณค่ามากขึ้น หากนิยายมีแต่บทพูดแล้วนั้นไม่ใช่นิยายแล้วล่ะ หากแต่เป็นบทละคร หรือรายงานเด็กประถมเสียมากกว่า

                    (สำหรับของ Seberjung เห็นบอกว่านิยายที่ผมได้อ่านไป เป็นเพียงการวางเรื่องคร่าวๆ เท่านั้น ยังไม่ได้ใส่รายละเอียดหรือปรับปรุงแก้ไขเนื้อเรื่อง ซึ่งหากได้คำวิจารณ์ก็จะปรับปรุงภายหลัง ดังนั้นสิ่งที่ผมขอเตือนสักนิดคือ ระวังเรื่องคนดู เพราะคนดูบางคนไม่ใช่พวกอดทนและไม่รอการแก้ไขของนักเขียนหรอกน่ะครับ พวกเขาต้องการความสมบูรณ์แบบ ต้องการอ่านนิยายที่สมบูรณ์ของคนเขียนเท่าที่จะแต่งได้ การที่คนเขียนบอกคนดูว่านิยายไม่สมบูรณ์ มีจุดผิดเยอะนั้นมันไม่เป็นการดีเลยแม้แต่น้อย)

                    ฉากที่ควรใส่และไม่ควรใส่ ใกล้จบแล้วล่ะ..... ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำของผมเองน่ะ ซึ่ง Seberjung จะเชื่อผมหรือไม่เชื่อผมก็ได้ โดยเท่าที่อ่านนิยายมีการวางลำดับเรื่องราวไม่ดีนัก มีฉากที่ไม่ควรใส่อยู่เยอะ ซึ่งตามความเห็นของผมฉากที่ไม่ควรใส่ที่สำคัญที่สุดคือ “ฉากย้อนอดีต”

                    ตามความเห็นของผมแล้วฉากย้อนอดีตในนิยายเรื่องนี้ค่อนข้างน่าเบื่อไปนิดน่ะครับ (อยากให้หลายๆ คนลองไปอ่านดูก็ได้) ไล่ตั้งแต่ตอนที่ 8 (บทที่ 4 รุ่นพี่ของผมไม่มีทางเป็นศัตรูไปได้หรอก (1) (Rewrite 18/6/2013)และช่วงเกริ่นภาค 2 ค่อนข้างที่น่าเบื่อและไม่มีอารมณ์ร่วม ซึ่งสาเหตุเป็นเพราะการย้อนอดีตนั้นเริ่มจากตอนที่ 8 เป็นเพียงเล่าอดีตที่มาที่ไปว่าทำไมพระเอกถึงเป็นคนใจดีขี้สงสารกับผู้หญิงมากนักแต่การย้อนอดีตนั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญสำหรับการดำเนินเนื้อเรื่อง ไม่ใช่เฉลยปมของเรื่อง (พูดง่ายๆ จะมีหรือไม่มีก็ได้) และภาค 2 พระเอกพบรุ่นพี่ครั้งแรกก็ไม่เชิงที่จะโดดเด่นอะไรมากนัก (ผมพูดแรงไปเปล่า)

                    หากต้องการแสดงให้เห็นว่าพระเอกเป็นคนขี้สงสารและหรือเหตุใดพระเอกต้องทุ่มสุดตัวเพื่อปกป้องผู้หญิงแม้แลกชีวิตก็ตาม ก็แค่ใช้การพูดคุยตัวละครก็ได้แล้วครับ เพียงแค่บทสนทนาถามว่าทำไมพระเอกถึงต้องใจดีกับผู้หญิงนั้น แล้วพระเอกตอบว่า “ตอนผมยังเด็ก ผมเคยประสบอุบัติเหตุรถโดยสารคว่ำข้างทางครับ มันเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายสำหรับผมมาก ผมติดอยู่ในรถ แขนขาหักไปไหนมาไหนไม่ได้ ได้แต่ร้องไห้หาแม่อย่างสิ้นหวัง แต่ผมก็รอดมาได้ เพราะผมถูกผู้หญิงคนหนึ่งช่วยเหลือเอาไว้ เธอให้กำลังใจผม ทำแผลให้ผม เธอทั้งๆ ที่เธอเป็นคนแปลกหน้า ไม่เคยรู้จักผม อีกทั้งยังเจ็บหนักยิ่งกว่าผมด้วยซ้ำ”

                    “สุดท้ายเธอก็ตาย โดยที่ผมไม่สามารถทำอะไรได้เลย  ได้แต่มองเท่านั้น....."

                    “นับจากนั้นเป็นต้นมา ผมก็ปฏิญาณตนเองเอาไว้ หากเห็นใครทุกข์ร้อน หรือมีเรื่องเดือดร้อน”

                    เพียงแค่นี้ผู้อ่านก็เข้าใจความรู้สึกพระเอกแล้วครับ

                    ส่วนการย้อนอดีตการพบรุ่นพี่นั้น พยายามทำให้จบในตอนเดียวครับ เป็นการเกริ่นเนื้อหาของเนื้อเรื่อง ( 6 หน้ากระดาษ A4) เล่าถึงความประทับใจ การพบเจอครั้งแรก ไม่ควรยืดเยื้อเกินไปครับ

                    ต่อมาก็มีฉากมากมายถ้าเป็นไปได้ควรตัดออกครับ เช่น ฉากที่พระเอกลาครอบครัวไปเรียนญี่ปุ่นถ้าเป็นไปได้ก็ตัดออกให้เปลี่ยนเป็น “วันที่ผมพบรุ่นพี่ครั้งแรกก็พอ” เพราะเล่าไปก็ไม่ได้อะไร เหมือนย้อนอดีตซ้อนย้อนอดีตครับ

                    ส่วนต่อมาเป็นเรื่องยิบย่อยต่างๆ คือในช่วงท้ายของนิยาย ภาค 1 ที่พระเอกพูดถึงน้องสาว ผมก็นึกว่าภาค 2 น้องสาวจะมา แต่ปรากฏว่าเป็นเรื่องของรุ่นพี่ซะงั้น เพราะปกติแล้วในช่วงท้ายนิยายมักนิยมเกริ่นสำหรับเนื้อหาตอนต่อไปให้น่าสนใจน่าติดตามต่อไปมากกว่า ดังนั้นคำแนะนำของผมอย่าพึ่งพูดถึงน้องสาวตอนนี้ครับ หากอยากจะพูดนี้ให้พูดกลางๆ เรื่อง ให้พูดว่าพระเอกมีครอบครัว มีน้องสาว บลาๆ อะไรมากกว่า         

                    นี่คือสิ่งที่ผมอยากเขียนถึง Seberjung ก็ไม่เชิงวิจารณ์หรอกแค่คำแนะนำในการปรับปรุงให้ดีขึ้น แน่นอนว่ามันไม่ทั้งหมด (หากพูดหมดสู้ให้ผมแต่งไปเลยดีกว่ามั้ง) และแน่นอนว่าอีกว่า Seberjung ไม่ต้องเชื่อผมก็ได้ แต่สิ่งที่ต้องการจะสื่อคือ Seberjung ลองอ่านนิยายของตนเองหลายๆ รอบดูน่ะครับ ว่าจุดไหนอ่านแล้วไม่สนุกเลยตามความคิดของตนเอง หรือมีจุดไหนที่ควรปรับปรุงแก้ไข ลองเขียนรายละเอียดฉากที่ตกๆ หล่นๆ เพียงแค่นี้ก็ถือว่าเป็นการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นแล้วครับ

                    ก็จบแล้วครับสำหรับการรีวิวนิยายในเว็บเด็กดี สไตล์ผม ก็ไม่รู้หลายคนมีความคิดเห็นยังไง คงประมาณว่า “ตรูไม่เอาเอ็งไปรีวิวนิยายฉันหรอก” หรือ “เป็นการวิจารณ์นิยายที่เขียนเม่งยาวกว่าเจ้าอื่นๆ” หรือบางคนอยากให้ผมไปวิจารณ์นิยายคนอื่นๆ ก็ขอบอกว่า ให้กับคนที่สนิทเท่านั้นครับ (เพราะจะได้ติสะดวก) รสนิยมเดียวกัน และมีจุดที่อยากจะพูดถึง และน่าสนใจพอที่ผมเข้าไปอ่าน

                    จุดประสงค์ที่ผมต้องมาวิจารณ์นิยายในบทความนี้ก็คือ การเขียนนิยายแนวฮาเร็มมันยากกว่าที่คุณคิดครับ ไม่ใช่ว่าใส่ตัวละครสาวๆ รักพระเอกแต่แรกเห็นแล้วจะสำเร็จเสมอไป อย่างงี้เขาเรียกว่าตัวละครกลวงๆ ครับ ยิ่งหลายคนมักมองฮาเร็มเป็นแนวที่ไร้สาระหรือเป็นความรักของผู้หญิงโง่ๆ กับพระเอกที่ไม่รู้จะแย่งชิงไปทำไมอยู่ด้วย (อย่างกับแนวต่อสู้ไม่กลวงอย่างงั้นแหละ)

                    ก็อยากให้หลายคนมองฮาเร็มเหมือนการ์ตูนแนวอื่นๆ บ้าง ไม่ชอบไม่เป็นไร แต่อยากให้คุณหันมามองการวางโครงเรื่อง เพราะแนวฮาเร็มหลายเรื่องนั้นไม่ใช่ตัวละครสาวๆ รักพระเอกแต่แรกเห็นแต่อย่างใด บางคนเป็นลาสต์บอสที่ไม่รักพระเอกเลย พระเอกต้องทุ่มสุดตัวปักธง จนสามารถปักธงได้ในที่สุด ตอนปักธงนี้สุดยอด ยิ่งกว่านางเอกอีก (ทำให้พบว่าแนวฮาเร็ม นางรองนั้นช่างโดดเด่นเหลือเกิน)

                    การแต่งแนวฮาเร็มปัญหาใหญ่คือทำอย่างไรให้ซาบซ่า อ่านแล้วเห็นโลกเป็นสีชมพูนี้แหละคือสิ่งที่อยากที่สุดในการแต่งนิยาย คุณจะต้องใส่ตัวละครสาวระดับสุดยอดเฟอร์เฟ็ค การบรรยาย การดำเนินเรื่องรูทของเธอคนนั้น การสอดแทรกข้อคิด ปมปัญหา การแก้ปัญหา การพัฒนาจิตใจ นำไปสู่ฉากจบที่แอปปี้ เห็นไหมล่ะ มันยากน่ะ แฟนตาซีนั้นเล่นความอลังการ สร้างโลกก็นับว่ายากแล้วแนวฮาเร็มที่สร้างในโลกแคบๆ ยิ่งยากเข้าไปใหญ่อีก (แต่น้อยกว่าแฟนตาซีอยู่ดี)

                    ส่วนพระเอกแนวฮาเร็ม หลายคนไม่ชอบ เห็นว่าอ่อนแอ หาว่าเป็นเกย์ คุณไปมองว่าการจับกดนั้นแมน แสดงว่าตรรกะคุณป่วยแล้วครับ พระเอกเขาเป็นคนดีที่หนึ่ง เป็นมนุษย์ธรรมดาในสังคมที่นิสัยดี ไม่ต้องการให้ผู้หญิงร้องไห้ เจอใครเดือดร้อนก็หวังจะช่วยเป็นแฟน ทำอะไรก็ทุ่มสุดตัว งั้นถามล่ะกันเป็นคุณอยากจะแต่งงาน ฝากชีวิตกับพระเอกคนนี้หรือเปล่า หรือเอาพวกจับกดคาสโนว่า (กรุณาอย่าเอาคาสโนว่าปนกับฮาเร็มครับ ยอมความกันไม่ได้)

                    การดำเนินเรื่องแนวฮาเร็ม เหมือนซ้ำๆ แต่ในความซ้ำๆ นั้นมีจุดน่าติดตาม การวางตัวเอกให้เป็นจุดศูนย์กลางของความวุ่นวาย ที่ชีวิตของเราอาจไม่มีทางเจอแบบพระเอก แต่ก็มีอะไรคล้ายๆ กันครับ เพราะเราก็คงเจอปัญหามากมายกับคนใกล้ตัวที่เป็นทุกข์ในคราวเดียวและมีแต่คุณที่จะต้องแก้ไขปัญหาเท่านั้น คุณจะทำอย่างไร เลือกที่จะทิ้งปัญหา หรืออยู่เคียงค้างกับคนใกล้ตัวเหล่านั้น รูทของคุณดีไม่ดียากกว่าเกมจีบสาวหรือฮาเร็มเสียอีก เพราะมันไม่มีฉากจบ แถมบางครั้งอาจมีฉากตบเรือสวยที่เกิดขึ้นง่ายด้วยซ้ำ

                    หากแต่งนิยายแนวฮาเร็ม (หรือนิยายแฟนตาซี) ก็มองชีวิตจริงของเราก่อนครับ แล้วค่อยแต่ง (หรือแต่งสนองความต้องการก็ได้น่ะเอ่อ) และจงพัฒนาฝีมือเข้าไว้ครับ สักวันฝีมือเราก็จะดีขึ้นและเก่งเอง

     

                    จบแล้วครับ ขอบคุณที่ตามอ่าน (หรือไม่อ่านเลยก็เถอะ)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×