ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #128 : Double Jei คุโรมาตี้ ปะทะ เอโกะ ศึกชิงบั่นทอนปัญญา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 8.72K
      5
      18 ก.ค. 54


                    ผมเชื่อเลยครับ ว่าหลายคนในที่นี้คงไม่เคยอ่านการ์ตูนเรื่องดังกล่าวแน่นอน(เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์) เนื่องจากการ์ตูนดังกล่าวมันไม่มีแปลไทยครับ และมันก็ไม่แปลเป็นอังกฤษด้วย ตอนผมโหลดมานั้น มันเป็นฉบับภาษาญี่ปุ่นล้วนๆ เลย(ให้ได้เถอะ) แต่ผมดูแล้วมานั่งเดาๆ เอา หลังจากตีความพักใหญ่ ก็พบว่าการ์ตูนดังกล่าววาดโดยนักเขียนสองคน ตัวละครแต่ละตัวจะเป็นของลายเส้นนั้นๆ แบบว่าใครอยากวาดตัวละครอะไรก็วาดมาใส่เลย แถมนักเขียนสองคนดังกล่าวมันคนละลายเส้น คนหนึ่งวาดการ์ตูนเส้นเข้มโบราณ(การ์ตูนแนวลูกผู้ชาย)มาผสมกับนักเขียนอีกคนที่ลายเส้นโมเอะ(การ์ตูนแนวสาวน้อย) แน่นอนว่าลายเส้นสองเส้นนั้นมันเข้ากันไม่ได้ แต่ปรากฏว่าผมดูแล้วปรากฏว่า มันโครตแนวจริงๆ ครับ แค่ดูภาพก็ฮ่าแล้ว

     

      

    Double Jei

    ตลก, คอมมาดี้, ชีวิตในโรงเรียน, โซเน็น

    ดาวน์โหลด(ภาษาญี่ปุ่น) เล่ม 1 http://www.mediafire.com/?n8airxzneb9unzu

    ดาวน์โหลด(ภาษาญี่ปุ่น) เล่ม 2 http://www.mediafire.com/?m5j114wk9ubcc3s

    ดาวน์โหลด(ภาษาญี่ปุ่น) เล่ม 3 http://www.mediafire.com/?88dzbv79j53r0dg

     

    Double Jei เป็นการ์ตูนตลกผลงานล่าสุด ของ เอจิ โนนากะ(NONAKA Eiji) ผู้วาด คุโรมาตี้ โรงเรียนคนบวม(Cromartie High School) อันเลื่องชื่อและผลงานดังกล่าววาดหลังจากผลงานเรื่องผลงานต่อจากฮะตะคิ หากแต่ลายเส้นหลักในการ์ตูนเป็นนักเขียนชื่ออาซากุระ มารุ(ASAKURA Maru) คนวาด ฮัลโหล เอโกะ (090 - Eko to Issho 4เล่ม/สำนักพิมพ์มด)แต่กระนั้นตัวละครบางตัวก็ใช้ลายเส้นของเอจิ โนนากะวาด ดังนั้นเรียกได้ว่าการ์ตูนเรื่องนี้ใช้นักวาดหลักสองคน!! และทั้งสองคนดังกล่าวลายเส้นต่างกันราวกับฟ้าเหวเลยทีเดียว การ์ตูนลงประจำในนิตยสารโชเน็นแมกกาซีน ปี 2009 ปัจจุบันออกมา 3 เล่มยังไม่จบ

    (ไว้ตอนหน้าจะพูดถึง ฮะตะคิ)

    สาเหตุที่การ์ตูนเรื่องนี้มีลายเส้นสองลายเส้นรวมกันแทนทีที่จะโชว์เดียวไปเลย ก็เนื่องจากเป็นความคิดของสองคนเขียนแหละครับ ภายใต้คำขวัญ ลายเส้นโมเอะ (+1 ชาย) โดยเนื้อหานั้นไม่ได้เล่นมุกบั่นทอนปัญญาอย่างเดียว ยังมีการล้อเลียนวัฒนธรรมศิลปะและวัฒนธรรมโบราณญี่ปุ่นด้วย (มีการเล่นคำแต่ผมขอข้ามละกันเพราะไม่ถนัดเรื่องดังกล่าว)

     Double Jei เป็นเรื่องราวของโรงเรียนชื่อ “นากาชิมะ” ที่มีกฎบังคับให้นักเรียนทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรมหลังเลิกเรียน และตัวเอกคือฮาจิมะ อุซามิหนึ่งในนักเรียนแห่งนี้ และเพื่อนของเธอคือซาโยะได้เจอชมรมใหม่ที่พวกเธอไม่เห็นมาก่อน ชมรมที่ว่ามีชื่อว่า “ชมรมอนุรักษ์ศิลปะดั้งเดิมคลับ” และเมื่อสองคนเข้าไปเพื่อชมงานก็พบว่าภายในมีคนกำลังทำศิลปะวัฒนธรรมญี่ปุ่นมากมาย ไม่ว่าจะ ออกแบบลายผ้าไหม ช่างไม้ ช่างทำเสื่อ  สารพัด ดูเหมือนจะเป็นชมรมธรรมดา หากแต่หารู้ไม่ว่าสองสาวได้หลงเข้าชมรมบั่นทอนปัญหาไปเสียแล้ว และนี้จะกลายเป็นอย่างไรต่อเนี้ย!!

    สามารถอ่าน(ภาษาอังกฤษ)ได้ที่ http://www.mangafox.com/manga/double_j/v01/c001/1.html

    ก่อนอื่น ขอบอกเลยครับ ว่าการ์ตูนเรื่องนี้ดำเนินเรื่องแบบคุโรมาตี้แบบแท้ๆ  คือออกทะเลแบบจงใจ ตัวละครออกเยอะ(และบทหายไปแบบ ไปแล้วไปลับ) และมุมมองไม่ได้มีแต่ฮาจิมะ อุซามิคนเดียว(ซึ่งบทตัวเอกจืดมากเหมือนพระเอกคุโรมาตี้แหละ) อีกทั้งการ์ตูนคุโรมาตี้ไม่จำเป็นต้องมีตัวเอกครับ หากคนเขียนจะเล่นตัวละครไหน ตัวละครนั้นๆ จะเด่นแทน และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือมุกเอกลักษณ์ก็คือบั่นทอนปัญญา(มีตัวละครจากคุโรไมตี้มาแจมด้วย)

    ส่วนชื่อตัวละครมาจากการล้อเลียนศิลปะดั่งเดิมของญี่ปุ่นครับ เช่น ฮาจิมะ อุซามิ(แปลว่ากระต่าย ซึ่งภาพวาดมังงะโบราณของญี่ปุ่นมักเป็นภาพกระต่ายยืนสองขาเหมือนกับคน)

      

    ฮาจิมะ อุซามิ นางเอกของการ์ตูนเรื่องนี้(ที่หลังๆ จืดจางเหมือนพระเอกคุโรไมตี้) ผมสีน้ำตาล และนิสัยปกติธรรมดา ซึ่งเธอกลับเพื่อนได้ต้องใช้ชมรมหนึ่งชื่อ “ชมรมอนุรักษ์ศิลปะดั้งเดิมคลับ” เลยขอสมัครเป็นสมาชิกไว้ แต่ดูเหมือนเธอไม่มีความสามารถพิเศษอะไรเลยเนี้ยสิ อีกทั้งบ้านยังยากจน อาศัยอยู่กับแม่ ต้องทำงานพิเศษเพื่อหาเลี้ยงครอบครัวอยู่บ่อยๆ แต่ดูเหมือนเธอมีความสามารถพิเศษซ่อนอยู่ จนมีอาจารย์ศิลปะดั้งเดิมหลายคนต้องใจมาแล้ว(และเธอขึ้นหน้าปกโมเอะ เล่ม 1 หากแต่ปกข้างใน สยองสุด เพราะโนนากะวาด)

      

    ซาโยะ เพื่อนสนิทของอุซามิ สดใส ร่าเริง ผมแดงยาว ไว้ริบบิ้นข้างเดียว รับบทบาทเป็น tsukkomi(ความหมายทำนองว่า "เสือก " หรือพูดสุภาพหน่อยคือตัวตบมุขนั้นแหละ ในภาษามุกตลกญี่ปุ่น จะมีสองคำคือ "boke"กับ "tsukkomi" เป็นตลกคู่ที่เวลาแสดงฝ่าย "boke"มักจะพูดอะไรผิดๆหรืองี่เง่าออก ส่วน "tsukkomi" จะเป็นคนแสดงปฏิกิริยาที่ออกเมื่อเห็นพฤติกรรมงี่เง่าหรือผิดปกตินั้นๆ ) สนใจชมรมเหมือนกัน แต่ยังไม่ได้สมัครสมาชิกอย่างเป็นทางการ แต่กลายเป็นขาประจำชมรมเรียบร้อยและนิสัยตะกละแต่มักเลือกกิน และชอบมวยปล้ำ

                      

    เอมะ โฮโจ สาวแว่น ผมยาวสีดำ หน้าผากเหน่ง เป็นสมาชิกชมรมอนุรักษ์ศิลปะ เป็นลูกสาวฝีมือนักทำรางน้ำ ที่เข้มงวด จริงจังกับสองสาวตัวเอก

      

    ซาซากิ มาเรีย สาวน้อยที่ไม่ค่อยพูดจา ผมยาวสีน้ำตาลอ่อน ผูกริบบิ้นใหญ่ไว้ข้างล่าง เป็นสมาชิก “ชมรมอนุรักษ์ศิลปะดั้งเดิมคลับ” สาขาเหลาไม้จิ้มฟัน(.........) เนื่องจากพื้นฐานอยู่ในตระกูลช่างฝีมือเหลาไม้จิ้มฟันแห่งชาติ เลยเก่งเรื่องเหลาไม้จิ้มฟัน(......) ซึ่งตัวละครดังกล่าวล้อเลียนจากผลงานของคนเขียนโนนากะ เรื่อง Dream Shokunin ซึ่งในเรื่องนั้นมีตัวละครตัวหนึ่งเป็นช่างฝีมือเหลาไม้จิ้มฟัน หลังๆ มักออกมาพร้อมกับอุซามิและซาโยะ (และเธอขึ้นหน้าปกโมเอะ เล่ม 2 หากแต่ปกข้างใน สยองสุด เพราะโนนากะวาด)

                    

    โทบะ ทายาทนักวาด Choju-Jinbutsu-Giga (ภาพวาดศิลปะโบราณของญี่ปุ่น หรือมังงะโบราณ)  เป็นประธานชมรมอนุรักษ์ศิลปะ หน้าตาเข้มจริงจัง(ลายเส้นคาดว่าจะเป็นของโนนากะ) ตอนนี้กำลังดัดแปลงภาพวาดโบราณให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ แต่กระนั้นพอผลงานออกมากับอนาถสุดๆ (เอาไว้กล่าวถึงต่อไป) และนอกจากนี้ยังอุตส่าห์เอาผลงานตนเองไปเสนอให้สำนักพิมพ์การ์ตูนซะด้วย เขาอาศัยอยู่กับพ่อ(ลายเส้นโนนากะ)ที่เข้มงวดลูกชายตนเอง(หรือเปล่า) และน้องสาว(ลายเส้นอาซากุระ มารุ)ที่เป็นห่วงพี่ชาย(ที่กู่ไม่กลับ)

      

    ผมได้อ่านเม้นนักอ่านการ์ตูนไทยที่มีความเห็นเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องนี้ ผมไม่เข้าใจตรงที่ทำไมคนเขียนชอบเอามาเปรียบเทียบคุโรมาตี้ แต่ละคนเม้นแต่ละอย่าง ประมาณว่า ไม่ชอบลายเส้น ไม่ชอบเท่าคุโรมาตี้ ฯลฯ

    หลายคนบอกว่าการ์ตูนเรื่องนี้ไม่เหมือนคุโรไมตี้ ไม่มีกลิ่นอายของคุโรไมตี้เลยสักนิด แต่ขอโทษครับ ขอเถียงคอเป็นเอ็นเลย หากคุณอ่านแบบเจาะลึก อ่านหลายๆ ตอน ขอบอกว่าการ์ตูนเรื่องนี้เอาหลักการของคุโรไมตี้มาใช้ครบถ้วนกระบวนการเลยนะครับ ต่างตรงที่ลายเส้นและกลวิธีนำเสนอเท่านั้นเอง แต่หลายคนกลับมองไม่เห็นจุดนั้นก็เพราะว่าพวกเขาไม่เปิดใจครับ ผมไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมนักอ่านการ์ตูนไทยถึงเป็นแบบนี้ เวลานักเขียนการ์ตูนคนไหนแต่งเรื่องไหนมาไม่ค่อยเปิดใจ ชอบกดคะแนน วิจารณ์การ์ตูนเรื่องนั้นๆ ให้เสียหาย ยกตัวอย่างนอกเหนือคุโรไมตี้ ก็เช่น คนเขียน To Love Ru ตอนที่วาดการ์ตูนแนวเลิฟคอมมาดี้เรื่องนี้ขึ้นหลายฝ่ายไม่เห็นด้วย(โดยเฉพาะไทย) เพราะว่าหลายคนยังติดใจแบล็คแคทมากกว่า เพราะปกติคนเขียนชอบวาดแนวแอ็คชั่น ทำให้รับไม่ได้ดังกล่าว กว่าที่จะทำให้หลายคนรับได้นี้ต้องใช้เวลาพอสมควรเลย และต้องเข้าใจว่าการ์ตูนแอ็คชั่นเดี่ยวนี้ใส่ลูกเล่นอะไรไม่ค่อยได้แล้ว ดังนั้นจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว คุณจะหวังให้คนเขียนเอาแนวคิดหลักการเดิมๆ มาใช้ตลอดไปไม่ได้หรอก มันต้องพัฒนา สร้างลูกเล่น เพื่อให้คนอ่านติดตามครับ(จะทำแบบจัมป์นี้ส่ายหัวเป็นแถวๆ)

    กลับมาที่คุโรไมตี้ต่อ ไม่รู้ว่าในที่นี้รู้จักคุโรมาตี้หรือเปล่า การ์ตูนเรื่องนี้ที่ครั้งหนึ่งได้กลายต้นกำเนิดศัพท์ใหม่ว่า “บั่นทอนปัญญา” ที่นิยมใช้กันในเน็ตมาช้านาน จนบัดนี้คำนี้ก็ยังใช่ไม่เลิก แถมยังเอามุกมาใช้ในบอร์ดต่างๆ มากมาย ในเว็บเด็กดีเราก็เอามาใช้ในกระทู้ต่างๆ เวลาเนื้อหากระทู้ดังกล่าว ออกทะเล มุกแป๊ป ดักควาย ไร้สาระ ฯลฯ (ศัพท์ทั้งหมดเป็นศัพท์เฉพาะเน็ต) มักมีตัวละครคุโรไมตี้มาโผล่มาแสดงความคิดเห็นอยู่ร่ำไป

    ถ้าถามว่าการ์ตูนคุโรไมตี้สนุกไหม คำถามนี้ก็ตอบยาก หากถามตัวคิดเห็นของผมก็คงตอบว่าสนุกและผมติดตามตั้งแต่ต้นจนจบด้วย แต่ถ้าถามเจาะลึกอีกว่าทำไมถึงสนุก อันนี้ผมตอบยากเหมือนกัน เพราะลายเส้นของมันนั้นไม่สวยงาม ไม่โมเอะเลยสักนิด ลายเส้นเก่าสมัยโบราณ ซึ่งสมัยนี้เขาเลิกนิยมลายเส้นแบบนี้แล้ว แต่การ์ตูนแบบนี้กลับกล้าทำ ผมก็กล้าอ่าน กล้าเสียเงินซื้อ ส่วนมุกตลกนั้นขำใหม่ ผมก็ตอบว่าขำ แต่กระนั้นคุณต้องเข้าใจกลวิธีการ์ตูนเรื่องนี้นำเสนอด้วยว่าทำไมถึงตลก เพราะถ้าคุณไม่เข้าใจกลวิธีนำเสนอละก็คุณจะไม่ถึงการ์ตูนเรื่องนี้แน่นอน

     

    ตอนแรกคุโรมาตี้เป็นการ์ตูนตลกธรรมดานะครับ ที่นำเสนอเรื่องประมาณว่า ตัวเอกคือคามิยามะ ทากาชิ นักเรียนดีเด่นตอนม.ต้น แต่ดันไปสอบเข้าม.ปลายที่โรงเรียนคุโรมาตี้ โรงเรียนที่ขึ้นชื่อว่าเป็นศูนย์รวมเด็กนักเรียนนักเลงของญี่ปุ่น ตอนแรกๆ ที่คามิยามะมาเรียนเขาก็นึกว่าจะเป็นแต่พวกนักเรียนโหดๆ ซะอีก แต่ไปๆ มาคามิยามะดันปรับตัวได้ซะงั้น แถมในโรงเรียนยังมีนักเรียนที่ไม่ใช่คนเยอะมากมาย ไม่ว่าจะเป็น หุ่นยนตร์ กอริล่า แมวน้ำ มนุษย์ต่างดาว นักก่อการร้าย ฯลฯ 

    สิ่งที่คุโรมาตี้ไม่เหมือนการ์ตูนเรื่องอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัดที่สุดอันดับแรกก็คือ การแบ่งช่องการ์ตูนครับ เพราะคุโรมาตี้นี้แบ่งช่องย่อยเยอะมาก และภาพแต่ละหน้าจะเป็นการสนทนาโต้ตอบของตัวละครในเรื่องมากกว่า บางช่องมีแต่หน้าตัวละคร แถมบทสนทนาดังกล่าวโครตยาว แถมไร้สาระมากๆ ถ้าแปลเป็นไทยนี้ คนแปลปวดหัวตุบๆ เลยแหละ ว่าจะแปลยังไงให้ตรงต้นฉบับ 

    และตรงบทสนทนานี้แหละครับ คือมุกตลกของการ์ตูนเรื่องนี้ หรือหลายคนเรียกว่ามุกบั่นทอนปัญญานั้นแหละ โดยตลกคุโรมาตี้ส่วนใหญ่จะเป็นตลกหน้าตาย เน้นการพูดคุยโดยยกหัวข้อต่างๆ พูดอย่างด้วยสีหน้าจริงจังเคร่งเครียด ทั้งทีหัวข้อดังกล่าวช่างไร้สาระและเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่ตัวละครดังกล่าวต่างยกทฤษฏี ปรัชญา(ทั้งที่ไม่มีความจริงเลยสักนิด) ก่อนที่จะปิดท้ายด้วยทฤษฏีดังกล่าวช่างไร้สาระและสูญเปล่าในที่สุด แล้วมุกเหล่านี้ขำตรงไหนเหรอ? มันเริ่มจากวิธีการนำเสนอมุกต่างๆ มันช่างใกล้ตัวเราเหลือเกิน หลายคนอาจมองว่าไร้สาระ แต่พอมาอ่านดูดีๆ นี้มันเต็มไปด้วยจิตวิทยาหรือพฤติกรรมของคนที่เราไม่ค่อยสังเกตมาก่อนมาเล่น แต่กระนั้นหลายมุกก็เข้าใจยากสำหรับคนอ่านหลายคนเหมือนกัน เนื่องจากมุกแต่ละมุกเป็นมุกวงใน อย่างวงการซูโม่ วงการอินเตอร์เน็ต หรือวงการการ์ตูน แต่กระนั้นก็มีหลายมุกเหมือนกันที่ล้อเลียนพฤติกรรมชีวิตประจำวัน ที่เราไม่ค่อยสังเกต(เพราะว่ามันไร้สาระที่จะจำ) เช่นบทสนทนาของเหล่าจตุเทพ(แต่ดันมีสมาชิกห้าคน) ที่ชอบเอาชีวิตประจำวันของแต่ละคนมาเล่าสู่กันฟัง เช่น “วันนี้ฉันขี่จักรยานแล้วร้องเพลง(อั้มเพลง)ระหว่างทางดันเจอคนมองอายเต็มบ้าเลย”, “วันนี้ฉันเจอเงินซ่อนแล้วลืมไว้ที่หลังตู้เก๋บของรู้สึกดีใจจังว่ะะ” เป็นต้น ในชีวิตเรา เราก็เคยพูดบทสนทนาไร้สาระกับเพื่อนบ้างใช่เปล่าครับ ผมนี้เป็นบ่อยๆ ชอบพูดเรื่องไร้สาระแต่จริงจังให้เพื่อนฟังเสมอ วันล่ะมุกสองมุก

    และสิ่งที่เพิ่มให้บทสนทนาไร้สาระนี้ตลกบทส่งท้ายคือ ตัวละครในคุโรมาตี้ครับ ที่เป็นตัวปิดท้าย โดยทำอะไรให้คนอ่านคาดไม่ถึง หักมุมหรือเบี่ยงประเด็นแบบเหนือโลกโดยตัวละครเหล่านี้มีเด่นและการเสียบมุกแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นกอริล่า ฟูจิโมโต้ผู้มีมารยาทในอนิเตอร์เน็ต เมก้าซาวะ พี่โม่ง เฟรดดี้ ฯลฯ  เช่น มุขมารยาทบนเว็บบอร์ดของฟูจิโมโต้ ในอินเตอร์เน็ตมารยาทเรียบร้อย แต่พอชีวิตจริงกับซัดคนแบบไม่มีเหตุผลซะงั้น เป็นต้น

     
                   คุโรมาดี้นั้นลงในนิตยสารโชเน็น แมกกาซีน ปี
    2001-2006 และไม่น่าเชื่อว่าการ์ตูนเรื่องนี้จะได้รับการตอบรับอย่างดีที่ญี่ปุ่น ถึงขนาดเคยได้รับรางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยมสำนักพิมพ์โคดันฉะ ประเภท การ์ตูนผู้ชายในปี 2002 ต่อจากนั้นในปี 2003 การ์ตูนเรื่องนี้ก็ถูกนำไปทำเป็นอนิเมทางทีวี และต่อมาในปี 2005 ก็ทำเป็นภาพยนตร์จอเงินภาคคนแสดง(หนังดับเป็นที่เรียบร้อย) แต่ที่เหลือเชื่อก็คือการ์ตูนยังถูกตีพิมพ์เป็นภาษาต่างๆ โดยเฉพาะ ในฉบับภาษาอังกฤษที่วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกานั้น ก็เคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Eisner Award สาขาหนังสือการ์ตูนต่างชาติยอดเยี่ยมมาแล้ว ในปี 2006 สำหรับเมืองไทยนั้น เรื่องนี้ลงใน KC Weekly ของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ หากแต่ตอนแรกกระแสการ์ตูนเรื่องนี้ในไทยเป็นทางลบ เพราะหลายคนรับไม่ได้กลับลายเส้นและมุกตลกเข้าใจยาก(ตอนนั้นพวกเขายังตีความไม่แตก) ทำให้มีผู้อ่านจำนวนหนึ่งกลับต้องการให้ถอดเอาการ์ตูนเรื่องนี้ออก และเรตติ้งการ์ตูนดังกล่าวก็อยู่ท้ายอันดับของการ์ตูนทั้งหมดในนิตยสารเรื่องนี้ด้วย หากแต่เมื่อผ่านนานวันเข้าคุโรมาตี้ก็ได้กลายเป็นการ์ตูนสร้างกระแสในอินเตอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง มีการนำมาใช่เล่นมุกในกระทู้กันอย่างสนุกสนาน(แน่นอนคนที่ไม่รู้จักการ์ตูนเรื่องนี้พอมาเห็นมุกก็งงเป็นแถบๆ) ทำให้เกิดกระแสดังกล่าว แม้คุโรมาตี้จะจบนานแล้ว(แม้จบชนิดว่ากวนมากๆ) แต่หลายคนยังจดจำและมุกของมันไม่ลืมเลือน กลายเป็นว่าคุโรมาตี้กลายเป็นตำนานที่คนไทยจดจำยิ่งกว่าการ์ตูนทั้งหมดในนิตยสาร KC Weekly รวมกันเสียอีก

    หลังจากคุโรมาตี้จบลง หลายคนก็เริ่มโหยหาว่าเมื่อไหร่โนนากะจะวาดการ์ตูนเรื่องใหม่เสียที และขอให้มีเนื้อหาหลักการเหมือนคุโรมาตี้ จนกระทั้งการ์ตูนเรื่อง Double Jei ออกมาในปี 2009 ซึ่งคราวนี้โนนากะได้ไอเดียใหม่โดยจับมือกับอาซากุระ มารุนักวาดการ์ตูนแนวโมเอะที่ผลงานยังไม่มีมากนัก ลองทำการ์ตูนแนวใหม่ โดยนำมุกแบบคุโรมาตี้มาใส่ในสาวน้อยที่ลายเส้นโมเอะที่เป็นตัวหลักมาดำเนินเรื่อง(ในขณะที่ตัวประกอบโนนากะก็วาดเอง) ลองดูสิว่าการ์ตูนผลงานดังกล่าวจะมีผลตอบรับอย่างไร

    ตอนแรกที่การ์ตูนออกมาแล้วคนไทยเกินไปเห็นเข้า ก็มีการนำการ์ตูนตัวอย่างตอนที่ 1 เอามาให้ดู หลายคนก็มีความคิดเห็นแตกต่างออกไป ส่วนความคิดเห็นของผมก็คือการ์ตูน Double Jei  ก็คือการ์ตูนคุโรมาตี้แท้ๆ ก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นมุกบั่นทอนปัญญา การแบ่งช่อง(และแต่ละช่องมีแต่หน้าตัวละคร) คาแร็คเตอร์ตัวละครสองสาวคืออุซามิและซาโยะ ก็ถอดแบบว่าจากคามิยามะ และฮายาชิดะ สองคู่หูจากคุโรมาตี้ไม่มีผิด(หรืออาจเรียกว่าเวอร์ชั่นสลับเพศก็ว่าได้) แต่สิ่งที่แตกต่างกันออกไปคือมุกที่ใช้ค่อนข้างยากสำหรับคนไทยจะเข้าใจมากกว่าเดิมครับ โดยเฉพาะมุก Choju-Jinbutsu-Giga ซึ่งในญี่ปุ่นก็มีการวิเคราะห์มุกดังกล่าวอย่างสนุกสนาน ว่ามุกดังกล่าวซ่อนอะไรไว้ และเมื่อวิเคราะห์เสร็จก็ฮ่าสมใจหมาย

    ที่นี้เรามาดูตัวอย่างการเล่นมุกในการ์ตูนเรื่องนี้บ้าง

      

    ตอนที่ 1  ฮาจิมะ อุซามิ อายุ 15 ปี ได้เข้าโรงเรียนนากาชิมะ แล้วพอได้เข้าแล้ว เธอก็สำรวจชมรมที่จะโดยเพื่อนสนิท ที่ชื่อ ซาโยะ แล้วได้พบพานเจอ “ชมรมอนุรักษ์ศิลปะดั้งเดิม” จึงเข้าไปสำรวจก็พบอะไรหน้าตื่นตามากมาย

      

    จึงจะเข้าไปสำรวจ  ก็เจอ มาเรียจัง กำลังทำท่าแกะสลักอะไรบางอย่างอยู่อย่างเคร่งเครียด พออุซามิเข้าไปดูแล้ว ถามก็ปรากฏว่าเธอกำลังแกะสลักส่วนท้ายของไม้จิ้มฟัน เธอเป็นช่างเหลาไม้จิ้มฟัน!! แม้จะดูแปลกๆ แต่หนูไม้จิ้มฟันก็อธิบายการแกะไม้จิ้มฟันอย่างมีหลักมีเกณฑ์ จนสองสาวอึ้งว่าแกะสลักไม้จิ้มฟันมันต้องเทพขนาดนี้ด้วยเหรอเนี้ย(แต่เพื่อนของอุซามิกลับมองว่าคนที่นี้ไม่เต็มเต็งสักเท่าไหร่)

      

    แล้วนางเอกก็โดนสาวแว่นสมาชิกในชมรมชื่อ เอมะ โฮโจ (ลูกสาวช่างทำรางน้ำ) ออกมาถามว่า พวกเธอมีความสามารถพิเศษอะไรบ้าง โดยเฉพาะศิลปะโบราณ ซึ่งจำเป็นต่อการเข้าชมรมแห่งนี้ แต่ปรากฏว่าสองสาวดังกล่าวไม่ความสามารถพิเศษอะไรเลย และอุซามิบอกว่าแม่ของเธอทำอาชีพเป็นนักทากาวบนซองจดหมาย(มีอาชีพแบบนี้ด้วยเหรอนี้?) โฮโจเลยดูถูก จนเพื่อนนางเอกโกรธแทน  แต่ประธานชมรมอนุรักษ์ศิลปะดั้งเดิม โทบะ ได้มาให้หยุดทะเลาะกัน และบอกพวกคนอื่นว่า ไม่ว่าพ่อแม่อาชีพไหนก็สามารถเข้าชมรมนี้ได้หมด เหมือนชมรมฟุตบอลใช่ว่าต้องเตะบอลเป็นก่อนเข้า  และชวนให้สองคนมาเข้าชมรมในวันพรุ่งนี้แทน

                     
               
    หลังจากโรงเรียนเลิก ระหว่างทางกลับบ้าน ซาโยะออกมาบ่นกับอุซามิว่าชมรมนี้ไม่เต็มบาท แถมหยิ่งอีก แถมบอกอุซามิด้วยว่าไม่ควรไปเข้าชมรมนี้ดีกว่าแต่อุซามิยืนยันว่าจะเข้าเพราะประทับใจแนวคิดของชมรมที่อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมที่ทำด้วยมือล้วนๆ แสดงถึงความอดทน ฝึกฝน จิตวิญญาณญี่ปุ่น แถมยกตัวอย่างเรื่องเหลาไม้จิ้มฟัน ว่าบางทีการเหลาด้วยมือจะทำให้ช่วยฝึกฝนทางจิตใจแทนที่จะใช้เครื่องจักรดู แล้วน่านับถือเสียอีก ดังนั้นเธอเลยตัดสินใจเข้าชมรม และวันรุ่งขึ้นสองคนก็ขอโทษหนูไม้จิ้มฟันว่าดูถูกเรื่องเหลาไม้จิ้มฟันไปหน่อย แต่หนูไม้จิ้มฟันไม่ถือ ก่อนที่จะปล่อยมุกเด็ดว่า “ฉันก็ใช้เครื่องจักรทำเหมือนกันแหละ ไม่ได้ใช้มือหรอก” จนสองสาวต้องนั่งคอตกที่ร้านกาแฟ “พวกเขาใช้เครื่องจักรด้วยอ่ะ......”

    (มุกคอตก เป็นมุกปิดท้าย(ในช่องสุดท้ายของตอน)ที่มักใช้ในคุโรมาตี้บ่อยๆ ครับ เวลาตัวละครในเรื่องปล่อยมุกตอนท้าย พวกพระเอกหรือคนรับมุกจะนั่งคอตกสิ้นหวังในเก้าอี้สาธารณะตามลำพัง หากแต่การ์ตูน Double Jei จะเปลี่ยนจากเก้าอี้สาธารณะมาเป็นร้านกาแฟแทน และมุกดังกล่าวจะใช้ปล่อยมากในช่วงหลัง นี้แหละคือคุราไมตี้ของแท้เลย)

    อีกตัวอย่าง

      

    ตอนที่ 2 สองสาวอุซามิและซาโยะเห็นประธานชมรมกำลังวาดอะไรยุกยิกบนโต๊ะเลยสงสัยถามประธานว่าทำอะไรอยู่เหรอ ประธานตอบว่ากำลังวาด Choju-Jinbutsu-Giga อยู่นะ สองสาวเกิดเกิดงงงวยสิว่ามันคืออะไรฟ่ะนั้น จนหนูไม้จิ้มฟัน(ชื่อจริงมาเรีย แต่ว่าตัวละครในเรื่องเรียกหนูไม้จิ้มฟันมากกว่าเพราะเรียกง่ายดี จนชื่อนี้กลายเป็นเอกลักษณ์ของเจ้าตัวเป็นที่เรียบร้อย) ออกมาเพื่ออธิบายรายละเอียดว่ามันเป็นต้นกำเนิดของมังงะโบราณ พร้อมกันนั้นหนูแม้จิ้มฟันโชว์รูปให้ดู ซึ่งเป็นรูปกบยืนสองขาของมนุษย์(ถือว่าเป็นรูปเบสิก โดยสื่อประมาณว่าการใช้สัตว์ล้อเลียนพฤติกรรมของคน) ก่อนที่สองสาวจะตะลึงอึ้ง(เหมือนกับช่องด้านบน)สงสัยว่าภาพมันเหมือนขาดอะไรไปบางอย่าง(ทั้งที่มันสมบูรณ์แบบแล้ว)

      

    อย่างไรพวกสาวๆ ก็รับไม่ค่อยได้เท่าไหร่ เลยไปถามท่านประธาน ว่ามันน่าจะทำให้มังงะโบราณดังกล่าวทันสมัยและเป็นที่ยอมรับของคนปัจจุบันสักหน่อย  พี่ประธานแกก็เลยยกภาพอีกเวอร์ชั่นที่วาดไว้ให้พวกสาวๆ ดู มันคือกบใส่รองเท้าบู๊ต(ภาพบน) พวกสาวๆ ตกตะลึง งง ว่ามันต่างจากภาพตะกี้ตรงไหนหว่า? มันออกแปลกๆ อยู่นะเนี้ย

                   และอีกตัวอย่างที่ผมชอบมาก(ภาษาญี่ปุ่นครับผมอ่านไม่ออกหรอก


                 เป็นตอนที่แสดงให้เห็นว่าซาโยะนั้นเหมือน
    ฮายาชิดะขนาดไหน เพราะคุณเธอก็ช่างสรรหาเรื่องไร้สาระมาพูดคุยกับเพื่อนๆ อยู่บ่อยครั้ง และนี้ก็เป็นอีกครั้งที่เธอเอาเรื่องทุกข์ใจ(ที่แสนจะไร้สาระ)มาปรับทุกข์ให้เพื่อนฟังว่า ช่วงนี้เธอหลับฝันร้ายเรื่องเดิมตลอดเลย แถมฝันร้ายดังกล่าวคือเธอมักเห็นพวกนักมวยปล้ำล่ำบึกมาก่อกวนเธอ(ก่อนหน้านั้นซาโยะฝันถึงนักซูโม่แล้วเล่นมุกเรียบร้อย แต่คราวนี้เปลี่ยนนักมวยปล้ำมาเป็นนักซูโม่แทน)

       

    เพื่อนของซาโยะเสนอวิธีแก้ปัญหาว่าบางทีพวกนักมวยปล้ำอาจเหมือนสัตว์ป่าอาจกลัวไฟก็ได้ เลยลองให้ซาโยะลองฝันถึงว่าตนเองถือคบเพลิงดูสิเผื่อตอบโต้ได้บ้าง พอซาโยะฝันอีกทีปรากฏว่าตนเองถือคบเพลิงและถือพัดกระดาษอยู่ท่ามกลามนักมวยปล้ำ(ที่ใช่ตีหัวตลกคาแฟ่) เธอเลยใช้ของดังกล่าวไล่มวยปล้ำบ้าง แต่ปรากฏว่าไม่ได้ผล ซ้ำแถมยังโดนนักมวยปล้ำแย่งพัดกระดาษตีหัวเธออีก

                      

                    วันรุ่งขึ้นซาโยะก็ปรึกษาปัญหาเดิมให้เพื่อนเธอฟังอีกครั้ง คราวนี้เพื่อแนะนำว่า ไหนๆ เธอก็เก่งมวยปล้ำ เธอลองใช้วิชามวยปล้ำของเธอสู้กับพวกนี้ในความฝันดูสิ เผื่อจะสำเร็จ และเมื่อซาโยะฝันอีกครั้งคราวนี้เธอมาพร้อมด้วยชุดมวยปล้ำพร้อมที่จะตอบโต้

                     

                    ย้าก!! มากี่คนก็ไม่ยั้ง ซาโยะจับล็อกคางเหลืองให้หมด

                     

    หลังจากซาโยะชนะมวยปล้ำฝูงใหญ่มาได้ ก็มีนักมวยปล้ำคนหนึ่งมาขอให้ซาโยะนวดเขาด้วยท่ามวยปล้ำหน่อย พอซาโยะนวดเสร็จ นักมวยปล้ำคนดังกล่าวก็ขอใจที่ช่วยให้เขาหายเหมื่อยก่อนที่จากไป   เช้าวันถัดมาซายะบอกเพื่อนๆ ว่า ในฝันฉันนวดนักมวยปล้ำด้วยล่ะ(อ้าว แล้วประเด็นตอนแรกหายไปไหนเนี้ย)

                    (มุกที่เล่นบ่อยที่สุดในคุโรมาตี้ก็คือ มุกนอกประเด็นครับ คือกำลังพูดถึงประเด็นนี้อยู่ดีๆ แต่ช่วงท้ายดันหลุดประเด็นซะงั้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นมุกตลกที่ทำให้เราปล่อยก๊ากได้เหมือนกัน)

    Double Jei เป็นอีกหนึ่งการ์ตูนมุกที่ค่อนข้างแปลกกว่าการ์ตูนโมเอะประเภทอื่นๆ เพราะปกติแล้วการ์ตูนโมเอะนั้นจะเน้นมุกตลกที่เข้าใจง่าย และแสดงถึงความน่ารักของตัวละคร หรือเน้นจุดเด่นของตัวละครผู้หญิงน่ารักเป็นหลัก หากแต่การ์ตูน Double Jei กลับใช้มุกตามแบบคุโรมาตี้มาใช้เกือบทั้งหมด ผลคือทำให้การ์ตูนเรื่องนี้เป็นการ์ตูนมุกที่เข้าใจยาก แต่กระนั้นเพราะความยากนี้อีกที่ทำให้มันน่าสนใจ เพราะเราสามารถหยุดอ่านเพื่อตีความมุกยากดังกล่าวเป็นเวลานาน ส่งผลทำให้เราสามารถดูการ์ตูนเรื่องนี้ได้หลายรอบโดยไม่รู้จักเบื่อ อีกทั้งเนื้อหามุกส่วนใหญ่สอดแทรกชีวิตในโรงเรียน มิตรภาพเพื่อนฝูง การพูดคุยในชีวิตประจำวัน

    นอกจากนี้สิ่งที่การ์ตูนพยายามนำเสนอนอกจากจะเป็นมุกแล้วก็คือการให้ผู้อ่านเกิดรู้สึกอยากอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่ที่คนยุคสืบทอดให้คนรุ่นใหม่ แต่ปัจจุบันด้วยสังคมรุดหน้า สังคมที่มีแต่การแข่งขัน ทำให้วัฒนธรรมเก่าแก่เหล่านี้แทบไม่รู้จักสำหรับคนรุ่นใหม่จนกระทั้งลืมเลือนในที่สุด ดังนั้นเมื่อการ์ตูนดังกล่าวนำมุกศิลปะพื้นบ้านเหล่านั้นมานำเสนอก็ช่วยให้คนอ่านเกิดความสนใจที่อยากศึกษาไม่มากก็ไม่น้อย

    ส่วนเรื่องคนที่บอกว่าการ์ตูน Double Jei ไม่สนุกเท่าคุโรมาตี้ ผมก็ขอบอกว่าลองเปิดใจสักนิด ดูมุกของการ์ตูนเรื่องนี้ดูว่าเขาต้องการนำเสนออะไร สำหรับผมแล้วการ์ตูนเรื่องนี้คนเขียนตั้งใจสุดๆ ในการนำเสนอมุก และนำหลักการของคุโรมาตี้มาใช้จนแทบว่าทุกระเบียบนิ้วแล้ว เพียงแต่คุณจะสามารถปรับตัวรับความคิดใหม่ๆ ของการ์ตูนเรื่องนี้หรือไม่แค่นั่นเอง

    น่าเสียดายตรงที่ Double Jei ไม่มีลิขสิทธิ์ในไทย อีกทั้งแปลอังกฤษออนไลน์ก็หยุดอยู่ตอนที่  2  เพราะแปลยากมากและบทพูดก็เยอะอีก แต่กระนั้นผมก็หวังว่าจะมีสำนักพิมพ์(โดยเฉพาะวิบูลย์กิจ)สนใจเอาต้นฉบับมาแปลเป็นภาษาไทยบ้าง นับลองว่าหลายคนที่อ่านการ์ตูนเรื่องนี้จะต้องถูกใจไม่มากก็ไม่น้อย

    + +

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×