ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติบุคคลสำคัญ

    ลำดับตอนที่ #20 : หม่อมแม้น ภาณุพันธ์ ณ อยุธยา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 238
      0
      2 เม.ย. 55

    หม่อมแม้น ธิดาใน เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) กับท่านผู้หญิงเอม เกิดมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2409 ต่อมา ได้เสกสมรส กับสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษี พระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

    คุณแม้น เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2409 ท่านเป็นธิดาคนเล็ก ในเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) สมุหพระกลาโหม ในสมัยรัชกาลที่ 5 กับท่านผู้หญิงอิ่ม โดยคุณแม้น มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 9 คน

    ต่อมาในปี พ.ศ.2422 ขณะที่คุณแม้นอายุ 13 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ขอคุณแม้น เพื่อให้เสกสมรส กับสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษี (พระราชโอรสองค์ที่ 55 ในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 กับสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ซึ่งต่อมา ทรงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช
    )

    หม่อมแม้น มีโอรสและธิดา กับสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษี 3 องค์ คือ พระเจ้าวรวงศ์ พระองค์เจ้านิพันธ์ภาณุพงศ์ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช , พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตร์มงคล

    ขณะที่ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์ เจ้าเฉลิมเขตร์มงคล ทรงมีพระชันษาเพียง 2 พรรษา หม่อมแม้นก็ถึงอนิจกรรม ด้วยวัยเพียง 30 ปี โดยได้รับพระราชทานเพลิงศพในปี พ.ศ.2451 พร้อมกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช (พระโอรส ซึ่งสิ้นพระชนม์ ระหว่างการศึกษาวิชาทหาร ที่เยอรมัน) ณ เมรุหลวงวัดเทพศิรินทราวาส โดยต่อมา ได้บรรจุอัฐิไว้ที่อนุสาวรีย์ในตึกแม้นนฤมิตร

    เนื่องจากสมเด็จ พระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษี ทรงสนิทเสน่หาหม่อมแม้นมาก จึงมิได้ทรงมีหม่อมห้าม จนเมื่อหม่อมแม้นถึงอนิจกรรม หลายปีต่อมา จึงทรงมีหม่อมอีก และด้วยความเศร้าพระทัย จึงทรงพระราชทานทุนทรัพย์ ก่อสร้างตึกแม้นนฤมิตร เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลแก่พระชายา โดยได้รับพระราชทานนาม จากพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อให้เป็นอาคารเรียน แก่โรงเรียนเทพศิรินทร์

    ตึกแม้นนฤมิตร เป็นอาคารเรียนหลังแรก ของโรงเรียนเทพศิรินทร์ ซึ่งได้รับการออกแบบ ให้เป็นศิลปะแบบโกธิก โดยสมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้านริศรานุวัติวงศ์ เป็นผู้ออกแบบ แต่ในช่วงสงคราม ตึกแห่งนี้ถูกระเบิด ทำให้ไม่สามารถใช้ ทำการเรียนการสอนได้ และอาคารได้รับความเสียหายมาก จึงมีการสร้างอาคารหลังใหม่แทน แต่ยังคงศิลปะโกธิกเช่นเดิม ซึ่งอาคารหลังใหม่นี้ ได้รับการขนานนามว่า "ตึกแม้นศึกษาสถาน"

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×