ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ศัพท์ในวิชาชีววิทยา

    ลำดับตอนที่ #3 : บทที่ 3 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 37.98K
      43
      10 พ.ย. 55

    คำศัพท์ในวิชาชีววิทยา

    บทที่ 3

     

    กวานีน

    Guanine : G

    เบสที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ สูตรเคมีคือ C5H5N5O มีอยู่ใน DNA และ RNA

    การคัดเลือกโดยธรรมชาติ

    Natural selection

    สิ่งมีชีวิตที่สามารถมีชีวิตอยู่รอดในลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและชีวภาพโดยไม่ตายก่อนถึงวัยเจริญเติบโต

    การโคลน

    Cloning

    การสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ ซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนสิ่งมีชีวิตต้นแบบทุกประการ

    การจำลองตัวของโครโมโซม

    Chromosome duplication

    เป็นการจำลอง DNA เพิ่มขึ้น 1 ชุด ทำให้ 1 โครโมโซม จากที่มี 1 โครมาติด จะทำให้กลายเป็น 1 โครโมโซมที่มี่ 2 โครมาติด ที่จะเข้าสู่การแบ่งเซลล์ในระยะ โพรเฟสต่อไป

    การแบ่งไซโทพลาซึม

    Cytokinesis

    ขั้นตอนที่สองของการแบ่งเซลล์ มี 2 แบบ คือ แบบที่เยื่อหุ้มเซลล์คอดกิ่วจาก 2 ข้าง เข้าใจกลางเซลล์ เรียกว่าแบบ furrow type ซึ่งพบในเซลล์สัตว์ และแบบที่มีการสร้างแผ่นกั้นเซลล์ (cell plate) มาก่อตัว บริเวณกึ่งกลางเซลล์ขยายไป 2 ข้างของเซลล์ เรียกว่าแบบ cell plate type ซึ่งพบในเซลล์พืช

    การแบ่งนิวเคลียส

    Karyokinesis

    ขั้นตอนที่หนึ่งของการแบ่งเซลล์ซึ่งจัดได้สองแบบคือ การแบ่งแบบไมโทซิสและการแบ่งแบบ ไมโอซิส

    การแบ่งนิวเคลียสแบบ ไมโทซิส

    Mitosis

    วิธีแบ่งนิวเคลียสที่ทำให้มีจำนวนโครโมโซมคงที่

    การแบ่งนิวเคลียสแบบ ไมโอซิส

    Mitosis

    การแบ่งนิวเคลียสซึ่งก่อให้เกิด การลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่ง เช่น จาก 2n เป็น n

    การบำบัดด้วยยีน

    Gene therapy

     การใส่ยีนที่ปกติเข้าไปในเซลล์ร่างกาย หรือเนื้อเยื่อที่แสดงอาการผิดปกติ ของผู้ที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องของยีน แล้วทำให้ยีนนั้นแสดงออกเมื่อมีสารโปรตีนที่ปกติในบริเวณดังกล่าว  จัดเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยทำให้บำบัดอาการบกพร่องที่เกิดขึ้นได้

    การปรับตัวทางพันธุกรรม

    Genetic adaptation

    ลักษณะหรือพฤติกรรมซึ่งถูกควบคุมโดยพันธุกรรมที่ทำให้โอกาสในการสืบทอดยีนไปสู่รุ่นลูกของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ เพิ่มขึ้น การปรับตัวอาจเกิดกับโครงสร้าง กระบวนการทำงานของโครงสร้าง หรือ พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต ผลของการปรับตัวทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถเพิ่มจำนวนและดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติได้

    การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

    Tissue culture

    จัดเป็นวิธีการโคลนอย่างหนึ่งทำได้โดยการนำส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชมาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์

    การหาลำดับเบสของจีโนม

    Genome sequencing

     

    ความหลากหลายทางชีวภาพ

    Biodiversity

     การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิด นานาพันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก 

    ครอสซิงโอเวอร์

    Crossing over

    การไขว้กันของโครมาทิด เป็นผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนของโครมาทิดต่างเส้นที่อยู่ชิดกัน สารพันธุกรรมจึงถูกแลกเปลี่ยนไปด้วย

    ไคนีโทคอร์

    Kinetochore

    จุดหรือบริเวณที่โครมาติดสองเส้นยึดติดกัน

    ไคแอสมา

    Chiasma

    ตำแหน่งที่โครมาทิดไขว้กัน

    โครมาทิด

    Chromatid

    ส่วนประกอบของโครโมโซมซึ่งแต่ละโครโมโซมจะประกอบด้วยโครมาทิด 2 เส้นยึดติดกันที่ตำแหน่งเซนโทรเมียร์

    โครมาทิน

    Chromatin

    DNA และโปรตีนหลายชนิดที่ประกอบเป็นโครงสร้าง มีลักษณะเป็นสายยาว

     

    โครโมโซม

    Chromosome

    โครมาทินที่ขดตัวจนมีลักษณะเป็นท่อนๆ ระหว่างการแบ่งเซลล์

    โครโมโซมเพศ

    Sex chromosome

    โครโมโซมที่กำหนดเพศของสิ่งมีชีวิตมีอยู่ 1 คู่ ในคนโครโมโซมเพศทั้งคู่ของหญิงจะมีลักษณะเหมือนกัน แต่โครโมโซมของชายจะมีลักษณะต่างกัน

    จีโนไทป์

    Genotype

    แบบของยีนที่อยู่เป็นคู่ๆ ซึ่งสิ่งมีชีวิตได้รับมาจากพ่อและแม่ มีหน้าที่ควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิตในร่างกาย

    เซนโทรโซม

    Centrosome

    แหล่งกำเนิดเส้นใยสปินเดิลแต่ละเซนโทรโซมประกอบด้วย เซนทริโอล 1 คู่

    เซนโทรเมียร์

    Centromere

    ตำแหน่งที่โครมาทิด 2 เส้นยึดติดกันเป็นโครโมโซม

    เซลล์ร่างกาย

    Somatic cell

    สิ่งที่เสริมสร้างส่วนต่างๆของร่างกาย มีหลายชนิด ได้แก่ เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ผิวหนัง เซลล์กระดูก เซลล์ประสาท เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว เป็นต้น เซลล์เหล่านี้จะเจริญเติบโตจากเซลล์แรกเพียงเซลล์เดียวที่เกิดขึ้นจากการปฏิสนธิระหว่างอสุจิและไข่ แล้วจะมีการแบ่งแบบไมโทซีส(Mitosis) จากหนึ่งเป็นสอง จากสองเป็นสี่ จากสี่เป็นแปด... ในนิวเคลียสของเซลล์จะมีโครโมโซม ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งๆ จับคู่จำนวน 46 แถบหรือ 23 คู่ จะเป็นโครโมโซมที่มียีนกำหนดลักษณะทั่วๆ จำนวน 22 คู่ และยีนที่กำหนดลักษณะเพศชายหรือหญิงจำนวน 1 คู่เรียกว่า โครโมโซมเพศ

    เซลล์ดิพลอยด์

    Diploid cell

    เซลล์ที่มีจำนวนโครโมโซม 2 ชุด เกิดจากการ

    เซลล์แฮพลอยด์

    Haploid cell

    เซลล์ที่มีจำนวนโครโมโซมชุดเดียว

    ไซโทซีน

    Cytosine : C

    สารประกอบอินทรีย์พวกเบสชนิดหนึ่ง มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ สูตรเคมีคือ C4H5N3O พบใน DNA และ RNA

    ดีเอ็นเอสายผสม

    Recombinant DNA

    DNA ภายในเซลล์ที่ถูกตัด-ต่อจากสายพันธุ์ต่างกัน โดยไม่มีขอบเขตจำกัด และสามารถสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ขึ้นมาได้

    ไทมีน

    Thymin : T

    สารประกอบอินทรีย์พวกเบสชนิดหนึ่งมีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ สูตรเคมี คือ C5H6N2O2 พบใน DNA

    เทคโนโลยีชีวภาพ

    Biotechnology

    การนำความรู้และเทคนิคต่างๆ มาใช้ในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงสิ่งมีชีวิตหรือชิ้นส่วนสิ่งมีชีวิตให้ได้ลักษณะและประโยชน์ตามที่ต้องการ

    ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

    Theory of Natural Selection

     

    นิวคลีโอไทด์

    Nucleotide

    หน่วยย่อยของกรดนิวคลีอิกที่ประกอบด้วยเบสที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบน้ำตาลที่มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ  5 อะตอม และหมู่ฟอสเฟตอีก หนึ่งหมู่

    ไนโตรจีนัสเบส

    Nitrogenous base

    ส่วนประกอบของกรดนิวคลีอิกเป็นเบสอินทรีย์ที่เป็น Heterocyclic aromatic ring สร้างขึ้นจากอะตอมของคาร์บอนและไนโตรเจน ไนโตรจีนัสเบสมี 2 ประเภท คือ พิวรีน ได้แก่ อะดีนีน (A), กวานีน (G) และไพริมีดีน ได้แก่ ไซโตซีน (C), ไทมีน (T) ซึ่งพบเฉพาะในดีเอ็นเอ และยูราซิล (U) ซึ่งพบเฉพาะในอาร์เอ็นเอ เบสเหล่านี้ทำให้กรดนิวคลีอิกมีคุณสมบัติในการดูดกลืนแสงอัลตราไวโอเลตได้ที่ความยาวคลื่น 260-280 นาโนเมตร

    แผนที่จีโนม

    Genome mapping

    การระบุตำแหน่งที่ตั้งของยีนบนโครโมโซม หรือวัดระยะทางระหว่างยีน หรือเครื่องหมายโมเลกุลที่ตั้งอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน

    แผนที่ยีน

    Gene mapping

    คือกระบวนการที่หาโลคัสของลักษณะถ่ายทอดทางชีวภาพหนึ่งๆ

    แผ่นกั้นเซลล์

    Cell plate

    สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นจากการแบ่ง ไซโทพลาซึมในเซลล์พืช โดยแผ่นกั้นเซลล์จะคั่นตรงกลางระหว่างนิวเคลียสใหม่ 2 นิวเคลียส

    พลาสมิด

    plasmid

    DNA ที่มีลักษณะเป็นวง พบตามธรรมชาติในเซลล์ของแบคทีเรียและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ บางชนิด เช่นยีสต์ สามารถเพิ่มจำนวนได้โดยอิสระภายในเซลล์ของผู้ถูกอาศัย

    เพดดีกรี

    Pedigree

    แผนภาพแสดงลำดับความสัมพันธ์ของบุคคลในตระกูลเดียวกันเพื่อดูการถ่ายทอดพันธุกรรมหรือโรคพันนธุกรรมบางชนิด

    พันธุวิศวกรรม

    Genetic engineering

    การตัดต่อยีนหรือ DNA จากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งนำไปต่อเชื่อมกับยีนหรือ DNA ของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง

    ฟีโนไทป์

    Phenotype

    ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏให้เห็น

    มิวเทชัน

    Mutation

    การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในระดับยีนหรือโครโมโซม ทำให้สิ่งมีชีวิตมีลักษณะบางอย่างแตกต่างไปจากรุ่นพ่อแม่

    เมทาเฟสเพลท

    Metaphase plate

     การเคลื่อนที่ของโครโมโซมเกิดจากการดึงของเส้นในสปินเดิล   ซึ่งยึดกับเซนโทรโซมที่เคลื่อนที่อยู่ตรงข้ามกันที่บริเวณขั้วเซลล์ทั้ง 2 ข้าง โครโมโซมถูกนำมาจัดเรียงอยู่ตรงกึ่งกลางของเซลล์ในแนวระนาบเดียวกัน 

    ระยะจี 1

    G1 phase

    ระยะที่เซลล์มีการเติบโตขนาดใหญ่ขึ้นมีการสังเคราะห์สารต่างๆ

    ระยะจี 2

    G2 phase

    ระยะที่เซลล์มีการเตรียมพร้อมที่จะแบ่งเซลล์ มีการสร้างโปรตีนและออร์แกเนลล์ต่างๆ เพิ่มขึ้น

    ระยะที่มีการแบ่งแบบ ไมโทซิส

    Mitotic phase : M phase

    ระยะที่มีการแบ่งนิวเคลียสเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ แล้วตามด้วย การแบ่งของไซโทพลาซึม

    ระยะเทโลเฟส

    telophase

    มีกลุ่มโครมาทิดที่แยกออกจากกันแล้ว อยู่ขั้วเซลล์ทั้งสองข้างเกิดเยื่อหุ้มนิวเคลียสล้อมรอบโครมาทิดทั้ง 2 กลุ่ม และเกิดนิวคลีโอลัสใน 2 กลุ่มนั้นด้วย โครมาทิดในระยะนี้คือ โครโมโซมนั้นเอง ดังนั้นในระยะนี้แต่ละเซลล์มี 2 นิวเคลียส แต่ละนิวเคลียสมีโครโมโซม เป็น 2 n เท่าเซลล์เดิม ถือว่าเป็นการเสร็จสิ้นการแบ่งนิวเคลียส

    ระยะโพรเฟส

    prophase

    โครโมโซมหดตัวสั้นและหนาขึ้นทำให้เห็นชัดเจน โครโมโซมแตกออกจากกัน มีเซนโทรเมียร์ (centromere) หรือ คิเนโตคอร์ (kinetochore) เป็นปมเล็กๆ ยึดติดกันเอาไว้ และโครโมโซมที่แนบชิดกันเรียก โครมาทิด (chromatid) เซนทริโอลแยกจากกันไปอยู่ตรงกันข้ามหรือขั้วเซลล์ มีเส้นใยสปินเดิล (spindle fiber) ยึดที่ เซนโทเมียร์ ของโครโมโซมและขั้วเซลล์ ปลายระยะนี้เห็นโครโมโซมแยกเป็น 2 โครมาทิดอย่างชัดเจน แต่ที่เซนโทรเมียร์ยึดไว้ยังไม่หลุด จากกัน เยื่อหุ้มนิวเคลียสและนิวคลีโอลัสค่อยๆ สลายไป

    ระยะเมทาเฟส

    metaphase

      ระยะนี้เยื่อหุ้มนิวเคลียส และนิวคลีโอลัสสลายไปหมดแล้ว โครโมโซมทั้งหมดจะมารวมเรียงตัวกันอยู่กลางเซลล์แต่ละโครโมโซมมี โครมาทิด ระยะนี้เซนโทรเมียร์เริ่มแยกออกแต่ยังไม่หลุดออกจากกัน

    ระยะอินเตอร์เฟส

    interphase

    ระยะที่เซลล์เตรียมพร้อมก่อนจะแบ่งนิวเคลียสและไซโทพลาซึมเป็นระยะที่เซลล์มีนิวเคลียสขนาดใหญ่มีเมแทบอลิซึมสูงมีการจำลองโครโมโซมใหม่เหมือนเดิมทุกประการแนบชิดติดกับโครโมโซมเดิมเป็นเส้นบางๆมองเห็นไม่ชัดเจน

    ระยะเอส

    S phase

    ระยะที่มีการสร้างดีเอ็นเอ จากนั้นจะเข้าสู่ระยะจี 2 (G2 postsynthetic หรือ premitotic phase) ซึ่งไม่มีการสร้างดีเอ็นเออีก

    ระยะแอนาเฟส

    anaphase

    เส้นใยสปินเดิลหดตัว และดึงเซนโทรเมียร์ให้โครมาทิดที่อยู่เป็นคู่แยกออกจากกันไปยังขั้วเซลล์ตรงกันข้าม

    ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ

    DNA finger printing

    เอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละบุคคลเช่นเดียวกับลายพิมพ์นิ้วมือซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้และไม่มีใครมีลายพิมพ์ DNA เหมือนกันยกเว้นแฝดร่วมไข่เท่านั้น

    วัฏจักรของเซลล์

    Cell cycle

    ระยะเวลาที่เซลล์เตรียมความพร้อมก่อนการแบ่งจนถึงการแบ่งนิวเคลียสและไซโทพลาซึม เสร็จสิ้น

    สปีชีส์

    species

    กลุ่มย่อยพื้นฐานที่สุดในระบบการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต

     

    สีอะซีโทคาร์มีน

    Acetocarmine

     

     

    เส้นใยสปินเดิล

    Spindle fiber

    เส้นใยโปรตีนที่ยึดติดกับ เซนโทรโซมในเซลล์สัตว์

     

    สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม หรือ จีเอ็มโอ

    Genetically modified organisms : GMOs

    สิ่งมีชีวิตที่เกิดจากกระบวนการพันธุวิศวกรรม

    อะดีนีน

    Adenine : A

    เบสชนิดหนึ่งเป็นผลึกสีขาว  สูตรเคมีคือ C5H5N5 เป็นองค์ประกอบของกรดนิวคลีอิก พบใน DNA และ RNA

    แอลลีล

    Allele

    ยีนที่ควบคุมลักษณะเดียวกันแต่ให้รูปแบบของลักษณะต่างกัน ลักษณะทางพันธุกรรมที่ปรากฏจะขึ้นอยู่กับแอลลีนในแต่ละโครโมโซม

     

    ออโตโซม

    Autosome

    โครโมโซมภายในนิวเคลียส ยกเว้นโครโมโซมเพศ แต่ละเซลล์ของมนุษย์มี 46 โครโมโซม เป็นออโคโซม 44 แท่ง อีก 2 แท่งคือโครโมโซมเพศ

    ฮอมอโลกัสโครโมโซม

    Homologous chromosome

    โครโมโซมที่มีลักษณะเหมือนกันเป็นคู่ๆ

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×