ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ศัพท์ในวิชาชีววิทยา

    ลำดับตอนที่ #2 : คำศัพท์ในวิชาชีววิทยา ม.4 บทที่ 2 (การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต)

    • อัปเดตล่าสุด 12 ก.ย. 55


    คำศัพท์ในวิชาชีววิทยา

    บทที่ 2


    กอลจิบอบอดี หรือ กอลจิคอมเพล็กซ์

    Golgi body : Golgi complex

    กลุ่มของถุงกลมแบนขนาดใหญ่ บริเวณตรงขอบโป่งพองใหญ่ขึ้น ทำหน้าที่เติมกลุ่มคาร์โบไฮเดรตให้กับโปรตีนหรือลิพิดที่ส่งมาจาก ER

    กล้องจุลทรรศน์

    Microscope

    อุปกรณ์สำหรับมองดูวัตถุที่มีขนาดเล็กเกินกว่ามองเห็นด้วยตาเปล่า

    กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง

    Light  microscope

    กล้องจุลทรรศน์ที่พบอยู่ทั่วไป โดยเวลาส่องดูจะเห็นพื้นหลังเป็นสีขาว และจะเห็นเชื้อจุลินทรีย์มีสีเข้มกว่า

    กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบ

    Compound light  microscope

    กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงที่ดีที่สุดใน ปัจจุบันมีกำลังขยายประมาณ 2,000 เท่า ประกอบด้วยเลนส์ 2 ชุด คือ เลนส์ใกล้ตาและเลนส์ใกล้วัตถุ

    กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงธรรมดา

    Simple compound light  microscope

    เป็นกล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบ ซึ่งประกอบด้วยเลนส์ใกล้วัตถุ และเลนส์ใกล้ตา

    กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบสเตอริโอ

    Stereoscopic microscope

    เป็นกล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบที่ทำให้เกิดภาพ 3 มิติ ใช้ศึกษาวัตถุที่มีขนาดใหญ่ซึ่งสามารถแยกรายละเอียดด้วยตาเปล่า

    กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน

    Transmission electron microscope : TEM

    กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้ศึกษาโครงสร้างภายในของเซลล์ โดยลำแสงอิเล็กตรอนจะส่องผ่านเซลล์หรือตัวอย่างที่ต้องการศึกษาซึ่งผู้ศึกษาต้องเตรียมตัวอย่างให้ได้ขนาดบางเป็นพิเศษ

    กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด

    scanning electron microscope : SEM

    กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้ศึกษาโครงสร้างของผิวเซลล์หรือผิววัตถุ โดยลำแสงอิเล็กตรอนจะส่องกราดไปบนผิวของวัตถุ ทำให้ได้ภาพที่มีลักษณะเป็น 3 มิติ

    การนำสารเข้าสู่เซลล์โดยอาศัยตัวรับ

    Receptor-mediated endocytosis

    การลำเลียงสารเข้าสู่เซลล์ที่เกิดขึ้นโดยมีโปรตีนตัวรับบนเยื่อหุ้มเซลล์ สารที่ถูกลำเลียงเข้าสู่เซลล์ด้วยวิธีนี้จะต้องมีความจำเพาะในการจับกับโปรตีนตัวรับที่อยุ่บนเยื่อหุ้มเซลล์จึงจะสามารถนำเข้าสู่เซลล์ได้

    การแพร่

    Diffusion

    การเคลื่อนที่ของอนุภาคของสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารสูง ไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นของสารต่ำ

    การแพร่แบบฟาซิลิเทต

    Facilitated diffusion

    การแพร่ของสารที่ไม่สามารถแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้โดยตรงต้องเคลื่อนผ่านช่องโปรตีนหรือโปรตีนตัวพาภายในเยื่อหุ้มเซลล์

    การลำเลียงแบบใช้พลังงาน

    Active transport

    การลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์จากบริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นสูง การลำเลียงลักษณะนี้เซลล์ต้องนำพลังงานที่ได้จากการสลายสารอาหารมาใช้

    โกลเมอรูลัส

    Glomerulus

    กลุ่มของหลอดเลือดฝอยที่แตกแขนงมาจากหลอดเลือดรีนัลอาร์เตอรี

    ไขกระดูก

    Bone marrow

    แหล่งสร้างเม็ดเลือดขาวทุกชนิด รวมทั้งเซลล์เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือด

    คลอโรพลาสต์

    Chloroplast

    พลาสติดที่มีสีเขียว เนื่องจากมีสารสีชนิดคลอโรฟิลล์เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ เป็นแหล่งสร้างอาหารของเซลล์พืชและโพรทิสต์บางชนิด

    คอนแทร็กไทล์แวคิวโอ

    Contractile vacuole

    โครงสร้างภายในเซลล์ของสัตว์เซลล์เดียว ทำหน้าที่กำจัดน้ำออกจากเซลล์เพื่อรักษาระดับความเข้มข้นของสารภายในเซลล์และป้องกันไม่ให้เซลล์แตก

    ซิเลีย

    Cilia

    โครงสร้างคล้ายขนเล็กๆ ในเยื่อบุทางเดินหายใจ ช่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกทางปากและจมูก

    เซลล์

    Cell

    หน่วยโครงสร้างพื้นฐานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต

    เซลล์โพรคาริโอ

    Prokaryotic cell

    เซลล์ของสิ่งมีชีวิตบางชนิด เช่น แบคทีเรีย ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส แต่มีสารพันธุกรรมกระจายอยู่ทั่วไปในไซโทพลาซึม

    เซลล์ยูคาริโอต

    Eukaryotic cell

    เซลล์ของสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ซึ่งมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส

    ไซโทพลาซึม

    Cytoplasm

    ส่วนที่อยู่ภายในเซลล์ทั้งหมดยกเว้นนิวเคลียส มีลักษณะเป็นของเหลวซึ่งมีโครงสร้างเล็กๆ ที่เรียกว่าออร์แกเนลล์กระจายอยู่ทั่วไปหลายชนิด

    ไดอะแฟรม

    Diaphragm

    ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์ ช่วยปรับความเข้มของแสงตามที่ต้องการเพื่อให้เห็นภาพของวัตถุชัดขึ้น

    ต่อมไทมัส

    Thymus gland

    อยู่บริเวณทรวงอกรอบหลอดเลือดใหญ่ของหัวใจ เป็นแหล่งที่ลิมโฟไซต์ชนิดที่ทำลายเซลล์ที่มาจากไขกระดูก จะมาพัฒนาจนสมบูรณ์ก่อนออกสู่กระแสเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย

    ต่อมนาซัล

    Nasal gland

    อวัยวะพิเศษของนกทะเลสำหรับขับเกลือที่มากเกินออกจากร่างกายในรูปน้ำเกลือเข้มข้น มักพบอยู่บริเวณส่วนหัวของนกทะเล

    ต่อมน้ำเหลือง

    Lymph node

    พบอยู่ระหว่างทางเดินของท่อน้ำเหลืองทั่วร่างกาย มีลักษณะเป็นรูปไข่ขนาดแตกต่างกัน ภายในมีเซลล์เม็ดเลือดขาวอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีลักษณะคล้ายฟองน้ำทำให้น้ำเหลืองซึมผ่านได้

    ทอกซอยด์

    Toxoid

    วัคซีนที่ผลิตได้จากสารพิษของเชื้อโรคที่ถูกทำให้หมดสภาพความเป็นพิษแล้ว

    ธนาคารเลือด

    Blood bang

    สถานที่ซึ่งใช้ในการเก็บขวดเลือดของผู้ที่มาบริจาคเลือดด้วยอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส

    นิวเคลียส

    Nucleus

    โครงสร้างที่มักพบอยู่ตรงกลางเซลล์ เป็นศูนย์กลางควบคุมลักษณะพันธุกรรมและกระบวนการต่างๆ ภายในเซลล์

    เนื้อเยื่อ

    Tissue

    กลุ่มของเซลล์ที่รวมตัวกัน ทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างกระจายอยู่ตามส่วนต่าง     ของร่างกาย

    โบว์แมนแคปซูล

    Bowman’s capsule

    ส่วนประกอบของเนื้อไตส่วนนอก ลักษณะเป็นกระเปาะรูปถ้วย มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด

    ผนังเซลล์

    Cell wall

    โครงสร้างที่อยู่ชั้นนอกห่อหุ้มเยื่อหุ้มเซลล์อีกชั้นหนึ่ง พบในเซลล์พืชทุกชนิด สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ราและแบคทีเรียบางชนิด ทำหน้าที่ป้องกันและให้ความแข็งแรง

    พิโนไซโทซิส

    Pinocytosis

    การนำอนุภาคของสารที่อยู่ในรูปของสารละลายเข้าสู่เซลล์ โดยการทำให้เยื่อหุ้มเซลล์เว้าเข้าไปในไซโทพลาซึมทีละน้อยจนกลายเป็นถุงเล็กๆ เมื่อเยื่อหุ้มเซลล์ปิดสนิทถุงนี้จะหลุดเข้าไปกลายเป็นเวสิเคิลอยู่ในไซโทพลาซึม

    ฟาโกไซโทซิส

    Phagocytosis

    การลำเลียงสารเข้าสู่เซลล์ โดยเซลล์สามารถยื่นไซโทพลาซึมออกมาล้อมอนุภาคของสารที่มีขนาดใหญ่ที่ไม่ละลายน้ำก่อนที่จะนำเข้าสู่เซลล์ในรูปของแวคิวโอล

    ภูมิคุ้มกัน

    Immunity

    กลไกของร่างกายในการป้องกันและทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมไม่ให้เกิดโรคหรือความผิดปกติที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย

    ภูมิแพ้

    Allergy

    โรคที่เกิดจากร่างกายมีปฏิกิริยาต่อแอนติเจนบางอย่างรุนแรงเกินไปทำให้เกิดอาการผิดปกติ

    ม้าม

    Spleen

    อวัยวะขนาดใหญ่อยู่ใต้กะบังลมด้านซ้ายติดกับด้านหลังของกระเพาะอาหารเป็นแหล่งผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงในระยะเอ็มบริโอ หลังคลอดม้ามจะเป็นที่อยู่ของเซลล์เม็ดเลือดขาวบางชนิดและเป็นแหล่งทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดที่หมดอายุแล้ว

     

    ไมโทคอนเดรีย

    Mitochondria

    แหล่งผลิต ATP ให้แก่เซลล์ มีรูปร่างหลายแบบขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์

    เยื่อบุ

    Epithelium

     เนื้อเยื่อที่บุช่องเปิดและท่อต่างๆ ภายในร่างกายซึ่งจะสัมผัสกับแอนติเจนจากภายนอกร่างกายอยู่เสมอจึงมีกลไกในการป้องกันจุลินทรีย์และสิ่งแปลกปลอม

    เยื่อเลือกผ่าน

    Selectively permeable membrane : differentially permeable membrane : semipermeable membrane

    เยื่อที่อนุญาตให้โมเลกุลหรือประจุบางชนิดผ่านมันไปได้โดยการแพร่ ตัวอย่างเช่น เยื่อหุ้มเซลล์ที่ทำหน้าที่เป็นเยื่อเลือกผ่าน  

    เยื่อหุ้มเซลล์

    Cell membrane

    เยื่อบางๆ ล้อมรอบไซโทพลาซึมพบในเซลล์พืชทุกชนิด กั้นสารที่อยู่ภายในกับภายนอกเซลล์และรักษาสมดุลภายในเซลล์

    เยื่อหุ้มนิวเคลียส

    Nuclear membrane

    เยื่อบางๆ 2 ชั้นที่มีช่องเล็กๆ ทะลุผ่านเยื่อทั้งสอง กระจายอยู่ทั่วไป ทำหน้าที่เป็นทางผ่านเข้าออกของสารระหว่างนิวเคลียสและไซโทพลาซึม

    ระบบอวัยวะ

    Organ system

    กลุ่มของอวัยวะที่ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ

    ไรโบโซม

    Ribosome

    ออร์แกเนลล์ขนาดเล็กไม่มีเยื่อหุ้ม ประกอบด้วยโปรตีนและ RNA ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีน

    โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ โรคเอดส์

    Acquired immune deficiency syndrome : AIDS

    โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HIV ซึ่งจะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวจึงทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันลดลง

    โรคเอสแอลอี

    Systemic lupus erythematosus

    โรคที่ร่างกายสร้างภูมิต้านทานเนื้อเยื่อของตนเอง

    ลิมโฟไซต์

    Lymphocyte

    เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่สร้างแอนติบอดีและทำลายเซลล์

    เลนส์ใกล้ตา

    Eyepiece

    เลนส์ที่อยู่บนสุดของลำกล้อง โดยทั่วไปมีกำลังขยาย 10x หรือ 15x ทำหน้าที่ขยายภาพที่ได้จากเลนส์ใกล้วัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดภาพที่ตาผู้ศึกษาสามารถมองเห็นได้ โดยภาพที่ได้เป็นภาพเสมือนหัวกลับ

    เลนส์ใกล้วัตถุ

    Objective lens

    เลนส์ที่อยู่ใกล้กับแผ่นสไลด์ หรือวัตถุ ปกติติดกับแป้นวงกลมซึ่งมีประมาณ 3-4 อัน แต่ละอันมีกำลังบอกเอาไว้ เช่น x3.2, x4, x10, x40 และ x100 เป็นต้น ภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุเป็นภาพจริงหัวกลับ

    เลนส์รวมแสง

    Condenser lens

    ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์บางรุ่น ใช้ปรับความเข้มของแสง อยู่ใต้แท่นวางวัตถุช่วยเพิ่มความเข้มของแสงและคัดเลือกรวมแสงที่มีคุณภาพ

    เวสิเคิล

    Vesicle

    ส่วนหนึ่งของกอลจิคอมเพล็กซ์ที่สร้างเป็นถุงออกมาบรรจุไกลโคโปรตีนและไกลโคลิพิดไว้เพื่อส่งออกไปภายนอกเซลล์หรือเก็บไว้ใช้ภายในเซลล์

    แวคิวโอล

    Vacuole

    ออร์แกเนลล์ที่มีลักษณะเป็นถุงที่มีเยื่อหุ้มชั้นเดียว มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน

    ไวรัส HIV

    Human immundeficiency virus

    ไวรัสที่ทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวโดยตรง เมื่ออยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาว ไวรัส HIV จะเพิ่มจำนวนโดยใช้องค์ประกอบของเซลล์เม็ดเลือดขาวเป็นวัตถุดิบ แล้วกระจายไปสู่เซลล์เม็ดเลือดขาวอื่นๆ ต่อไป

    สมดุลการแพร่

    Dynamicequilibrium

    การแพร่ของสารจากบริเวณที่สารมีความหนาแน่นมากไปยังบริเวณที่ี่สารมีความหนาแน่นน้อยจน ความหนาแน่นของสารในทุก บริเวณเท่ากัน สภาวะเช่นนี้ เรียกว่า สมดุลของการแพร่  ซึ่งอัตราการแพร่ไปและกลับจะ เท่ากัน

    สารละลายไอโซโทนิก

    Isotonic solution

    สารละลายภายนอกเซลล์ที่มีความเข้มข้นเท่ากับสารละลายภายในเซลล์

    สารละลายไฮเพอร์โทนิก

    Hypertonic solution

    สารละลายที่มีความเข้มข้นสูงกว่าสารละลายในเซลล์

    สารละลายไฮโพโทนิก

    Hypotonic solution

    สารละลายที่มีความเข้มข้นต่ำกว่าสารละลายภายในเซลล์

    สิ่งมีชีวิต

    Organism

    สิ่งแวดล้อมที่มีสมบัติของสิ่งมีชีวิต มีลักษณะตามชนิดและกรรมพันธุ์ ได้แก่ พืช สัตว์ และมนุษย์

    หน่วยไต

    Nephron

    หน่วยย่อยของไตซึ่งอยู่ภายในเนื้อไตแต่ละข้างมีจำนวนมากถึงราว 1 ล้านหน่วย

    หลอดเลือดรีนัลเวน

    Renal vein

    หลอดเลือดที่นำเลือดที่ผ่านการกรองแล้วถูกนำออกจากไตไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย

    หลอดเลือดรีนัลอาร์เตอรี

    Renal artery

    หลอดเลือดที่ทำการนำเลือดจากส่วนต่างๆ ของร่างกายมาส่งที่ไต

    อวัยวะ

    Organ

    องค์ประกอบของร่างกายที่ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ

    ออร์แกเนลล์

    Organelle

    โครงสร้างเล็กๆ ที่ทำหน้าที่แตกต่างกันภายในเซลล์

    ออสโมซิส

    Osmosis

    การแพร่ของตัวทำละลายจากบริเวณที่มีโมเลกุลของตัวทำละลายมากไปยังบริเวณที่มีโมเลกุลของตัวทำละลายน้อย

    เอกโซไซโทซิส

    Exocytosis

    การลำเลียงสารขนาดใหญ่ออกจากเซลล์ สารที่จะถูกส่งออกไปนอกเซลล์บรรจุอยู่ในเวสิเคิล เมื่อ     เวสิเคิลรวมตัวกับเยื่อหุ้มเซลล์สารที่อยู่ภายในเวสิเคิลก็จะถูกปล่อยออกไปนอกเซลล์

    เอนโดไซโทซิส

    Endocytosis

    การลำเลียงสารขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์  โดยเอนโดไซโทซิสในสิ่งมีชีวิตจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามกลไกการลำเลียง เช่น     ฟาโกไซโทซิส (Phagocytosis)    พิโนไซโทซิส (Pinocytosis) และการนำสารเข้าสู่เซลล์โดยอาศัยตัวรับ (Receptor-mediated endocytosis)

    เอนโดพลาสมิกเรติคิวลัม

    Endoplasmic reticulum : ER

    ออร์แกเนลล์ที่มีลักษณะเป็นท่อแบนใหญ่หรือกลม ภายในมีของเหลวบรรจุอยู่ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ แบบผิวขรุขระทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีน แบบผิวเรียบทำหน้าที่สังเคราะห์ลิพิด

    แอนติเจน

    antigen

    ปฏิกิริยาต่อต้านเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย

    แอนติบอดี

    Antibody

    สารประเภทโปรตีนที่ช่วยต่อต้านสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้

    ฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก

    Antidiuretic hormone : ADH

    ฮอร์โมนซึ่งหลั่งโดยต่อมใต้สมองส่วนหลัง ทำหน้าที่กระตุ้นท่อหน่วยไตให้ดูดน้ำกลับเข้าสู่หลอดเลือด ทำให้ปริมาณน้ำในเลือดสูงขึ้นและความรู้สึกกระหายน้ำลดน้อยลง ช่วยให้ปริมาณน้ำในร่างกายอยู่ในภาวะสมดุล

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×