ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้พื้นฐานทางประวัติศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #2 : การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 30.66K
      50
      24 ก.ย. 50

    การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

     

                    การศึกษาเรื่องราวความเป็นมาในอดีตของดินแดนประเทศไทย  มีเกณฑ์ในการแบ่งยุคสมัยในช่วงระยะ  ดังนี้

     

                    ยุคก่อนประวัติศาสตร์

                    ยุคก่อนประวัติศาสตร์  หมายถึง  ยุคที่มนุษย์ยังไม่มีการประดิษฐ์ตัวอักษรเพื่อบันทึกเรื่องราวต่างๆ ของชุมชน  การเรียนรู้เรื่องราวในยุคนี้ได้จากหลักฐานทางโบราณคดี  ยุคก่อนประวัติศาสตร์เริ่มตั้งแต่มนุษย์ถือกำเนิดและดำรงชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ  ภายหลังจึงสามารถปรับสภาพชีวิตความเป็นอยู่  ให้ดีขึ้น โดยทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์  เช่น  ประดิษฐ์เครื่องมือ  เครื่องใช้ที่มีคุณภาพ  รู้จักการเพาะปลูก  คิดค้นเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิต  เกิดลัทธิความเชื่อและขนบธรรมเนียมที่เป็นระบบ  มีการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมต่างๆ  มีการจัดระเบียบให้สังคมและการปกครอง  มีการติดต่อกับชุมชนต่างถิ่นต่างแดน  อันนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนและค้าขายร่วมถึงการรับและส่งทอดอิทธิพลทาง วัฒนธรรมต่างๆ  ระหว่างชุมชน  ด้วยการสร้างสมความเจริญเหล่านี้ได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่คนรุ่นหลัง

     

                    ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนประเทศไทยมีการแบ่งช่วงของพัฒนาการแบบสากลเป็น  2  ลักษณะ  คือ

    1.  การแบ่งตามประเภทของวัสดุที่ใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้และเทคนิควิธีการ  แบ่งย่อยได้ดังนี้

    1.1 ยุคหิน  มนุษย์รู้จักประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธจากหิน  แต่คงมีที่ทำด้วยไม้  กระดูก  และเขาสัตว์อยู่ด้วย  ในยุคนี้มีการแบ่งออกเป็นสมัยย่อยๆ ตามคุณลักษณะของเครื่องมือเครื่องใช้และความสามารถของมนุษย์  คือ

    ยุคหินเก่า   ประมาณ  500,000 -10,000  ปีมาแล้ว  มนุษย์ในยุคหินเก่าดำรงชีวิตตามธรรมชาติ  รู้จักการนำหินมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้โดยการกะเทาะอย่างหยาบๆ  ไห้เกิดความคมเท่านั้น  เริ่มรู้จักการใช้และประดิษฐ์ไฟ  อาศัยตามถ้ำหรือเพิงผา

    ยุคหินกลาง  ประมาณ  10,000 – 6,000  ปีมาแล้ว  มนุษย์ในยุคหินกลางรู้จักการทำเครื่องปั้นดินเผา  การทอผ้า  เริ่มมีพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย  ส่วนเครี่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่ทำจากหิน ในยุคหินกลางจะเป็นเครื่องมือหินที่กะเทาะอย่างละเอียดมากขึ้น  ขนาดเครื่องมือเล็กลง  และเริ่มมีรูปแบบที่แน่นอนมากขึ้น

    ยุคหินใหม่  ประมาณ  6,000 – 4,000  ปีมาแล้ว  เครื่องมือเครื่องใช้ในยุคหินใหม่  จะมีการประดิษฐ์ตกแต่งเรียบร้อยโดยการขัดจนเรียบเป็นมัน  รู้จักการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์  ทำให้มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งสร้างที่อยู่อาศัย  มีการผลิตเพื่อแลกเปลี่ยนและการค้า   

                    1.2 ยุคโลหะ  มนุษย์ยุคนี้รู้จักนำโลหะมาหลอมและประดิษฐ์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้  ที่มีคุณภาพมากขึ้น  มีพัฒนาการทางสังคม  เศรษฐกิจ  และการปกครอง  กล่าวคือ  ชุมชนมนุษย์ยุคโลหะมีการจัดตั้งเป็นสังคมเมืองอย่างเป็นระบบ  มีลัทธิศาสนา  รู้จักการเดินเรือ  รวมถึงมีความรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์  สำหรับยุคโลหะนี้  สามารถแยกย่อยออกเป็น  2  ระยะ  คือ

                                    ยุคสำริด  ประมาณ 2,500 – 4,000  ปีมาแล้ว  มนุษย์ที่อาศัยในดินแดนประเทศไทยได้นำแร่ทองแดงและดีบุกมาหล่อเป็นสำริด  สำหรับทำเครื่องมือเครื่องใช้รวมถึงทำเป็นเครื่องประดับด้วย
                                    ยุคเหล็ก  ประมาณ
    1,500 – 2,500  ปีมาแล้ว  มนุษย์อาศัยในดินแดนประเทศไทยนำแร่เหล็กที่มีความทนทานกว่าสำริดมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้  ในขณะเดียวกันก็ยังคงมีการใช้สำริดในการทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับอื่นๆอีกด้วย

     

    2.  การแบ่งตามวิถีการดำรงชีวิต  การแบ่งยุคสมัยประเภทนี้  แบ่งตามลักษณะการปรับสภาพการดำรงชีวิตของผู้คนในสังคม  โดยแบ่งเป็นสมัยดังนี้

                    2.1 สมัยชุมชนล่าสัตว์  ประมาณ  4,500  ปีขึ้นไป  มนุษย์มีความเป็นอยู่ตามธรรมชาติไม่มีการตั้งหลักแหล่งหรือที่พักอาศัยถาวร  ยังคงเร่ร่อนและดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์เป็นอาหาร

                    2.2  สมัยหมู่บ้านเกษตรกรรม  เริ่มประมาณ  4,500  ปีมาแล้ว  มนุษย์รู้จักการเพาะปลูก  มีการตั้งหลักแหล่งอยู่รวมกันเป็นชุมชนขนาดเล็ก  สามารถผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นภายในชุมชนของตน  เช่น การทำภาชนะดินเผา  การทอผ้า  ฯลฯ  และมีการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย

                    2.3 สมัยสังคมเมือง  ประมาณ  2,500 ปีมาแล้ว  มนุษย์ตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนในบริเวณพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์  เกิดการพัฒนาการด้านต่างๆ จนกลายเป็นบ้านเมือง มีการติดต่อค้าขายกับชุมชนอื่น

     

     

    แหล่งอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

    1.  บ้านเก่า  อยู่ในยุดหินใหม่  ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง  จังหวัดกาญจนบุรี  ได้ขุดค้นพบเครื่องมือหินขัดเรือขวานฟ้า   เครื่องประดับที่ทำด้วยหิน เช่น  กำไล  ลูกปัด  และเครื่องปั้นดินเผาสีดำสามขา  เป็นต้น

    2.  ถ้ำพระ  อยู่ในยุคหินกลาง  ตั้งอยู่ในบริเวณอำเภอไทรโยค  จังหวัดกาญจบุรี  มนุษย์รู้จักการทำขวานหินประณีตขึ้นมีการกะเทาะทั้งสิงข้างให้เรียบ

    3.  ถ้ำผี  อยู่ในยุคหินกลางเช่นเดียวกัน  แต่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง  จังหวัดแม่ฮ่องสอน  ได้มีการขุดค้นพบเศษเครื่องปั้นดินเผา  กระดูกสัตว์  ตลอดทั้งซากพืช เมล็ดพืชหลายชนิดที่แสดงให้เห็นว่าได้มีการนำพืชมาปลูก

    4.  บ้านเชียง  อยู่ในยุคโลหะ  ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านเชียง  อำเภอหนองหาน  จังหวัดอุดรธานี  มีการขุดค้นพบเครื่องปั้นดินเผา  ลายเขียนสีที่สวยงามมาก  และยังขุดค้นพบเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยสำริด  เช่น  กำไลหิน แหวน  และลูกปัด  เป็นต้น

                    บ้านเชียง  เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคสำริดต่อเนื่องจนถึงยุคเหล็ก  ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านเชียง  อำเภอหนองหาน  จังหวัดอุดรธานี    เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณคดีที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก  อายุยุคสำริดและยุคเหล็กที่บ้านเชียงจัดว่าเก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก  จนในที่สุดองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก  ( UNESCO )ประกาศยกย่องให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็น  มรดกโลกทางวัฒนธรรม  เมื่อ พ.ศ. 2535

     

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×