ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้พื้นฐานทางประวัติศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #3 : การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์2

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 8.8K
      22
      24 ก.ย. 50

    การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ 2

     

    ยุคประวัติศาสตร์

                    ยุคประวัติศาสตร์  หมายถึง  ยุคที่มนุษย์มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเพื่อใช้บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์  หรือกิจกิจสำคัญที่เกิดขึ้นให้เป็นที่รับรู้ของคนทั่วไปและอนุชนรุ่นหลัง  ฉะนั้นสังคมใดที่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรจึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยประวัติศาสตร์ของสังคมนั้น  การศึกษาเรื่องราวในยุคนี้ได้จากหลักฐานประเภทบันทึก  จารึก  พงศาวดาร  และเอกสารต่างๆเป็นหลัก  โดยอาศัยหลักฐานทางโบราณคดี  สังคมวิทยา  มานุษยวิทยา ฯลฯ มาประกอบ

                    การแบ่งยุคประวัติศาสตร์ในดินแดนประเทศไทย  โดยทั่วไปมีหลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยตามสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นได้  3  ลักษณะ

                    1.  การแบ่งตามระบบการปกครอง  คือ  พิจารณาจากระบอบการปกครองที่นำมาใช้ในแต่ละช่วงเวลา  ตลอดจนการพัฒนาทางการเมืองที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน  ได้แก่

                                    1.1  ระบอบปิตาธิปไตย  คือ ช่วงแรกของการก่อตั้งแว่นแคว้น  เป็นสังคมเกษตรผู้ปกครองมีความใกล้ชิดกับราษฎร  ตามหลักฐานที่ปรากฏ  ได้แก่  ชุมชนไทยบริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง

                                    1.2  ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  คือ ช่วงเวลาที่บ้านเมืองต้องการความเป็นปึกแผ่น มีเสถียรภาพมั่นคง  กษัตริย์จึงเป็นศูนย์รวมแห่งอำนาจ  มีสถานภาพของการเป็นสมมติเทพ  ได้แก่  การปกครองของอาณาจักรต่างๆ นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่  12  เป็นต้นมา

                                    1.3  ระบอบประชาธิปไตย  คือ  ช่วงระยะเวลาที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมือง  กษัตริย์มีฐานะเป็นเพียงประมุขของรัฐ  สมัยประชาธิปไตยของไทยนับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475

     

                    2.  การแบ่งตามสมัยของอาณาจักร   เป็น การแบ่งตามช่วงระยะเวลาที่เมืองใดเมืองหนึ่งได้รับการยอมรับให้เป็นราชธานีศูนย์กลางแห่งอำนาจ  ยุคประวัติศาสตร์ไทยได้จัดแบ่ง 2 กลุ่มใหญ่  คือ

                                    2.1  อาณาจักรโบราณสมัยก่อนชนชาติไทย  คือ  อาณาจักรของชนพื้นเมือง  ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่พูดภาษามอญ  เขมร  เช่น อาณาจักรทวารวดี  ศรีวิชัย  ลพบุรี  หริภุญชัย  เป็นต้น

                                    2.2   อาณาจักรสมัยชนชาติไทย   กำหนดยุคสมัยนับตั้งแต่การปรากฏมีรัฐของชนชาติไทยในดินแดนประเทศไทย  ได้แก่  สมัยสุโขทัย  มีราชธานีอยู่ที่กรุงสุโขทัยและพิษณุโลก  โดนในช่วงเวลาเดียวกันกับสมัยสุโขทัยก็ปรากฏรัฐไทยร่วมสมัยเช่น  ล้านนา( เชียงแสน )  ที่บริเวณภาคเหนือตอนบน  นครศรีธรรมราช  ในเขตภาคใต้ เป็นต้น  สมัยอยุธยา  มีราชธานีอยู่ที่กุงศรอยุธยา( จังหวัดพระนครศรีอยุธยา )  สมัยธนบุรี  มีราชธานีอยู่ที่กรุงธนบุรี  และสมัยรัตนโกสินทร์  มีราชธานีอยู่ที่กรุงเทพฯ

     

    3.  แบ่งตามราชวงศ์  เป็นการแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นเป็นกษัตริย์และสืบสันติวงศ์  ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงเฉพาะการเมืองภายใน  แต่พัฒนาการด้านอื่นๆมิได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก  ยกเว้นมีปัจจัยภายนอกมาเกี่ยวข้อง  เช่น  ความสัมพันธ์กับต่างแดน  ราชวงศ์ที่สำคัญในประวัติศาสตร์ไทยคือ  ราชวงศ์พระร่วง  ปกครองสมัยสุโขทัย  ราชวงศ์อู่ทอง  ราชวงศ์สุพรรณภูมิ  ราชวงศ์สุโขทัย  ราชวงศ์ปราสาททอง  ราชวงศ์บ้านพลูหลวง  ปกครองสมัยอยุธยา  ราชวงศ์ธนบุรี  ปกครองสมัยธนบุรี  ราชวงศ์จักรี  ปกครองสมัยรัตนโกสินทร์

     

    4.  ลำดับยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย  แบ่งได้ดังนี้

                    4.1  สมัยสุโขทัย  ก่อตั้งราวพุทธศตวรรษที่  18  ศูนย์กลางคือ  สุโขทัย และพิษณุโลก

                    4.2  สมัยอยุธยา ( พ.ศ.1893 -  พ.ศ. 2310 )  ศูนย์กลางคือ  กรุงศรีอยุธยา

                    4.3  สมัยธนบุรี( พ.ศ.2310 -  พ.ศ. 2325 )  ศูนย์กลางคือ  กรุงธนบุรี

                    4.4  สมัยรัตนโกสินทร์ ( พ.ศ.2325 -  ปัจจุบัน )  ศูนย์กลางคือ  กรุงเทพมหานคร

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×