คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #6 : การคัดเลือกนิสิตเข้าเรียนวิชาเอก ปีการศึกษา 2555 [ตอนสำคัญ]
การคัดเลือกนิสิตเข้าสังกัดวิชาเอก
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชาเอกทั้งหมด
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิตทั้งหมด 24 วิชาเอก ดังนี้
1. วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย
2. วิชาเอกประถมศึกษา
3. วิชาเอกคณิตศาสตร์
4. วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป
5. วิชาเอกฟิสิกส์
6. วิชาเอกเคมี
7. วิชาเอกชีววิทยา
8. วิชาเอกภาษาไทย
9. วิชาเอกสังคมศึกษา
10. วิชาเอกภาษาอังกฤษ
11. วิชาเอกภาษาฝรั่งเศส
12. วิชาเอกภาษาเยอรมัน
13. วิชาเอกการศึกษานอกระบบโรงเรียน
14. วิชาเอกธุรกิจศึกษา
15. วิชาเอกศิลปศึกษา
16. วิชาเอกดนตรีศึกษา
17. วิชาเอกดนตรีไทย
18. วิชาเอกดนตรีสากล
19. วิชาเอกสุขศึกษา
20. วิชาเอกพลศึกษา
21. วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา
22. วิชาเอกคอมพิวเตอร์การศึกษา
23. วิชาเอกจิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนว
24. วิชาเอกการศึกษาพิเศษ
วิธีอ่านบทความนี้ให้เข้าใจ
1. น้องต้องอ่านบทความที่ 5 เรื่อง การคัดเลือกนิสิตเข้าสังกัดสาขาวิชา มาก่อน
2. น้องเริ่มศึกษารูปแบบการเรียนในวิชาเอก
3. น้องตรวจสอบว่าสาขาวิชาที่น้องสังกัดจัดอยู่ในแนวทางการเข้าเรียนวิชาเอกกลุ่มใด
นิสิตสังกัดสาขาวิชากลุ่มที่ 1
4. น้องศึกษาลักษณะสำคัญของนิสิตสังกัดสาขาวิชากลุ่มที่ 1
5. น้องศึกษารายละเอียดการเรียนวิชาเอกประจำสาขาวิชาของน้องได้เลย
นิสิตสังกัดสาขาวิชากลุ่มที่ 2
4. น้องศึกษาลักษณะสำคัญของนิสิตสังกัดสาขาวิชากลุ่มที่ 2
5. น้องลองเลือกวิชาเอกตามแนวทางการเลือกวิชาเอกของสาขาวิชาที่น้องต้องการสังกัด
6. น้องตรวจสอบว่าวิชาเอกที่น้องเลือกในข้อ 4 มีระบบการคัดเลือกอย่างไร เปิดคัดเลือกกี่รอบ แต่ละรอบมีขั้นตอนอย่างไร
7. น้องเลือกศึกษาแนวทางการคัดเลือกเข้าเรียนตามวิชาเอกที่น้องเลือกในข้อ 4 เพื่อทราบรายละเอียดที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
8. น้องศึกษาการเปรียบเทียบรูปแบบวิชาเอกเพื่อสร้างความกระจ่างและลดความเข้าใจผิดในบางเรื่อง
รูปแบบการเรียนในวิชาเอก
วิชาเอกเดี่ยว
วิชาเอกเดี่ยว คือ การเรียน 1 วิชาเอกตลอดหลักสูตร เรียนทั้งหมด 76 หน่วยกิต โดยสาขาวิชาที่สามารถเรียนวิชาเอกเดี่ยวมี 6 สาขาวิชา ได้แก่
1. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
2. สาขาวิชาประถมศึกษา
3. สาขาวิชามัธยมศึกษา ***
4. สาขาวิชาธุรกิจศึกษา
5. สาขาวิชาศิลปศึกษา
6. สาขาวิชาดนตรีศึกษา
*** สาขาวิชามัธยมศึกษาเลือกได้ว่าเรียนวิชาเอกเดี่ยวหรือวิชาเอกคู่ อย่างใดอย่างหนึ่ง
วิชาเอกคู่
วิชาเอกคู่ คือ การเรียน 2 วิชาเอกควบคู่กันตลอดหลักสูตร เรียนทั้งหมด 76 หน่วยกิต แบ่งเป็นวิชาเอกละ 38 หน่วยกิต (38 x 2 = 76) โดยสาขาวิชาที่สามารถเรียนวิชาเอกคู่มี 6 สาขาวิชา ได้แก่
1. สาขาวิชามัธยมศึกษา***
2. สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน
3. สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
4. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
5. สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ
*** สาขาวิชามัธยมศึกษาเลือกได้ว่าเรียนวิชาเอกเดี่ยวหรือวิชาเอกคู่ อย่างใดอย่างหนึ่ง
แนวทางการเข้าเรียนในวิชาเอกของนิสิตสังกัดสาขาวิชาต่างๆ
กลุ่มที่ 1 สาขาวิชาที่กำหนดให้เรียนวิชาเอกบังคับเฉพาะของสาขาวิชาตั้งแต่แรกเข้าศึกษา
สาขาวิชาที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 (รูปแบบรับแยกสาขาวิชา)
1. ระบบรับตรงแบบพิเศษ
- สาขาวิชาศิลปศึกษา
โครงการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษา
- สาขาวิชาดนตรีศึกษา
1. โครงการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา
2. โครงการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษระดับชาติทางศิลปะเข้าศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา
- สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
1. โครงการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
2. โครงการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษระดับชาติทางกีฬาเข้าศึกษาสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
2. ระบบแอดมิชชั่นส์
- สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย รหัสคณะ 0037
- สาขาวิชาประถมศึกษา รหัสคณะ 0038
- สาขาวิชาธุรกิจศึกษา รหัสคณะ 0039
วิชาเอกของนิสิตสังกัดสาขาวิชากลุ่มที่ 1
1. วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย
2. วิชาเอกประถมศึกษา
3. วิชาเอกธุรกิจศึกษา
4. วิชาเอกศิลปศึกษา
5. วิชาเอกดนตรีศึกษา
6. วิชาเอกดนตรีไทย
7. วิชาเอกดนตรีสากล
8. วิชาเอกสุขศึกษา
9. วิชาเอกพลศึกษา
ลักษณะสำคัญของนิสิตสังกัดสาขาวิชากลุ่มที่ 1
1. นิสิตที่สังกัดสาขาวิชากลุ่มที่ 1 จะมีวิชาเอกบังคับเฉพาะของสาขาวิชาตั้งแต่แรกเข้าศึกษาทันที โดยไม่สามารถเลือกวิชาเอกอื่นๆ ได้อีก
2. วิชาเอกของนิสิตสังกัดสาขาวิชาในกลุ่มที่ 1 เป็นวิชาเอกเฉพาะของนิสิตสังกัดสาขาวิชาเท่านั้น นิสิตสังกัดสาขาวิชาอื่นไม่สามารถเลือกเรียนได้ ยกเว้นวิชาเอกสุขศึกษา และพลศึกษา นิสิตสังกัดสาขาวิชาในกลุ่มที่ 2 สามารถเลือกเรียนเป็นวิชาเอกคู่ได้
3. การเรียนรายวิชาในหมวดวิชาเอกจะเริ่มต้นแต่ภาคการศึกษาต้นของชั้นปีที่ 1 ทันที
1. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
วิชาเอกบังคับ : วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย
รูปแบบ : วิชาเอกเดี่ยว
จำนวนรับ : ประมาณ 30 คน
เงื่อนไข : เป็นวิชาเอกเฉพาะของนิสิตสังกัดสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยเท่านั้น
การเข้าศึกษา : ผ่านการคัดเลือกในระบบแอดมิชชั่นส์ รหัสคณะ 0037 เท่านั้น
ระดับนักเรียนที่สอน : นักเรียนระดับปฐมวัย (อนุบาล)
หมายเหตุ : วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย ไม่มีการจำแนกวิชาเอกย่อย
รายละเอียดเพิ่มเติม : CLICK!
2. สาขาวิชาประถมศึกษา
วิชาเอกบังคับ : วิชาเอกประถมศึกษา
รูปแบบ : วิชาเอกเดี่ยว
จำนวนรับ : ประมาณ 40 คน
เงื่อนไข : เป็นวิชาเอกเฉพาะของนิสิตสังกัดสาขาวิชาประถมศึกษาเท่านั้น
การเข้าศึกษา : ผ่านการคัดเลือกในระบบแอดมิชชั่นส์ รหัสคณะ 0038 เท่านั้น
ระดับนักเรียนที่สอน : นักเรียนระดับประถมศึกษา
หมายเหตุ :
วิชาเอกประถมศึกษา ต้องเรียนอีก 2 วิชาเอกย่อย เลือกจาก 5 วิชา ดังนี้ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ สามารถเลือกเรียนได้เลยโดยไม่ต้องผ่านการคัดเลือก ยกเว้นวิชาภาษาอังกฤษที่ต้องคัดเลือกร่วมกับนิสิตสังกัดสาขาวิชาในกลุ่มที่ 2
รายละเอียดเพิ่มเติม : CLICK!
3. สาขาวิชาธุรกิจศึกษา
วิชาเอกบังคับ : วิชาเอกธุรกิจศึกษา
รูปแบบ : วิชาเอกเดี่ยว
จำนวนรับ : ประมาณ 30 คน
เงื่อนไข : เป็นวิชาเอกเฉพาะของนิสิตสังกัดสาขาวิชาธุรกิจศึกษาเท่านั้น
การเข้าศึกษา : ผ่านการคัดเลือกในระบบแอดมิชชั่นส์ รหัสคณะ 0039 เท่านั้น
ระดับนักเรียนที่สอน : นักเรียนระดับมัธยมศึกษา
รายละเอียดเพิ่มเติม : CLICK!
4. สาขาวิชาศิลปศึกษา
วิชาเอกบังคับ : วิชาเอกศิลปศึกษา
รูปแบบ : วิชาเอกเดี่ยว
จำนวนรับ : ประมาณ 40 คน
เงื่อนไข : เป็นวิชาเอกเฉพาะของนิสิตสังกัดสาขาวิชาศิลปศึกษาเท่านั้น
การเข้าศึกษา : ผ่านการคัดเลือกในระบบรับตรงแบบแบบพิเศษ โครงการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษา
ระดับนักเรียนที่สอน : นักเรียนระดับประถมศึกษาหรือระดับมัธยมศึกษา
รายละเอียดเพิ่มเติม : CLICK!
5. สาขาวิชาดนตรีศึกษา
จำนวนรับ : ประมาณ 30 คน
รูปแบบ : วิชาเอกเดี่ยว
เงื่อนไข : เป็นวิชาเอกเฉพาะของนิสิตสังกัดสาขาวิชาดนตรีศึกษาเท่านั้น
การเข้าศึกษา : ผ่านการคัดเลือกในระบบรับตรงเท่านั้น
วิชาเอกบังคับ
1. วิชาเอกดนตรีไทย
- ผ่านการคัดเลือกระบบรับตรงแบบพิเศษ
1. โครงการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา วิชาเอกดนตรีไทย
2. โครงการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษระดับชาติทางศิลปะเข้าศึกษาคณะครุศาสตร์ วิชาเอกดนตรีไทย
2. วิชาเอกดนตรีสากล
- ผ่านการคัดเลือกระบบรับตรงแบบพิเศษ
1. โครงการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา วิชาเอกดนตรีสากล
2. โครงการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษระดับชาติทางศิลปะเข้าศึกษาคณะครุศาสตร์ วิชาเอกดนตรีสากล
3. วิชาเอกดนตรีศึกษา
- นิสิตที่ผ่านการคัดเลือกระบบรับตรงเข้าศึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษาทุกแบบสามารถเลือกเรียนวิชาเอกนี้ได้แทนวิชาเอกดนตรีไทยหรือดนตรีสากลได้
ระดับนักเรียนที่สอน : นักเรียนระดับประถมศึกษาหรือระดับมัธยมศึกษา
รายละเอียดเพิ่มเติม : CLICK!
6. สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
วิชาเอกบังคับ : วิชาเอกสุขศึกษา และวิชาเอกพลศึกษา
รูปแบบ : วิชาเอกคู่
จำนวนรับ : ประมาณ 45-50 คน
เงื่อนไข : นิสิตสังกัดสาขาวิชานี้จะต้องเรียนวิชาเอกสุขศึกษาคู่กับพลศึกษาเท่านั้น
การเข้าศึกษา : ผ่านการคัดเลือกในระบบรับตรงแบบพิเศษ
1. โครงการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
2. โครงการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษระดับชาติทางกีฬาเข้าศึกษาสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
ระดับนักเรียนที่สอน : นักเรียนระดับประถมศึกษาหรือระดับมัธยมศึกษา
รายละเอียดเพิ่มเติม : CLICK!
กลุ่มที่ 2 สาขาวิชาที่ไม่กำหนดวิชาเอกขณะเข้าศึกษา โดยจะมีการเลือกในภายหลัง
สาขาวิชาที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ 2
1. ระบบรับตรงแบบปกติ
- สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) รหัสคณะ จฬ 039-041
- สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) รหัสคณะ จฬ 042-045
2. ระบบแอดมิชชั่นส์ รหัสคณะ 0036 รูปแบบรับรวม
- สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์)
- สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์)
- สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน
- สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ
วิชาเอกของนิสิตสังกัดสาขาวิชากลุ่มที่ 2
1. วิชาเอกคณิตศาสตร์
2. วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป
3. วิชาเอกฟิสิกส์
4. วิชาเอกเคมี
5. วิชาเอกชีววิทยา
6. วิชาเอกภาษาไทย
7. วิชาเอกสังคมศึกษา
8. วิชาเอกภาษาอังกฤษ
9. วิชาเอกภาษาฝรั่งเศส
10. วิชาเอกภาษาเยอรมัน
11. วิชาเอกการศึกษานอกระบบโรงเรียน
12. วิชาเอกสุขศึกษา
13. วิชาเอกพลศึกษา
14. วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา
15. วิชาเอกคอมพิวเตอร์การศึกษา
16. วิชาเอกจิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนว
17. วิชาเอกการศึกษาพิเศษ
ลักษณะสำคัญของนิสิตสังกัดสาขาวิชากลุ่มที่ 2
1. รูปแบบการเรียนในวิชาเอกของนิสิตสังกัดสาขาวิชากลุ่มที่ 2 มีดังนี้
- นิสิตสาขาวิชามัธยมศึกษา สามารถเลือกเรียนได้ดังนี้
1. วิชาเอกเดี่ยว โดยเลือกจากวิชาเอกของสาขาวิชาที่สังกัด
2. วิชาเอกคู่ โดยเลือกได้ 2 แบบ ดังนี้
- เลือกจับคู่จากวิชาเอกภายในสาขาวิชาที่ตนเองสังกัด
- เลือกวิชาเอกของสาขาวิชาที่สังกัดไปจับคู่กับวิชาเอกของสาขาวิชาอื่น
- นิสิตสาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน เทคโนโลยีการศึกษา และจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนว และการศึกษาพิเศษ สามารถเลือกเรียนได้ดังนี้
วิชาเอกคู่ โดยเลือกวิชาเอกของสาขาวิชาที่สังกัดไปจับคู่กับวิชาเอกของสาขาวิชาอื่น โดยไม่สามารถเรียนในวิชาเอกเดี่ยวได้
2. นิสิตที่สังกัดสาขาวิชากลุ่มที่ 2 สามารถเลือกเรียนวิชาเอกของสาขาวิชาอื่นที่ตนเองไม่ได้สังกัดได้ในรูปแบบของวิชาเอกคู่
3. นิสิตที่สังกัดสาขาวิชากลุ่มที่ 2 จะต้องสมัครคัดเลือกเข้าเรียนในวิชาเอกช่วงปลายภาคการศึกษาต้นของชั้นปีที่ 1 (เดือนกันยายน-ตุลาคม)
4. การเรียนรายวิชาในหมวดวิชาเอกส่วนใหญ่จะเริ่มในภาคการศึกษาปลายของชั้นปีที่ 1 แต่จะมีบางวิชาเอกที่จะเริ่มเรียนตั้งแต่ภาคการศึกษาต้นของชั้นปีที่ 1 โดยนิสิตที่ต้องการเรียนวิชาเอกเหล่านี้จะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาในหมวดวิชาเอกที่กำหนดไว้ ก่อนที่จะเลือกเข้าเรียนวิชาเอก
5. นิสิตสังกัดสาขาวิชากลุ่มที่ 2 มุ่งสอนนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาทุกสาขาวิชา แม้ว่าไม่ได้สังกัดสาขาวิชามัธยมศึกษาก็ตาม แต่สามารถเลือกวิชาเอกของสาขาวิชามัธยมศึกษาเป็นวิชาเอกคู่ได้ โดยจะต้องฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูระดับชั้นมัธยมศึกษา และสามารถประกอบวิชาชีพครูระดับมัธยมศึกษาได้เช่นกัน
1. สาขาวิชามัธยมศึกษา
- มัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์)
รูปแบบการเลือกเรียนวิชาเอก
เลือกเรียนวิชาเอกเพียง 1 แบบจาก 3 แบบ ดังนี้
แบบที่ 1 วิชาเอกเดี่ยว
เลือก 1 วิชาเอกต่อไปนี้เป็นวิชาเอกเดี่ยว
- คณิตศาสตร์
- วิทยาศาสตร์ทั่วไป
- ฟิสิกส์
- เคมี
- ชีววิทยา
แบบที่ 2 วิชาเอกคู่ภายในสาขาวิชา
ประเภท | วิชาเอกบังคับ ภายในสาขาวิชา | วิชาเอกเลือก ภายในสาขาวิชา เลือกเรียน 1 วิชาเอก |
วิชาเอก | - วิทยาศาสตร์ทั่วไป | - คณิตศาสตร์ - ฟิสิกส์ - เคมี - ชีววิทยา |
ประเภทวิชาเอก | วิชาเอกบังคับเลือก ภายในสาขาวิชา | วิชาเอกเลือก ของสาขาวิชาอื่น เลือกเรียน 1 วิชาเอก |
วิชาเอก | - คณิตศาสตร์ - วิทยาศาสตร์ทั่วไป | สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน - การศึกษานอกระบบ สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา - สุขศึกษา - พลศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา - เทคโนโลยีการศึกษา - คอมพิวเตอร์การศึกษา สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษาฯ - จิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนว - การศึกษาพิเศษ |
- มัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) ประเภทวิชาเอก วิชาเอกเลือก ภายในสาขาวิชา วิธีเลือก วิชาเอก - ภาษาไทย - สังคมศึกษา - ภาษาอังกฤษ - ภาษาฝรั่งเศส - ภาษาเยอรมัน เลือกจับคู่กัน เงื่อนไข วิชาเอกคู่ภาษาฝรั่งเศส – ภาษาเยอรมัน ไม่แนะนำให้เลือก เพราะมีปัญหาด้านตารางเรียน ประเภทวิชาเอก วิชาเอกบังคับเลือก ภายในสาขาวิชา วิชาเอกเลือก ของสาขาวิชาอื่น เลือกเรียน 1 วิชาเอก วิชาเอก - ภาษาไทย - สังคมศึกษา - ภาษาอังกฤษ - ภาษาฝรั่งเศส - ภาษาเยอรมัน สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน - การศึกษานอกระบบ สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา - สุขศึกษา - พลศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา - เทคโนโลยีการศึกษา - คอมพิวเตอร์การศึกษา สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษาฯ - จิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนว - การศึกษาพิเศษ ประเภทวิชาเอก วิชาเอกบังคับ ภายในสาขาวิชา วิชาเอกเลือก สาขาวิชาอื่น เลือกเรียน 1 วิชาเอก วิชาเอก - การศึกษานอกระบบโรงเรียน สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) - คณิตศาสตร์ - วิทยาศาสตร์ทั่วไป สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) - ภาษาไทย - สังคมศึกษา - ภาษาอังกฤษ - ภาษาฝรั่งเศส - ภาษาเยอรมัน สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา - สุขศึกษา - พลศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา - เทคโนโลยีการศึกษา สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษาฯ - จิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนว - การศึกษาพิเศษ ประเภทวิชาเอก วิชาเอกบังคับเลือก ภายในสาขาวิชา วิชาเอกเลือก สาขาวิชาอื่น เลือกเรียน 1 วิชาเอก วิชาเอก - เทคโนโลยีการศึกษา - คอมพิวเตอร์การศึกษา สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) - คณิตศาสตร์ - วิทยาศาสตร์ทั่วไป สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) - ภาษาไทย - สังคมศึกษา - ภาษาอังกฤษ - ภาษาฝรั่งเศส - ภาษาเยอรมัน สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน - การศึกษานอกระบบโรงเรียน สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา - สุขศึกษา - พลศึกษา สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษาฯ - จิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนว - การศึกษาพิเศษ ประเภทวิชาเอก วิชาเอกบังคับเลือก ภายในสาขาวิชา วิชาเอกเลือก สาขาวิชาอื่น เลือกเรียน 1 วิชาเอก วิชาเอก - จิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนว - การศึกษาพิเศษ สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) - คณิตศาสตร์ - วิทยาศาสตร์ทั่วไป สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) - ภาษาไทย - สังคมศึกษา - ภาษาอังกฤษ - ภาษาฝรั่งเศส - ภาษาเยอรมัน สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน - การศึกษานอกระบบโรงเรียน สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา - สุขศึกษา - พลศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา - เทคโนโลยีการศึกษา - คอมพิวเตอร์การศึกษา รอบการคัดเลือก ปกติ ยื่นอันดับ ทดลองศึกษาโดยมีเงื่อนไข ช่วงเวลาคัดเลือก เดือน กันยายน เดือน ตุลาคม ภาคการศึกษาปลาย คณิตศาสตร์ ü วิทยาศาสตร์ทั่วไป ü ฟิสิกส์ ü ü เคมี ü ü ชีววิทยา ü ü ภาษาไทย ü ü ü สังคมศึกษา ü ü ü ภาษาอังกฤษ ü ภาษาฝรั่งเศส ü ü ภาษาเยอรมัน ü ü การศึกษานอกระบบโรงเรียน ü ü สุขศึกษา ü พลศึกษา ü เทคโนโลยีการศึกษา ü ü คอมพิวเตอร์การศึกษา ü ü จิตวิทยาการปรึกษาฯ ü ü ü การศึกษาพิเศษ ü ü
รูปแบบการเลือกเรียนวิชาเอก
เลือกเรียนวิชาเอกเพียง 1 แบบจาก 3 แบบ ดังนี้
แบบที่ 1 วิชาเอกเดี่ยว
เลือก 1 วิชาเอกต่อไปนี้เป็นวิชาเอกเดี่ยว
- ภาษาไทย
- สังคมศึกษา
- ภาษาอังกฤษ
แบบที่ 2 วิชาเอกคู่ภายในสาขาวิชา
แบบที่ 3 วิชาเอกคู่ระหว่างวิชาเอกภายในสาขาวิชากับวิชาเอกของสาขาวิชาอื่น
2 วิชาเอก
จากวิชาเอกด้านซ้ายมือ
รายละเอียดเพิ่มเติม : CLICK!
เลือกเรียน 1 วิชาเอก
หมายเหตุ : นิสิตสาขาวิชามัธยมศึกษา สามารถเลือกวิชาเอกคู่ข้ามกลุ่มได้ โดยผ่านการคัดเลือกเข้าเรียนวิชาเอกของอีกกลุ่ม โดยที่อาจารย์ประธานสาขาวิชาที่ตนสังกัดอนุมัติการเลือกวิชาเอกนั้น แต่มักจะไม่มีคนเลือกเรียน เพราะจัดตารางเรียนลำบาก วิชาต่างๆ มักมีเวลาเรียนชนกันจำนวนมาก อาจจะทำให้ไม่สำเร็จการศึกษาภายใน 5 ปี มิฉะนั้นก็ต้องเรียนหนัก เพราะเป็นวิชาเอกเนื้อหาทั้ง 2 วิชาเอก
2. สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน
วิชาเอกคู่ระหว่างวิชาเอกภายในสาขาวิชากับวิชาเอกของสาขาวิชาอื่น
รายละเอียดเพิ่มเติม : CLICK!
- คอมพิวเตอร์การศึกษา
หมายเหตุ : นิสิตสามารถสมัครเข้าเรียนวิชาเอกฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาได้ แต่ประธานสาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ต้องอนุมัติให้เลือกเรียนได้
3. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
วิชาเอกคู่ระหว่างวิชาเอกภายในสาขาวิชากับวิชาเอกของสาขาวิชาอื่น
รายละเอียดเพิ่มเติม : CLICK!
เลือกเรียน 1 วิชาเอก
หมายเหตุ : นิสิตสามารถสมัครเข้าเรียนวิชาเอกฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาได้ แต่ประธานสาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ต้องอนุมัติให้เลือกเรียนได้
4. สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ
วิชาเอกคู่ระหว่างวิชาเอกภายในสาขาวิชากับวิชาเอกของสาขาวิชาอื่น
รายละเอียดเพิ่มเติม : CLICK!
เลือกเรียน 1 วิชาเอก
หมายเหตุ : นิสิตสามารถสมัครเข้าเรียนวิชาเอกฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาได้ แต่ประธานสาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ต้องอนุมัติให้เลือกเรียนได้
ระบบการคัดเลือกเข้าเรียนวิชาเอกสำหรับนิสิตสังกัดสาขาวิชากลุ่มที่ 2
ระบบการคัดเลือกเข้าเรียนวิชาเอกสำหรับนิสิตสังกัดสาขาวิชากลุ่มที่ 2 แบ่งเป็น 3 รอบ ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนการคัดเลือกเข้าเรียนวิชาเอกสำหรับนิสิตสังกัดสาขาวิชากลุ่มที่ 2
รอบแรก : คัดเลือกปกติ
1. นิสิตสมัครเข้าคัดเลือกในวิชาเอกที่สนใจ ณ สำนักงานวิชาการ หลักสูตรและการสอน โดยสามารถสมัครได้หลายวิชาเอก ยกเว้นบางวิชาเอกที่สมัครพร้อมกันไม่ได้ จะต้องเลือกสมัครเพียง 1 วิชาเอก เนื่องจากเป็นวิชาเอกที่คัดเลือกพร้อมกัน โดยใช้แบบทดสอบชุดเดียวกัน ได้แก่
- เทคโนโลยีการศึกษา และคอมพิวเตอร์การศึกษา
- จิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนว และการศึกษาพิเศษ
2. นิสิตเข้าคัดเลือกตามกำหนดของแต่ละวิชาเอก
3. นิสิตตรวจสอบผลการคัดเลือกรอบปกติที่บอร์ดของสาขาวิชา
4. นิสิตที่ผ่านการคัดเลือกรอบปกติในวิชาเอกที่ต้องการยืนยันเข้าศึกษาที่สำนักงานวิชาการ หลักสูตรและการสอน
หมายเหตุ :
- นิสิตบางส่วนที่ผ่านการคัดเลือกในหลายวิชาเอกสามารถเลือกยืนยันเข้าศึกษาได้ตามความประสงค์ และต้องสละสิทธิ์วิชาเอกที่ผ่านการคัดเลือกแต่ไม่ได้เลือกเข้าศึกษาที่สาขาวิชาประจำวิชาเอกนั้น
- นิสิตบางคนได้รับคัดเลือกในวิชาเอกที่ยังไม่ต้องการจริงๆ สามารถสละสิทธิ์และแสดงความจำนงยื่นคัดเลือกในรอบยื่นอันดับได้
- วิชาเอกคณิตศาสตร์ เปิดรับรอบปกติรอบเดียวเท่านั้น หากไม่ผ่านการคัดเลือกสามารถรอสมัครคัดเลือกปีการศึกษาหน้าในชั้นปีที่ 2
- วิชาเอกภาษาอังกฤษ เปิดรับรอบปกติรอบเดียวสำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 เท่านั้น
รอบที่ 2 : ยื่นอันดับ
5. นิสิตที่ยังได้วิชาเอกไม่ครบตามที่ต้องการ สามารถแสดงความจำนงยื่นอันดับคัดเลือกวิชาเอกที่เปิดรับในรอบที่ 2 ณ สำนักงานวิชาการ หลักสูตรและการสอน โดยรอบนี้จะคัดเลือกเฉพาะวิชาเอกคู่ นิสิตจะต้องแจ้งว่าขาด 1 หรือ 2 วิชาเอก ซึ่งเลือกวิชาเอกได้ไม่เกิน 4 อันดับ (กรณีที่ขาด 2 วิชาเอก ถ้าเลือกจับคู่ในแต่ละอันดับเลย) โดยต้องเป็นวิชาเอกที่สมัครคัดเลือกไว้ในรอบคัดเลือกปกติ แต่ไม่ผ่านการคัดเลือก
6. นิสิตตรวจสอบผลการคัดเลือกรอบยื่นอันดับที่บอร์ดของสาขาวิชา
7. นิสิตที่ผ่านการคัดเลือกรอบยื่นอันดับ ยืนยันการเข้าศึกษาที่สำนักงานวิชาการ หลักสูตรและการสอน
หมายเหตุ : นิสิตที่สมัครคัดเลือกในรอบยื่นอันดับ จะได้การพิจารณาวิชาเอกต้องจำนวนที่แจ้งขาด โดยจะพิจารณาตามอันดับที่ยื่น (แตกต่างจากรอบคัดเลือกปกติที่สามารถผ่านการคัดเลือกได้หลายวิชาและเลือกยืนยันเข้าศึกษาได้)
รอบสุดท้าย : ทดลองศึกษาโดยมีเงื่อนไข
8. นิสิตที่ยังได้วิชาเอกไม่ครบ หรือนิสิตสังกัดสาขาวิชามัธยมศึกษาที่ต้องการเปลี่ยนวิชาเอกคู่ที่ได้มาเป็นวิชาเอกเดี่ยว สามารถแสดงความจำนงให้อาจารย์ประจำวิชาเอกพิจาณารับในรอบทดลองศึกษาโดยมีเงื่อนไข โดยนิสิตจะต้องแสดงความจำนงตามวิชาเอกในจำนวนที่ขาดเท่านั้น
9. อาจารย์จะพิจารณานิสิตรายบุคคล โดยกำหนดเงื่อนไขในการรับเข้าศึกษา ซึ่งดูจากระดับผลการเรียนเฉลี่ยของรายวิชาในหมวดวิชาเอกที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาปลายของชั้นปีที่ 1
10. นิสิตทราบผลการเข้าศึกษาภายหลังจบภาคการศึกษาปลายของชั้นปีที่ 1
สรุปแนวทางการคัดเลือกในวิชาเอกของนิสิตสังกัดสาขาวิชากลุ่มที่ 2
วิชาเอกคณิตศาสตร์
นิสิตสาขาวิชาที่เลือกเรียนได้ :
1. วิชาเอกเดี่ยว : สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์)
2. วิชาเอกคู่ : สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) การศึกษานอกระบบโรงเรียน เทคโนโลยีการศึกษา และจิตวิทยาการปรึกษาฯ
จำนวนรับ : ประมาณ 50 คน รวมทุกสาขาวิชา
ระบบการคัดเลือก : คัดเลือกเพียงรอบเดียว คือ
รอบปกติ
โดยคัดเลือกจากการทดสอบ Screening Test ทางคณิตศาสตร์ เป็นความรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และเนื้อหาส่วนหนึ่งของวิชาแคลคูลัส 1 ที่สอนโดยคณะวิทยาศาสตร์
เงื่อนไข :
1. นิสิตสังกัดสาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) ที่จะเลือกเป็นวิชาเอกเดี่ยวต้องได้คะแนนสอบ Screening Test เป็น 20 อันดับแรก
2. นิสิตทุกสังกัดสาขาวิชาในกลุ่มที่ 2 ที่จะเลือกเป็นวิชาเอกคู่ต้องได้คะแนนสอบ Screening Test เป็น 40 อันดับแรก
3. นิสิตที่ไม่ผ่านการเข้าศึกษาในรอบปกติ และยังต้องการศึกษาต้องรอสมัครคัดเลือกในปีการศึกษาต่อไป โดยวิชาเอกคณิตศาสตร์อนุญาตให้นิสิตชั้นปีที่ 2 เข้าคัดเลือกร่วมกันนิสิตชั้นปีที่ 1
เวลาเริ่มเรียนวิชาเอก : ภาคการศึกษาปลายของชั้นปีที่ 1
ระดับนักเรียนที่สอน : นักเรียนระดับมัธยมศึกษา
ระดับความยากในการเข้าเรียนวิชาเอกนี้ :
- วิชาเอกเดี่ยว
- วิชาเอกคู่
วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป
นิสิตสาขาวิชาที่เลือกเรียนได้ :
1. วิชาเอกเดี่ยว : สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์)
2. วิชาเอกคู่ : สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) การศึกษานอกระบบโรงเรียน เทคโนโลยีการศึกษา และจิตวิทยาการปรึกษาฯ
จำนวนรับ : ประมาณ 85 คน รวมทุกสาขาวิชา
ระบบการคัดเลือก : คัดเลือกเพียงรอบเดียว คือ
รอบปกติ โดยนิสิตเข้าสัมภาษณ์และแสดงความจำนงเข้าเรียนได้ทันที โดยไม่มีการคัดเลือก
เวลาเริ่มเรียนวิชาเอก : ภาคการศึกษาต้นของชั้นปีที่ 1
ระดับนักเรียนที่สอน : นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย (แผนการเรียนศิลป์)
ระดับความยากในการเข้าเรียนวิชาเอกนี้ :
วิชาเอกฟิสิกส์
นิสิตสาขาวิชาที่เลือกเรียนได้ :
1. วิชาเอกเดี่ยว : สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์)
2. วิชาเอกคู่ : สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) หรือสาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน เทคโนโลยีการศึกษา และจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ (กรณีอาจารย์ประธานสาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์อนุมัติให้เข้าเรียนได้)
จำนวนรับ : รับจำนวนตามความสามารถของนิสิตตามเกณฑ์ผลการเรียนที่ตั้งเงื่อนไขไว้ทั้ง 2 รอบ (ประมาณ 15 คน รวมทุกสาขาวิชา)
ระบบการคัดเลือก : คัดเลือก 2 รอบ ได้แก่
1. รอบปกติ
สอบสัมภาษณ์โดยพิจารณาจากคะแนนสอบกลางภาควิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 และปฏิบัติการฟิสิกส์ 1 จัดสอนโดยคณะวิทยาศาสตร์
2. รอบทดลองศึกษาโดยมีเงือนไข
นิสิตสังกัดสาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) รอพิจารณาเข้าศึกษาเป็นวิชาเอกเดี่ยวหรือวิชาเอกคู่ สามารถทดลองศึกษาโดยต้องทำผลการเรียนรายวิชาในหมวดวิชาเอกที่ลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาปลาย ชั้นปีที่ 1 ให้ถึงเกณฑ์ที่อาจารย์ประจำวิชาเอกกำหนดไว้
เวลาเริ่มเรียนวิชาเอก : ภาคการศึกษาปลายของชั้นปีที่ 1
ระดับนักเรียนที่สอน : นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์)
ระดับความยากในการเข้าเรียนวิชาเอกนี้ :
- วิชาเอกเดี่ยว
- วิชาเอกคู่
วิชาเอกเคมี
นิสิตสาขาวิชาที่เลือกเรียนได้ :
1. วิชาเอกเดี่ยว : สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์)
2. วิชาเอกคู่ : สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) หรือ สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน เทคโนโลยีการศึกษา และจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ (กรณีอาจารย์ประธานสาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์อนุมัติให้เข้าเรียนได้)
จำนวนรับ : รับจำนวนตามความสามารถของนิสิตตามเกณฑ์ผลการเรียนที่ตั้งเงื่อนไขไว้ทั้ง 2 รอบ (ประมาณ 30 คน รวมทุกสาขาวิชา)
ระบบการคัดเลือก : คัดเลือก 2 รอบ ได้แก่
1. รอบปกติ
สอบสัมภาษณ์โดยพิจารณาคะแนนสอบกลางภาควิชาเคมีทั่วไป 1 และปฏิบัติการเคมี 1 จัดสอนโดยคณะวิทยาศาสตร์
2. รอบทดลองศึกษาโดยมีเงือนไข
นิสิตสังกัดสาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) รอพิจารณาเข้าศึกษาเป็นวิชาเอกเดี่ยวหรือวิชาเอกคู่ สามารถทดลองศึกษาโดยต้องทำผลการเรียนรายวิชาในหมวดวิชาเอกที่ลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาปลาย ชั้นปีที่ 1 ให้ถึงเกณฑ์ที่อาจารย์ประจำวิชาเอกกำหนดไว้
วิธีการคัดเลือก : สอบสัมภาษณ์โดยพิจารณาจากคะแนนสอบกลางภาควิชาเคมีทั่วไป 1 และปฏิบัติการเคมี 1 จัดสอนโดยคณะวิทยาศาสตร์ ประกอบการพิจารณาในการคัดเลือกรอบปกติ
ระบบการคัดเลือก : คัดเลือก 2 รอบ ได้แก่
1. รอบปกติ
2. รอบทดลองศึกษาโดยมีเงือนไข
นิสิตสังกัดสาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) รอพิจารณาเข้าศึกษาวิชาเอกเดี่ยวหรือวิชาเอกคู่ ต้องทำผลการเรียนรายวิชาในหมวดวิชาเอกที่ลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาปลาย ชั้นปีที่ 1 ให้ถึงเกณฑ์ที่อาจารย์ประจำวิชาเอกกำหนดไว้
เวลาเริ่มเรียนวิชาเอก : ภาคการศึกษาปลายของชั้นปีที่ 1
ระดับนักเรียนที่สอน : นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์)
ระดับความยากในการเข้าเรียนวิชาเอกนี้ :
- วิชาเอกเดี่ยว
- วิชาเอกคู่
วิชาเอกชีววิทยา
นิสิตสาขาวิชาที่เลือกเรียนได้ :
1. วิชาเอกเดี่ยว : สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์)
2. วิชาเอกคู่ : สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) หรือ สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน เทคโนโลยีการศึกษา และจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ (กรณีอาจารย์ประธานสาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์อนุมัติให้เข้าเรียนได้)
จำนวนรับ : รับจำนวนตามความสามารถของนิสิตตามเกณฑ์ผลการเรียนที่ตั้งเงื่อนไขไว้ทั้ง 2 รอบ (ประมาณ 30 คน รวมทุกสาขาวิชา)
ระบบการคัดเลือก : คัดเลือก 2 รอบ ได้แก่
1. รอบปกติ
สอบสัมภาษณ์โดยพิจารณาจากคะแนนสอบกลางภาควิชาชีววิทยาทั่วไป 1 และปฏิบัติการชีววิทยา 1 จัดสอนโดยคณะวิทยาศาสตร์
2. รอบทดลองศึกษาโดยมีเงือนไข
นิสิตสังกัดสาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) รอพิจารณาเข้าศึกษาเป็นวิชาเอกเดี่ยวหรือวิชาเอกคู่ สามารถทดลองศึกษาโดยต้องทำผลการเรียนรายวิชาในหมวดวิชาเอกที่ลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาปลาย ชั้นปีที่ 1 ให้ถึงเกณฑ์ที่อาจารย์ประจำวิชาเอกกำหนดไว้
เวลาเริ่มเรียนวิชาเอก : ภาคการศึกษาปลายของชั้นปีที่ 1
ระดับนักเรียนที่สอน : นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์)
ระดับความยากในการเข้าเรียนวิชาเอกนี้ :
- วิชาเอกเดี่ยว
- วิชาเอกคู่
วิชาเอกภาษาไทย
นิสิตสาขาวิชาที่เลือกเรียนได้ :
1. วิชาเอกเดี่ยว : สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์)
2. วิชาเอกคู่ : สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) การศึกษานอกระบบโรงเรียน เทคโนโลยีการศึกษา และจิตวิทยาการปรึกษาฯ
จำนวนรับ : ประมาณ 35 คน รวมทุกสาขาวิชา
ระบบการคัดเลือก : คัดเลือก 2 รอบ ได้แก่
1. รอบปกติ
พิจารณาจากคะแนนแบบทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) วิชาภาษาไทย และต้องผ่านคุณสมบัติ ดังนี้
1. ผ่านเกณฑ์คะแนนสอบกลางภาควิชาภาษาไทยตามที่กำหนดไว้
2. มีผลการเรียนเฉลี่ยวิชาภาษาไทยและภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไม่ต่ำกว่า 2.5
2. รอบยื่นอันดับ
ใช้วิธีการคัดเลือกเช่นเดียวกับรอบปกติ
3. รอบทดลองศึกษาโดยมีเงือนไข (ตามดุลพินิจของอาจารย์ประจำวิชาเอก)
นิสิตสังกัดสาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) รอพิจารณาเข้าศึกษาเป็นวิชาเอกเดี่ยว หรือนิสิตสังกัดสาขาวิชาในกลุ่มที่ 2 รอพิจารณาเข้าศึกษาเป็นวิชาเอกคู่ สามารถทดลองศึกษาโดยต้องทำผลการเรียนรายวิชาในหมวดวิชาเอกที่ลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาปลาย ชั้นปีที่ 1 ให้ถึงเกณฑ์ที่อาจารย์ประจำวิชาเอกกำหนดไว้
เวลาเริ่มเรียนวิชาเอก : ภาคการศึกษาปลายของชั้นปีที่ 1
ระดับนักเรียนที่สอน : นักเรียนระดับมัธยมศึกษา
ระดับความยากในการเข้าเรียนวิชาเอกนี้ :
- วิชาเอกเดี่ยว
- วิชาเอกคู่
วิชาเอกสังคมศึกษา
นิสิตสาขาวิชาที่เลือกเรียนได้ :
1. วิชาเอกเดี่ยว : สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์)
2. วิชาเอกคู่ : สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) การศึกษานอกระบบโรงเรียน เทคโนโลยีการศึกษา และจิตวิทยาการปรึกษาฯ
จำนวนรับ : ประมาณ 30 คน รวมทุกสาขาวิชา
ระบบการคัดเลือก : คัดเลือก 2 รอบ ได้แก่
1. รอบปกติ
พิจารณาจากคะแนนแบบทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) วิชาสังคมศึกษา
2. รอบยื่นอันดับ
ใช้วิธีการคัดเลือกเช่นเดียวกับรอบปกติ
3. รอบทดลองศึกษาโดยมีเงือนไข (ตามดุลพินิจของอาจารย์ประจำวิชาเอก)
นิสิตสังกัดสาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) รอพิจารณาเข้าศึกษาเป็นวิชาเอกเดี่ยว หรือนิสิตสังกัดสาขาวิชาในกลุ่มที่ 2 รอพิจารณาเข้าศึกษาเป็นวิชาเอกคู่ สามารถทดลองศึกษาโดยต้องทำผลการเรียนรายวิชาในหมวดวิชาเอกที่ลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาปลาย ชั้นปีที่ 1 ให้ถึงเกณฑ์ที่อาจารย์ประจำวิชาเอกกำหนดไว้
เวลาเริ่มเรียนวิชาเอก : ภาคการศึกษาต้นของชั้นปีที่ 1
ระดับนักเรียนที่สอน : นักเรียนมัธยมศึกษา
ระดับความยากในการเข้าเรียนวิชาเอกนี้ :
- วิชาเอกเดี่ยว
- วิชาเอกคู่
วิชาเอกภาษาอังกฤษ
นิสิตสาขาวิชาที่เลือกเรียนได้ :
1. วิชาเอกเดี่ยว : สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์)
2. วิชาเอกคู่ : สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) การศึกษานอกระบบโรงเรียน เทคโนโลยีการศึกษา และจิตวิทยาการปรึกษาฯ
จำนวนรับ : ประมาณ 50 คน รวมทุกสาขาวิชา
ระบบการคัดเลือก : คัดเลือกเพียงรอบเดียว คือ
รอบปกติ
โดยใช้การทดสอบ Screening Test ทางภาษาอังกฤษ ซึ่งแบ่งเป็น 2 รอบ ได้แก่
1. รอบการสอบข้อเขียน ซึ่งนิสิตต้องทำแบบทดสอบ คะแนนเต็ม 120 คะแนน แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ Grammar Reading Writing และ Listening ส่วนละ 30 คะแนน
2. รอบการสอบพูด ซึ่งนิสิตจะต้องทำคะแนนรอบการสอบข้อเขียนได้ 72 คะแนนขึ้นไป จึงมีสิทธิเข้าสอบการพูด ซึ่งการสอบพูดจะเป็นการสอบกับคอมพิวเตอร์โดยอัดเสียงพูดใส่โปรแกรม โดยนิสิตต้องบรรยายหรือสร้างเรื่องจากภาพที่ปรากฏเป็นเวลา 2 นาที คะแนนเต็ม 30 คะแนน
เงื่อนไข :
1. นิสิตที่ประสงค์จะเรียนเป็นวิชาเอกเดี่ยวต้องได้คะแนนรอบการสอบข้อเขียน 84 คะแนนขึ้นไป และคะแนนรวมทั้งหมด 105 คะแนนขึ้นไป
2. นิสิตที่ประสงค์จะเรียนเป็นวิชาเอกคู่ต้องได้คะแนนรอบการสอบข้อเขียน 72 คะแนนขึ้นไป และคะแนนรวมทั้งหมด 90 คะแนนขึ้นไป
3. นิสิตสาขาวิชาอื่นที่ไม่ใช่มัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) หากได้คะแนนถึงเกณฑ์วิชาเอกเดี่ยว สามารถทำเรื่องย้ายเข้าสังกัดสาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) เพื่อเรียนวิชาเอกเดี่ยวภาษาอังกฤษได้
4. นิสิตสาขาวิชาประถมศึกษาที่จะเลือกภาษาอังกฤษเป็นวิชาเอกย่อย ต้องผ่านการสอบ Screening Test ทางภาษาอังกฤษ ด้วย โดยจะคัดเลือกรวมกับสาขาวิชาอื่น
เวลาเริ่มเรียนวิชาเอก : ภาคการศึกษาปลายของชั้นปีที่ 1
ระดับนักเรียนที่สอน : นักเรียนระดับมัธยมศึกษา
ระดับความยากในการเข้าเรียนวิชาเอกนี้ :
- วิชาเอกเดี่ยว
- วิชาเอกคู่
วิชาเอกภาษาฝรั่งเศส
นิสิตสาขาวิชาที่เลือกเรียนได้ :
วิชาเอกคู่ : สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) การศึกษานอกระบบโรงเรียน เทคโนโลยีการศึกษา และจิตวิทยาการปรึกษาฯ
จำนวนรับ : รับจำนวนตามความสามารถของนิสิตตามเกณฑ์ผลการเรียนที่ตั้งเงื่อนไขไว้ (ประมาณ 10 คน รวมทุกสาขาวิชา)
ระบบการคัดเลือก : คัดเลือก 2 รอบ ได้แก่
1. รอบปกติ
พิจารณาจากผลการเรียนวิชาภาษาฝรั่งเศสสำหรับนิสิตนอกคณะอักษรศาสตร์ 1 ระดับ C ขึ้นไป
2. รอบทดลองศึกษาโดยมีเงือนไข
หากผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ในรอบปกติ นิสิตสามารถทดลองศึกษาโดยต้องทำผลการเรียนรายวิชาในหมวดวิชาเอกที่ลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาปลาย ชั้นปีที่ 1 ให้ถึงเกณฑ์ที่อาจารย์ประจำวิชาเอกกำหนดไว้
เวลาเริ่มเรียนวิชาเอก : ภาคการศึกษาต้นของชั้นปีที่ 1
ระดับนักเรียนที่สอน : นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาฝรั่งเศส
ระดับความยากในการเข้าเรียนวิชาเอกนี้ :
วิชาเอกภาษาเยอรมัน
นิสิตสาขาวิชาที่เลือกเรียนได้ :
วิชาเอกคู่ : สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) การศึกษานอกระบบโรงเรียน เทคโนโลยีการศึกษา และจิตวิทยาการปรึกษาฯ
จำนวนรับ : รับจำนวนตามความสามารถของนิสิตตามเกณฑ์ผลการเรียนที่ตั้งเงื่อนไขไว้ (ประมาณ 10 คน รวมทุกสาขาวิชา)
ระบบการคัดเลือก : คัดเลือก 2 รอบ ได้แก่
1. รอบปกติ
พิจารณาจากผลการเรียนวิชาภาษาเยอรมัน 1 ระดับ C ขึ้นไป
2. รอบทดลองศึกษาโดยมีเงือนไข
หากผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ในรอบปกติ นิสิตสามารถทดลองศึกษาโดยต้องทำผลการเรียนรายวิชาในหมวดวิชาเอกที่ลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาปลาย ชั้นปีที่ 1 ให้ถึงเกณฑ์ที่อาจารย์ประจำวิชาเอกกำหนดไว้
จำนวนรับ : รับจำนวนตามความสามารถของนิสิตตามเกณฑ์ผลการเรียนที่ตั้งเงื่อนไขไว้
เงื่อนไข : ต้องผ่านการสอบคัดเลือกในระบบรับตรงแบบปกติ รหัส จฬ 034 หรือเคยได้ทุนแลกเปลี่ยนการศึกษาและวัฒนธรรม ณ ประเทศเยอรมนี หรือเรียนแผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาเยอรมันในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเรียนเพิ่มเติมจนมีพื้นฐานระดับดี
เวลาเริ่มเรียนวิชาเอก : ภาคการศึกษาต้นของชั้นปีที่ 1
ระดับนักเรียนที่สอน : นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาเยอรมัน
ระดับความยากในการเข้าเรียนวิชาเอกนี้ :
วิชาเอกการศึกษานอกระบบโรงเรียน
นิสิตสาขาวิชาที่เลือกเรียนได้ :
วิชาเอกคู่ : สาขาวิชามัธยมศึกษา การศึกษานอกระบบโรงเรียน เทคโนโลยีการศึกษา และจิตวิทยาการปรึกษาฯ
จำนวนรับ : รับนิสิตนอกสาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียนประมาณ 20 คน
ระบบการคัดเลือก : คัดเลือก 2 รอบ ได้แก่
1. รอบปกติ (ประมาณ 10 คน)
นิสิตนอกสาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียนคัดเลือกโดยการสอบสัมภาษณ์
2. รอบยื่นอันดับ (ประมาณ 10 คน)
ใช้วิธีการคัดเลือกเช่นเดียวกับรอบปกติ
เงื่อนไข :
- นิสิตสาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียนบังคับเรียนเป็นวิชาเอกคู่
เวลาเริ่มเรียนวิชาเอก : ภาคการศึกษาต้นของชั้นปีที่ 1 (นิสิตนอกสาขาวิชาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียนเริ่มเรียนภาคการศึกษาปลายของชั้นปีที่ 1)
ระดับนักเรียนที่สอน : นักเรียนทุกระดับชั้นที่สังกัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน (ฝึกประสบการณ์วิชาชีพช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน) ควบคู่กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาของอีก 1 วิชาเอกคู่ที่เลือก (ฝึกประสบการณ์วิชาชีพช่วงเปิดภาคเรียนปกติ)
ระดับความยากในการเข้าเรียนวิชาเอกนี้ :
วิชาเอกสุขศึกษา
วิชาเอกพลศึกษา
นิสิตสาขาวิชาที่เลือกเรียนได้ :
วิชาเอกคู่ : สาขาวิชามัธยมศึกษา การศึกษานอกระบบโรงเรียน เทคโนโลยีการศึกษา และจิตวิทยาการปรึกษาฯ
จำนวนรับ : รับจำนวนตามความสามารถของนิสิตตามเกณฑ์ที่ตั้งเงื่อนไขไว้ (ประมาณ 10 คน รวมทุกสาขาวิชา)
ระบบการคัดเลือก : คัดเลือกเพียงรอบเดียว คือ
รอบปกติ
นิสิตนอกสาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียนคัดเลือกโดยการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย
เวลาเริ่มเรียนวิชาเอก : ภาคการศึกษาปลายของชั้นปีที่ 1 (นิสิตสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาเริ่มเรียนภาคการศึกษาต้นของชั้นปีที่ 1)
ระดับนักเรียนที่สอน : นักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา)
ระดับความยากในการเข้าเรียนวิชาเอกนี้ :
วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา
วิชาเอกคอมพิวเตอร์การศึกษา
นิสิตสาขาวิชาที่เลือกเรียนได้ :
วิชาเอกคู่ : สาขาวิชามัธยมศึกษา การศึกษานอกระบบโรงเรียน เทคโนโลยีการศึกษา และจิตวิทยาการปรึกษาฯ
ระบบการคัดเลือก :
- วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษาและวิชาเอกคอมพิวเตอร์การศึกษาจะคัดเลือกพร้อมกัน โดยใช้แบบทดสอบทางเทคโนโลยีการศึกษาชุดเดียวกัน
- นิสิตสังกัดสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาจะดำเนินการเลือกภายในสาขาวิชาก่อน โดยไม่มีการคัดเลือก แต่เป็นการสอบวัดระดับความรู้ในวิชาเอกที่แสดงความจำนงเลือกวิชาบังคับเลือกภายในสาขาวิชาระหว่างวิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษากับวิชาเอกคอมพิวเตอร์การศึกษา เพียง 1 วิชาเอก ต่อมาเข้าพบอาจารย์ประจำวิชาเอกเพื่อรับทราบผลคะแนน และพิจารณาความเหมาะสมของการเลือกวิชาเอกบังคับเลือกภายในสาขาวิชาร่วมกันกับอาจารย์อีกครั้ง
- นิสิตสังกัดสาขาวิชาอื่น ต้องเลือกสมัครคัดเลือกระหว่างวิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษากับวิชาเอกคอมพิวเตอร์การศึกษา โดยแบ่งเป็น 2 รอบ ได้แก่
1. รอบปกติ
คัดเลือกโดยใช้แบบทดสอบทางเทคโนโลยีการศึกษาชุดเดียวกันทั้ง 2 วิชาเอก แต่จะเป็นคนละชุดกับนิสิตสังกัดสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
2. รอบยื่นอันดับ
ใช้วิธีการคัดเลือกเช่นเดียวกับรอบปกติ
- จำนวนรับ จะรวมทุกสาขาวิชา แต่จะให้สิทธิ์แก่นิสิตสังกัดสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาเลือกก่อนโดยอิสระ แล้วจำนวนรับที่เหลือจะรับนิสิตสังกัดวิชาอื่นที่ต้องสอบคัดเลือก โดยแบ่งเป็น
1. วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา รับ 25 คน
2. วิชาเอกคอมพิวเตอร์การศึกษา รับ 25 คน
เงื่อนไข :
- นิสิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาบังคับเลือกเรียนระหว่างวิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษากับวิชาเอกคอมพิวเตอร์การศึกษาเป็นวิชาเอกคู่
เวลาเริ่มเรียนวิชาเอก : ภาคการศึกษาต้นของชั้นปีที่ 1
ระดับนักเรียนที่สอน : นักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา)
ระดับความยากในการเข้าเรียนวิชาเอกนี้ :
- วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา
1. นิสิตสังกัดสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
2. นิสิตสังกัดสาขาวิชาอื่น
- วิชาเอกคอมพิวเตอร์การศึกษา
1. นิสิตสังกัดสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
2. นิสิตสังกัดสาขาวิชาอื่น
วิชาเอกจิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนว
วิชาเอกการศึกษาพิเศษ
นิสิตสาขาวิชาที่เลือกเรียนได้ :
วิชาเอกคู่ : สาขาวิชามัธยมศึกษา การศึกษานอกระบบโรงเรียน เทคโนโลยีการศึกษา และจิตวิทยาการปรึกษาฯ
ระบบการคัดเลือก :
- วิชาเอกจิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนวและวิชาเอกการศึกษาพิเศษจะคัดเลือกพร้อมกัน โดยใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาการศึกษาชุดเดียวกัน
- นิสิตสังกัดสาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ และนิสิตสังกัดสาขาวิชาอื่นจะคัดเลือกพร้อมกัน (ต่างจากวิชาเอกของสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา) โดยนิสิตต้อง
เลือกสมัครคัดเลือกระหว่างวิชาเอกจิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนวกับวิชาเอกการศึกษาพิเศษ
- นิสิตสังกัดสาขาวิชาอื่น แบ่งการคัดเลือกเป็น 2 รอบ ได้แก่
1. รอบปกติ
2. รอบยื่นอันดับ
ใช้วิธีการคัดเลือกเช่นเดียวกับรอบปกติ
- จำนวนรับ รวมทุกสาขาวิชา โดยแบ่งเป็น
1. วิชาเอกจิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนว รับ 30 คน
2. วิชาเอกการศึกษาพิเศษ รับ 30 คน
เงื่อนไข :
- นิสิตสาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนวและการศึกษาพิเศษบังคับเลือกเรียนระหว่างวิชาเอกจิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนวกับวิชาเอกการศึกษาพิเศษเรียนเป็นวิชาเอกคู่
เวลาเริ่มเรียนวิชาเอก : ภาคการศึกษาต้นของชั้นปีที่ 1
ระดับนักเรียนที่สอน : นักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา)
ระดับความยากในการเข้าเรียนวิชาเอกนี้ :
- วิชาเอกจิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนว
1. นิสิตสังกัดสาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ
2. นิสิตสังกัดสาขาวิชาอื่น
- วิชาเอกการศึกษาพิเศษ
1. นิสิตสังกัดสาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ
2. นิสิตสังกัดสาขาวิชาอื่น
ข้อสังเกต
1. วิชาเอกที่เปิดรับทดลองศึกษาโดยมีเงื่อนไขจะเปิดโอกาสให้นิสิตที่ไม่ผ่านการคัดเลือกเข้าทดลองศึกษาได้ และจะพิจารณาผลการเรียนรายวิชาในหมวดวิชาเอกของภาคการศึกษาที่ทดลองศึกษา
2. บางวิชาเอกมีจำนวนผู้สมัครคัดเลือกไม่เต็มมาตลอดจึงมีสามารถรับนิสิตที่แสดงความจำนงได้ทุกคน ได้แก่ วิทยาศาสตร์ทั่วไป ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน การศึกษานอกระบบโรงเรียน สุขศึกษา พลศึกษา คอมพิวเตอร์การศึกษา และการศึกษาพิเศษ
3. บางวิชาเอกให้สิทธิ์การเลือกเรียนแก่นิสิตในสังกัดสาขาวิชาที่เป็นวิชาเอกของสาขาวิชานั้นมากกว่า ได้แก่ วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา คอมพิวเตอร์การศึกษา จิตวิทยาการศึกษาและแนะแนว และการศึกษาพิเศษ
ข้อเปรียบเทียบเกี่ยวกับรูปแบบวิชาเอก
วิชาเอกเดี่ยว
ข้อดีของการเรียนวิชาเอกเดี่ยว
1. ลงทะเบียนเรียนได้หลายวิชา ประมาณ 30-40 รายวิชาในวิชาเอกตลอดหลักสูตร
2. ศึกษาเนื้อหาได้กว้างและหลากหลายกว่าวิชาเอกคู่
วิชาเอกคู่
ข้อดีของการเรียนวิชาเอกคู่
1. เรียนไม่หนักเท่าวิชาเอกเดี่ยว เพราะลงทะเบียนรายวิชาน้อยกว่าวิชาเอกเดี่ยวครึ่งหนึ่งประมาณ 14-19 วิชา
2. ศึกษาเนื้อหาไม่ลึกและไม่ยากมาก
3. สามารถเลือกวิชาเอกของสาขาวิชาอื่นได้ (เฉพาะนิสิตสังกัดสาขาวิชากลุ่มที่ 2) นิสิตสังกัดสาขาวิชาในกลุ่มที่ 2 ที่เลือกเรียนวิชาเอกเดียวกัน จะมีรายวิชาตามหลักสูตรเหมือนกัน เรียนวิชาบังคับเอกเหมือนกัน นั่งเรียนในห้องเรียนด้วยกัน ตัดสินผลการเรียนรวมกัน
4. ระบบวิชาเอกคู่ของคณะใช้แทนระบบวิชาเอก-โทที่คณะอื่นๆ ใช้ เนื่องจากคณะมีเจตนารมณ์ที่จะเปิดโอกาสให้นิสิตที่มีความสนใจมากกว่า 1 วิชาเอก โดยเรียนวิชาเอกอีก 1 วิชาเอกควบคู่เทียบเท่ากัน ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ เพราะหากเรียนเป็นแค่วิชาโทนั่นมีความสำคัญน้อย เช่น หากน้องเรียนวิชาเอกคู่ภาษาไทย-สังคมศึกษา น้องสามารถศึกษาต่อได้ทั้ง 2 ด้าน หรือสมัครคัดเลือกครูได้ทั้ง 2 วิชาเอก โดยเฉพาะการสอบบรรจุเป็นข้าราชการครูจะพิจารณาวิชาเอกเป็นสำคัญ ดังนั้นน้องที่เรียนวิชาเอกคู่ก็สามารถสอบบรรจุได้ทั้ง 2 วิชาเอก แต่ถ้าใช้ระบบวิชาเอก-โท สอบบรรจุได้แค่วิชาเอกเดียว
ข้อจำกัดของการเรียนวิชาเอกคู่
สาขาวิชามัธยมศึกษาไม่สามารถข้ามสายกันเองได้ระหว่างมัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) และมัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์)
ข้อสังเกตของการเรียนวิชาเอกคู่
นิสิตที่เลือกเรียนวิชาเอกเหมือนกันแต่สังกัดสาขาวิชาต่างกัน เช่น
- สังกัดสาขาวิชามัธยมศึกษา วิชาเอกภาษาไทย-คอมพิวเตอร์การศึกษา กับ
- สังกัดสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา วิชาเอกคอมพิวเตอร์การศึกษา-ภาษาไทย
จะเรียนเหมือนกันทุกอย่าง เพราะวิชาเอกทั้งสองใช้หลักสูตรเดียวกัน แต่จะแตกต่างตรงที่วุฒิการศึกษาในปริญญาบัตร
- คนแรกจะเป็น ครุศาสตรบัณฑิต (มัธยมศึกษา)
- อีกคนเป็นครุศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการศึกษา)
แต่ชื่อวุฒิการศึกษาไม่มีผลต่อการทำงานหรือการสอบบรรจุ เพราะเมื่อไปสมัครทำงานหรือสมัครสอบบรรจุเจ้าหน้าที่จะพิจารณา Transcript เพื่อตรวจสอบว่าเรียนวิชาเอกใด ซึ่งหากเรียนวิชาเอกคู่ Transcript ก็จะแสดงทั้งสองวิชาเอก ก็สามารถทำงาน ศึกษาต่อ หรือสอบบรรจุคู่ได้ทั้ง 2 วิชาเอก
ความคิดเห็น