ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    What The Genius ?

    ลำดับตอนที่ #11 : ความเชื่อมั่นในตนเอง (Self confident)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 16.38K
      11
      12 เม.ย. 48

    ความเชื่อมั่นในตนเอง หมายถึง การที่เรามีความรู้สึก หรือความคิด ความเชื่อว่าตนเองสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้ (อุษณีย์ โพธิสุข. 2542 : 57)

        ความเชื่อในตนเอง หมายถึง ความมั่นใจ หรือความกล้าของบุคคลที่จะทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จได้ตามที่ตนได้ตั้งใจไว้ แม้ว่าจะมีอุปสรรคก็ยังไม่ทำให้เกิดความย่อท้อ ยังคงสามารถทำสิ่งนั้น ๆ ต่อไป โดยมีความมั่นใจว่าตนสามารถที่จะกระทำสิ่งนั้นให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความถูกต้อง

        บุคคลที่มีความเชื่อในตนเองมักจะกล้าตัดสินใจด้วยตนเองเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน สามารถทำให้ตนประสบความสำเร็จในการงานได้ มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆ และสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ ซึ่งความเชื่อมั่นในตนเองดังกล่าวนี้เป็นบุคลิกภาพที่ดีอย่างหนึ่งที่ควรปลูกฝังให้กับเด็ก



        1 .องค์ประกอบของความเชื่อมั่นในตนเอง

        พฤติกรรมของผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีลักษณะดังนี้



        1. กล้าในการคิด การพูด และการกระทำ

        2. มีจิตใจมั่นคง ไม่เชื่อคนง่าย มีเหตุผล

        3. มีความรอบคอบ มีแผนงาน

        4. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ชอบทำสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ

        5. มีความกล้าเสี่ยง (กล้าได้กล้าเสีย)

        6. มีลักษณะนิสัยชอบแสดงตัว

        7. ไม่มีความวิตกจนเกินไป

        8. มีความเป็นผู้นำ

        9. เป็นผู้ที่รักในความยุติธรรม

        10. ชอบช่วยเหลือหมู่คณะ

        11. ชอบอิสระ ไม่โอ้อวด

        12. ตั้งจุดมุ่งหมายไว้สูง และคิดว่าจะทำได้สำเร็จ

        13. มีความเกรงใจ และเห็นใจผู้อื่น

         (ชูชีพ อ่อนโคกสูง. 2516 : 25-28)

        

        2. วิธีการช่วยให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง



        1. ลดการลงโทษ เพราะผลจากการวิจัยหลายแห่งพบว่า กว่า 80% ของเด็กที่ขาดความมั่นใจในตนเอง สาเหตุเกิดจากการถูกลงโทษ ถูกบังคับ ตีกรอบต่างๆ ไม่ให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง ไม่กล้าคิดออกนอกลู่นอกทางของพ่อแม่หรือการที่คุณครูชอบลงโทษเด็ก ชอบบังคับเด็ก ชอบสั่งเด็กให้อยู่ในกรอบ จนทำให้เด็กขาดความมั่นใจในตนเอง



        2. ลดการตามใจเด็กจนเกินขอบเขต เด็กบางคนพ่อแม่มักตามใจ ไม่ลงโทษเด็ก เลี้ยงเด็กแบบทนุถนอมจนเกินไป จนเด็กไม่รู้ว่าอะไรคือความถูกต้อง จนทำให้เด็กเกิดความไม่มั่นใจในการแสดงออกของตนเอง



        3. สร้างโอกาสแห่งความสำเร็จให้แก่เด็ก โดยสังเกตดูว่าลูกชอบอะไร ทำอะไรได้ดี ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะไม่อยู่ในหลักสูตรก็ตาม ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถทำให้เด็กเกิดความสำเร็จ เกิดความมั่นใจในตนเองได้ ล้วนเป็นสิ่งที่ดีที่พ่อแม่และคุณครูควรปลูกฝังให้โอกาสให้เด็กพบกับความสำเร็จ ก็จะทำให้เด็กเชื่อมั่นในตนเองได้



        4. สร้างประสบการณ์จากสิ่งที่ง่ายไปหายาก เพราะถ้าให้งานเด็กยากเกินไป แต่ความสามารถของเด็กน้อย ก็ทำให้เด็กขาดความเชื่อมั่น แต่ถ้างานง่าย ความสามารถของเด็กมีมาก ก็ยิ่งทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น การที่พ่อ แม่ หรือครู เร่งรัดให้เด็กเร่งเรียนเร็วเกินไป ในขณะที่เด็กยังไม่พร้อม ทำให้เด็กขาดความสุข ขาดความมั่นใจในตนเอง



        5. ฝึกให้ลูกทำงานกลุ่ม การที่ลูกได้ทำงานกลุ่มย่อยๆ ทำให้เด็กได้มีโอกาสในการแสดงความคิด ความรู้สึกมากขึ้น การที่เด็กได้เข้าร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่มย่อย ๆ ทำให้เด็กกล้าแสดงออก มีความมั่นใจในตนเอง เพราะเมื่อเด็กได้ทำกิจกรรมกลุ่มกับเพื่อน จะทำให้เด็กรู้จักการแบ่งงานกันทำตามความถนัดและความต้องการของแต่ละคน ทำให้เด็กมีความรู้สึกดี ๆ กับตนเองมากขึ้น



        6. การให้กำลังใจลูกอย่างเหมาะสม เมื่อลูกทำดีหรือแสดงความสามารถออกมา พ่อ แม่ ควรชมลูกว่า \"ลูกเก่ง\" \"ลูกทำดี\" ฯลฯ เพราะโดยปกติเด็กจะมีพฤติกรรมอะไรขึ้นอยู่กับความเห็นของผู้ใหญ่เป็นสำคัญ พ่อ แม่ ควรบอกลูกเสมอว่าลูกทำได้ แต่ไม่ใช่ชมเกินความจริง เพราะจะทำให้เด็กเกิดความไม่มั่นใจมากขึ้น



        7. ให้อิสระทางความคิดและการตัดสินใจ เด็กจำนวนมากที่ไม่มั่นใจในตนเอง เพราะพ่อ แม่ ไม่เคยปล่อยให้เด็กได้ทำอะไรด้วยตนเอง คอยควบคุมดูแลอยู่ในสายตาไม่ให้แตกแถว สิ่งเหล่านี้แทนที่จะทำให้ลูกดีแต่กลับกลายเป็นการทำให้ลูกขาดความมั่นใจในตนเองมากขึ้นเสียอีก



        8. ฝึกการสร้างความเชื่อมั่น เช่น ฝึกสูดลมหายใจลึก ๆ ก่อนพูดกับผู้อื่น ฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ



        9. ฝึกการวางตัวทางสังคม ควรฝึกไว้ล่วงหน้า เช่น การแนะนำ การแสดงการทักทาย การดูแลแขกแทนที่จะไปบอกให้ทำอย่างไรขณะพบหน้าคน



        10. ฝึกการตัดสินใจ ให้ลูกเริ่มจากกิจวัตรประจำวัน เช่น การเลือกเสื้อผ้า การฝึกให้ลูกได้ฝึกการแก้ไขปัญหาที่ลูกพอจะทำได้ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้นได้ (อุษณีย์ โพธิสุข. 2542 : 60-62)
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×