ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    What The Genius ?

    ลำดับตอนที่ #10 : ความคับข้องใจ (Frustration)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.37K
      3
      12 เม.ย. 48

    ความคับข้องใจ (Frustration) หมายถึง ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเนื่องจากไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตนเองได้ บุคคลใดก็ตามที่สามารถสนองความต้องการทุกอย่างได้ในทันทีที่เกิดความต้องการ บุคคลนั้นก็จะไม่มีความคับข้องใจ แต่คนเราไม่สามารถที่จะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปได้ดังใจที่ปรารถนา อาจเป็นเพราะมีอุปสรรคหรือมีความขาดแคลนบางอย่าง มีผลทำให้เกิดความขุ่นเคืองใจหรือความคับข้องใจ ดังนั้น เมื่อไม่เป็นไปตามที่คิดไว้คนเราจึงต้องพบกับปัญหาอยู่เสมอ ๆ

    ความคับข้องใจนี้เด็กที่มีความเฉลียวฉลาดหรือเด็กที่มีความสามารถพิเศษมักจะประสบอยู่เสมอ



    เนื่องจากมีความคิดและการกระทำอะไรรวดเร็วจนคนทั่วไป หรือเพื่อน ๆ คิดไม่ทัน ทำให้เกิดความรู้สึกว่าไม่มีใครเข้าใจสิ่งที่ตนคิดและพูด จึงมีผลทำให้เกิดความคับข้องใจเกิดขึ้น ดังนั้น พ่อ แม่ ครู จึงควรมีความเข้าใจในตัวเด็ก และช่วยให้เด็กได้ผ่อนคลายและหาทางออกที่ดี เพื่อที่เด็กจะได้สร้างสรรค์ผลงานและสิ่งที่ดี ๆ มีประโยชน์ให้กับสังคมได้ แนวทางแก้ไขสามารถใช้วิธีคล้ายคลึงกับการช่วยเหลือเด็กที่ชอบทำอะไรแบบสมบูรณ์ ไม่มีที่ติ (Perfectionism) ได้

        

        1. กระทำทุกอย่างให้สมบูรณ์ไม่มีที่ติ (Perfectionism)

        ลักษณะของการที่ต้องการทำอะไรทุกอย่างให้สมบูรณ์โดยไม่มีที่ตินั้น เป็นความสามารถที่โดดเด่น หนึ่งในจำนวนกลุ่มของพวกเด็กปัญญาเลิศทั้งหลาย ซึ่งต้องการเป็นคนดีพร้อมทุกสิ่งไม่มีที่ติ

        ลักษณะของเด็กที่มีนิสัยต้องการทำอะไรสมบูรณ์ไม่มีที่ติ พอสังเกตได้ ซึ่ง Adderholdt. 1987 ได้กล่าวไว้ดังนี้



        1. ความหงุดหงิดและโกรธอยู่เกือบตลอดเวลา

        2. พูดเร็ว เดินเร็ว รับประทานเร็ว

        3. ชอบการแข่งขันอย่างมาก

        4. จัดเวลาทำงานมากขึ้นกว่าเดิม เล่นน้อยกว่าเด็กทั่วไป

        5. ชอบทำอะไรสองอย่างในเวลาเดียวกัน เช่น ทำไปด้วยกินไปด้วย พูดโทรศัพท์ไปด้วย อ่านหนังสือไปด้วย

        6. ไม่ค่อยผ่อนคลายความตึงเครียด

        7. ไม่มีความอดทน เช่น เกลียดการยืนรอคิวยาว ๆ

        8. มีความภาคภูมิใจที่จะทำอะไรเร็วขึ้น ๆ

        9. ไม่ค่อยรับรู้เรื่องความงดงามหรือมีสุนทรีย์เกี่ยวกับธรรมชาติ เท่าไรนัก

        10. ไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น



        จากลักษณะที่สังเกตได้ 1-10 เกือบทั้งหมดก็อาจต้องทำให้เด็กเกิดปัญหาในอนาคตทั้งกายและใจได้ เช่น อาจไม่สำเร็จทุกครั้งที่ทำงานเด็กจะรับได้หรือไม่ คนเช่นนี้มักมีปัญหาทางสุขภาพ เช่น ความดันสูง เส้นเลือดในสมองแตก เป็นโรคหัวใจ มีอารมณ์โกรธ หงุดหงิด หากทำอะไรแล้วไม่ได้เสร็จสมบูรณ์ตามที่ใจตนปรารถนา เด็กก็จะเกิดความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้น ๆ กับตนเองและสังคมรอบด้าน หากมีคนเข้าใจแล้วหาทางช่วยผ่อนคลาย เด็กก็จะมีความสุข ความสบาย



        การที่เด็กชอบทำอะไรให้เสร็จสมบูรณ์ไม่มีที่ตินั้น พบว่าทางบ้านของเด็กที่พ่อแม่มักเข้มงวดและคาดหวังในตัวลูกมากเกินความเป็นจริง จึงทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กลักษณะเช่นนี้ ในบางกรณีมีเด็กระดับฉลาด ๆ หลายคนซึ่งไม่สามารถจัดการตนเองให้สมกับความคิดของตนได้ ความรู้หลาย ๆ อย่างที่เด็กมีนั้นอาจนำพาให้เด็กไปสู่ความลำบากได้ และบางรายอาจถึงแก่ชีวิตได้ หากพบว่าเด็กในครอบครัวมีอาการดังกล่าวต้องรีบให้ความช่วยเหลือและแก้ไขโดยด่วน ก่อนที่จะสายเกินไปหรือขอคำปรึกษาจากนักจิตวิทยา

        

        2. วิธีการผ่อนคลายหรือลดอาการความเป็นคนสมบูรณ์ไม่มีที่ติ ดังนี้



        1. ออกกำลังกายเพื่อปั้มออกซิเจนขึ้นสมอง โดยเฉพาะในช่วงเวลาสอบ สมองต้องการออกซิเจนมากเป็นพิเศษ อย่าฝึกให้ลูกดื่มกาแฟก่อนสอบ ให้ออกกำลังกายสักครู่เด็กก็จะรู้สึกดีขึ้น



        2. ฟังเพลงคลาสสิก ฟังเพลงเบาๆ ช่วยผ่อนคลายความเคร่งเครียด บางคนชอบความเงียบก็ควรตามใจ แต่ถ้าเพลงที่ดังเกินไปก็ไม่ช่วยอะไร นอกจากจะทำให้เกิดความเครียดยิ่งขึ้น



        3. ให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการ ในปัจจุบันมีการศึกษาถึงผลของอาหารที่มีต่ออารมณ์ ความคิด สภาพชีวเคมีในร่างกาย เด็กเครียด ๆ มักจะชอบกินของหวานและมักจะกินของที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น น้ำอัดลม ขนม ลูกกวาด ฯลฯ พยายามฝึกให้ลูกหลีกห่างจากสิ่งเหล่านี้ เพราะสารเคมีต่าง ๆ จะทำให้เป็นเด็กลุกลี้ลุกลนอยู่นิ่งไม่ได้ อาจหาอะไรที่ไม่หวานขบเคี้ยวจะได้ตื่นเต้น



        4. ฝึกสมาธิหรือการผ่อนคลายกล้ามเนื้อคลายความเครียดต่าง ๆ เช่น การเปิดเพลงเบา ๆ และคิดไปตามเพลง โดยลดความกังวล สร้างจินตนาการต่าง ๆ ตามเสียงเพลง ใช้เทคนิคใด ๆ ก็ได้ที่ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง การลดความตึงเครียดจึงถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับเด็กประเภทนี้ ซึ่งจะป้องกันอันตรายในอนาคตไม่ให้เด็กเกิดความเครียดได้



        5. นอนพักเวลาเหน็ดเหนื่อยมาก ๆ ถึงแม้ว่าไม่ใช่เวลานอน การฝึกให้หลับสักครู่เป็นเวลาสั้น ๆ สักครึ่งชั่วโมงก็ทำให้หายเครียดได้



        6. พยายามหาทางให้เด็กอธิบายความคิดของเขาให้คนอื่นเข้าใจ ให้เขาหาเพื่อนที่ไว้ใจใกล้ชิดพูดความลับต่าง ๆ ได้อย่างเปิดอก ให้พ่อ แม่ ได้รู้จักเพื่อนๆ ของลูก และทำให้ลูกไม่รู้สึกเหมือนพ่อ แม่ เป็นคนอื่น



        7. หาหนทางให้เด็กมีโอกาสศึกษาหลักปรัชญาหรือธรรมทางศาสนา ต่าง ๆ เพราะจะช่วยเป็น \"แสงส่องทาง\" ที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างคาดไม่ถึง เพราะหลักศาสนาเปรียบเหมือน \"ยาวิเศษ\" สำหรับเด็กฉลาด พ่อ แม่ อาจเริ่มจากการที่เด็กเริ่มอ่านนิทานธรรมะ กฎแห่งกรรมง่าย ๆ ก่อน จนกระทั่งเด็กสนใจพอจึงให้ศึกษาธรรมะชั้นสูงขึ้น



        ในกรณีที่ครูสังเกตเห็นเด็กนักเรียนมีความเครียด มีความกดดัน ควรรีบหาทางพูดกับเด็กโดยด่วน อย่าทิ้งไว้ข้ามคืน เพราะเสี่ยงต่อผลที่อาจเกิดจากการที่เด็กถูกทิ้งให้คิดเอง แก้ปัญหาเอง ครูควรร่วมมือกับพ่อ แม่ รีบช่วยสะสางปัญหาต้นเหตุ และช่วยชี้แนะแนวทางด้วยความเข้าใจ ความรู้สึกของเด็ก การรับรู้ และเข้าใจความคิดและความรู้สึกของเด็กเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องสนใจ ส่วนความถูกต้องเป็นเรื่องรองของเขา (อุษณีย์ โพธิสุข. 2542)
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×