คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : Bio ❤ Carbohydrate
Organic Substance (สารอินทรีย์)
1. Carbohydrate
Carbo (C = Carbon) Hydrate (Water = H2O)
คาร์โบไฮเดรตจึงเท่ากับ คาร์บอนที่อิ่มไปด้วยน้ำ
คาร์โบไฮเดรต หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แซ็กคาร์ไรด์ (Saccharide) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ทำหน้าที่ ให้พลังงานแก่สิ่งมีชีวิต เพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิตหรือสร้างสารอื่นๆ ต่อไป
คาร์โบไฮเดรตประกอบด้วย C, H, O ในอัตราส่วน H : O เท่ากับ 2 : 1 มีสูตรโมเลกุลเป็น (CH2O)n โดยการเรียงตัวจะเป็นแบบ Polyhydroxy aldehyde และ Polyhydroxy ketone
** Polyhydroxy aldehyde เป็นการเรียงตัวที่มีหมู่อัลดีไฮด์เกาะอยู่ [Aldehyde (CHO) group] เรียกว่าน้ำตาล Aldose (Glucose, Galactose) ส่วน Polyhydroxy ketone เป็นการเรียงตัวที่มีหมู่คีโตนเกาะอยู่ [Ketone (C=O) group] เรียกน้ำตาลคีโตส (Fructose)
แหล่งที่พบคาร์โบไฮเดรต
ในธรรมชาติพบคาร์โบไฮเดรตได้ทั้งในพืช สัตว์ และ จุลินทรีย์ โดยพืชสีเขียวจะเป็นผู้สังเคราะห์คาร์โบไฮเดรต โดยอาศัยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) ผลจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชจะได้คาร์โบไฮเดรตในรูปของน้ำตาลกลูโคส
น้ำตาลกลูโคสที่พืชสังเคราะห์ได้ จะถูกนำไปใช้ในการสังเคราะห์เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนชนิดต่าง ๆ เช่น ไดแซ็กคาไรด์ (disaccharide) โอลิโกแซ็กคาไรด์ (oligosaccharide) และ พอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของโครงสร้างของเนื้อเยื่อพืชและเป็นส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น เซลลูโลส (cellulose) เฮมิเซลลูโลส (hemicelluloses) แป้ง (starch) และ กัม (gums) เป็นต้น คาร์โบไฮเดรตจะอยู่ในอาหารประเภท ข้าว แป้ง และน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ สำหรับสัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์กลูโคสได้ด้วยตนเองต้องได้รับจากพืชเท่านั้น เมื่อเราบริโภคพืชเข้าไป คาร์โบไฮเดรตจากพืชจะถูกย่อยสลายให้มีโมเลกุลที่เล็กลงจนได้น้ำตาลกลูโคสซึ่งจะถูกเปลี่ยนให้เป็นพลังงานต่อไปโดยอาศัยกระบวนการที่เรียกว่า Metabolism
ความสำคัญของคาร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรตมีบทบาทสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตในพืชและสัตว์ ดังนี้
1. เป็นแหล่งกำเนิดและสะสมพลังงานทางเคมีของสิ่งมีชีวิต คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรตที่เป็นแหล่งสะสมพลังงาน ได้แก่ น้ำตาลไรโบส กลูโคสและไกลโคเจน เป็นต้น
2. ช่วยสงวนโปรตีนเอาไว้สำหรับสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อเพราะถ้าร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตอย่างเพียงพอแล้วร่างกายจะไม่นำเอาโปรตีนมาสลายให้พลังงาน
3. เป็นโครงสร้างที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต เช่น เป็นโครงสร้างของพืชได้แก่ เซลลูโลส เป็นโครงร่างแข็งภายนอกของสัตว์พวก หอย ปู กุ้ง แมลงต่าง ๆ ได้แก่ ไคติน (chitin) เป็นต้น
4. เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของโมเลกุลที่ทำหน้าที่ควบคุมสารพันธุกรรมได้แก่ น้ำตาลไรโบส ในกรดไรโบนิวคลีอิก (RNA) และน้ำตาลดีออกซีไรโบสในกรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (DNA)
5. เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ ช่วยในกระบวนการจดจำระหว่างเซลล์ (cell recognition)
6. ช่วยในการขับถ่ายและช่วยเร่งให้สารพิษถูกขับออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น
ประเภทของ Carbohydrate
- Monosaccharide (น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว)
มีคาร์บอน 3-7 อะตอม โดยการเรียกชื่อจะเรียกตามจำนวน C-Atom เช่น
C3H6O3 = Triose (ไตรโอส)
C4H8O4 = Tetrose (เทโทรส)
Tip การนับเลขภาษากรีก
1 = Mono
2 = Di
3 = Tri
4 = Tetra
5 = Penta
6 = Hexa
7 = Hepta
8 = Octa
9 = Nona
10 = Deca
1. Pentose Sugar
มีคาร์บอน 5 อะตอม ...น้ำตาลที่สำคัญๆ ได้แก่
1.1 Ribose Sugar
(C5H10O5)
Ribose Sugar เป็นส่วนประกอบสำคัญในโมเลกุล RNA (Ribonucleic Acid) สารพลังงานสูง ATP (Adenosine Triphosphate) NAD (Nicotinamide Adenine Dinucleotide) และ NADP (Nicotinamide Adenine Dinucleotide Phosphate)
ซึ่ง RNA จะมีความสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์ไรโบโซมและโปรตีน ส่วนสารให้พลังงานสูงจะความสำคัญในกระบวนการหายใจและสังเคราะห์สารหลายชนิด
1.2 Deoxyribose Sugar
(C5H10O4)
Deoxyribose Sugar เป็นส่วนประกอบสำคัญใน DNA (Deoxyribonucleic Acid) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่อยู่ในโครโมโซม โดยทำหน้าที่ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ในเซลล์
นอกจากนี้ DNA ยังมีหน้าที่ในการสังเคราะห์ RNA อีกด้วย
ความแตกต่างทางโครงสร้างของ Ribose Sugar กับ Deoxyribose Sugar
คำว่า De ของ Deoxyribose Sugar คือคำว่าเอาออกหรือดึงออก
>>ดึง O จาก C ตำแหน่งที่สองของน้ำตาลไรโบสออก = ดีออกซีไรโบส<<
(C5H10O5)
ทำหน้าที่ จับ CO2 ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงในช่วงปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสง
2. Hexose Sugar
มีคาร์บอน 6 อะตอม ...น้ำตาลที่สำคัญๆ ได้แก่
2.1 Glucose or Dextrose
ได้มาจากการสังเคราะห์แสงของพืช ผัก ผลไม้ กลูโคสมีชื่อเรียกทางการค้าว่า เด็กซ์โทรส (Dextrose) ในทางการแพทย์เรียกน้ำตาลในเลือด (blood sugar) กลูโคสพบมากที่สุดในผลไม้โดยเฉพาะองุ่นสุก จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า น้ำตาลองุ่น (grape sugar) กลูโคสเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญเพราะร่างกายสามารถนำเอาไปใช้ได้ทันที เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถทานอาหารได้จึงให้กลูโคสทางเลือด ในเลือดจะมีกลูโคสประมาณ 8 % และจะพบกลูโคสในปัสสาวะน้อยมาก (<2%) ถ้าพบกลูโคสในปัสสาวะมากบ่งบอกว่าบุคคลนั้นอาจเป็นโรคเบาหวานได้
(C6H12O6)
- เป็นน้ำตาลที่มีความสำคัญมากที่สุด
- พบมากในองุ่น จึงเรียกว่า น้ำตาลองุ่น
- เป็นสารอาหารหลักในการสลายให้พลังงานแก่สิ่งมีชีวิต
- สลายให้พลังงานได้รวดเร็ว จึงเหมาะสำหรับผู้ต้องการพลังงานรีบด่วน
- มีมากที่สุดในธรรมชาติ
- เป็นองค์ประกอบหลักของ แป้ง ไกลโคเจน แลเซลลูโลส
- มีคุณสมบัติในการรีดิวซ์สารละลายเบเนดิกต์ ให้ตะกอนสีแดงอิฐ
2.2 Galactose
เป็นส่วนประกอบของไกลโคลิพิดหรือไกลโคโปรตีนที่เยื่อหุ้มเซลล์และเนื้อเยื่อประสาท เป็นสารประกอบของ Galactosamine ในหมู่เลือด อยู่ในรูป Mucopolysaccharide ในกระดูกอ่อนและเนื้อเยื่อ ในธรรมชาติกาแลกโทสจะอยู่ในรูป D-isomer
(C6H12O6)
- มีโครงสร้างคล้ายกับ glucose มากที่สุด
- ไม่ค่อยพบเป็นอิสระในธรรมชาติ มักพบเป็นหน่วยย่อยของน้ำตาลแลกโทส
- เป็นส่วนประกอบสำคัญในกาแลกโทลิพิด
- เป็นองค์ประกอบของวุ้นที่สกัดจากสาหร่ายสีแดง
Galactose จะมีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ของ C ตำแหน่งที่ 4 สลับข้างกับ glucose แค่ตำแหน่งเดียว
2.3 Fructose
มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เลวูโลส (laevulose) จัดเป็นน้ำตาลคีโทสชนิดเดียวที่พบในธรรมชาติ มีโครงสร้างได้ทั้งแบบเส้นตรง (ซึ่งจะอยู่ในรูป D-isomer) และแบบวงแหวน ถ้าเป็นโมเลกุลอิสระจะอยู่ในรูปวงแหวนพีแรโนส แต่ถ้าอยู่รวมกับโมเลกุลของสารอื่นจะอยู่ในรูปวงแหวนฟูแรโนส เช่น รวมอยู่ในโมเลกุลของอินซูลินและซูโครส ฟรักโทสเป็นมอโนแซ็กคาไรด์ที่มีผลึกสีขาว ละลายน้ำได้ดีที่สุด และมีความหวานมากที่สุด (หวานกว่ากลูโคสถึง 2 เท่า) ส่วนใหญ่จะพบในผลไม้ที่มีรสหวาน เช่น อ้อย และน้ำผึ้ง สามารถใช้ฟรักโทสแทนน้ำตาลทรายได้ นิยมใช้สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่จะมีราคาแพงกว่าน้ำตาลทราย
(C6H12O6)
- พบในน้ำผึ่ง
- เป็นน้ำตาลที่มีรสหวานที่สุด
- ละลายน้ำได้ดีที่สุด
- เป็นน้ำตาลคีโตเฮกโซส มีหมู่คีโตนอยู่ที่ C ตำแหน่งที่ 2
- ให้พลังงานแก่ตัวอสุจิ
2.4 Mannose
จัดเป็นน้ำตาลอัลโดส ได้จากการสลายสารแมนแนน (Mannan) ในยางไม้ของพืช ในคนจะรวมกับโปรตีนหลายชนิด ในธรรมชาติจะอยู่ในรูป D-isomer
(C6H12O6)
- พบในธรรมชาติน้อยมาก
- มีโครงสร้างคล้าย glucose ต่างกันที่หมู่ (-OH) ตำแหน่งที่สองที่สลับกัน
- ไม่มีความสำคัญทางโภชนาการ
- Oligosaccharide
เป็น Carbohydrate ที่ประกอบขึ้นจากน้ำตาลโมกุลเดี่ยว 2-10 โมเลกุล มาจับรวมกับพันธะไกลโคซิดิก ...ที่สำคัญได้แก่
1. Disaccharide
เป็นน้ำตาลที่ประกอบด้วย Monosaccharide 2 โมเลกุล เชื่อมด้วย Glycosidic bond
น้ำตาลที่สำคัญๆ ได้แก่
1.1 Maltose
เป็นน้ำตาลที่ประกอบด้วยน้ำตาล D-กลูโคส 2 โมเลกุลมาเชื่อมกันด้วยพันธะไกลโคซิดิก ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างหมู่ -OH ที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 1 ของน้ำตาลตัวแรกกับหมู่ -OH ที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 4 ของน้ำตาลตัวที่สอง ด้วยพันธะแอลฟา 1, 4 ไกลโคซิดิก
(Glucose + Glucose ด้วยแอลฟา 1-4 glycosidic bond)
- พบได้จากต้นถั่ว, ข้าวมอลต์ที่กำลังเจริญเติบโต
- มีคุณสมบัติเป็นน้ำตาลรีดิวซ์
1.2 Sucrose
(Glucose + Fructose ด้วยแอลฟา 1-2 glycosidic bond)
- เป็นน้ำตาลที่ได้จากอ้อยและบีท
- รู้จักกันดีในนาม “น้ำตาลทราย”
1.3 Lactose
แลกโทสเป็นน้ำตาลรีดิวซิง ในธรรมชาติพบได้ในน้ำนม ในน้ำนมคนจะมีแลกโทสประมาณ 7.5 % และในน้ำนมวัวมีแลกโทสประมาณ 4.5 % ในร่างกายคนจะมีเอนไซม์แลกเทส (lactase) ย่อยสลายแลกโทสให้ได้กลูโคสและกาแลกโทสอย่างละ 1 โมเลกุล
(Galactose + Glucose ด้วยเบต้า 1-4 glycosidic bond)
-เป็นน้ำตาลที่พบในนม หรืออาจพบในปัสสาวะของหญิงมีครรภ์
-แบคทีเรียสามารถเปลี่ยนน้ำตาลแลกโทสให้กลายเป็นกรดแลกทิกได้ ซึ่งทำให้นมมีรสเปรี้ยว
** ในผู้ใหญ่บางคนที่มีเอนไซม์แลกเทสน้อยทำให้ไม่สามารถย่อยน้ำนมได้ ดังนั้นเมื่อดื่มนมเข้าไปจึงมีอาการท้องเสียหรือไม่ก็ปวดท้อง
(Glucose + Glucose ด้วยเบต้า 1-4 glycosidic bond)
- ได้จากการย่อยเซลลูโลสอย่างไม่สมบูรณ์ด้วยเอนไซม์เซลลูเลสที่มีอยู่ในแบคทีเรีย
2. Trisaccharide
ประกอบด้วย monosaccharide 3 โมเลกุล ที่พบในธรรมชาติคือแรพฟิโนส (Raffinose) ซึ่งพบได้จากหัวบีทและอ้อย
(Galactose + Glucose + Fructose ด้วย glycosidic bond)
**Tip คาร์โบไฮเดรทขนาดใหญ่ เช่น polysaccharide จะไม่แสดงคุณสมบัติ reduce เนื่องจากโมเลกุลจะไปบดบังหมู่ aldehyde/ ketone อิสระ
- Polysaccharide
น้ำตาลโมเลกุลใหญ่ ประกอบด้วย monosaccharide ตั้งแต่สิบถึงหลายร้อยโมเลกุล ต่อด้วย glycosidic bond การต่อกันมีทั้งลักษณะที่เป็นสายโซ่ยาวหรือแตกกิ่งก้านสาขา มีสูตรทั่วไปเป็น (C6H10O5) ...ที่สำคัญได้แก่
1. Homopolysaccharide
ประกอบด้วย monosaccharide ชนิดเดียวกัน ได้แก่...
1.1 Starch
เป็นโพลีฯ ที่สะสมอยู่ในพืชจำพวก หัวเผือก หัวมัน เมล็ดข้าว
ซึ่งยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1.1.1 Amylose
ประกอบด้วย glucose หลายพันหน่วยต่อกันด้วย 1-4 glycosidic bond
- เป็นโซ่ยาว ไม่แตกกิ่งก้านสาขา
- เป็นผงสีขาว, ไม่มีรสหวาน
- เมื่อละลายน้ำจะขุ่นขาว
- ทำปฏิกิริยากับไอโอดีน ได้สีน้ำเงินเข้ม
- น้ำย่อยที่ย่อยอะไมโลสคือ อะไมเลส
ประกอบด้วย glucose หลายพันหน่วยต่อกันด้วย 1-4 glycosidic bond
- แตกแขนงเป็นโซกิ่งด้วยพันธะ 1-6 ไกลโคซิดิก
- แต่ละแขนงจะประกอบด้วย glucose ประมาณ 12 หน่วยย่อย
- การแตกกิ่งจะห่างกันประมาณ 24-30 หน่วย จึงจะมีการแตกกิ่งครั้งหนึ่ง
- เมื่อทำปฏิกิริยากับไอโอดีน จะได้สีม่วงแดง
- พบได้เมล็ดพืชที่มีผิวลื่นมัน เช่น ข้าวโพด ข้าวเจ้า
- ไม่ละลายน้ำ
| |||
Name : งงอ่ะ [ IP : 113.53.170.225 ] |
(คำถามจากน้องคนหนึ่ง)
**Tip น่าสนใจทีเดียวสำหรับคำถามนี้
การทดสอบแป้งในสารละลายไอโอดีนทำให้เกิดสารเชิงซ้อนสีน้ำเงินเข้ม เนื่องจากแป้งที่เรานำมาทดสอบเป็นประเภทอะไมโลส แต่หากเรานำแป้งที่เป็นประเภทอะไมโลเพกทิน สารเชิงซ้อนที่ได้ก็จะเป็นสีม่วงแดง
คืออยากให้น้องเข้าใจ ..Homopolysaccharide จะแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ แป้งที่เป็นอะไมโลส (กลูโคส + กลูโคสหลายพันหน่วย ด้วยพันธะไกลโคซิดิก ...ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ละลายน้ำ) และแป้งที่เป็นอะไมโลเพกทิน (กลูโคส + กลูโคสหลายพันหน่วย ด้วยพันธะไกลโคซิดิก ...แตกกิ่งก้านสาขา ไม่ละลายน้ำ) ...คือมันไม่ใช่ อะไมโลส + อะไมโลเพกทิน = แป้ง แต่อะไมโลสคือแป้งชนิดหนึ่ง และอะไมโลเพกทินก็อีกชนิดหนึ่ง
ฉะนั้นไม่จำเป็นที่ อะไมโลส + ไอโอดีน = สีน้ำเงินเข้ม อะไมโลเพกทิน + ไอโอดีน = สีม่วงแดง แล้ว แป้ง + ไอโอดี จะเท่ากับ สีน้ำเงินผสมม่วง เพราะนี้ไม่ใช่วิชาศิลปะที่จะต้องมานั่งผสมสี
เข้าใจแล้วใช่ไหมคะ :)
1.2 Glycogen
ประกอบด้วย glucose หลายพันหน่วยต่อกันด้วย 1-4 glycosidic bond
- เป็นพอลิแซคคาไรด์ที่สะสมอยู่ในกล้ามเนื้อลาย และตับสัตว์
- เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของมนุษย์
- มีการแตกแขนงมากกว่าอะไมโลเพกทิน คือ ประมาณ 8-12 หน่วยต่อการแตกกิ่งก้านสาขาหนึ่งครั้ง และแต่ละโซ่กิ่งมี glucose ประมาณ 12-18 หน่วยย่อย ด้วยพันธะ 1-6 ไกลโคซิดิก
- เมื่อทำปฏิกิริยากับไอโอดีน จะได้สีม่วงแดง
1.3 Cellulose
ประกอบด้วย glucose ประมาณสามพันหน่วยต่อกันด้วยเบต้า 1-4 glycosidic bond
- เป็นสารที่พบในผนังเซลล์ของพืช
- เป็นสารอินทรีย์ที่มีมากที่สุดในโลก
- มีความคงตัวสูง และทนทานต่อการสลายด้วยกรด
- เอนไซม์ที่ย่อยเซลลูโลส คือ เซลลูเลส
- สามารถนำมาเป็นแหล่งพลังงานในสัตว์เคี้ยวเอื้อง
1.4 Pectin
ประกอบด้วยอนุพันธ์ของกาแลกโทส ชื่อ “เมทิลกาแลกทูโรเนต” ต่อกันด้วยพันธะไกลโคซิดิก
- พบในผนังเซลล์พืชและเปลือกผลไม้ต่างๆ
- และยังสามารถพบได้ในส่วนของรากและใบที่เป็นสีเขียวของพืชด้วย
1.5 Chitin
ประกอบด้วยอนุพันธ์ของกลูโคส คือ “glucosamine” ต่อกันเป็นโซ่ยาวด้วยพันธะไกลโคซิดิก
- เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ของรา กระดองปู เปลือกกุ้ง แมลง
- ไม่ละลายน้ำ และไม่สามารถย่อยสลายด้วยน้ำย่อยของร่างกาย
2. Heteropolysaccharide
ประกอบด้วย Monosaccharide ต่างชนิดกัน ได้แก่...
2.1 Hyaluronic Acid
ประกอบด้วยอนุพันธ์ glucose 2 ชนิด คือ Glucuronic acid + Glucosamine เชื่อมกันมากกว่า 5000 หน่วย
- มีลักษณะเป็นเมือกใส
- พบในส่วนเนื้อเยื่อยึดเหนียว, น้ำเลี้ยงลูกตา, สายสะดือ
- สลายได้โดยเอนไซม์ hyaluronidase
2.2 Heparin
เป็นมิวโคพอลีฯ ที่ประกอบด้วยอนุพันธ์ของกลูโคส 2 ชนิดสลับกัน คือ Glucuronic sulfate + Glucosamine sulfate
- พบได้ที่พนังเส้นเลือด, ตับ, ปอด, ม้าม
- ช่วยป้องกันไม่ให้เลือดเกิดการแข็งตัว
2.3 Chondroitin Sulfate
เป็นมิวโคพอลีฯ ที่ประกอบด้วย Glucuronic acid + Galactosamine sulfate สลับกัน
- พบได้ในกระดูกอ่อน, เอ็น, ลิ้นหัวใจ, กระดูก, ผิวหนัง
- ช่วยป้องกันเนื้อเยื่อและเซลล์ของอวัยวะเหล่านั้น
ไม่เข้าใจตรงไหนถามได้นะคะ
FARRY' 25
ความคิดเห็น