ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    MUHAMMAD HiSTORY

    ลำดับตอนที่ #1 : Muhammad History © มูฮัมหมัด เด็กน้อยผู้กำพร้า

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 213
      0
      31 พ.ค. 55




     




     

     

           

     

              •• ปีช้าง

     

             คือปีที่กองทัพช้างที่นำโดย อับรอหะฮฺ อัลอัชรอม อุปราชแห่งฮะบะชะฮฺ (อบิสสิเนีย หรือเอธิโอเปียปัจจุบัน) หมายโจมตีมักกะฮฺ อับร่อหะฮฺนับถือศาสนาคริสต์ พวกเขาได้สร้างโบสถ์ คริสเตียน ที่ใหญ่โตในเมืองศอนอาอฺ (ซานา) ในยะมัน (เยเมน) เพื่อให้เป็นที่แสวงบุญของชาวคริสเตียนในอาระเบียและแอฟริกา และเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการค้าขายแห่งใหม่ในภูมิภาค เมื่อพวกเขาเห็นว่า กะบะฮฺในมักกะฮฺเป็นอุปสรรคต่อการเผยแพร่ศาสนาคริสเตียนและการดึงดูดผู้คนไปศอนอาอฺ จึงคิดทำลายกะบะฮฺ ด้วยเหตุนี้จึงกรีฑาทัพช้างมุ่งหน้าสู่พระมหานครมักกะฮฺในปี ค.ศ. 570

     

    เมื่อมาถึงชานเมืองมักกะฮฺ กองทัพของอับร่อหะฮฺก็ปล้นฝูงอูฐของอับดุลมุฏฏอลิบ ปู่ของนบีมุฮัมมัดไป 700 ตัว แล้วส่งทูตเข้ามาพบกับอับดุลมุฏฏอลิบผู้เป็นหัวหน้าชาวเมืองมักกะฮฺ เพื่อบอกจุดประสงค์ของการยกทัพมาครั้งนี้ว่า มาเพื่อถล่มทำลายกะบะฮฺ อับดุลมุฏฏอลิบจึงขอเจรจากับอับรอหะฮฺเป็นการส่วนตัว เมื่ออับดุลมุฏฏอลิบเข้าพบอับรอหะฮฺ เขาก็ขอร้องให้อับรอหะฮฺคืนอูฐที่ทหารปล้นไป อับรอหะฮฺจึงแปลกใจเหตุใดจึงไม่ได้ขอร้องเรื่องกะบะฮฺ อับดุลมุฏฏอลิบกล่าวว่า

     

    "อูฐเป็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงมาทวง ทว่ากะบะฮฺเป็นของอัลลอฮฺ จึงเป็นหน้าที่ของพระองค์ที่จะพิทักษ์ หรือจะปล่อยให้ชะตาของมันอยู่ในมือของท่าน"

     

    อับร่อหะฮฺรู้สึกแปลกใจในคำตอบนั้น จึงคืนอูฐทั้งหมดให้อับดุลมุฏฏอลิบ

     

    เมื่ออับดุลมุฏฏอลิบกลับไป ก็ป่าวประกาศให้ชาวมักกะฮฺหลบหนีออกจากพระมหานคร ไปซ่อนตัวตามภูเขาต่างๆ เพื่อไม่ให้ไพร่พลของอับร่อหะฮฺทำร้าย เมื่อทัพอับร่อหะฮฺเข้ามาถึงมักกะฮฺ ก็ปรากฏว่ามีฝูงนกบินว่อนเหนือพระมหานครจนมืดฟ้ามัวดิน แล้วนกแต่ละตัวก็ทิ้งก้อนหินลงมา จนทำให้ไพร่พลของอับรอหะฮฺล้มตายเป็นจำนวนมาก อับร่อหะฮฺเองจึงหนีกลับไปศอนอาอฺ แต่ก็มีนกตัวหนึ่งบินตามเขาไปตลอดทาง เมื่ออับรอหะฮฺเข้าพบกษัตริย์แห่งฮะบะชะฮฺก็เล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง กษัตริย์ถามว่า นกอะไรหรือที่ทำปาฏิหาริย์เช่นนั้น อับรอหะฮฺจึงเงยหน้าขึ้นชี้นกที่ติดตามเขามาตลอดทาง นกตัวนั้นก็ทิ้งก้อนหินตกลงมาบนศีรษะของเขา อับรอหะฮฺก็สิ้นชีพในบัดดล

     

    ในปีเดียวกัน มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในเปอร์เซีย เป็นเหตุให้ราชวังอะนูชิรวานของจักรพรรดิเปอร์เซียสั่นสะเทือนจนถึงรากเหง้าและพังทลายลง ยังผลให้ไฟศักดิ์สิทธิ์ในวิหารบูชาไฟของพวกโซโรอัสเตอร์ที่ลุกอยู่เป็นพันปีนั้นต้องดับลงไปด้วย

     

     

    •• จันทร์ที่ 12 รอบิอุลเอาวัล (เดือนแรกของฤดูใบไม้ผลิ)

     

    ท่ามกลางทะเลทรายที่ร้อนระอุและภูมิประเทศที่กันดารแห้งแล้ง มีแต่ทรายละเอียดที่ทับถมกันจนกลายเป็นภูเขาทราย ในสภาพนี้เองที่ทำให้ชาวทะเลทรายมีความเข้มแข็งและอดทนกล้าหาญ ไม่ยอมแพ้ต่อสิ่งอันตรายใดๆ จนกลายเป็นสังคมที่เกิดการนองเลือด ชิงดีชิงเด่น และทำให้เกิดความเสื่อมของสังคม และค่อยๆ รุนแรงตลอดมา

     

    เช่น ...การฝังทารกทั้งเป็น การดื่มสุรา การมัวเมาทางเพศ การปล้นสะดม การไร้การศึกษา และการบูชาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบๆ แม้แต่การเคารพภูตผีปีศาจรูปปั้น การเชื่อในโชคลาง และการไร้ซึ่งสัจจะ ซึ่งเรียกกันง่ายๆ ว่า สังคมงมงาย และเป็นสังคมที่ระบาดไปทั่วในหมู่อาหรับก่อนการกำเนิดท่านนบีมูฮัมหมัด ซ.ล. (ซอล ลัล ลอฮฺ ฮูอาลัย ฮีวาซัลลัม/หมายถึงขอ อัลลอฮฺโปรดประทานความสิริมงคลและความสันติสุขแด่ท่าน)

     

    หลังพายุฝุ่นหมดไปวันฟ้าใสก็เกิดขึ้น เมื่ออัลลอฮฺให้ท่านศาสดา มูฮัมหมัด กำเนิดมาบนโลกนี้ การกำเนิดของท่านมิใช่เหตุอื่นใด นอกจากเพื่อมาปราบล้างสังคมที่กำลังโหดร้ายทารุณและมีแต่ความยุ่งเหยิงไปทั่วทุกแห่งหน และสิ่งที่มีมาพร้อมกับท่านศาสดามูฮัมหมัด ซ.ล. ไม่ใช่ดาบหรือการมั่วสุมจัดกลุ่ม หากแต่สิ่งนั้นคือ ศาสนาอิสลาม นั่นเอง

     

    ท่านศาสดากำเนิดมาจากครอบครัวที่ยากจนเมื่อวันจันทร์ที่ 12 เดือน รอบิอุลเอาวัล ปีช้าง ตรงกับ ค.ศ. 571 ในตอนแรกเกิดวรกายของศาสดามุฮัมมัดมีรัศมีสว่างไสวและมีกลิ่นหอม เป็นศุภนิมิตบ่งถึงความพิเศษของทารก ศาสดามูฮัมหมัดเป็นบุตรของอับดุลลอฮฺกับนางอามีนะฮฺ เป็นคนในตระกูลฮาเช็ม อยู่ในเผ่ากูรอยช์ อับดุลลอฮฺผู้เป็นบิดามีอาชีพค้าขายและเสียชีวิตที่นครมาดีนะฮฺ ขณะที่ท่านศาสดามูฮัมหมัด ซ.ล. อยู่ในครรภ์มารดาได้เพียงสองเดือน เมื่อศาสดามูฮัมหมัด ซ.ล.คลอดออกมา มารดาก็ส่งให้ไปอยู่กับแม่นมตามชนบท

     

     

    •• แม่นม

     

    เป็นธรรมเนียมของชาวอาหรับที่จะส่งเด็กเกิดใหม่ให้ได้รับการเลี้ยงดูตามชนบท  เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติ อากาศที่บริสุทธิ์และอาหารที่ดี และจะทำให้เด็กมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีจิตใจเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ที่สำคัญในการดำเนินชีวิตของชาวอาหรับ ที่เต็มไปด้วยการต่อสู้อันเป็นสัญลักษณ์ของชนชาติอาหรับ และพบว่าในทุกๆ ปีจะมีแม่นมจากชนบทเดินทางเข้าไปในเมืองเพื่อรับจ้างเลี้ยงทารกที่เกิดใหม่  เพื่อที่จะได้รับค่าตอบแทน

     

    ในปีที่ท่านศาสดาเกิดได้มีแม่นมจำนวนหนึ่งไปรับจ้างเลี้ยงเด็ก แต่เมื่อถูกเสนอให้รับเลี้ยงศาสดามูฮัมหมัด พวกนางเหล่านั้นต่างปฏิเสธเนื่องจากการกำพร้าพ่อ ดังที่ฮาลีมะฮฺ ซะดียะฮฺได้กล่าวไว้ว่า

     

    "มารดาหรือลุงหรือปู่ของเด็กคงจะให้อะไรเราไม่ได้มาก"

     

    และฮาลีมะฮฺ ซะดียะฮฺเป็นแม่นมที่ไปถึงช้ากว่าใคร เพราะพาหนะที่นางขี่ไปนั้นผอมอ่อนแอจึงทำให้เดินได้ช้า เมื่อนางไปถึงในเมืองก็พบว่าแม่นมต่างๆ เลือกรับทารกที่เกิดใหม่ไปหมดเหลือแต่เพียงศาสดามูฮัมหมัดเท่านั้นที่ไม่มีใครรับไปเลี้ยง ในตอนแรกนางไม่ต้องการเลี้ยงดูศาสดามูฮัมหมัด  แต่เมื่อนางได้ปรึกษากับสามีแล้วนางจึงบอกกับสามีว่านางไม่ต้องการจะกลับไปแบบมือเปล่าไม่มีเด็กกลับไปเลี้ยง นางจึงสาบานต่ออัลลอฮฺว่าต้องรับเอามูฮัมหมัดไปเลี้ยง

     

    ทันทีที่นางให้นมศาสดามูฮัมมัดดูดความประเสริฐได้ปรากฏขึ้นกับฮาลีมะฮฺ นางมีน้ำนมอย่างมากมายจากที่เคยแห้งหรือเกือบจะแห้ง เช่นเดียวกับแพะของนางที่รังนมของมันแห้งเพราะความผอมก็กลับมีน้ำนมอย่างมากมาย จึงทำให้นางและสามีได้ดื่มน้ำนมแพะและนอนหลับอย่างสบายในคืนนั้น สามีของนางจึงเข้าใจทันที่ว่าทารกน้อยคนนี้คงมิใช่ทารกธรรมดาแน่ จึงได้กล่าวแก่ภรรยาของเขาว่า

     

    ฮาลีมะฮฺฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า เราได้รับเด็กที่มีความประเสริฐไว้เลี้ยงดูแล้ว

     

    เช่นเดียวกันพาหนะของนางที่ซูบผอมอ่อนแอกลับแข็งแรงขึ้น สามารถเดินนำหน้าบรรดาแม่นมคนอื่นๆ จนสร้างความประหลาดใจให้กับพวกนางเหล่านั้นอย่างมาก ทำให้พวกนางถามขึ้นว่า  

     

    "ฮะลีมะฮฺเกิดอะไรขึ้นกับพาหนะของเธอ?"

     

    นางตอบว่า

     

    ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ว่าฉันได้เด็กที่มีศิริมงคลขี่บนหลังของมัน"

     

    ความเป็นศิริมงคลของศาสดามูฮัมมัดได้เกิดขึ้นกับครอบครัวของฮาลีมะฮฺอย่างต่อเนื่อง เมื่อนางกลับถึงบ้าน หมู่บ้านของเธอในปีนั้นเป็นปีที่มีความแห้งแล้ง ฝูงแกะฝูงแพะที่ออกไปหาหญ้ากินอย่างหิวโหยก็ต้องกลับมาอย่างหิวโหย เพราะทุ่งหญ้ามีน้อยมาก แต่ว่าแกะของฮาลีมะฮฺออกไปอย่าหิวโหยแต่กลับมาอย่างอิ่มหนำ และสามารถให้น้ำนมอย่างมากมาย

     

    โดยธรรมเนียมเมื่อครบ 2 ปี แม่นมจะนำเด็กที่รับมาเลี้ยงไปส่งคืนให้แก่มารดาของเขา  แต่ฮาลีมะฮฺและสามีของนางได้นำศาสดาไปหามารดาของเขามิใช่เพื่อไปส่งคืนให้ แต่ต้องการที่จะไปขอร้องให้อนุญาตเลี้ยงดูมูฮัมหมัดต่อไป เพื่อที่เขาทั้งสองจะได้รับความเป็นศิริมงคล อามินะฮฺมารดาของท่านศาสดาก็ไม่ขัดข้องที่ทั้งสองจะรับเลี้ยงดูมูฮัมหมัดต่อไป หลังจากนั้นอีก 4-5 เดือนได้เกิดเหตุการณ์ผ่าหน้าอกของท่านนบีขึ้น

     

     

    •• การผ่าหน้าอกครั้งแรก

     

    เมื่อศาสดามูฮัมหมัดอายุได้ 3 ปี เหตุการณ์ผ่าหน้าอกจึงเกิดขึ้น ท่านอิหม่ามมุสลิมได้รายงานเหตุการณ์ผ่าหน้าอกไว้ดังนี้

     

    รายงานจากอนัส อิบนิมาลิกว่า : ท่านญิบรีลได้มาที่ท่านเราะซูล ขณะที่ท่านกำลังเล่นกับเพื่อนๆ ญิบรีลได้จับท่านให้นอนลง และผ่าหน้าอกเอาหัวใจออกมาแล้วเอาก้อนเลือดก้อนหนึ่งออกจากหัวใจ และกล่าวขึ้นว่า

     

    "นี่เป็นส่วนของชัยฎอน”

     

    แล้วญิบรีลได้นำหัวใจล้างด้วยน้ำซัมซัมในภาชนะที่ทำด้วยทองคำ เสร็จแล้วญิบรีลได้ประสานหัวใจแล้วนำกลับเข้าไว้ที่เดิม บรรดาเด็กๆ ที่เล่นอยู่ด้วยกันรีบกลับไปหาแม่นมของท่าน แล้วบอกว่ามูฮัมหมัดได้ถูกฆ่าแล้ว พวกเขาจึงรีบไปจึงพบว่าใบหน้าของท่านซีดเผือกถอดสี

     

    อนัสได้เล่าว่า  : ฉันเคยเห็นรอยเย็บที่หน้าอกของท่านนบี

     

    ศาสตราจารย์อักรอม อัลอุมารี ได้วิเคราะห์เหตุการณ์การผ่าหน้าอกว่า : การขจัดส่วนที่เป็นของชัยฎอนออกนั้น ถือได้ว่าเป็นความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งสำหรับการแต่งตั้งให้เป็นนบี และเป็นการคุ้มครองให้พ้นจากความชั่วร้ายและการเคารพสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ เพื่อไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมใดๆ เข้าไปในจิตใจ นอกจากการให้เอกภาพต่อพระองค์อัลลอฮฺเท่านั้น และเหตุการณ์นั้นได้เห็นผลอย่างชัดเจน โดยที่ท่านนบีไม่เคยทำบาป ไม่เคยเคารพเจว็ด (รูปปั้น) ทั้งๆ ที่การเคารพเจว็ดนั้นแพร่สะพัดอยู่ในหมู่พวกของท่าน และเหตุการณ์ผ่าหน้าอกได้เกิดขึ้นอีกครั้งในคืนที่ท่านอิสรออ์และมิอ์ร็อจญ์ จากมักกะฮฺไปยังบัยตุลมักดิสและขึ้นไปยังฟากฟ้า

     

    นางฮาลีมะฮฺวิ่งไปหาท่านนบีหลังจากที่มีเด็กมาบอก ก็พบท่านนบีเพิ่งกลับมาจากเหตุการณ์นี้ (มีบางรายงานระบุว่ารอยที่ถูกผ่ายังเห็นชัดอยู่) นางฮาลีมะฮฺกังวลว่าถ้าปล่อยท่านนบีอยู่ที่นี่ไม่มีใครรับประกันความปลอดภัยของท่านจึงนำไปส่งให้มารดา

     

    นางอามีนะฮฺมีความสุขมากที่ลูกชายของเธอได้กลับมาสู่อ้อมอกของเธออีกครั้งหนึ่ง การไปอยู่ในชนบททำให้เขาเป็นคนที่มีสุขภาพดีและร่างกายแข็งแรง มีความคล่องแคล่วและรู้ภาษาอาหรับแท้ๆ จากทะเลทราย ซึ่งเหล่านี้เป็นรากฐานที่จะก้าวสู่เป็นบุคคลที่สำคัญในอนาคตต่อไป นางอามีนะฮฺต้องการพาบุตรชายให้ไปรู้จักญาติทางมารดาและสร้างความคุ้นเคยกับพวกลุงซึ่งเป็นเผ่านัจญารในนครมาดีนะฮฺ โดยมีทาสหญิงของนางที่มีชื่อว่าอุมมูอัยมันติดตามไปด้วย ขากลับจากมาดีนะฮฺ ขณะเดินทางมาถึงสถานที่หนึ่งมีชื่อว่า อัล - อับวา นางอามีนะฮฺก็ล้มป่วยลงและเสียชีวิตอยู่ที่นั้น หลังจากนั้นทาสหญิงผู้ซื่อสัตย์ก็พาเด็กน้อยกำพร้าบิดาและมารดากลับมายังนครมักกะฮฺ ศาสดามุฮัมหมัดก็อยู่ภายใต้การอุปการะของปู่คือ อับดุลมุฏฏอลิบ ในตอนที่อายุ 6 ขวบ

     

     

     

     

     
    แก้ไขเพิ่มเติมจาก : http://news.sanook.com/social/social_245610.php

     

    © Tenpoints ! '


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×