ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ★Bon'a Holic Cafe'★

    ลำดับตอนที่ #3 : ★CHA :: กำเนิดชาถ้วยแรก

    • อัปเดตล่าสุด 9 ส.ค. 52


    กำเนิดชาถ้วยแรก

     

    “มีใบไม้แห้งชนิดหนึ่งปลิวตกลงไปในหม้อต้มน้ำดื่มของพระองค์ด้วยความบังเอิญ”

                    ไม่ว่ายุคสมัยไหนมนุษย์เราก็มักแสวงหาความแปลกใหม่ให้กับชีวิตอยู่เสมอ ทั้งแบบที่ตั้งใจไขว่คว้าและได้มาแบบบังเอิญ เช่นเดียวกับการค้นพบน้ำชาถ้วยแรกของโลก โดยจักรพรรดิเสินหนง [Shen Nung] กษัตริย์ผู้ครองแผ่นดินจีนเมื่อประมาณ 4,000 กว่าปีที่ผ่านมา บันทึกในตำนานเล่าว่า พระองค์ทรงสนพระทัยเป็นอย่างมาก เมื่อทราบว่าน้ำดื่มที่ข้าราชบริพารนำมาถวายนั้น มีสีน้ำตาลสวยและส่งกลิ่นหอมฉุย เพราะมีใบไม้แห้งชนิดหนึ่งปลิวตกลงไปในหม้อต้มน้ำดื่มของพระองค์ด้วยความบังเอิญ

                    แม้ว่าน้ำดื่มของวันนั้นดูแตกต่างจากที่ที่เคยพระองค์ก็ไม่ทรงกริ้ว หรือไม่เกรงอันตรายว่าจะเป็นใบไม้พิษ แต่กลับตื่นเต้นกับสิ่งแปลกใหม่ พระองค์ทรงทดลองจิบน้ำในถ้วยเพื่อค้นพบว่าใบไม้แห้งใบนั้นคือแหล่งที่มาของเครื่องดื่มชนิดใหม่ ซึ่งมีกลิ่นหอม รสกลมกล่อม และให้ความรู้สึกสดชื่น พระองค์ได้รับการยกย่องในฐานะกษัตริย์นักวิทยาศาสตร์ ความเป็นนักสงสัยและนักทดลองค้นคว้าเพื่อแสวงหาคำตอบจึงมีอยู่เต็มเปี่ยม เรื่องราวของใบไม้ที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า “ตู” [tu] จึงเริ่มต้นขึ้น

                    ในตำราจีนโบราณหลายเล่มมีการเอ่ยถึงหลักฐานและข้อมูลอ้างอิงที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับต้นกำเนิดของน้ำชาว่า บ่อยครั้งเมื่อพูดถึง ตู มักสื่อความหมายถึงต้นชา จึงสันนิษฐานกันว่า แรกเริ่มเดิมทีนั้น ไม่มีคำศัพท์ที่หมายถึง ต้นชา หรือ น้ำชา โดยเฉพาะ แม้ไม่มีชื่อเรียกเฉพาะแต่น้ำชาก็เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะ น้ำต้มใบไม้กลิ่นหอม สีสวย และมีคุณค่าเป็นยาสมุนไพร

                    จากใบไม้แห้งธรรมดา กลับกลายมาเป็นสิ่งล้ำค่าที่ผูกพันอยู่เป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของชาวจีน ชาวญี่ปุ่น ชาวไต้หวัน ชาวอินเดีย ชาวอังกฤษ ชาวยุโรป ชาวอเมริกัน ชาวอาฟริกัน รวมถึงชาวไทย และอีกหลายๆชาวในโลก ที่รับเอาวัฒนธรรมการดื่มชาเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน






    ________________________________________________________________________________________________________

      t em 

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×