ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมเทคนิคการเป็นนักเขียนออนไลน์

    ลำดับตอนที่ #18 : - รีไรท์อย่างไรถึงเหมาะสม ? -

    • อัปเดตล่าสุด 12 พ.ค. 55


    - รีไรท์อย่างไรถึงเหมาะสม ? -

     

    รีไรท์แปลว่าอะไร ? รีไรท์มาจากคำว่า Re-Write หรือเขียนใหม่นั่นเอง ซึ่งจะเกิดขึ้นกับคนที่เขียนนิยายไปได้สักพักหนึ่งแล้วคิดว่านิยายที่แต่งมาก่อนหน้าของตัวเองเขียนได้ไม่ดี ไม่สนุก และดูไม่สมเหตุสมผล เลยต้องการที่จะย้อนกลับไปเขียนใหม่ตั้งแต่แรก ทว่าการรีไรท์อย่างไรถึงจะเรียกว่าทำได้เหมาะสม ? สำหรับเรื่องนี้ก็แล้วแต่ปัญหาและเทคนิคของแต่ละคน ทว่าหลายคนที่ทำมักจะติดบ่วงของการรีไรท์ จนทำให้ไม่ว่าจะเขียนไปนานเท่าไหร่ก็แต่งนิยายไม่มีวันจบสักที ซึ่งเกิดบ่อยมากสำหรับมือใหม่ !

    สรุป: ระวังให้ดี ยิ่งรีไรท์บ่อยแค่ไหนก็ยิ่งมีโอกาสเขียนนิยายไม่จบมากเท่านั้น !

    กรณีรีไรท์เพื่อกลับไปแต่งให้ดีและสนุกมากยิ่งขึ้นโดยไม่ได้เปลี่ยนเนื้อเรื่องไปมากนัก เป็นกับมือใหม่ทุกคน เพราะยังไงคนที่เริ่มเขียนนิยายย่อมจะไม่สามารถเขียนนิยายได้ดีตั้งแต่ต้นได้ ดังนั้นจึงมีการพัฒนาฝีมือการเขียนไปเรื่อย ๆ และค่อนข้างจะรวดเร็ว กรณีนี้ขอแนะนำว่าคนแต่งอย่ารีบร้อนที่จะรีไรท์ การเขียนเรื่องนั้นจบไปก่อน แม้กระทั่งไปเขียนเรื่องอื่นต่อ ยิ่งนานมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีมากเท่านั้น

    เพราะอะไร ?

    นั่นก็เพราะยิ่งแต่งมากเท่าไหร่ฝีมือของคนแต่งก็ยิ่งพัฒนามากขึ้นไปเท่านั้น หากเว้นระยะเวลาที่น้อยฝีมือของคนแต่งยังไม่คงที่และยังพัฒนาไปไม่มากกับช่วงเวลาที่ได้เขียนก่อนหน้า ดังนั้นถึงรีไรท์ไปยังไงมันก็ทำได้ไม่ดีเท่าที่ควรเพราะไม่รู้ว่าสิ่งที่แต่งมันไม่ดีตรงไหน หนำซ้ำพอรีไรท์จนเกือบจะเสร็จฝีมือของเราก็ยิ่งพัฒนามากขึ้น พอหันกลับไปมองตอนแรก ๆ ก็จะพบว่ามันไม่ดีและไม่สนุกอย่างไรได้ในทันที ดังนั้นจึงมักจะกลับไปรีไรท์ซ้ำ และรีไรท์บ่อยก็ยิ่งเบื่อจนในที่สุดก็ไม่สามารถแต่งจนจบได้ กลับกันถ้าเว้นช่วงไปนานฝีมือจะเริ่มคงที่และพัฒนาจากตอนที่เริ่มเขียนก่อนหน้าไปค่อนข้างมากทำให้เห็นปัญหาในจุดเดิม เวลารีไรท์จะทำได้ดีมากยิ่งขึ้นจนไม่จำเป็นต้องกลับไปรีไรท์ซ้ำอีกรอบ

    สรุป: ถ้าต้องการรีไรท์เพื่อปรับภาษาโดยไม่เปลี่ยนเนื้อเรื่อง ให้รีไรท์หลังจากที่เว้นช่วงไปนาน ๆ แล้ว เพราะยิ่งเว้นช่วงมากเท่าไหร่ยิ่งทำได้ดีมากยิ่งขึ้น

    กรณีรีไรท์เพื่อปรับโครงเรื่องใหม่ทั้งหมด มักจะเกิดกับผู้ที่วางโครงเรื่องได้ไม่แน่นหรือไม่ได้วางโครงเรื่องเลย ในกรณีนี้ขอแนะนำให้รีไรท์ให้เร็วที่สุด ! โดยอย่าลืมที่จะวางโครงเรื่องให้แน่นด้วย เพราะถ้าเว้นช่วงนานไปก็จะเสียดายที่จะมารีไรท์ รวมไปถึงจะออกทะเลเอาได้ง่าย นอกจากนี้การวางโครงเรื่องให้แน่นด้วย เพราะหากไม่ทำให้ดีก็มีโอกาสที่จะขัดใจกับเนื้อเรื่องที่ออกทะเลหรือไม่สมเหตุสมผลในอนาคตได้

    สรุป: ถ้าต้องการรีไรท์เพื่อปรับโครงเรื่อง ต้องรีบทำโดยทันทีและอย่าลืมที่จะวางโครงเรื่องให้แน่นก่อนเสมอ

    ................

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×