ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมเทคนิคการเป็นนักเขียนออนไลน์

    ลำดับตอนที่ #12 : - เสริมความสนุก ด้วยการนำเสนอฐานข้อมูล ! -

    • อัปเดตล่าสุด 12 พ.ค. 55


    - เสริมความสนุก ด้วยการนำเสนอฐานข้อมูล ! -

     

    อีกเรื่องหนึ่งที่นับได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญ คือการเขียนฐานข้อมูลขึ้นมา เช่นตัวละครนี้มีลักษณะนิยายอย่างไร จุดเด่นอะไร หรือข้อมูลของนิยายในเรื่องอื่น ๆ ซึ่งหากไม่มีอาจจะทำให้เกิดความสับสนขึ้นมาได้ (อย่างไรก็ตามอย่าไปยึดติดกับมันมาก จงนึกเสมอว่ามันแก้ได้ !)

    แต่ถ้าทำมาก ๆ แล้วการเก็บไว้อ่านคนเดียวมันก็ไม่เหมาะสม การนำมาแสดงเพื่อใช้ในการโปรโมทหรือให้คนอ่านสามารถอ่าน "ไซด์สตอรี่" ของนิยายเราเพิ่มเติมจากเนื้อเรื่องปรกติก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง

    สำหรับการนำฐานข้อมูลที่เขียนไว้มาแสดง เห็นทีคงไม่มีที่ไหนเหมาะสมไปกว่าเว็บในรูปแบบสารานุกรมออนไลน์ ที่เปิดให้บริการฟรีอยู่ ที่ชื่อว่า Wikia แต่มันอาจจะมีวิธีการเขียนที่แตกต่างจากเว็บอื่นไปบ้าง ดังนั้นจะต้องศึกษาเพิ่ม โดยในส่วนนี้จะเขียนไว้ในช่วงที่สอง ทว่าในตอนนี้ขอแนะนำการเขียนฐานข้อมูลก่อน โดยโปรแกรมที่แนะนำคือ Microsoft Excel

    คำเตือน: บทความนี้ต้องใช้ความรู้และความเข้าใจที่สูงในระดับหนึ่ง หากเป็นมือใหม่ แนะนำว่าให้พยายามเปิดโปรแกรมหรือเว็บนั้น ๆ ขึ้นมาทำตามดู หากไม่ทำเช่นนั้นแล้วจะไม่รู้เรื่องอย่างแน่นอน

     

    - EXCEL -

    Excel หรือ Microsoft Excel ทำไมถึงต้องใช้โปรแกรมนี้ ?

    คำตอบง่าย ๆ คือ มันมีรูปแบบที่สนับสนุนต่อการใช้ทำเป็นฐานข้อมูลมากที่สุดแล้ว ด้วยรูปแบบของตารางจึงสามารถให้เราวางฐานข้อมูลได้อย่างสะดวก อีกทั้งสังเกตและนำมาใช้ได้ง่าย ตัวอย่างเช่น

     

    A

    B

    C

    D

    E

    1

    ชื่อ

    อายุ

    ส่วนสูง

    น้ำหนัก

    นิสัย

    2

    นายก

    18

    150

    40

    ดื้อรั้น

    3

    นายเอ

    19

    160

    80

    มีความเป็นผู้นำสูง

    4

    นายบี

    21

    180

    65

    เถรตรง

    5

    นายซี

    21

    145

    38

    เงียบ

     

    หมายเหตุ: สำหรับแถบสีเทาคือตัวช่วยในการระบุ Row และ Column

    หมายเหตุ: ส่วนการเขียนข้อมูลเขียนได้สองที่คือช่องนั้นโดยตรง หรือช่องว่างที่อยู่ระหว่าง Toolbar กับตัวตารางแสดงผล ลองเขียนตามนี้ดูเลยลงตำแหน่งให้ตรงช่องกันด้วยนะ !

    ซึ่งจะเห็นได้ว่าสามารถสังเกตและเข้าใจได้ง่ายกว่าการใช้โปรแกรมอื่นในการจัดฐานข้อมูล และไม่เพียงแค่นั้น หากต้องการที่จะใส่ข้อมูลลงไปเพิ่มก็ทำได้ง่ายด้วยเช่นกัน เช่นถ้าหากต้องการจะเพิ่มเพศต่อจากชื่อ ก็ให้คลิกขวาที่ตัวอักษร B หลังจากนั้นก็เลือก แทรก (Insert) ก็จะได้

     

    A

    B

    C

    D

    E

    F

    1

    ชื่อ

     

    อายุ

    ส่วนสูง

    น้ำหนัก

    นิสัย

    2

    นายก

     

    18

    150

    40

    ดื้อรั้น

    3

    นายเอ

     

    19

    160

    80

    มีความเป็นผู้นำสูง

    4

    นายบี

     

    21

    180

    65

    เถรตรง

    5

    นายซี

     

    21

    145

    38

    เงียบ

    หลังจากนั้นก็เขียนข้อมูลลงตามสบาย

     

    A

    B

    C

    D

    E

    F

    1

    ชื่อ

    เพศ

    อายุ

    ส่วนสูง

    น้ำหนัก

    นิสัย

    2

    นายก

    หญิง

    18

    150

    40

    ดื้อรั้น

    3

    นายเอ

    ชาย

    19

    160

    80

    มีความเป็นผู้นำสูง

    4

    นายบี

    ชาย

    21

    180

    65

    เถรตรง

    5

    นายซี

    ชาย

    21

    145

    38

    เงียบ

     

    นอกจากนี้ จุดเด่นของ Excel คือการมีสูตรมากมายให้เลือกและประยุกต์ใช้อีก ตัวอย่างเช่น

    สูตร

    การกระทำ

    ผลลัพธ์

    =COUNTIF(B2:B5,"ชาย")

    จำนวน "ผู้ชาย" ใน Column B2 ถึง B5

    3

    =COUNTIF(C2:C5,21)

    จำนวน "21" ใน Column C2 ถึง C5

    2

    =MAX(D2:D5)

    เลือกค่าที่มากสุดใน Column D2 ถึง D5

    180

    =MIN(E2:E5)

    เลือกค่าที่น้อยสุดใน Column E2 ถึง E5

    38

     

    หมายเหตุ: ตัวใหญ่ที่อยู่ข้างหน้าคือ "สูตร" โดยตัวแปรที่จะใช้ในสูตรนั้นจะอยู่ในวงเล็บอีกที

    หมายเหตุ: สำหรับตัวอักษร B2 B5 คือ ตำแหน่งของช่องจึงไม่จำเป็นต้องอยู่ใน "" ส่วน B2:B5 หมายถึงช่อง B2 ถึงช่อง B5

    หมายเหตุ: สำหรับตัว , คือตัวแปรตัวถัดไปในสูตรนั้น

    หมายเหตุ: ค่าที่เป็นตัวอักษรให้อยู่ใน "" แต่สำหรับตัวเลขหรือตัวแปรอื่นไม่จำเป็น

    ไม่เพียงแค่นี้ ยังมีวิธีการใช้สูตรขั้นสูงอีก ตัวอย่างเช่น

    สูตร

    การกระทำ

    ผลลัพธ์

    =CONCATENATE("ชื่อ",A2," เพศ",B2," อายุ",C2)

    เขียนประโยคที่อยู่ในสูตรให้เรียงต่อกัน

    ชื่อนายก เพศหญิง อายุ18

    จากตรงนี้จะพบได้ว่าสามารถประยุกต์ใช้ได้หลายอย่าง หากทำให้ดีก็จะสามารถสร้างกล่องข้อมูลที่ใช้ในนิยายได้โดยไม่ต้องพิมพ์เชื่อมโยงเองแม้แต่น้อย ตัวอย่างเช่น

    ทูว์ (ระดับคลาส VETERAN)

    THE SCOUT (นักสอดแนม) / GUNNER (นักยิงปืน)

    ระดับ-D เลเวล-46 พลังชีวิต-2,319 พลังมานา-1,824

    อาวุธ-ปืนพก QUICK THUNDER (RARE) x2

    พลังทำลาย-47 พลังเวท-0 ทนทานกายภาพ-63 ทนทานเวท-55 ความเร็วอาวุธ-1.32 ระยะโจมตี-51.00 ม.

    โจมตีกายภาพ-107 ป้องกันกายภาพ-101 โจมตีพิเศษ-107 ป้องกันพิเศษ-110

    ความแม่นยำ-223+(MAX 26%) การหลบหลีก-251+(MAX 24%) ความเร็วทักษะ-219 การเคลื่อนที่-2.26

    กล่องนี้ก็เกิดจากการใช้สูตรนี้เหมือนกัน

    หมายเหตุ: สูตรนี้ไม่สามารถแสดงผลให้มีหลายบรรทัดได้ ดังนั้นต้องใช้วิธีการเขียนหลาย Column เพื่อที่จะให้ได้ข้อความนี้ขึ้นมา และนอกจากนี้หากก็อปมาลง Word โดยตรงจะให้ผลที่ไม่ตรงกับความต้องการ (เช่นขนาดฟอนท์ไม่ตรง) ดังนั้นแนะนำให้ก็อปลง Notepad ก่อน

    แต่มาถึงตรงนี้ บางทีอาจจะพบได้ว่าต้องเขียนสูตรหลายช่องเหลือเกินถึงจะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ตัวอย่างแรกก็ต้องเขียน 1 สูตร แล้วมีสักร้อยตัวอย่าง ไม่จำเป็นต้องเขียนสูตร  

    =CONCATENATE("ชื่อ",A2," เพศ",B2," อายุ",C2)

    สักร้อยสูตรหรอกหรือ ?

    ขอตอบว่าไม่ใช่ เพราะให้กดที่มุมขวาล่างของช่อง

    =CONCATENATE("ชื่อ",A2," เพศ",B2," อายุ",C2)

    แล้วลองลากมันลงมา ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ดังต่อไปนี้

    =CONCATENATE("ชื่อ",A2," เพศ",B2," อายุ",C2)

    =CONCATENATE("ชื่อ",A3," เพศ",B3," อายุ",C3)

    =CONCATENATE("ชื่อ",A4," เพศ",B2," อายุ",C4)

    =CONCATENATE("ชื่อ",A5," เพศ",B2," อายุ",C5)

    จะพบได้ว่าตัวแปรที่อยู่ข้างในจะเปลี่ยนเองโดยอัตโนมัติ แต่ไม่เพียงแค่นั้น ลองคลุมเมาส์ที่คำว่า A2 แล้วกดปุ่ม F4 ดู 1 ครั้ง ที่ B2 กดปุ่ม F4 ดู 2 ครั้ง และที่ C2 กดปุ่ม F4 ดู 3 ครั้ง ก็จะได้เป็น

    =CONCATENATE("ชื่อ",$A$2," เพศ",B$2," อายุ",$C2)

     

    หลังจากนั้นให้กดที่มุมขวาล่างแล้วลากลงไปทางล่างขวาดู ก็จะได้

    =CONCATENATE("ชื่อ",$A$2," เพศ",B$2," อายุ",$C2)

    =CONCATENATE("ชื่อ",$A$2," เพศ",C$2," อายุ",$C2)

    =CONCATENATE("ชื่อ",$A$2," เพศ",B$2," อายุ",$C3)

    =CONCATENATE("ชื่อ",$A$2," เพศ",C$2," อายุ",$C3)

    =CONCATENATE("ชื่อ",$A$2," เพศ",B$2," อายุ",$C4)

    =CONCATENATE("ชื่อ",$A$2," เพศ",C$2," อายุ",$C4)

    =CONCATENATE("ชื่อ",$A$2," เพศ",B$2," อายุ",$C5)

    =CONCATENATE("ชื่อ",$A$2," เพศ",C$2," อายุ",$C5)

    ซึ่งจะให้ผลลัพธ์คือ

    ชื่อนายก เพศหญิง อายุ18

    ชื่อนายก เพศ18 อายุ18

    ชื่อนายก เพศหญิง อายุ19

    ชื่อนายก เพศ18 อายุ19

    ชื่อนายก เพศหญิง อายุ21

    ชื่อนายก เพศ18 อายุ21

    ชื่อนายก เพศหญิง อายุ21

    ชื่อนายก เพศ18 อายุ21

    ดังนั้นจะพบได้ว่าตัว $ ที่โผล่ขึ้นมาคือการล็อกตำแหน่งเวลาที่ช่องนั้นโดนเลื่อนลงมานั่นเอง

    และระวังให้ดี หากต้องการย้ายสูตรไปช่องอื่นจำเป็นที่จะต้อง "ตัด" หรือกด Ctrl+X แทนที่จะ "คัดลอก" ไม่เช่นนั้น ตำแหน่งช่องที่ไม่ได้ล็อกมันจะเลื่อนลงไปด้วย

    นอกจากนี้หากไป "ตัด" ที่ช่องของตัวแปร "นายก" ที่อยู่ช่อง A2 ก็จะทำให้สูตรที่เกี่ยวข้องกับช่องนี้ไม่ว่า $A$2, $A2 หรือ A$2 ก็จะย้ายตำแหน่งไปอยู่ในช่องที่คำว่า "นายก" ถูกวางใหม่ด้วยเช่นกัน

    สำหรับสิ่งที่ควรรู้พื้นฐานมีแค่นี้ ต่อไปจะเป็นระดับที่สูงขึ้น

    โดยจากที่เห็นจะพบได้ว่า

    =CONCATENATE("ชื่อ",A2," เพศ",B$2," อายุ",C2)

    ถือได้ว่าค่อนข้างสะดวกอยู่แล้ว แต่เวลาใช้งานจริงมันยังสะดวกไม่พอ เพราะมันแปรว่าถ้ามีร้อยข้อมูล ก็ต้องมีส่วนนี้ถึงร้อยช่อง ดังนั้นอาจจะทำให้ลำบากเวลาหาสักเล็กน้อย ดังนั้นบางทีน่าจะทำการควบรวมอยู่ในแค่ช่องเดียวไปเลย และเพียงแค่พิมพ์หมายเลขของตัวละครนั้นออกมามันก็จะเปลี่ยนค่าให้ สำหรับวิธีการที่ว่ามีดังต่อไปนี้

    คราวนี้ให้สูตร

    สูตร

    การกระทำ

    ผลลัพธ์

    =ADDRESS(ROW(A1),COLUMN(A1),,,"SHEET1")

    สูตรระบุตำแหน่งจากตัวแปรที่ได้ใส่ลงไป

    SHEET1!$A$1

    จะพบได้ว่าคราวนี้มีหลายสูตรซ่อนอยู่ในสูตรเดียวกันแล้ว ก่อนอื่นสำหรับสูตร Address คือสูตรที่จะเปลี่ยนตัวแปรทั้งหลายให้เป็นตำแหน่งของช่องขึ้น โดยความจริงสูตรนี้มีเพียงแค่

    ADDRESS(,,,,) เท่านั้น

    ส่วนช่องแรกที่มี ROW(A1) คือการระบุตำแหน่งของ Row โดย Row เองก็เป็นสูตร เพราะมันจะเปลี่ยนค่า A1 ให้เป็นตัวเลขของ Row ที่ตัวแปรนั้นกำกับอยู่ ดังนั้นก็จะได้ค่าเป็น 1

    ส่วนช่องที่สองที่มีColumn(A1) คือการระบุตำแหน่งของ Column แทน

    และสุดท้าย "SHEET1" คือชื่อของหน้า Excel ที่เรากำลังใช้อยู่ โดยสามารถดูได้ที่แถบล่างสุด ซึ่งหากไม่ต้องการจะระบุหน้า แล้วสูตรทั้งหมดอยู่ในหน้าเดียวกัน ให้เขียนแทนได้ว่า

    =ADDRESS(ROW(A1),COLUMN(A1))

    หมายเหตุ: ชื่อ Sheet1 นี้สามารถเปลี่ยนได้ และมีผลลัพธ์เหมือนกับตำแหน่งช่อง เช่น SHEET1!$A$1 ย้ายไปอยู่หน้า SHEET2 สูตรที่ใช้ชื่อ SHEET1!$A$1 ก็จะเปลี่ยนชื่อเป็น SHEET2!$A$1 ตาม แต่ว่าในสูตร

    =ADDRESS(ROW(A1),COLUMN(A1),,,"SHEET1")

    ตัว"SHEET1" ไม่ใช่ค่าตัวแปร แต่เป็นตัวอักษร ดังนั้นมันจึงไม่เปลี่ยนตามต้องระวังให้ดี

    ตรงนี้แหละที่สำคัญ หากลองเปลี่ยนคำว่าROW(A1) ที่อยู่ในสูตรให้เป็นตัวอื่นล่ะ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเช่นไร ?

    คราวนี้ให้ลองพิมพ์ที่ช่อง A6 ด้วยเลข 3 ดู แล้วเปลี่ยนROW(A1)เป็นA6 โดยตรง แบบไม่ต้องมีสูตรกำกับดู

    ซึ่งจะได้สูตรเป็น

    =ADDRESS(A6,COLUMN(A1),,,"SHEET1")

    และผลที่ได้คือ SHEET1!$A$3

    และคราวนี้ลองเปลี่ยนเลขในช่อง A6 เป็นตัวเลขอื่น ก็จะได้...

    ถ้าเปลี่ยนเป็น 1 จะได้ SHEET1!$A$3

    ถ้าเปลี่ยนเป็น 2 จะได้ SHEET1!$A$2

    ตรงนี้หลายคนคงจะรู้ประโยชน์ของมันแล้ว คราวนี้ลองเพิ่มสูตรอีกตัวไปดูคือINDIRECT

    สูตร

    การกระทำ

    ผลลัพธ์

    =INDIRECT(ADDRESS(A6,COLUMN(A1),,,"SHEET1"))

    แสดงผลลัพธ์ของช่องที่ตัวแปรได้ระบุเอาไว้

    กรณีที่A6เป็น 3 ก็จะได้ นายเอ

    ดังนั้นหากจับคู่ใหม่โดยการลากสูตร

    =INDIRECT(ADDRESS(A6,COLUMN(A1),,,"SHEET1"))

    ไปทางด้านขวา หลังจากนั้นใช้สูตร CONCATENATEจับคู่ตามช่องของสูตรใหม่ที่ได้สร้าง ก็จะสามารถย่อให้สูตรCONCATENATEเหลือเพียงแค่ช่องเดียวได้ โดยเปลี่ยนตัวเลขที่ช่อง A6เพียงแค่ช่องเดียวเท่านั้น

    สำหรับการแนะนำวิธีการใช้ Excel ก็จบลงเพียงเท่านี้

    ว่าแต่ตามไม่ทันตั้งแต่ช่วงไหนกันเอ่ย ?

     

     

    - WIKIA -

    จบกับช่วง Excel ไปแล้วตอนนี้จะเป็นการจัดการกับเว็บวิเกีย ซึ่งขอแนะนำวิเกียของนิยายผู้เขียนบทความก่อนก็แล้วกัน  http://th.terracaerulea.wikia.com/wiki/Terra_Caerulea_Wiki อันนี้สามารถแกะโค้ดเพื่อใช้เป็นตัวอย่างของวิเกียตนเองได้นะ

    โดยสามารถสมัครได้ที่ http://www.wikia.com/Special:CreateNewWiki?uselang=thได้แล้ว เราจะโผล่มาที่หน้าหลัก

    คำเตือน: วิเกียมีรูปแบบการเขียนเดียวกับ ไร้สาระนุกรม และวิกิพีเดีย ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะควรทำความเข้าใจก่อนที่จะเริ่มการเขียน !

    สำหรับวิเกีย เป็นเว็บสารานุกรมออนไลน์ที่มีระบบเช่นเดียวกับวิกิพีเดีย มีระบบที่แชร์ให้คนที่ไม่รู้จักหน้ามาเขียนข้อมูลร่วมกันได้ อีกทั้งยังมีวิธีการเขียนที่ไม่เหมือนกับที่อื่นเช่น

    -          ห้ามย่อหน้าเวลาเขียน เพราะมันจะแสดงผลลัพธ์แบบอื่นให้ทันที

    -          เวลาขึ้นบรรทัดใหม่ให้กด Enter 2 ครั้ง ถ้าแค่ครั้งเดียวมันไม่ขึ้นให้

    -          เวลาขึ้นหัวข้อใหม่ให้พิมพ์ ==หัวข้อหลัก== และ ===หัวข้อรอง=== สำหรับหัวข้อย่อยลงไป (ถ้าจะย่อยลงไปอีก ก็เพิ่ม = ลงไป ซึ่งมันจะมีปุ่มแก้เฉพาะส่วนที่เราทำหัวข้อแบบนี้มาให้)

    -          การเรียงลิสต์โดยใช้ * นำหน้า จะได้

    สูตรที่พิมพ์

    ผลที่ได้

    * หัวข้อ1

    ** หัวข้อ 1.1

    * หัวข้อ 2

    ** หัวข้อ 2.1

    *** หัวข้อ 2.1.1

    *** หัวข้อ 2.1.2

    • หัวข้อ1
      • หัวข้อ 1.1
    • หัวข้อ 2
      • หัวข้อ 2.1
        • หัวข้อ 2.1.1
        • หัวข้อ 2.1.2

    หมายเหตุ: ห้ามเว้นวรรค

    -          การเรียงลิสต์โดยใช้ # นำหน้า จะได้

    สูตรที่พิมพ์

    ผลที่ได้

    # หัวข้อ1

    #* หัวข้อ 1.1

    # หัวข้อ 2

    ## หัวข้อ 2.1

    ### หัวข้อ 2.1.1

    ### หัวข้อ 2.1.2

    1.      หัวข้อ1

    o    หัวข้อ 1.1

    2.      หัวข้อ 2

    1.      หัวข้อ 2.1

    1.      หัวข้อ 2.1.1

    2.             หัวข้อ 2.1.2

    -          การใช้ [[]] เพื่อสร้างลิงค์ในบทความ และ [] สำหรับไปยังเว็บอื่น

    สูตรที่พิมพ์

    การกระทำ

    ผลลัพธ์

    [[อนิม่า]]

    ทำลิงค์ในตัววิเกีย

    อนิม่า

    [[อนิม่า|ลิงค์]]

    ทำลิงค์ในตัววิเกียแต่แสดงชื่อเป็นตัวอักษรหลัง

    ลิงค์

    [http://www.dek-d.com/ เด็กดี ดอทคอม]

    ทำลิงค์ไปเว็บอื่นโดยแสดงชื่อเป็นประโยคที่อยู่หลัง Space bar

    เด็กดี ดอทคอม

    -          หรือสูตรอื่น

    สูตรที่พิมพ์

    การกระทำ

    ผลลัพธ์

    ''A''

    ตัว ' สองตัวคลุมหน้าหลัง จะได้ตัวเอียง

    A

    '''A'''

    ตัว ' สามตัวคลุมหน้าหลัง จะได้ตัวหนา

    A

    [[หมวดหมู่:ชื่อหมวดหมู่]]

    จะเพิ่มบทความนั้นเข้าหมวดหมู่ที่ระบุ (สำหรับวิเกียภาษาอื่นให้ใช้ [[Category:ชื่อหมวดหมู่]])

     

    [[:หมวดหมู่:ชื่อหมวดหมู่|หมวดหมู่]]

    ขึ้นข้อความ "หมวดหมู่" เพื่อทำการกดแล้วลิงค์ไปหน้าหมวดหมู่นั้น แทนที่จะเพิ่มหมวดหมู่

     

    [[ไฟล์:ชื่อภาพ.นามสกุล]]

    ลงภาพที่ต้องการ สำหรับวิธีลงภาพแบบอื่น แนะนำที่ วิธีใส่ภาพที่วิกิพีเดีย

     

    {|

    | 1

    | 2

    |-

    | 3

    | 4

    |}

    สร้างตาราง สำหรับการลงตารางแบบละเอียดแนะนำให้ดูเพิ่มที่ วิธีสร้างตารางที่วิกิพีเดีย

     

    1

    2

    3

    4

     

    หมายเหตุ ความจริงไม่มีเส้นตารางให้เห็น แต่แสดงไว้เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

     

    หมายเหตุ: นอกจากนี้ยังมีโค้ดอื่นดูได้ที่ http://www.mediawiki.org/wiki/Help:Magic_words

    นอกจากนี้ยังมีระบบขั้นสูงบางอย่าง ที่ต้องไปปรับที่หน้าระบบของวิเกียที่เราใช้อยู่ก่อนถึงจะแสดงผลมาได้ เช่น http://ztreasureisle.wikia.com/wiki/Template:AutoTreasure ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อเอาเมาส์ไปชี้จะมีหน้าจอลอยออกมาแต่นั่นระบบขั้นสูงไปแล้ว ลืมมันไปเสียดีกว่า แต่ให้รู้ว่าสามารถทำเช่นนี้ได้ก็พอ

    ทั้งหมดคือสิ่งควรรู้แค่เบื้องต้น หากอยากใช้วิเกียให้ดีขึ้น ขอแนะนำให้รู้จักกับ แม่แบบ (Template)

    หมายเหตุ: แม่แบบคือทุกอย่างของวิเกีย ทำความเข้าใจมันก่อนเขียนวิเกียเสมอ !

    แม่แบบคืออะไร ? แม่แบบคือสิ่งที่อยู่ใน {{}} แล้วจะแสดงผลบางอย่างออกมาในหน้าบทความตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยบางทีอาจจะแสดงรูปแบบเดิมอยู่ตลอด หรือแสดงตามที่เราเขียนเงื่อนไขไว้ก็ได้ ซึ่งแม่แบบเดียวสามารถนำไปใช้ได้หลายหน้า และหากปรับปรุงแม่แบบนั้นแล้วการแสดงผลของหน้าอื่นที่มีแม่แบบนี้อยู่ก็จะเปลี่ยนตามไปด้วย ตัวอย่างแม่แบบที่เป็นตัวแทนที่ดีของเรื่องนี้คือแม่แบบ {{infobox}} ซึ่งมันจะมีมาให้อยู่แล้วในทุกวิเกีย

    โดยวิธีการใช้งานมันให้พิมพ์เช่นนี้

    สูตรที่พิมพ์

    ผลที่ได้

    {{infobox

    | Row 1 title=หัวข้อ 1

    | Row 1 info=เนื้อหา 1

    | Row 2 title=หัวข้อ 2

    | Row 2 info=เนื้อหา 2

    }}

    ส่วนบนของฟอร์ม

    ส่วนล่างของฟอร์ม

     

    No Title

    หัวข้อ 1

    เนื้อหา 1

    หัวข้อ 2

    เนื้อหา 2

     

    และสิ่งนี้เองที่จะทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลที่ต้องการแสดงให้อยู่ในฟอร์แมทเดียวกันได้ตามแต่ "หัวข้อ 1, เนื้อหา 1, หัวข้อ 2, เนื้อหา 2"ที่ได้เปลี่ยนไป

    โดยจุดนี้เองสามารถนำไปโยงกับตอนที่ 1 เรื่องของ Excel ได้ เพราะถ้าหากเราทำแบบนี้

    =CONCATENATE("{{infobox")

    =CONCATENATE("| Row 1 title=",A3)

    =CONCATENATE("| Row 1 title=",B3)

    =CONCATENATE("| Row 1 title=",C3)

    =CONCATENATE("| Row 1 title=",D3)

    =CONCATENATE("}}")

    เราก็จะได้

    {{infobox

    | Row 1 title= ชื่อ

    | Row 1 info= อายุ

    | Row 2 title=ส่วนสูง

    | Row 2 info=น้ำหนัก

    }}

    เอาไปพิมพ์ใส่ในวิเกียเอง โดยไม่ต้องเสียแรงพิมพ์แม้แต่น้อย !

    หมายเหตุ: ช่วงนี้พูดถึงตัวแปรที่อยู่ในแม่แบบ ซึ่งจะเข้าใจได้ยากขึ้นกว่าเดิม

    สำหรับตัวแปร Row 1 title ถ้าคิดว่าไม่ชอบก็สามารถเปลี่ยนมันได้ด้วยเช่นกัน โดยเข้าไปแก้ที่{{infobox}} จะมี {{{Row 1 title|No Title}}} หรือ {{{image }}} อยู่ซึ่งใน {{{}}} นี่แหละคือตัวแปรที่อยู่ในแม่แบบนั้น ๆ

    หากเราพิมพ์ที่แม่แบบเป็น | Row 1 title=1 ตัว {{{Row 1 title|No Title}}}ก็จะถูกแทนค่าด้วย 1 ดังนั้นถ้าเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมตัวแปรนี้ในแม่แบบและส่วนข้อมูลที่เราเพิ่มเข้าไป ผลลัพธ์ที่แสดงออกมาก็จะเปลี่ยนแปลงตามออกมาด้วย (ต้องเหมือนกันทั้งสองส่วนนะ ไม่เช่นนั้นมันจะไม่แสดงผล)

    แต่บางคนอาจจะสงสัยว่า |No Title คืออะไร ทำไมถึงต่อหลัง Row 1 title อันนี้ขอตอบว่า จะเป็นในกรณีที่ไม่มีตัวแปร Row 1 title โผล่มา แล้วตัว Row 1 title จะเปลี่ยนเป็นตัวอะไรนั่นเอง ซึ่งถ้าไม่กำหนดตัวแปรนี้ก็จะได้ No Title นั่นเอง ซึ่งตรงนี้สามารถทำเป็น{{{Row 1 title|}}}ก็ได้

    เพราะเวลาที่ไม่กำหนดตัวแปร มันจะไม่ขึ้นค่าอะไรขึ้นมาเลย ทว่าถ้าทำเป็น {{{Row 1 title}}}ที่ไม่มี | ตามหลัง เวลาไม่กำหนดตัวแปร มันจะขึ้น {{{Row 1 title}}} ออกมาแทน

    นอกจากนี้หลายคนน่าจะสงสัยว่า {{#if: คืออะไร ?

    สิ่งนี้คือการกำหนดว่าตัวแปรนั้นได้ปรากฏค่าออกมาหรือเปล่า ถ้ามีก็จะแสดงผลลัพธ์แรก ถ้าไม่มีก็จะแสดงผลลัพธ์ที่สอง ซึ่งเวลาใช้สูตรนี้ให้พิมพ์ดังต่อไปนี้

    {{#if: {{{ตัวแปรที่ต้องการ|}}}|

    ถ้ามีขึ้นเงื่อนไขนี้|

    ถ้าไม่มีขึ้นเงื่อนไขนี้

    }}

    โดยตัวแบ่งระหว่างเงื่อนไขคือ | นั่นเอง

    หมายเหตุ:การใช้สูตรนี้ไม่จำเป็นที่ต้องขึ้นบรรทัดใหม่ ขอแค่มี | แบ่งก็พอ ที่ขึ้นบรรทัดใหม่เพื่อให้ดูง่ายเพียงเท่านั้น

    นอกจากนี้ยังมีสูตรที่น่าสนใจอีกก็คือ {{#ifeq: ซึ่งจะคล้ายกับแบบแรก แต่จะแตกต่างตรงที่ถ้าตัวแปรตรงกับเงื่อนไขที่กำหนดจะแสดงผลอันแรก แต่ถ้าไม่ใช่จะแสดงผลอันที่สอง

    {{#ifeq: {{{ตัวแปรที่ต้องการ|}}}|เงื่อนไข|

    ถ้าตรงเงื่อนไข|

    ถ้าไม่ตรงเงื่อนไข

    }}

    โดยส่วนนี้จะมีเงื่อนไขเพิ่มขึ้นเพื่อทำการตรวจสอบตัวแปร โดยสิ่งที่ใช้แบ่งก็ | เช่นเดิม

    และไม่ใช่เพียงแค่นี้ สูตรนี้ยังสามารถประยุกต์เพิ่มได้อีก เช่น

    {{#ifeq: {{{ตัวแปรที่ต้องการ|}}}|เงื่อนไข1|

    ถ้าตรงเงื่อนไข1|

    {{#ifeq: {{{ตัวแปรที่ต้องการ|}}}|เงื่อนไข2|

    ถ้าตรงเงื่อนไข2|

    ถ้าไม่ตรงเงื่อนไข

    }}}}

     

    แต่สำหรับเงื่อนไขพวกนี้คงไม่มีความจำเป็นมาก หากต้องการให้เขียนวิเกียได้สวย ๆ และลงข้อมูลได้ครบครัน แนะนำให้รู้จักการเขียนตารางให้เก่ง ๆ และปรับ {{infobox}} ให้ดีน่าจะดีกว่า

     

    และสำหรับผลลัพธ์ที่ได้คืออะไร ? ลองดูได้ที่ลิงค์นี้ รวมตัวละคร

    ซึ่งหน้านี้เป็นตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ Excel กับการเขียนวิเกียในเรื่องตารางและแม่แบบแล้ว โดยจะเห็นได้ว่าข้อมูลมีค่อนข้างมาก แถมยังมีลูกเล่นเรียงลำดับค่าพลังได้อีก นอกจากนี้ยังมีสิ่งหนึ่งที่ดูแบบผิวเผินแล้วอาจจะยังไม่เห็น นั่นก็คือ ลิงค์ในแต่ละชื่อตัวละครที่กดเข้าแล้วแสดงค่าพลังรวมถึงอุปกรณ์สวมใส่อย่างละเอียด จะใช้ฐานข้อมูลจากแม่แบบเดียวกันกับลิสต์ค่าพลังที่เรียงอยู่หน้าแรก

    หมายเหตุ: การเปิดวิเกียใหม่เพื่อลงข้อมูลเองทั้งหมดรับรองว่ายากแน่นอน เพราะต้องมีความรู้ในการเขียนเว็บเพจในระดับหนึ่งด้วย ทว่ามันยังมีวิธีลัดอยู่ คือการ "ก็อป" รูปแบบของวิเกียอื่นมาใช้นั่นเอง โดยต้องก็อป "แม่แบบ" มาใช้ด้วยนะ ไม่เช่นนั้นมันจะไม่แสดงผลตามที่ต้องการ

    แต่บางส่วนที่ก็อปมาหมดแล้วยังไม่แสดงผลเหมือนกันแปลว่าเขาไปปรับหน้าระบบอื่นแล้ว ดังนั้นจะสูงไปสักหน่อยพยายามหลีกเลี่ยงไม่ไปยุ่งกับมันจะดีกว่า

    ................

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×