ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมเทคนิคการเป็นนักเขียนออนไลน์

    ลำดับตอนที่ #4 : - พล็อตคือแก่น แต่ไม่ใช่ทุกอย่าง -

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.51K
      28
      12 พ.ค. 55

    - พล็อตคือแก่น แต่ไม่ใช่ทุกอย่าง -

     

    แน่นอนเป็นที่รู้กันดีว่าจะแต่งนิยายสักเรื่องหนึ่งมันก็ต้องมีพล็อต !

    ทว่าบางคนคิดว่าสิ่งนี้เป็นทุกอย่าง พอเห็นคนอื่นคิดพล็อตคล้าย ๆ กัน ก็ออกมาโวยวายว่า "ลอก" เสียแล้ว ทั้งที่สิ่งนั้นมันยังไม่ใช่พล็อตด้วยซ้ำหากเป็นแค่ "แนว" ของเรื่องด้วยซ้ำไป

    ถ้าจะบอกว่าพล็อตคืออะไร อาจจะจินตนาการได้ยาก ขอแทนด้วยการสร้างบ้านก็แล้วกัน

    อันดับแรก "พล็อต" ที่หลายคนใช้กัน มันไม่ใช่ "พล็อต" แต่เป็นแค่ "คอนเซปต์" ตัวอย่างเช่น "นางเอกชอบพระเอกที่ เลยพยายามจีบแข่งกับผู้หญิงคนอื่น" ตัวอย่างนี้ให้เป็นแค่ไอเดียของเรื่องเท่านั้น แต่ยังไม่ให้เป็นพล็อตหรือโครงเรื่อง เพราะมันไม่สามารถสื่ออะไรได้ชัดเจนเลย เทียบกับบ้านก็เหมือน "อยากได้บ้านเดี่ยวที่มีสวนกว้าง ๆ" เท่านี้เอง เพราะมันสื่อให้เห็นภาพอะไรไม่ได้เลย

    ต่อมาที่ "พล็อตเรื่อง" คราวนี้เจาะลึกมากขึ้นว่านางเองมีลักษณะนิสัยอย่างไร พระเอกเป็นคนเช่นไร นางอิจฉาเป็นคนแบบไหน รวมถึงเพิ่มจุดเด่นให้เรื่องดูน่าสนใจมากขึ้น เช่น "ในอาณานิคมดาวอังคาร นางเอกเป็นคนที่บ้า ๆ บอ ต้องการจีบพระเอกที่มาดแมนแสนจะเพอร์เฟ็กต์แข่งกับนางอิจฉาที่แสนสวยและเก่งไปหมดทุกอย่างภายในหนึ่งเดือน ไม่เช่นนั้นทางอาณานิคมจะแรนด้อมจับคู่ให้แทน" โดยตอนนี้จะเริ่มเห็นได้ว่ามีความแตกต่างในพล็อตขึ้นมาบ้างแล้ว ซึ่งหากเทียบกับบ้านก็เหมือน "บ้านเดี่ยวสองชั้น พื้นที่หนึ่งร้อยตารางเมตร มีสามห้องนอน สองห้องน้ำ มีสวนขนาดครึ่งหนึ่งของพื้นที่ตัวบ้าน มีที่จอดรถได้สองคัน" เป็นต้น และช่วงนี้แหละที่หลายคนยังสับสน คิดว่าถ้าทำให้แตกต่างแล้วมันจะสนุกดีกว่าเรื่องของคนอื่น หรือหากซ้ำจะถือว่าล้มเหลวต้องเริ่มเขียนเรื่องใหม่ ซึ่งที่จริงมันไม่ใช่

    คราวนี้จะเป็น "การดำเนินเรื่อง" แล้ว โดยให้หยิบจากไอเดียวของเรื่องมาต่อยอด ว่านางเอกทำอะไรที่ไหนอย่างไรถึงไปชอบพระเอก และมีการดำเนินการที่จะรุกเข้าไปจีบพระเอกอย่างไร มีการเผชิญหน้ากับนางอิจฉาช่วงไหนบ้าง จนถึงท้ายที่สุดจะลงเอยได้อย่างไร โดยอาจจะยาวตั้งแต่สามถึงสี่บรรทัดหรือเป็นหน้ากระดาษเลยก็ได้ ซึ่งหากเทียบกับบ้าน จะอยู่ในขั้น "แปลนอย่างหยาบ" ที่กำหนดโครงสร้าง ตำแหน่งห้อง จำนวนห้องและ ขนาดห้องเอาไว้เรียบร้อยแล้ว โดยจุดนี้แหละที่ทำให้พล็อตที่เหมือนกันกลับแตกต่างดันได้เพราะเนื้อเรื่องที่แตกต่างนั่นเอง

    สุดท้าย "โครงเรื่องย่อย" หรือที่เขาเรียกว่า "ทรีตเม้นต์" จะเป็นส่วนที่เตรียมเขียนจริง โดยจะเป็นการแบ่งซอยเป็นตอน ๆ ไป ว่าตอนนี้มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้างอย่างละเอียด พูดง่าย ๆ ว่าถึงไม่ลงมือเขียนนิยายแต่แค่อ่านสิ่งนี้ก็รู้แล้วว่าเนื้อเรื่องจะเป็นยังไงและจบลงยังไง มีมุกหรือเหตุการณ์อะไรอยู่ช่วงไหน หากเป็นบ้าน ก็เป็น"แปลนอย่างละเอียด" ที่สามารถนำไปสร้างบ้านได้แล้วนั่นเอง

    อย่างไรก็ตาม เวลาเขียนนิยายไม่จำเป็นต้องถึงขั้นวาง "ทรีตเม้นต์" ก็ได้ ถ้าคิดว่าตนเองมีความชำนาญพอ (แต่ถ้าหากไม่มีวางไว้จะดีกว่าเพราะมันจะสามารถรู้ช่องโหว่ของนิยายตนเองได้) แม้กระทั่งตัว "พล็อต" เองก็เช่นกัน สามารถปรับเปลี่ยนได้เสมอหากเห็นว่าสมควร

    ด้วยเหตุนี้ ที่พูดกับปาว ๆ ว่าพล็อต ๆ กันน่ะ แท้จริงมันแค่คอนเซปต์ของเรื่องเท่านั้น มันยังไม่ถึงขั้นพล็อตกันเลย และถึงพล็อตจะซ้ำแต่ถ้า "การดำเนินเรื่อง" ไม่ซ้ำ มันก็ยังเป็นนิยายคนละเรื่องกันได้

    สรุป: อย่าสับสนระหว่างพล็อตกับคอนเซ็ปต์ และถึงพล็อตจะเหมือนกัน แต่มันก็สามารถเป็นนิยายที่แตกต่างกันไปคนละเรื่องได้

    ................ 

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×