ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #77 : มารู้จักฉัน(ท์)กันดีกว่า

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 7.25K
      35
      29 ส.ค. 64

    ฉันท์ (Chandas) คือลักษณะถ้อยคำที่กวีได้ร้อยกรองขึ้นให้เกิดความไพเราะ ซาบซึ้ง 

    โดยกำหนดคณะครุลหุและสัมผัสไว้เป็นมาตรฐาน 

    .

    .

    ฉันท์นี้เราได้ถ่ายแบบมาจากอินเดีย เดิมแต่งเป็นภาษาบาลี และ สันสกฤตโดยเฉพาะในภาษาบาลี เขามีตำราที่กล่าวถึงวิธีแต่งฉันท์ไว้เป็นแบบฉบับ เรียกชื่อว่า คัมภีร์วุตโตทัย (Vuttodaya) ฉันท์ในภาษาบาลี แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 

    • ฉันท์ที่กำหนดตัวอักษร และเสียงหนักเบา เรียกว่า วรรณพฤติ (Vannavutti) 
    • ฉันท์ที่กำหนดการวางจังหวะของมาตราเสียงเป็นสำคัญ เรียกว่า มาตราพฤติ (Mattravutti)

    .

    .

    ฉันท์มีชื่อต่างๆตามที่ปรากฏในคัมภีร์วุตโตทัยมีถึง 108 ฉันท์ แต่ไทยเราดัดแปลง เอามาใช้ไม่หมด เลือกเอามาแต่เฉพาะที่เห็นว่าไพเราะ มีทำนองอ่านสละสลวย และเหมาะแก่การที่จะบรรจุคำในภาษาไทยได้ดีเท่านั้น ฉันท์ของคนไทยจึงมีอยู่เฉพาะ 24 ชนิด เท่านั้น

     

    1. จิตรปทาฉันท์ 8 


     

    แปลว่า “ฉันท์ที่ห้ามความทราม” คือให้ความเพลิดเพลินเป็นสำคัญ

     

     

    2. วิชชุมาลาฉันท์ 8 


     

    แปลว่า “ระเบียบแห่งสายฟ้า” ประกอบด้วยครุล้วน เสียงอ่านจึงกระชับ รวดเร็ว ใช้บรรยายความรู้สึกวุ่นวายใจ

     

     

    3. มาณวกฉันท์ 8 


     

    แปลว่า “ประดุจเด็กหนุ่ม” มีลีลาที่เร่งเร้า ผาดโผน คึกคัก ใช้แต่งบรรยายความที่ตื่นเต้นและรื่นเริง

     

     

    4. ปมาณิกฉันท์ 8 


     

    แปลว่า “คาถาที่มีคำหนักเบาใกล้เคียงกันกับสมานิกา”
     

     

    5. อุปัฏฐิตาฉันท์ 11 


     

    แปลว่า “ฉันท์ที่กล่าวสำเนียงอันดังก้องให้ปรากฏ”
     

     

    6. อินทรวิเชียรฉันท์ 11 


     

    แปลว่า “ฉันท์ที่มีลีลาประดุจสายฟ้าขององค์อินทร์” เป็นฉันท์ที่มีลีลาเสนาะ สละสลวย ใช้พรรณนาความสวยงาม ความเอ็นดู ความน่าสงสาร บางครั้งก็ยังใช้บรรยายให้ความรู้สึกอ่อนไหว เศร้าหมอง เยือกเย็น


     

    7. อุเปนทรวิเชียรฉันท์ 11 


     

    แปลว่า “ฉันท์ที่มีลีลาคล้ายหรือรองจากอินทรวิเชียรฉันท์” ซึ่งฉันท์ประเภทนี้ใช้สำหรับดำเนินเรื่องอย่างธรรมดา


     

    8. อุปชาติฉันท์ 11 


     

    แปลว่า “ฉันท์ที่ผสมระหว่างอินทรวิเชียรฉันท์และอุเปนทรวิเชียรฉันท์”


     

    9. สาลินีฉันท์ 11 


     

    แปลว่า “ฉันท์ที่มากไปด้วยคำครุซึ่งเปรียบเสมือนเป็นแก่นหรือหลัก” เป็นฉันท์ที่มีเสียงครุมาก มักใช้ดำเนินเรื่อง


     

    10. อาขยานิกาฉันท์ 11 


     

    แปลว่า “ฉันท์ที่กระทำการกล่าวด้วยคณะฉันท์ ต (ครุ-ครุ-ลหุ)”


     

    11. วังสัฏฐฉันท์ 12 


     

    แปลว่า “ฉันท์ที่มีเสียงไม่สม่ำเสมอกันเหมือนเสียงขลุ่ย ซึ่งมีเสียงสูงและต่ำ”


     

    12. อินทวงสฉันท์ 12 


     

    แปลว่า “ฉันท์ที่มีท่วงทำนองลีลาดุจอินทวงสเทวราช”


     

    13. โตฎกฉันท์ 12 


     

    แปลว่า “ฉันท์ที่ประกอบไปด้วยคณะฉันท์ ส (ลหุ ลหุ ครุ) ทั้งหมด” 


     

    14. ภุชงคประยาตฉันท์ 12 


     

    แปลว่า “งูเลื้อย” มีทำนองที่สละสลวย ใช้แต่งกับเนื้อหาที่มีการต่อสู้ บทสดุดี บทชมความงาม บทถวายพระพร และบทสนุกสนาน นอกจักนั้นยังสามารถใช้แต่งบรรยายความให้รวดเร็วได้


     

    15. กมลฉันท์ 12 


     

    แปลว่า “ฉันท์ที่มีลีลาดุจการแสดงอาการของดอกบัว” เป็นฉันท์ที่มีท่วงทำนองลีลากล่อมใจให้เพลิดเพลิน


     

    16. วสันตดิลกฉันท์ 14 


     

    แปลว่า “ความงามในฤดูฝน” มีลีลาสวยงามอ่อนช้อยสวยงาม มีความไพเราะเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้ฟังรู้สึกไพเราะและซาบซึ้งกับความงามนั้นๆ


     

    17. มาลินีฉันท์ 15 


     

    แปลว่า “ดอกไม้” เป็นฉันท์ที่แต่งยาก ทำนองฉันท์สั้นกระชับในตอนต้น แล้วจะราบรื่นในตอนปลาย เป็นฉันท์ที่มีท่วงทำนองเคร่งขรึมน่ายำเกรง กวีมักใช้แต่งเพื่ออวดความสามารถในการใช้ศัพท์และเป็นเชิงกลบท


     

    18. ประภัททกฉันท์ 15 


     

    แปลว่า “คาถาที่มีคณะงามโดยประการต่าง ๆ” 


     

    19. วาณินีฉันท์ 16 


     

    แปลว่า “คาถาที่มีความไพเราะน่าฟัง” 


     

    20. กุสุมิตลดาเวลลิตาฉันท์ 18 


     

    แปลว่า “คาถาที่เหมือนการสั่นไหวของเถาวัลย์ที่ผลิดอกออกแล้ว”  


     

    21. เมฆวิปผุชชิตาฉันท์ 19 


     

    แปลว่า “คาถาที่มีเสียงเปล่งออกเหมือนเมฆคำราม” 


     

    22. สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 19 


     

    แปลว่า  “เสือผยอง” มีลีลาเคร่งขรึม เอาจริงเอาจัง นิยมให้แต่งบทประณามพจน์ไหว้ครู หรือยกย่องพระมหากษัตริย์    


     

    23. อีทิสฉันท์ 20 


     

    แปลว่า "ฉันท์ที่มีลีลางดงามประดุจฉันท์ที่ได้พรรณามาแล้วข้างต้น" มีลีลาสะบัดสะบิ้ง กระโชกกระชั้น เสียงกระทบกระทั้น เหมาะกับการพรรณาความรู้สึกที่รุนแรง


     

    24. สัทธราฉันท์ 21 


     

     

    แปลว่า “ฉันท์ที่มีลีลาประดุจเสียงร้องจากแผ่นดิน” ใช้สำหรับดำเนินเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความแตกแยก 

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×