ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #75 : พระปัญจสีขร เทพคนธรรพ์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.69K
      11
      1 ส.ค. 64

    ในวงการดนตรีไทยหากจะกล่าวถึงครูเทพที่สำคัญ ครูเทพองค์หนึ่งที่จะต้องกล่าวถึงนั้นก็คือ พระปัญจสิงขร / ปัญจสีขร

    พระปัจญสีขรในภาษาบาลีเรียกว่า ปัญจสิขร (Pancha Sikhara) ตามคติความเชื่อในไตรภูมิพระร่วงหรือเตภูมิกถา มีความเชื่อเกี่ยวกับท่าน เป็นมนุษย์ธรรมดา เป็นเด็กเลี้ยงโค  มีผม 5 ปอย 

    ท่านเป็นคนชอบสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณะประโยชน์คือ ศาลา สระน้ำ ถนน และยานพาหนะ แต่ได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ยังหนุ่มๆ ด้วยคุณความดี จึงทำให้บังเกิดเป็นเทพบุตร ในชั้นจาตุมหาราชิกา นามว่า “ปัญจสิขคนธรรพเทพบุตร”

    นักดนตรีไทยมีความเชื่อเกี่ยวกับพระปัญสิงขรเป็นครูเทพแห่งดนตรีเครื่องสายมโหรี มีหน้าที่บรรเลงดนตรี ขับร้องและฟ้อนรำบำเรอเทพเจ้าบนสรวงสวรรค์ จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าแห่งเครื่องดนตรีทั้งปวง ตามคติความเชื่อบอกว่าท่านสวมมงกุฎยอดน้ำเต้า 5 ยอด ร่างกายเป็นสีทอง มีกุณฑล (ตุ้มหู) มีอาภรณ์ประดับด้วยนิลรัตน์ นุ่งผ้าสีแดง มีความสามารถในเชิงดีดพิณและขับลำนำ บางความเชื่อบอกว่า มีกายสีขาว มี 4 กร ถือพิณและบัณเฑาะว์

    เครื่องดนตรีประจำตัวคือ พิณและบัณเฑาะว์ ซึ่งพิณของท่านนั้นจะมีพรรณเลื่อมเหลืองดุจผลมะตูมสุกสะอาด คันพิณยาว 1 คาวุต (4,000 เมตร) เป็นแก้วอินทนิลมณี มีทั้งหมด  50 สาย ทำด้วยเงิน ส่วนลูกบิดก็จะทำด้วยแก้วประพาฬ

    • ถือพิณทองคู่หัตถ์…………………คันรัตน์อินทนิลเนื่องประสาน
    • สายหิรัญลูกบิดแก้วประพาฬ…ประมาณหนึ่งคาพยุตโดยตรา

    พระปัญจสิงขรเป็นเทพที่มีความสนิทสนมกับพระพุทธเจ้ามากกว่าเทพองค์อื่นๆ หรือที่เรียกว่า "พุทธอุปัฎฐาก" แม้แต่พระอินทร์ ก่อนเมื่อจะทูลถามปัญหาถึงพระพุทธเจ้าก็ต้องให้พระปัญจสิงขรเป็นผู้นำเข้าเฝ้าทูลขอโอกาสให้ก่อน  

    และในครั้งนั้น เทพคนธรรพ์ได้บรรเลงพิณและขับลำนำพรรณนาในเรื่องพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นข้ออุปมา ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงชมเชยว่าเสียงพิณและเสียงขับกล่อมของพระปัญจสิงขร มีความกลมกล่อมไม่ต่างกัน เสียงพิณก็มีลีลาละมุนละม่อมเสมอสมานเป็นอันหนึ่งอันเดียว และหลังจากนั้นพระปัญจสิงขรจึงทูลขอโอกาสให้พระอินทร์ และพระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้พระอินทร์เข้าเฝ้าและทูลถามปัญหาต่อพระพุทธองค์

    นอกจากนี้เมื่อคราวพุทธองค์เสด็จจากสวรรค์ลงมายังโลกมนุษย์ ก็จะต้องมีดนตรีของสรวงสวรรค์บรรเลงนำลงมา และพระปัญจสิงขรก็จะเป็นผู้ดีดพิณ รวมถึง ไกวบัณเฑาะว์ นำในการนำเสด็จของพระพุทธเจ้าในทุกๆ ครั้ง

    .

    .

    .

    ในวรรณคดีไทยได้มีการกล่าวถึงเทพองค์นี้อย่างละเอียดก็เรื่อง ปัญจสีขรเทพคนธรรพ์คำกลอน บทประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ์) กวีในสมัยรัชกาลที่ 6 ผู้ประพันธ์เรื่อง อิลราชคำฉันท์นี้เอง

    เรื่องมีอยู่ว่า...

    พระอินทร์ เมื่อถึงคราวจะต้องจุติแล้ว ก็เกิดอาลัยอาวรณ์ในทิพยสมบัติ รำพึงถึงมเหสีทั้งสี่ (นางสุธรรมา สุจิตรา สุนันทา สุชาดา) ตลอดถึงเหล่าสุรางค์นางฟ้าในสวรรค์ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ปราสาทพระราชวัง เทวสภา ต้นปาริกชาติ ช้างเอราวัณ เวชยันต์ราชรถ

    เมื่อความทุกข์โทมนัสมีถึงเพียงนี้ จึงเห็นว่าผู้ที่จะระงับความทุกข์ร้อนนี้ได้มีแต่เพียงแต่ พุทธองค์ซึ่งกำลังประทับอยู่ที่ถ้ำอินทศาล เมืองราชคฤห์เท่านั้น 

    แต่จะไปพบเพียงคนเดียวก็เกรงว่าจะไม่ได้เรื่อง จึงจะชวนหมู่เทพเทวาไปด้วย แต่พระอินทร์ก็ยังกลัวอีกว่าไปกันมากจะดูเป็นการเกรียวกราวโข (เรื่องมากจริงๆเลย พระอินทร์เนี่ย =_=)

    พระอินทร์จึงบัญชา ปัญจสิขรเทพบุตร ผู้ชำนาญเพลงไปพบพุทธองค์ก่อน เมื่อไปถึงปัญจสีขรก็แอบบรรเลงพิณรำพันถึง นางฟ้าอัจฉสา แต่นางนั้นกลับแอบชอบ สิขัณเทพบุตร ปัญจสีขรจึงเข้าตามตรอกออกตามประตูนำพิณไปบรรเลงยังราชวังของติมพรุราชา ผู้เป็นบิดาของนางฟ้าอัจฉสา (ขนาดเทวดายังมีเรื่องรักๆใคร่ๆแบบนี้เลยนะเนี่ย)

    ปัญจสีขรมัวแต่พิณเสียจนลืมพระอินทร์ไปเสียสนิท พระอินทร์สั่งให้ไปตามตัวมา ปัญจสีขรจึงพระอินทร์ไปพบพุทธองค์ เมื่อได้สดับฟังธรรมแล้ว องค์อินทร์ก็คลายความเศร้าหมองทั้งปวง และมอบนางฟ้าอัจฉสาให้ครองคู่อย่างมีความสุข

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×