ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #63 : พิธีอัศวเมธ พิธีประกาศความเป็นใหญ่

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.33K
      13
      29 ก.ค. 64

    ในอินเดียโบราณมีพิธีประกาศที่จะประกาศความเป็นใหญ่เป็นโตของพระราชาอยู่พิธีหนึ่ง ซึ่งเรียกกันมาว่าพิธี “อัศวเมธ” หรือการฆ่าม้าบูชายัญนี้เอง

    พระยาสัจจาภิรมย์อุดมราชภักดี (สรวง ศรีเพ็ญ)เล่าไว้ในหนังสือ "เทวกำเนิด" ว่า

     “พิธีอัศวเมธทำได้แต่เฉพาะผู้เป็นราชาธิบดี การที่ทำก็มุ่งหมายเพื่อขอพรพระผู้เป็นเจ้า ในสมัยโบราณกาลนิยมว่าเป็นพิธีสำหรับขอลูก ต่อมาภายหลังจึงถือกันว่าเป็นพิธีแผ่อำนาจ ”

    การทำพิธีอัศวเมธยาคะ หรือ อัศวเมธ (Ashvamedha) เป็นการแผ่แสนยานุภาพรุกรานดินแดนทั่วโลก และประกาศให้บรรดาหัวเมืองทั้งหลายว่าอย่าแหยมกับตูข้ามิฉะนั้นจะเจอดีนะจ๊ะ 

    พิธีนี้จะต้องเลือกม้าตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เมื่อม้าคลอดออกมาแล้วก็ต้องดูแลประคบประหงมเป็นพิเศษตลอดสามปี และจะต้องมีการบูชาเทพเทวา 3 องค์ คือพระอินทร์ (Indra) พระยม (Yama) และ พระวรุณ (Varuna)

    ภายหลังที่ลูกม้านั้นอายุเกิน 3 ปีแล้ว ก็จะปล่อยให้ม้าวิ่งเล่นไปตามแว่นแคว้นต่าง ๆ โดยจะมีกองทัพติดตามไปด้วย เมืองใดออกมาต้อนรับม้าเป็นอย่างดี ก็แล้วกันไป แต่ถ้าไม่ออกมาก็แค่ไฝว้ให้ถึงตายก็แค่นั้นเอง เมื่อนำม้าไปเที่ยวครบหนึ่งปีแล้ว ก็นำม้ากลับมา แล้วจะสมโภชฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ ฉลองเสร็จก็จะฆ่าม้าตัวนั้นมาบูชายัญ (เผาไฟ) โดยผู้ที่ฆ่าม้าจะต้องเป็นพระอัครมเหสี

    ม้าที่ใช้ในการประกอบพิธีอัศวเมธนี้ต้องใช้ม้าที่ดี ส่วนมากจะเป็นม้าทรงของพระราชา และม้าเช่นนี้เรียกว่าม้าอุปการ อย่างที่เรียกกันว่าปล่อยม้าอุปการ ก็คือการทำพิธีอัศวเมธนี่เอง เรื่องของพิธีอัศวเมธมีในวรรณคดีของเราหลายเรื่อง เช่น เรื่องรามเกียรติ์ เรื่องอิลราชคำฉันท์ เป็นต้น 

    พิธีอัศวเมธนี้ถ้าใครกระทำได้ถึง 100 ครั้ง ก็จะได้เป็นพระอินทร์ เพราะฉะนั้นเมื่อมีการทำพิธีอัศวเมธขึ้นเมื่อใด พระอินทร์ก็มักจะหาทางทำลาย มิให้ประสบความสำเร็จ การทำพิธีอัศวเมธนั้นนำความเดือดร้อนมาให้แก่ผู้อื่นมากมาย 

    ในวรรณคดีไทยจึงถือว่า การปล่อยม้าอุปการนั้นเป็นการแผ่อำนาจบาตรใหญ่ ดังตัวอย่างในเรื่องพระอภัยมณี ว่า

    • ทำปล่อยม้าอุปการเที่ยวพาลเขา……เห็นโง่เง่าแล้วจะจับไปปรับไหม

    ตามตำนานของอินเดีย ราชาที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ธรรมราชา” นั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 คน คนหนึ่งคือ ศรีราม (Rama) จากรามยณะ อีกคนหนึ่งคือยุธิษฐิระ (Yudhishthira) จากมหาภารตะ 

    ซึ่งทั้งสองคนต่างก็ประกอบพิธีราชาภิเษกที่เรียกกันว่า ราชสูยะ (Rajasuya) ซะก่อน และเมื่อต้องการจะแผ่ขยายอำนาจจึงจะประกอบพิธีอัศวเมธทีหลัง 

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×