ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #54 : “ขัตติยพันธกรณี” ความระทมของพระพุทธเจ้าหลวง

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.99K
      26
      28 ก.ค. 64

    ฉันรู้ตัวชัดอยู่ว่า ถ้าความเป็นเอกราชของกรุงสยามได้สิ้นสุดไปเมื่อใด ชีวิตรฉันก็คงจะสุดสิ้นไปเมื่อนั้น

    พระราชหัตถเลขาของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ถึงที่ประชุมเสนาบดีเมื่อวันที่ 10 เม.ย. พ.ศ.2436 (ร.ศ.112) หลังจากเสด็จไปตรวจเยี่ยมป้อมพระจุลจอมเกล้าเพื่อป้องกันภัยจากตะวันตกที่เริ่มจะคุกรุ่นเข้ามาทุกขณะ หลังจากนั้นไม่ถึง 4 เดือนก็เกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ขึ้นมานำไปสู่กวีนิพนธ์เรื่อง ขัตติยพันธกรณี

    คำว่า “ขัตติยพันธกรณี” แปลว่า เหตุอันเป็นข้อผูกมัดของกษัตริย์ ซึ่งก็หมายถึงพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ ๕ นี้เอง

    ย้อนกลับไปเมื่อ ร.ศ. 112 ลัทธิจักรวรรดินิยมของตะวันตกเผยแพร่ขยายเข้ามาถึงดินแดนสยาม ประเทศเพื่อนบ้านรอบข้างล้วนต้องสูญเสียเอกราชให้กับชาติตะวันตกไปแทบทั้งสิ้น ความขัดแย้งดังกล่าวเริ่มขึ้นเมื่อ โอกุสต์ ปาวี (Auguste Pavie) มาเป็นกงสุลฝรั่งเศสมายังกรุงเทพมหานครเพื่อนำลาวไปอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส 

    ทางฝ่ายสยามหลงเชื่อว่าพวกอังกฤษว่าจะให้การสนับสนุน จึงเซย์โนที่จะยกดินแดนทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขงให้ นำมาซึ่งความกระทบกระทั่งกันระหว่างไทยกับฝรั่งเศสจนขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ จนวันที่ 13 กรกฎาคม ร.ศ. 112 กองเรือฝรั่งเศสส่งเรือรบรุกล้ำฝ่าสันดอนเข้ามาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา หมู่ปืนใหญ่ที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าและหมู่เรือรบซึ่งเป็นแนวป้องกันของไทยได้ยิงสกัดถูกเรือนำร่องเสียหาย 

    การปะทะกันจึงได้เกิดขึ้น ทหารไทยเสียชีวิต 8 นายและบาทเจ็บ 40 นาย ส่วนทหารฝรั่งเศสเสียชีวิต 3 นายและบาดเจ็บอีก 3 นาย จากนั้นเรือรบฝรั่งเศสทั้งสองก็แล่นฝ่าเข้ามาที่สถานกงสุลฝรั่งเศสตรงถนนเจริญกรุง

    ผลจากการปะทะกันครั้งนี้ ฝรั่งเศสได้บังคับให้สยามลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคมปีเดียวกัน

    สนธิสัญญาฉบับดังกล่าวกำหนดให้สยามชดใช้ค่าเสียหายให้ฝรั่งเศสเป็นเงินจำนวน 3 ล้านฟรังก์ ตีเป็นเงินไทยในสมัยนั้นประมาณ 1,560,000 บาท

    รวมทั้งบังคับให้รัฐบาลสยามต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ตลอดถึงเกาะแก่งในแม่น้ำโขงทั้งหมด เป็นพื้นที่ทั้งหมด 143,000 ตารางกิโลเมตร และฝรั่งเศสยังได้ยึดเมืองจันทบุรีเอาไว้ จนกว่าสยามจะชดใช้ค่าเสียหายจนครบ ด้วยเงินถุงแดงที่รัชกาลที่ 3 พระราชทานไว้ใช้ในยามวิกฤต ออกมากู้ประเทศ

    จากการยุทธนาวีที่ปากน้ำ การยื่นคำขาดของฝรั่งเศส การถูกปฏิเสธจากพวกอังกฤษ การที่เมืองจันทบุรีถูกยึด ได้ทำให้รัชกาลที่ 5 ที่ประชวรด้วยโรคหัวใจและเป็นฝีสามยอด (ที่ตะโพก ที่เส้นสันระหว่างหน้าแข้ง และที่ท้องน่อง) อยู่ก่อนหน้านี้แล้วก็เกิดความทุกข์โทมนัสและตรอมใจเป็นอย่างยิ่งจนทำให้พระอาการทรุดหนักกว่าเดิมมากนัก

    เนื่องด้วยทรงกลัวจะเป็นเหมือนทวิราช (พระมหินทราธิราชและพระเจ้าเอกทัศน์) ที่เสียเอกราชไปให้กับเจ้าต่างด้าวท้าวต่างแดน จึงทำให้ทรงหมดกำลังใจที่จะดำรงพระชนม์ชีพอีกต่อไป ทำให้ทรงหยุดเสวยพระโอสถและได้พระราชนิพนธ์บทโคลงและฉันน์ขึ้นมาเพื่อลาเจ้านางบางพระองค์ 

    กรมพระยาดำรงราชานุภาพก็รีบเขียนฉันท์ถวายตอบกลับทันทีทันใดเพื่อให้กำลังใจและโน้มน้าวใจรัชกาลที่ 5 ให้สู้ต่อไป

    ทำให้รัชกาลที่ 5 เริ่มทรงมีพระราชหทัยดีขึ้นและเริ่มกลับมาเสวยพระโอสถเพื่อจะได้มีแรงกลับมาพัฒนาและปรับปรุงสยามประเทศมีความเจริญเทียบเท่าชาติอารยะทั้งหลาย

    ต่อมาพระราชนิพนธ์และพระนิพนธ์ของทั้งสองพระองค์ ทางคณะกรรมการจัดทำหนังสือเรียนภาษาไทย ชุด วรรณลักษณวิจารณ์ หลักสูตรมัธยมปลาย พ.ศ. 2533 ได้นำมาคัดลอกพร้อมตั้งชื่อว่า "ขัตติยพันธกรณี" อันแปลว่า "เหตุอันเป็นข้อผูกพันของพระราชา"

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×