ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #331 : โคลงเฉลิมพระเกียรติกรมพระยาบำราบปรปักษ์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 132
      2
      7 ก.ค. 63

    โคลงเฉลิมพระเกียรติกรมพระยาบำราบปรปักษ์ กล่าวถึงประวัติและอัจฉริยภาพด้านต่างๆ ดังนี้ 

    โคลงประวัติ (4 บท) 
    โคลงแสดงอัธยาศัย (14 บท) 
    โคลงแสดงตำแหน่งอธิบดีในกรมต่างๆ ได้แก่ กรมมหาดไทย กรมวัง กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมช้าง กรมธรรมการ กรมพระแสงในซ้าย (12 บท) 
    โคลงแสดงตำแหน่งเจ้ากรมพิธีการของหลวง (2 บท) 
    โคลงแสดงอัจฉริยภาพคิดเครื่องราชตราจุลจอมเกล้า (2 บท) 
    คลงแสดงสรรพความรู้ที่กรมพระยาบำราบปรปักษ์เชี่ยวชาญ เช่น โหราศาสตร์ พุทธศาสตร์ ไสยศาสตร์ ภูมิศาสตร์ รัตนศาสตร์ พงศาวดารและราชประเพณี (50 บท)

    โดยมีเหล่ากวีผู้มีความสามารถมาร่วมกันแต่ง ดังนี้

    - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    - กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
    - กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
    - กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
    - กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
    - กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
    - กรมพระสมมตอมรพันธุ์
    - กรมหลวงพิชิตปรีชากร
    - กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์
    - กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
    - กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช
    - กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส
    - กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์
    - กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา
    - กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย
    - กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ
    - กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ 
    - กรมหมื่นปราบปรปักษ์
    - พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์
    - หม่อมเจ้าชายดำ
    - หม่อมเจ้าอลังการ
    - หม่อมเจ้ากรรเจียก
    - หม่อมเจ้าพระประภากรบวรวิสุทธิวงษ์
    - หม่อมเจ้าวัชรินทร์
    - เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค)
    - พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
    - พระยาราชสัมภารากร (เลื่อน)
    - พระยาอิศรพันธ์โสภณ (หนู)
    - พระยาราชโยธา (เผื่อน)
    - พระยาวิเศษฦๅไชย (จ่าย)
    - พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม)
    - พระมนตรีพจนกิจ (เหว่า)
    - หลวงฤทธิพลไชย (บัว)
    - หลวงราชพงศ์ภักดี (ม.ร.ว.วิน อิศรางกูร) 
    - หลวงฤทธิจักรกำจร (ม.ล.อุกฤษฐ์ เสนีวงศ์)
    - หลวงไพศาลศิลปสาตร (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) 
    - ขุนภักดีอาสา (นก)
    - ขุนโอวาทวรกิจ (แก่น)
    - นายเสถียรรักษา (ศิริ)
    .
    .
    .
    กรมพระยาบำราบปรปักษ์ เป็นโอรสของรัชกาลที่ 2 กับเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี 
    ต้นราชสกุลมาลากุล

    รับราชการฉลองพระเดชพระคุณมาจนตลอด ครั้นในแผ่นดินรัชกาลที่ 4 ก็ได้อุตสาหะรับราชการฉลองพระเดชพระคุณมากขึ้น รัชกาลที่ 4 มีพระราชดำริสมควรจะเพิ่มเกียรติยศให้ยิ่งใหญ่ขึ้น จึงโปรดให้เป็นเจ้าฟ้ามหามาลา

    ต่อมาในปี 2410 สถาปนาขึ้นเป็นกรมขุนบำราบปรปักษ์ ในรัชกาลเดียวกันนี้ก็โปรดให้สำเร็จราชการในกรมใหญ่น้อยต่างๆ หลายกรม คือกรมวัง กรมภูษามาลา กรมช้าง กรมพระธรรมการและโหรพราหมณ์เป็นต้น

    ถึงรัชกาลพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปี 2417 สถาปนาเป็นกรมพระบำราบปรปักษ์  โปรดให้สำเร็จราชการในกรมพระคลังมหาสมบัติและกรมอื่น ๆ อีกหลายกรม

    ครั้นปี 2421 เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช  บุณยรัตพันธุ์) ที่สมุหนายกถึงอสัญกรรม จึงโปรดให้สำเร็จราชการสิทธิขาดในกรมมหาดไทย ต่อมาปี 2428 สถาปนาเป็นกรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์

    กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2429 สิริพระชนมายุ 68 ปี 

    ภายหลังในรัชกาลพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ โปรดให้ออกพระนามว่า กรมพระยาบำราบปรปักษ์

    [รายละเอียดสามารถดูเพิ่มเติมได้ในตอนที่ 329 : เจ้าฟ้าอาภรณ์ เจ้าฟ้ากลาง เจ้าฟ้าปิ๋ว]
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×