ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #310 : ผู้หญิงศิวิไลซ์ : ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 250
      8
      28 ก.ย. 62

    ศ.พิเศษ ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ เป็นผู้มีคุณูปการสำคัญแก่วงการศึกษาของประเทศไทย และยังเป็นบุคคลสำคัญของโลกที่ได้รับการยกย่องจากยูเนสโกอีกด้วย
    .
    .
    .
    ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2454 เดิมชื่อ ม.ล.บุญเหลือ กุญชร เป็นธิดาลำดับที่ 32 ของเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) กับหม่อมนวล เกิดที่บ้านย่านคลองเตย เป็นน้องสาวร่วมบิดากับหม่อมหลวงบุปผา นิมมานเหมินท์ นักเขียนที่มีนามปากกาว่า "ดอกไม้สด" 
    .
    .
    .
    ม.ล.บุญเหลือ เข้าเรียนในโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ โรงเรียนคาทอลิกคอนแวนต์ที่กรุงเทพฯ และปีนัง จนถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมินนิโซตา (University of Minnesota)


    ประกอบอาชีพเป็นครู นักการศึกษา และผู้บริหารหลายตำแหน่ง

    ผลงานของม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ จำแนกได้ตามประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้

    ด้านการศึกษา :
    - ร่วมก่อตั้งหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา
    - ร่วมก่อตั้งกิจการวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
    - ร่วมวางพื้นฐานก่อตั้งวิทยาลัยการศึกษาบางแสน และเคยดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี
    - ร่วมก่อตั้งคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตทับแก้ว และเป็นคณบดีคนแรก
    - ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านการศึกษา และได้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์อีกด้วย


    ด้านภาษาไทย :
    - มีส่วนร่วมในการก่อตั้งชมรมภาษาไทยของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    - ได้เข้าเฝ้ารัชกาลที่ 9 และร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการใช้คำภาษาไทยในยุคใหม่ 
    - เป็นประธานคณะกรรมการร่างและจัดทำตำราเรียนภาษาไทยระดับมัธยมต้นและมัธยมปลาย


    ด้านภาษาต่างประเทศ :
    - เป็นประธานคณะกรรมการแห่งชาติ เพื่อความร่วมมือในด้านการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ 
    - เป็นผู้ประสานติดต่อร่วมมือกับองค์การต่างๆ อาทิ British Council, Fulbright, East-West Center
    - เป็นผู้ริเริ่มและมีส่วนผลักดันให้ก่อตั้งสถาบันภาษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


    ด้านวรรณคดีวิจารณ์ :
    ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ เป็นสตรีที่มีความคิดก้าวหน้าในเชิงการวิเคราะห์และวิจารณ์ ได้เขียนตำราวรรณคดีและหนังสือวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีไว้หลายเล่ม หนึ่งในจำนวนนี้คือ เรื่อง "หัวเลี้ยวของวรรณคดีไทย" ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน รวมถึงเป็นหนังสือที่มหาวิทยาลัยลอนดอน (University of London) ใช้สอนวรรณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  

    นอกจากนี้ยังมีหนังสืออีกเล่มหนึ่งซึ่งนักศึกษาในมหาวิทยาลัยหลายแห่งใช้เป็นตำราในการศึกษาและการวิจารณ์วรรณคดี คือ "วิเคราะห์รสวรรณคดี"

    ด้านความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติและวัฒนธรรม :
    - เป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมประชุมสภาสตรีระหว่างประเทศ
    - เป็นผู้แทนของกระทรวงศึกษาธิการในการประชุมของ Southeast Asian Study Group
    - ได้รับเชิญให้เป็นผู้บรรยายให้กับนักศึกษาหน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกา 


    ด้านการแปล :
    - ศิลาถรรพ์ (The Talisman) ของเซอร์วอลเตอร์ สก็อตต์ (Sir Walter Scott)
    - เรื่องสั้นหลายเรื่องรวมอยู่ในหนังสือ หน้านี้ของคุณหนู

    ด้านการเป็นนักเขียน :
    - ทุติยะวิเศษ
    - สะใภ้แหม่ม
    - สุรัตนารี
    - ดร.ลูกทุ่ง
    - ตกหลุมตกร่องแล้ว ใดใดก็ดี
    - ฉากหนึ่งในชีวิต
    - คนถูกคนผิด
    - เสน่ห์ปลายจวัก
    - ช้างพลายมงคลผู้อาภัพ
    - หน้านี้ของคุณหนู
    - หนังสือที่เขียนในโอกาสพิเศษ
    - ความสำเร็จและความล้มเหลว
    -ความสุขของสตรี
    .
    .
    .
    ม.ล.บุญเหลือสมรสกับนายแพทย์ชม เทพยสุวรรณ เมื่อปี 2503 ไม่มีบุตรและธิดา 
    และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2525 สิริอายุรวมได้ 70 ปี
    .
    .
    .
    ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2554 ที่ประชุมใหญ่องค์การยูเนสโกได้ประกาศยกย่องม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณเป็น "บุคคลสำคัญของโลก" เนื่องในโอกาสวันครบรอบ 100 ปีชาตกาล ในวันที่ 13 ธันวาคม 2555 


    ในฐานะที่เป็นผู้ที่มีผลงานดีเด่นด้านการศึกษา วัฒนธรรม ภาษาและวรรณคดี กรมส่งเสริมสถานภาพสตรี และการส่งเสริมสันติภาพ พร้อมกับบุคคลและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของโลกอีก 97 รายการ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×