ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #305 : จินดามณี 2

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 181
      3
      17 ก.ย. 62

    หลายคนอาจจะทราบแล้ว่า จินดามณีนั้นเป็นแบบเรียนฉบับแรกของไทย ที่เขียนโดยออกพระโหราธิบดี


    แต่ก็มีใครทราบไหมว่า ที่กรุงรัตนโกสินทร์ ก็มี จินดามณี 2 เหมือนกัน
    .
    .
    .
    จินดามณี 2 เป็นผลงานนของกรมหลวงวงศาธิราชสนิท เริ่มต้นด้วยวสันตดิลกฉันท์รวม 12 บท นมัสการพระรัตนตรัยแล้วบรรยายสาระสังเขปของหนังสือเรียนซึ่งเริ่มด้วยอักขรวิธี  และการแต่งคำประพันธ์ชนิดต่างๆ ต่อจากนั้นจึงเริ่มบทเรียนขึ้นต้นตามการเรียนหนังสือไทยสมัยก่อนว่า “นโม พุทธาย สิทธํ”  


    กล่าวถึงสระ พยัญชนะ แจกลูกไปทีละมาตรา รวมถึงอักษรควบกล้ำและมาตราตัวสะกด ตั้งแต่แม่ ก กา  กก  กง  กด  กน  กบ  กม  และ เกอย (หนังสือเรียนสมัยนั้นรวมแม่เกอวไว้ในแม่เกอย)


    ระบุหลักการอ่านออกเสียงพยัญชนะประสมสระไว้อย่างละเอียดทั้งกลุ่มอักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ  รวมถึงการผันอักษร  เมื่อจบการแจกลูกผันอักษรแล้ว ยังได้ใช้กาพย์ยานีสรุปกฎเกณฑ์การผันอักษร การอ่านออกเสียงให้ถูกต้อง  ลักษณะของคำเป็นคำตาย รวมถึงการทบทวนตัวสะกดในมาตราต่าง ๆ 


    ต่อจากนั้นใช้กาพย์ฉบังบรรยายวิธีการใช้อักษรนำ และเครื่องหมายต่าง ๆ รวมถึงหลักการใช้ ส ษ ศ และไม้ม้วน ไม้มลาย ซึ่งอ้างไว้ชัดเจนว่าใช้ตามจินดามณีเล่ม 1 
    .
    .
    .
    จินดามณี ไม่ได้มีฉบับเดียว ได้มีการปรับปรุงแบบเรียนเพื่อให้มีความสอดคล้องกับยุคสมัย โดยยังคงยึดต้นแบบจากหนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดีเป็นมาตรฐานไว้ ยุคหลังๆ มามีจินดามณีเกิดขึ้นอีกหลายเล่ม ได้แก่

         - จินดามณี เล่ม 1 ฉบับพระโหราธิบดี
         - จินดามณี เล่ม 2 ฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท
         - บันทึกหนังสือเรื่องจินดามณี ของนายธนิต อยู่โพธิ์
         - จินดามณีฉบับพระเจ้าบรมโกศ เก็บรักษาที่ราชสมาคมแห่งเอเชีย (Royal Asiatic Society) กรุงลอนดอน


    อย่างไรก็ตาม ต้นฉบับของจินดามณี มีเนื้อความหลายอย่าง ซึ่งนายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ได้รวบรวมเนื้อหาในจินดามณีแต่ละฉบับไว้ และแบ่งความแตกต่างของเนื้อเรื่องไว้ 4 ประเภท ดังนี้

    1. ฉบับความแปลก
    2. ฉบับความพ้อง
    3. ฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท
    4. ฉบับพิมพ์ของหมอบรัดเล
    .
    .
    .
    กรมหลวงวงศาธิราชสนิท เป็นโอรสของรัชกาลที่ 2 กับเจ้าจอมมารดาปรางใหญ่ ต้นราชสกุลสนิทวงศ์ และมีศักดิ์เป็นทวดของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง


    ท่านทรงกำกับกรมหมอหลวง และศึกษาวิชาการแพทย์สมัยใหม่จากมิชชันนารีชาวอเมริกัน ได้แต่งตำราสรรพคุณยาสมุนไพรไทยจำนวน 166 ชนิด ซึ่งเป็นตำราสมุนไพรเล่มแรกของไทย นอกจากนี้ ท่านยังเป็นแพทย์ไทยคนแรกที่ได้รับประกาศนียบัตรจากสถาบันการแพทย์ของยุโรป และยังได้รับเชิญให้เป็นสมาชิกของสถาบันการแพทย์แห่งนิวยอร์ก ชาวต่างชาติในสยามเรียกขานท่านว่า "The Prince Doctor"


    ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 4 ท่านได้กำกับราชการมหาดไทย กรมพระคลังสินค้า และยังเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน นอกจากนี้พยังเป็นเจ้านายหนึ่งในสี่ที่รัชกาลที่ 4 หมายจะให้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์


    ในปี 2550 ยูเนสโกได้ยกย่องให้ท่านเป็น "บุคคลสำคัญของโลก"
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×