ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #296 : นิราศปากลัด : Written by Women

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 195
      8
      26 ต.ค. 63

    ตามธรรมเนียมนิยมในสยามประเทศ เมื่อชายต้องจากที่อยู่ หรือมีเหตุให้เดินทางไกล ก็มักจะบันทึก + พรรณนาเรื่องราวต่างๆ เรียกว่า “นิราศ”


    แต่เชื่อไหมก็มีนิราศเรื่องหนึ่งที่แต่งโดยผู้หญิง !!!
    .
    .
    .
    ความจริงข้าพเจ้า.......เปนนา  รีเฮย
    ทั้งสะติปัญญา..........ต่ำแต้ม
    อีกคำว่าโหยหา.........ถึงมิ่ง  มิตรเฮย
    เปนแต่เก็บเหลวแกล้ม...อย่าได้พลอยเห็น


    นิราศที่ว่าก็คือนิราศปากลัด

    นิราศปากลัดปัจจุบันที่พบมีอยู่ 3 สำนวน สองสำนวนแรกเป็นผลงานของกวีชายนิรนาม


    ส่วนสำนวนสุดท้ายคือ นิราศปากลัดที่พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ เสวกเอก พระยาเขื่อนเพ็ชร์เสนา (ทรัพย์  อุณหะนันทน์) ผู้ประพันธ์เสำนวนนี้คือ คุณหญิงเขื่อนเพ็ชร์เสนา (ส้มจีน) ภรรยาของพระยาเขื่อนเพ็ชร์เสนา
    .
    .
    .
    คุณหญิงเขื่อนเพ็ชร์เสนาได้แต่งนิราศปากลัดเมื่อรัตนโกสินทร์ศก 112 หรือปีพ.ศ. 2437 เมื่อพระยาเขื่อนเพ็ชร์เสนายังเป็นจมื่นประธานมณเฑียร ปลัดกรมพระตำรวจสนมทหารซ้าย



    นิราศปากลัดกล่าวถึงการเดินทางตั้งแต่ลงเรือที่
    - ท่าช้าง
    - คลองมอญ 
    - ท่าเตียน 
    - วัดแจ้ง 
    - คลองบางหลวง
    - วัดกัลยาณมิตร
    - คลองตลาด
    - บ้านกระดีจีน (กุฎีจีน)
    - วัดประยูร
    - คลองสะพานหัน
    - คลองบ้านสมเด็จ
    - ตึกแดง (มัสยิดกูวติลอิสลาม)
    - สามปลื้ม
    - ตึกขาว (มัสยิดเซฟี)
    - สำเพ็ง
    - วัดปทุมคงคา
    - คลองสาน
    - โรงภาษี (ศุลกสถาน)
    - บางรัก
    - วัดยานนาวา
    - บางขวาง
    - วัดบัวขาว
    - วัดพญาไกร
    - วัดลิงโจน
    - บางน้ำชน
    - บางคอแหลม
    - วัดบุคโล
    - ดาวคะนอง
    - ถนนตก
    - บางปะแก้ว
    - บางมะกอก (บางปะกอก)
    - บางโคล่
    - ราษฎร์บูรณะ
    - บางปะนาว
    - บางน้ำผึ้ง
    - วัดจางร้อน
    - วัดดอกไม้
    - วัดโปรดเกษ 
    - ปากลัด


    ผู้แต่งบันทึกภาพสังคมในสมัยนั้น กล่าวถึงสถานบันเทิง โรงละครปริ้นซเทียเตอร์ของเจ้าพระยามหินทร์  ห้างสรรพสินค้า เช่น ห้างน้ำหวาน ห้างสี่ตา ห้างหมอสมิท ฯลฯ  การไปรษณีย์การ การโทรเลข เป็นต้น
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×