ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #294 : รุไบยาต

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 359
      9
      2 ก.ย. 62

    รุไบยาต (Rubaiyat‎) เป็นคำในภาษาเปอร์เซีย ยืมมาจากภาษาอาหรับ "รุบาอียาต" หมายถึง บทกวี ซึ่งเป็นกวีชนิดหนึ่ง ในหนึ่งบทมีสี่บาท


    รุไบยาตที่รู้จักกันดี คือ รุไบบาตของโอมาร์ คัยยาม (Rubaiyat of Omar Khayyam)
    .
    .
    .
    รุไบยาตของโอมาร์ คัยยามเป็นบทกวีเปอร์เซียแต่งโดย โอมาร์ คัยยาม (Omar Khayyam) กวีและนักปราชญ์ชาวเปอร์เซีย เป็นกวีที่มีลีลาอันไพเราะ เปรียบเปรยศาสนาของผู้นับถือในยุคสมัยนั้น และเชิญชวนมนุษย์ทั้งหลายให้รีบหาความสนุกสบายต่าง ๆ ในโลก ด้วยการเสพสุขจากรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส 


    อกจากจะเป็นบทกวีที่มีความไพเราะแล้ว ยังแสดงคุณค่าทางปรัชญาชีวิตอันลึกซึ้ง


    รุไบยาต เป็นโศลกมีความยาวกว่า 500 บาท ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย ในฉบับภาษาอังกฤษที่มีชื่อเสียงมากเป็นของเอ็ดเวิร์ด ฟิตซ์เจอรัลด์ (Edward Fitzgerald) ตีพิมพ์ครั้งเมื่อปี 1859 (พ.ศ. 2402)
    .
    .
    .
    สำหรับภาษาไทย แปลมาจากฉบับของเอ็ดเวิร์ด ฟิตซ์เจอรัลด์เป็นครั้งแรกโดยกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ซึ่งทรงแปลเป็นกาพย์และโคลงสี่สุภาพจำนวน 204 บท พิมพ์ครั้งแรกในปีพ.ศ. 2457


    ต่อมาแคน สังคีต (พิมาน แจ่มจรัส) แปลรุไบยาตของโอมาร์ คัยยัม โดยใช้ชื่อว่า รุไบยาท เรียบเรียงเป็นกลอนจำนวน 101 บท พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2508


    ต่อมาไรน่าน อรุณรังษี แปลในนามปากกา วีนัส กิติรังษี พิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์การเวก เมื่อพ.ศ. 2521


    ต่อมาสุริยฉัตร ชัยมงคล แปลเป็นกลอนจำนวน 75 บท พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2528 โดยสำนักพิมพ์เคล็ดไทย
    .
    .
    .
    รุไบยาตมีอิทธิพลกับวรรณกรรมไทยมากนัก 


    วิมานทะลาย ของหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง ได้กล่าวถึงรุไบยาตว่า “ปราชญ์โอมา ไคยามได้กล่าวไว้ว่า ดูหนังดูละครแล้วย้อนดูตัว ยิ้มเยาะเล่นหัว เต้นยั่วเหมือนฝัน เป็นความจริงที่จับใจข้าพเจ้ายิ่งนัก ยิ่งกว่านั้น ข้าพเจ้ายังรู้สึกว่า โอมา ไคยาม เขียนบทนี้ในเวลาที่จิตใจปลอดโปร่งเป็นสุข ด้วยวิจารณญาณอันประเสริฐ สามารถแลเห็นความจริง ความฝัน ความทุกข์ ความสุขแห่งมนุษย์ได้โดยถ่องแท้ ละคร…ละครแห่งชีวิต ละครแห่งโลก”


    เพลง โลกนี้คือละคร มีเนื้อร้องเริ่มต้นว่า "โลกนี้ยิ่งดูยิ่งดูยอกย้อน เปรียบเหมือนละคร ทุกบททุกตอนเร้าใจ"


    บรมครูทางละครร้องของไทย จวงจันทร์ จันทร์คณาได้อ่านรุไบยาต ประทับใจ คำว่า “พรานบูรพ์” ซึ่งหมายถึง พรานแห่งทิศบูรพา หรือพระอาทิตย์ จึงใช้นามปากกาว่า “พรานบูรพ์” ตาม
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×