ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #290 : ไก่ฟ้า..พญาลอ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 302
      14
      17 ส.ค. 62

    ไก่ฟ้าพญาลอ (Siamese fireback) เป็นไก่ขนาดกลางในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) มีขนสวยงาม พบในประเทศไทย, กัมพูชา, ลาว และเวียดนาม


    ในไทยพบบนเทือกเขาขุนตาล ต้นน้ำแม่น้ำยม ภูเขียว ทุ่งแสลงหลวง ป่าแถบระยอง จันทบุรี และตราด


    เหตุจากปี 2405 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไก่ฟ้าพญาลอเป็นของขวัญแก่พิพิธภัณฑ์สัตวศาสตร์แห่งจักรพรรดิ์ (Imperial Zoological Museum)  ชาวยุโรปจึงตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่ถิ่นกำเนิด 


    จากเหตุนี้ครั้งหนึ่งไก่ฟ้าพญาลอเคยถูกเสนอชื่อเป็นนกประจำชาติ
    .
    .
    ไก่ฟ้าพญาลอเป็นไก่ขนาดกลางยาวประมาณ 80 ซม. ตัวผู้มีหน้ากากสีแดงสด มีสีออกเทาดำเหลือบเขียวโดยเฉพาะบริเวณหาง ลักษณะเด่นจะอยู่ที่ขนหงอนสีดำยาวโค้งไปด้านหลัง อีกทั้งแผ่นหนังบริเวณหน้า เกล็ดแข้งและตีนมีสีแดงสด เหนือตะโพกมีแถบขนสีทอง และใต้ลงมาจนถึงขนคลุมหาง จะเป็นสีแดงเพลิง


    สีสันเช่นนี้จะปรากฏเฉพาะเพศผู้เท่านั้น ส่วนเพศเมียไม่มีขนหงอน และสีขนจะออกน้ำตาลแดง ปีกสีดำมีลายพาด ขาว ในธรรมชาติ ไก่ฟ้าพญาลอจะหวงอาณาเขตหากิน พบได้ตามป่าทึบหรือป่าไผ่ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงที่ราบเชิงเขาในระดับความสูงไม่เกิน 2,000 ฟุต ส่วนอาหารหลักเป็นเมล็ดหญ้า หนอน แมลง ที่ชอบที่สุดเป็นลูกไทรสุก
    .
    .
    ไก่ฟ้าพญาลอชอบอยู่เป็นคู่ ไม่ค่อยตื่นคน ทำให้มองเห็นได้ง่าย หากินในเวลากลางวัน ส่วนกลางคืนมักจะจับคอนนอนตามกิ่งไม้ บินได้ดีพอสมควร แต่ไปไม่ไกลและไม่สูงนัก


    เมื่ออายุเข้าปีที่ 3 จึงเริ่มผสมพันธุ์ได้ ผสมพันธุ์ช่วงฤดูร้อน ทำรังบนพื้นดินที่เป็นแอ่งตื้นใต้พุ่มไม้หนา ปูด้วยใบไม้ใบหญ้า บางครั้งอาจวางไข่ตามโพรงหรือซอกไม้ ออกไข่ครั้งละ 5 - 8 ฟอง ไข่วันเว้น 2 วัน ระยะฟักไข่ 24 - 25 วัน
    .
    .
    ไก่ฟ้าพญาลอปรากฎอยู่ในวรรณคดีหลายเรื่องอย่าง โคลงนิราศสุพรรณ ของสุนทรภู่

    รวังไพรร่ายร้องกร่อ................กร๋อกรอ
    แอ้แอ่แอ้แอ๊อุลอ....................เลียบร้อง
    พญาลอล่อล้อคลอ..................เคล้าคู่  อยู่แฮ
    กะหรอดกรอดกร๊อดกร๋อกร้อง.......กระรอกเต้นเล่นกระแต 
    .
    .
    ปัจจุบันจัดให้ไก่ฟ้าพญาลอเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองและเป็นสัตว์ป่าที่มีแนวโน้มจะสูญพันธุ์ จึงมีผู้สนใจนำเข้าพ่อแม่พันธุ์จากต่างประเทศซึ่งมีราคาค่อนข้างแพงมาก 


    ปัจจุบันราชการได้มีการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยง โดยมีผู้ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×