ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #28 : ประชุมปกรณัม ที่รวมนิทานซ้อนนิทาน(ซ้อนนิทานอีกนะเธอว์)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 16.65K
      40
      28 ก.ค. 64

    ประชุมปกรณัม เป็น หนังสือที่รวบรวมนิทานสุภาษิตที่มีลักษณะเป็นนิทานซ้อนนิทาน ซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามหลักฐานที่ได้ถูกบันทึกไว้ช่วงศตวรรษที่ 15 

    ปกรณัมทุกภาคมีเรื่องราวส่วนใหญ่เกิดจากความโลภ โกรธ หลง ของผู้มีอำนาจ อันเป็นสาเหตุของการเล่านิทานที่เล่าซ้อนเรื่อง ซึ่งได้คลี่คลายเรื่องราวหรือกิเลสเหล่านั้นลง 

    เรื่องราวที่น่าสนใจในประชุมปกรณัมประกอบไปด้วย 

    1. นิทานอิหร่านราชธรรม
    2. ปักษีปกรณัม 
    3. ปิศาจปกรณัม 
    4. เวตาลปกรณัม 
    5. นนทุกปกรณัม
    6. หิโตปเทศวัตถุปกรณัม

    ประชุมปกรณัมเป็นนิทานสุภาษิตที่ถูกเผยแพร่ในยุคแรกๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ชวา ตอนเหนือของประเทศไทย รัฐฉานของพม่า และกัมพูชา 

    หนังสือนี้เป็นรวมนิทานโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และตกทอดมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่ามีต้นฉบับแปลเป็นภาษาไทยอยู่ในหอหลวงตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ แต่ไม่ปรากฏชื่อผู้แปลและคัดเลือกเรื่อง


    นิทานโบราณเหล่านี้มีที่มาจากวรรณคดี 4 เรื่องคือ 

    นิทานอิหร่านราชธรรม เดิมเรียกนิทานสิบสองเหลี่ยม มีเค้าเรื่องแบบมาจาก นิทานเปอร์เซีย 

    ปักษีปกรณัม ปีศาจปกรณัม และ นนทุกปกรณัม มีที่มาจาก ปัญจตันตระ ฉบับตันโตรปาขยานะ (Pancatantra version Tantropakhyana)

    เวตาลปกรณัม มีที่มาจาก เวตาลปัญจวีมศติ (Vetalapancavimsati)

    หิโตปเทศวัตถุปกรณัม มีที่มาจาก หิโตปเทศ (Hitopadesha)

    .
    .
    .

    นิทานอิหร่านราชธรรม เป็นนิทานซึ่งมุสลิมในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เข้าไปเล่าถวายต่อพระเจ้าแผ่นดิน และเนื่องด้วยนิทานเหล่านี้เป็นคติธรรมสำหรับกษัตริย์ผู้ปกครองแผ่นดินอย่างสูง จึงได้เป็นที่นิยมของคนไทยตลอดมา

    .
    .
    .

    นนทุกปกรณัม กล่าวถึงวัวนนทกคิดเอาใจออกห่างนายได้เล่านิทานโต้ตอบกับศัมพร สุนัขจิ้งจอก เสนาบดีของจัณฑปิงคละผู้เป็นราชสีห์

    .
    .
    .

    ปักษีปกรณัม กล่าวถึงนกต่างๆ มาประชุมเพื่อเลือกนายนกแต่ละตัวได้เล่านิทานนกมาเป็นอุทาหรณ์ให้แก่ที่ประชุมฟัง

    .
    .
    .

    ปีศาจปกรณัม กล่าวถึงพระยาปีศาจจะอภิเษกกับนางมนุษย์ อำมาตย์ทั้งหลายก็ยกนิทานต่างๆ มาเป็นอุทาหรณ์เพื่อห้าม

    .
    .
    .

    เวตาลปกรณัม กล่าวถึงนิทานปริศนาที่เวตาลเล่าให้พระเจ้าอภัยสินฟังทั้งสิ้น 12 เรื่อง ตอนท้ายนิทานแต่ละเรื่อง เวตาลจะถามเชิงบังคับให้พระเจ้าอภัยสินตอบคำถาม ซึ่งปริศนาส่วนใหญ่อิงความเชื่อเรื่องบาปกรรมในพุทธศาสนา

    .
    .
    .

    หิโตปเทศวัตถุปกรณัม เป็นเรื่องที่กล่าวถึงพระเจ้าสุทัสสนะที่ทรงปริวิตกว่าพระโอรสของพระองค์ไม่สนพระทัยศึกษา จึงให้หานักปราชญ์มาถวายความรู้แก่พระโอรส วิสามานบัณฑิตอาสาจะสอนราชศาสตร์ให้พระโอรส โดยการเล่านิทานเรื่อง หนู นกพิราบและกาให้พระโอรสฟัง 

    .
    .
    .

    เป็นที่น่าสังเกตว่า นิทานซ้อนเหล่านี้ หลายเรื่องคล้ายกับนิทานชาดก ดังที่กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงมีพระนิพนธ์ว่า 

    “ผู้เรียบเรียงเห็นประโยชน์ในการสั่งสอนคนโดยวิธีเล่านิทานตามแบบชาดกนั้นเอง” 

    นิทานที่มีเนื้อหาตรงกันบ้าง คล้ายกันบ้างเหล่านี้ อาจเป็นไปได้ว่าแต่เดิมนิทานเหล่านี้เป็นนิทานพื้นเมืองของอินเดียที่อยู่ในคลังนิทานของนักเล่า เมื่อเดินทางไปแห่งใดก็เล่าเรื่องไปทั่ว เมื่อศาสดาของศาสนามีความประสงค์จะใช้นิทานเหล่านี้เป็นอุปกรณ์ในการสั่งสอน จึงได้ปรับเรื่องให้เข้ากับจุดประสงค์ของการสอนและกลวิธีการนำเสนอเรื่อง ดังที่พระบรมศาสดาในศาสนาพุทธได้ทรงปรับนิทานพื้นเมืองเหล่านี้ให้เป็นเรื่องการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์
     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×