ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #287 : ความพยาบาท & ความไม่พยาบาท

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 803
      16
      1 ส.ค. 62

    นิยายแปลเรื่องแรกของไทยคือเรื่อง “ความพยาบาท” โดย แม่วัน” หรือ พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) ซึ่งแปลมาจากเรื่อง Vendetta! Or The Story of One Forgotten ของมารี คอเรลลี (Marie Corelli)
    .
    .
    .
    ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2444 ลงในนิตยสารลักวิทยา เนื้อเรื่องมาจากเหตุการณ์จริงสมัยเกิดโรคระบาดในเมืองเนเปิลล์ (นาโปลี (Naples)) ในปี 2427 
    .
    .
    .
    ซึ่งพระยาสุรินทราชาไม่ได้แปลทั้งหมด แปลเฉพาะเนื้อเรื่องอันเป็นหัวใจสำคัญ ตัดรายละเอียดที่ท่านอาจจะเห็นว่าไม่เป็นที่เข้าใจของคนไทยในสมัยนั้นออกเสีย ส่วนที่ท่านตัดออกคือเนื้อหาการสะท้อนสังคมและการวิจารณ์สังคมอังกฤษอันเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญประการหนึ่งของนวนิยายเรื่องนี้
    .
    .
    .
    ปัจจุบัน มีฉบับแปลสมบูรณ์ โดย ว.วินิจฉันกุล
    .
    .
    .
    จากการที่ท่านเป็นผู้แปลนวนิยายเรื่องแรกของไทย ทำให้ได้รับการยกย่องจากสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย โดยตั้งชื่อรางวัลประจำปีที่มอบให้กับนักแปลและล่ามดีเด่น ใช้ชื่อรางวัลว่า "รางวัลสุรินทราชา"
    .
    .
    .
    ขณะที่นวนิยายเรื่องแรกของไทยคือเรื่อง “ความไม่พยาบาท” เขียนโดย “นายสำราญ” หรือ หลวงวิลาศปริวัตร (เหลี่ยม วินทุพราหมณกุลตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2458 ใช้เวลาเขียนเพียง 22 วัน 


    แต่งขึ้นเพื่อตั้งใจล้อเรื่อง ความพยาบาท
    .
    .
    .
    เรื่องราวเกี่ยวกับชนชั้นกลาง เล่าถึงชายหนุ่มชื่อ ‘เจียร’ ที่ถูกภรรยาชื่อ ‘ปรุง’ ทรยศหักหลัง 


    เรื่องราวเริ่มจาก ‘ประไพ’ ภรรยาคนปัจจุบันตามเจียรให้ไปพบกับปรุงเนื่องจากต้องการมาขอเงินไปบวชชี 


    แต่เจียรไม่ต้องการพบ ประไพพูดหว่านล้อมจนเจียรใจอ่อน เมื่อได้เห็นหน้าปรุงผิดจากแต่ก่อน ทำให้เจียรรู้สึกสังเวชจนยอมละความพยาบาทที่ผ่านมา มอบเงินให้ปรุงเป็นจำนวนมาก ปรุงเสียใจที่เคยทำผิดกับเจียร ได้แต่อาลัยในรักเก่าจนเป็นลมสลบไป เจียรจึงเล่าย้อนถึงอดีตที่ผ่านมา
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×