ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #281 : พระประแดง : ตำนานต้นตระกูลชาละวัน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 335
      6
      17 ก.ค. 62

    อนาถนิ่งอิงเขนยคะนึงหวน
    จนจวบจวนแจ่มแจ้งปัจจุสมัย
    ศศิธรอ่อนอับพยับไพร่
    ถึงเชิงไทรศาลพระประแดงแรง

    ขออารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ที่สิงศาล
    ลือสะท้านอยู่ว่าเจ้าห้าวกำแหง
    ข้าจะไปทางไกลถึงเมืองแกลง
    เจ้าจงแจ้งใจภัคนีที
    .
    .
    จากนิราศเมืองแกลงของสุนทรภู่ที่บรรยายถึงศาลพระประแดงที่มีความเฮี้ยนหนักเฮี้ยนหนา


    คำว่า "พระประแดง" บ้างว่ามาจากคำว่า "ประแดง" หรือ "บาแดง" แปลว่า คนนำสาร ซึ่งแต่เดิมพระประแดงเป็นเมืองหน้าด่านเมื่อมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น จะต้องแจ้งข่าวสารไปให้ละโว้ทราบโดยเร็ว


    ส่วนจิตร ภูมิศักดิ์ อธิบายว่ามาจากชื่อ "พระแผดง" ซึ่งเป็นชื่อเทวรูปสำคัญที่ขุดพบสององค์ที่คลองสำโรงต่อคลองทับนางเมื่อปี 2061 ซึ่งคำว่า "แผดง" มาจากคำเขมรใช้เรียกเทวรูปหรือตำแหน่งยศขุนนาง โดยเชื่อว่าน่าจะเรียกตามศาลพระแผดงที่พวกขอมเคยสร้างไว้


    กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เล่าว่าพระประแดง มาจากภาษาเขมร ว่า "กมรเตง" แปลว่า "ผู้เป็นเจ้า" หมายถึงเทวรูป 2 องค์ คือ พระยาแสนตา กับพระยาบาทสังขกร
    .
    .
    ศาลหลักเมืองพระประแดง หรือที่เรียกว่าศาลหลักเมืองนครเขื่อนขันธ์ หรือ ศาลหลักเมืองปากลัด สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 2 โดยมีการนำเอาพระพิฆเนศขนาดใหญ่มาตั้งเป็นประธาน


    มีนักโบราณคดีหลายท่านวิเคราะห์ว่าการที่ทำยอดเสาหลักเมืองเป็นพระพิฆเนศนั้น อาจจะเป็นเพราะการระลึกถึงบิดาของสมิงทองมา ซึ่งก็คือเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง) เพราะคำว่าเจ่งนั้นมีความหมายว่า "ช้าง"


    ตามตำนานได้กล่าวถึงเรื่องน่าอัศจรรย์ในพิธียกพระพิฆเนศขึ้นประทับว่า บริเวณริมแม่น้ำหน้าศาลหลักเมืองได้มีจระเข้น้ำจืดและน้ำเค็มว่ายทวนแม่น้ำเจ้าพระยา และว่ายเวียนกันอยู่บริเวณนั้นจนขาดใจตายริมฝั่ง ทำให้ชาวบ้านตัดเอาหัวของจระเข้นั้นขึ้นถวายเอาไว้บนศาลหลักเมือง  ซึ่งก็มีให้เห็นจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

    ดังที่ปรากฎในนิราศถลางของเสมียนมี (หมื่นพรหมสมพัตสร) ดังนี้

    ถึงศาลเจ้าพระประแดงแสยงเกล้า
    นึกกลัวเจ้าพระประแดงแรงหนักหนา
    บนศาลศรีมีเศียรของกุมภา
    แต่พันตาพันวังหัวฝังดิน
    .
    .
    ตำนานจระเข้เมืองประพระแดงยังเชื่อมโยงไปถึงตำนานชาลวันจากพิจิตร ดังที่ปรากฎอยู่ใน นิทานกลอน เรื่องไกรทอง โดย บุศย์ รจนา (องค์การค้าของคุรุสภา เอามาพิมพ์ใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2521)  ดังนี้...
    .
    .
    ท้าวโคจร จระเข้เหนือ อยู่แม่น้ำน่าน เมืองพิจิตร 
    ขณะที่ท้าวพันตา และพระยาพันวัง จระเข้ใต้สองพี่น้อง อยู่แม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้ปากอ่าวไทย 

    วันหนึ่งบริวารฝั่งเหนือล้ำแดนลงมาไฝว้กับบริวารฝั่งใต้

    ท้าวโคจรจึงล่องลงแม่น้ำเจ้าพระยา แผลงฤทธิ์ฟาดน้ำ ที่ต่อมาเรียกย่านดาวคะนอง

    ท้าวโคจรฆ่าท้าวพันตา แต่เทวดาเข้าข้างพระยาพันวัง ท้าวโคตรจึงต่อว่าเทวดา เพราะพระยาพันวังเข่นฆ่าชาวบ้าน

    พระยาพันวังตอบโต้ว่าเทวดาไม่เข้าข้าง แต่ตนมีฤทธิ์เอง (คุ้นๆนะ) เทวดาได้ยินก็ถอนความช่วยเหลือ ท้าวโคจรเลยฆ่าพระยาพันวัง แล้วคาบหัวพระยาพันวังมาสังเวยเทวดาไว้บนศาลริมฝั่งแม่น้ำ

    นับแต่นั้นเป็นต้นมา ก็เป็นประเพณีถวายเทวดาอารักษ์ด้วยหัวจระเข้บนศาลเจ้าพ่อพระประแดง
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×