ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #279 : นิราศนครวัด : นิราศร้อยแก้ว

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 256
      3
      16 ก.ค. 62

    ปกติแล้ว วรรณคดีนิราศเนี่ย จะแต่งเป็นร้อยกรองต่างๆใช่ไหมครับ


    แต่ถ้าจะบอกว่ามีนิราศที่แต่งเป็นร้อยแก้วเหมือนกัน! แถมยังมีเพียงเรื่องเดียวอีกด้วย


    นิราศที่ว่านั้นก็คือ นิราศนครวัด นี่เอง!
    .
    .
    นิราศนครวัด เป็นนิพนธ์ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งไปกัมพูชาเป็นการส่วนตัว ระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายน – 14 ธันวาคม 2467 ในขณะมีพระชนมายุ 62 พรรษา 


    เดิมนั้น กรมพระยาดำรงราชานุภาพตั้งใจจะแต่งเป็นนิราศอย่างธรรมเนียมทั่วไป แต่ทรงเปลี่ยนใจ มาแต่งเป็นร้อยแก้ว ดังความปรากฏอยู่แล้วในบทกลอนก่อนเข้าเรื่องว่า 
    .
    .
    ด้วยกล่าวกลอนไม่สันทัดออกขัดข้อง 
    เห็นจะต้องเรียบเรียงเพียงร้อยแก้ว
    มีกลอนนำสักนิดเหมือนติดแวว
    พอเนื่องแนวแบบนิราสปราชญ์โบราณ

    มิฉะนั้นจะว่าไม่ใช่นิราส                
    ด้วยเหตุขาดคำกลอนอักษรสาร
    จึงแต่งไว้พอเห็นเปนพยาน        
    ขอเชิญอ่านเนื้อเรื่องเนื่องไปเทอญ
    .
    .
    เมื่อทรงพระนิพนธ์เสร็จ จึงทรงตั้งชื่อว่า นิราสนครวัด และให้โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรพิมพ์ขึ้นในปี 2468 เพื่อแจกจ่ายเป็นของฝากแก่มิตรสหายตามที่ตั้งใจไว้ หนังสือนี้ได้รับความนิยมแพร่หลายมาก 


    มีการพิมพ์ขึ้นใหม่อีกหลายครั้ง โดยเฉพาะในปี 2481 กระทรวงธรรมการขอประทานอนุญาตจัดพิมพ์หนังสือนิราศนครวัดขึ้น เพื่อใช้เป็นแบบเรียนในวิชาวรรณคดีไทยของนักเรียนฝึกหัดครู
    .
    .
    เนื้อหาในนิราศเริ่มจาก... 


    เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2467 กรมพระยาดำรงราชานุภาพเดินทางไปยังกัมพูชา โดยเรือสุทธาทิพย์ ออกจากท่าเรือบริษัทอิสต์เอเชียติค (East Asiatic Company) เหนือวัดพระยาไกร โดยมีผู้ตามไปด้วยคือหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย, หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา และหม่อมเจ้าหญิงพัฒนายุคุณวรรณ


    นอกจากนี้ยังมีพระยาพจนปรีชา, หลวงสุริยพงศพิสุทธิแพทย์, ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (George Cœdè), นายสมบุญ โชติจิตร และนายเดช คงสายสินธุ์ กับครอบครัวของศาสตราจารย์ยอชอีกรวมทั้งสิ้น 14 คน


    เรือโดยสารแล่นออกจากกรุงเทพถึงสมุทรปราการ ผ่านเกาะช้าง เกาะกูด แล้วเทียบท่าขึ้นฝั่งที่เมืองกำปอด (Kampot) ของกัมพูชาในวันที่ 18 ก่อนจะเดินทางไปกรุงพนมเปญ (Phnom Penh)


    กรมดำรงไปยังสถานที่ต่างๆดังนี้ วัดพนม (Wat Phnom) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกัมพูชา (National Museum of Cambodia) วัดอุณาโลม (Wat Ounalom) วัดปทุมวดีราชวราราม (Wat Botum) พระบรมราชวังจตุมุขสิริมงคล (Royal Palace, Phnom Penh) วัดพระแก้วมรกต / วิหารเงิน (Silver Pagoda)
    .
    .
    จากนั้นจึงเดินทางไปยังเมืองเสียมราฐ (Siem Reap) 


    กรมดำรงเข้าชมนครวัด (Angkor Wat) นครธม (Angkor Thom) โดยมีศาสตราจารย์ยอร์ชเป็นมัคคุเทศก์ เข้าชมปราสาทบายน, ลานพระเสด็จ, พระราชวังหลวง, ฐานลานพระเจ้าขี้เรื้อน, ปราสาทพิมานอากาศ, สระสรงปราสาทพระขรรค์ปราสาทนาคพัน, ปราสาทพนมบาเกงปราสาทกระวันปราสาทบันทายกะไดปราสาทตาแก้ว, ปราสาทตาพรหม, ปราสาทเจ้าไสยเทวดาปราสาทบาปวน และปราสาทปักษีจำกรง
    .
    .
    กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และคณะพักที่บ้านของเมอซิเออร์บอดูแอง (M. Baudoin) ผู้สำเร็จราชการกรุงกัมพูชา และได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระศรีสวัสดิ์ (King Sisowath of Cambodia) พระเจ้ากรุงกัมพูชาอีกด้วย


    เมื่อมีเวลา ชาวคณะได้เดินทางไปยังเมืองกำปงจาม (Kampong Cham) เมืองสวายเรียง (Svay Rieng) แล้วข้ามไปยังเมืองไซ่ง่อน / นครโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh City) ของเวียดนาม
    .
    .
    เมืองไซ่ง่อนเองก็อยู่ใต้การกำกับดูแลของฝรั่งเศสในเวลานั้น มีร้านรวงและห้างขายของใหม่มากมาย
    .
    .
    เมื่อกลับถึงพนมเปญ ยังได้เสด็จไปทอดพระเนตรการแสดงละครของเขมร เรื่องพระสมุท ก่อนกลับยังได้พบกับคนไทยที่เป็นครูละครหรือพนักงานในวังที่กรุงเทพฯ มาอาศัยในกัมพูชา 30-40 ปี ทรงเคยรู้จักหรือคุ้นเคยอยู่บ้าง


    คณะของกรมพระยาดำรงราชานุภาพเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร โดยเส้นทางเดิม ถึงเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2467
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×