ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #26 : 10 อมนุษย์สุดฮิตในวรรณคดีไทย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 4.9K
      51
      28 ก.ค. 64

    อมนุษย์ เป็นศัพท์ในบาลี-สันสกฤต หมายถึง สิ่งที่มีรูปร่าง เค้าโครงคล้ายๆ มนุษย์ แต่ไม่ใช่มนุษย์ 

    ในวรรณคดีไทยมีอมนุษย์ปรากฏอยู่มากมาย แต่จะมีสักกี่ตนที่จะปรากฏให้เห็นอยู่บ่อยๆ #วรรณคดีTOPTEN จึงได้จัดอันดับอมนุษย์ที่ปรากฏตัวบ่อยๆในวรรณคดีเอาไว้ 10 ตนดังนี้

    .
    .
    .

    1. เทวดา (Deva)

    คือผู้ที่มีชีวิตเป็นทิพย์ ไม่มีเนื้อหนังกายหยาบเหมือนมนุษย์ อาศัยอยู่บนสวรรค์ 

    ส่วนเทพเจ้านั้นหมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม ซึ่งเชื่อว่ามีอำนาจควบคุมธรรมชาติบางอย่างเช่น พระอินทร์ พระอิศวร พระนารายณ์เป็นต้น

     

    2. อัปสร (Apsara)

    ถือเป็นนางฟ้าจำพวกหนึ่ง บังเกิดขึ้นเมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทร เพื่อเอาน้ำอมฤตขึ้นมา 

    อัปสรเป็นตัวละครที่สำคัญตัวหนึ่งในเทพปกรณัมของอินเดีย ไม่น้อยไปกว่าเทพเจ้าและชาวสวรรค์อื่นๆ

    นางอัปสรมีอำนาจแปลงกายได้ ทั้งยังมีความสามารถในการขับร้องและเต้นรำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังมีตำนานกล่าวต่อไปว่า นางอัปสรนั้นเป็นชายาของคนธรรพ์ ซึ่งเป็นนักดนตรีในสวรรค์ 

     

    3. คนธรรพ์ (Gandharva)

    ชาวสวรรค์ที่ชำนาญในวิชาดนตรีและขับร้อง ศาสนาฮินดูเชื่อว่าคนธรรพ์เป็นบริวารของพระอินทร์ มีหน้าที่ขับร้องและเล่นดนตรีบำเรอเทวดา ดังนั้นวิชาดนตรีจึงได้ชื่อว่าคนธรรพวิทยา ส่วนในทางศาสนาพุทธ ถือว่าคนธรรพ์เป็นเทพจำพวกหนึ่งในชั้นจาตุมหาราชิกา คนธรรพ์ทั้งหมดถือเป็นบริวารของท้าวธตรฐผู้เป็นโลกบาลประจำทิศตะวันออก

     

    4. พิทยาธร (Vidyadhara)

    พิทยาธร หรือ วิทยาธร คือ อมนุษย์พวกหนึ่งมีฐานะต่ำกว่าเทวดาเชื่อว่ามีกายสิทธิ์ สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ เชี่ยวชาญ 18 ศิลปะศาสตร์ มีพระขรรค์เป็นอาวุธ

     

    5. ยักษ์ (Yakkha)

    อมนุษย์พวกหนึ่งถือกันว่ามีรูปร่างใหญ่โตน่ากลัวมีเขี้ยวงอก ใจดำอำมหิต ชอบกินมนุษย์ กินสัตว์ โดยมากมีฤทธิ์เหาะเหินได้ จำแลงตัวได้ เป็นบริวารของท้าวกุเวร (ท้าวเวสสุวรรณ) โลกบาลประจำทิศเหนือ เหตุที่มาเกิดเป็นยักษ์เพราะทำบุญเจือด้วยความโกรธ มักหงุดหงิดรำคาญใจ

     

    6.นารีผล (Nariphon)

    นารีผล หรือ มักกะลีผล เป็นพรรณไม้ตามความเชื่อจากป่าหิมพานต์ เป็นพืชที่ออกลูกเป็นหญิงสาว เมื่อผลสุกแล้วจะออกมาเป็นสาวราว 16 ปี บรรดาฤๅษีนักสิทธิ์ กินนร วิทยาธร คนธรรพ์ เอาไปเสพสังวาส (เรียกง่ายๆว่าซั่มนี้เอง)แต่มักกะลีผลมีชีวิตอยู่ได้เพียง 7 วัน ก็จะเน่าเปื่อยไป

     

    7.ครุฑ – นาค (Garuda - Naga)

    อมนุษย์คู่กัดที่มักจะกัดกันทุกยก ตามคติไทยโบราณ เชื่อว่าครุฑเป็นพญาแห่งนก และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ปกติอาศัยอยู่ที่วิมานฉิมพลี มีรูปเป็นครึ่งคนครึ่งนกอินทรี ส่วนนาคก็จะเป็นงูมีหงอน 

    ส่วนมากทั้งสองจะมาในรูปคู่ที่เรียกกันว่าครุฑยุดนาคนี้เอง

     

    8.กินรี (Kinnara)

    กินรีเป็นตัวเมีย ส่วน กินนรเป็นตัวผู้ ทั้งคู่เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ ร่างกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก มีปีกบินได้ ตามตำนานเล่าว่าอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ เชิงเขาไกรลาส นับเป็นสัตว์ที่มีปรากฏในงานศิลปะของไทยมาก

     

    9.เงือก (Mermaid)

    เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่งตามที่มีความเชื่อกันทั่วโลก โดยเงือกในประเทศไทย ถูกกล่าวขานมาตั้งแต่สมัยอดีต ผ่านเรื่องราวต่างๆ มากมาย แต่เป็นเงือกที่ได้รับความนิยม และกล่าวขวัญกันมากที่สุดก็คือ เงือกในพระอภัยมณี กับ นางสุพรรณมัจฉา เงือกสาวจากเรื่องรามเกียรติ์

     

    10. นักสิทธิ์ (Siddha)

    แปลว่า ผู้สำเร็จ เป็นนักบวชจำพวกหนึ่ง เป็นผู้วิเศษ ในวรรณคดีไทย มักจะใช้เรียกแทนฤษี ในศาสนาฮินดู ถือว่าเป็นผู้วิเศษ อาศัยบนยอดเขาหรือบนท้องฟ้าระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ 

    บ้างว่านักสิทธิ์คือนิรมาณกายของเหล่ามุนีในภูมิชั้นสูง ลงมาเกิดบนโลกมนุษย์เพื่อช่วยสั่งสอนมวลมนุษย์ พวกนี้จึงมีญาณและฤทธิ์มาแต่กำเนิด

    .
    .
    .

    ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจากเฟซบุ๊กร่วมอนุรักษ์ภาษาไทยและวรรณคดีไทยด้วยครับ วันนี้สวัสดีครับ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×