ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #259 : ธรรมยุทธ : การต่อสู้ที่เป็นธรรม

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 239
      12
      1 ก.ค. 62

    ธรรมยุทธ์ (Dharma-yuddhaแปลว่าการรบกันในทางธรรม ในมหาภารตะได้ระบุถึงธรรมยุทธ์ในสงครามทุ่งกุรุเกษตรอยู่ 13 ประการ ได้แก่
    .
    .
    .
    1. นักรบเริ่มต่อสู้เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น และเลิกราเมื่อพระอาทิตย์ตก

    2. ห้ามนักรบรุม (ต้องตัวต่อตัว)

    3. นักรบคู่หนึ่งสามารถดวลตัวต่อตัวได้อย่างต่อเนื่องและยาวนาน

    4. นักรบต้องใช้อาวุธประเภทเดียวกันในการต่อสู้ และอยู่ในภาวะการต่อสู้เดียวกัน

    5. ห้ามสังหารนักรบที่ยอมแพ้

    6. นักรบที่ยอมแพ้จะเป็นเชลยศึก จะถูกตัดสินภายใต้การคุ้มครองอย่างเชลยศึก

    7. ห้ามทำร้ายคนที่ปราศจากอาวุธ หรือหมดสติ

    8. ห้ามทำอะไรบุคคลหรือสัตว์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสนามรบ

    9. ห้ามทำอะไรคู่ต่อสู่ที่หันหลัง

    10. ห้ามโจมตีสตรี

    11. ห้ามทำร้ายสัตว์ที่มิมีท่าทีจะประทุษร้ายตน

    12. ห้ามใช้อาวุธตีต่ำกว่าเอว

    13. นักรบสามารถไม่เข้าร่วมสงครามที่ไม่เป็นธรรมใดๆ


    และแน่นอน ตลอดการสู้รบอย่างดุเดือดกันมาตลอด 18 วันของสองตระกูล 


    แม่งแหกกฎทุกข้อ!!!
    .
    .
    .
    .
    .
    ธรรมยุทธอุปมา เป็นวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ แต่งโดยนายทองราชบัณฑิต ในสมัยรัชกาลที่  1 โดยนำการกระทำต่าง ๆ ในการสู้รบมาเปรียบกับหลักธรรมต่างๆ เป็น 7 ข้อดังนี้

    1. แสวงหาอาวุธประจำตัว = ปัญญา
    2. สละม้าที่ไม่สมบูรณ์ = ละอกุศลกรรม
    3. แสวงหาเสบียง = ทำทาน
    4. สวมใส่เกราะ = ขันติบารมี
    5. ขี่ม้าศึก + อาวุธในมือ = มีปัญญา + ศีลอันบริสุทธิ์
    6. หลีกเลี่ยงทางกันดาร = ละมิจฉาทิฏฐิ
    7. ชนะข้าศึกจนได้รับรางวัล = ชนะอกุศลย่อมได้อริยทรัพย์เจ็ดประการ และสมบัติสามประการ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×