ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #228 : พยุหะ : รูปแบบทัพสไตล์ภารตะ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 398
      11
      18 ม.ค. 62

    พยุหะ (Vyuha) แปลว่า กระบวน หมู่ กองทัพ


    โดยรูปแบบการจัดขบวนพยุหะนั้นมีอยู่มากมายหลายรูปแบบ ตามแต่ความเหมาะสมในการจัดทัพและสภาพชัยภูมิ พยุหะในอินเดียมีดังนี้
    .
    .
    .
    1. วัชรพยุห (Vajra Vyuha) 
    : จัดทัพเป็นรูปวชิระ
    .
    .
    .
    2. เกราญจพยุหะ (Krauncha Vyuha) 
    : จัดทัพเป็นรูปนกกระเรียน 
    .
    .
    .
    3. อรรถจันทรพยุหะ (Ardha Chandra Vyuha) 
    / อรรถจักรพยุหะ (Ardha Chakra Vyuha)
    / จันทรกาลพยุหะ (Chandrakala Vyuha) 
    : จัดทัพเป็นรูปครึ่งวงกลม
    .
    .
    .
    4. ครุฑพยุหะ (Garuda Vyuha)
    : จัดทัพเป็นรูปครุฑ หรือนกอินทรี
    .
    .
    .
    5. มณฑลพยุหะ (Mandala Vyuha)
    : จัดทัพเป็นรูปหมู่ดาว
    .
    .
    .
    6. มกรพยุหะ (Makara Vyuha) 
    : จัดทัพเป็นรูปมกร
    .
    .
    .
    7. อูรมิพยุหะ (Urami Vyuha) / โอรมีพยุหะ (Orami Vyuha)
    : จัดทัพเป็นรูปเกลียวคลื่น
    .
    .
    .
    8. ศฤงคฆฏกพยุหะ (Shringgaghataka Vyuha) 
    : จัดทัพเป็นรูปเขาสัตว์
    .
    .
    .
    9. สรรพโตมุขพยุหะ (Sarvatomukra Vyuha) 
    / สรรพโตภัทรพยุหะ (Sarvatobhadra Vyuha)
    : จัดทัพเป็นกลุ่มก้อน (เน้นป้องกัน)
    .
    .
    .
    10. อสูรพยุหะ (Asura Vyuha) / รากษสพยุหะ (Rakshasa Vyuha) 
    : จัดทัพแบบอสูร (เป็นหน่วยย่อย ๆ ที่ใช้รบแบบกองโจร)
    .
    .
    .
    11. สุรพยุหะ (Ssura Vyuha) 
    : จัดทัพแบบเทพเจ้า (บางท่านกล่าวว่าเป็นการจัดทัพแบบหน้ากระดาน)
    .
    .
    .
    12. ปัทมพยุหะ (Padma vyuha) / กมลพยุหะ (Kamala vyuha)
    : จัดทัพเป็นรูปชดอกบัว
    .
    .
    .
    13. จักรพยุหะ (Chakra vyuha) 
    : จัดทัพเป็นรูปจักร
    .
    .
    .
    14. จักรศกฏพยุหะ (Chakrashakata vyuha) / ศกฏพยุหะ (Shakata vyuha)
    : จัดทัพเป็นรูปวงกลมคล้ายล้อเกวียน หรือวงเกลียวก้นหอย
    .
    .
    .
    15. สูจิพยุหะ (Suchi Vyuha) / สูจิมุขพยุหะ (Suchimukha Vyuha)
    : จัดทัพเป็นรูปเข็มหลายเล่ม
    .
    .
    .
    โดย 15 พยุหะที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ได้ถูกกล่าวไว้ในสงครามทุ่งกุรุเกษตร ระหว่างฝ่ายปาณฑพและฝ่ายเการพ ส่วนพยุหะที่เหลือ มีดังนี้
    .
    .
    .
    16. กูรมะพยุหะ (Kurma Vyuha)
    : จัดทัพเป็นรูปเต่า
    .
    .
    .
    17. ตรีศูลพยุหะ (Trishula Vyuha) 
    : จัดทัพเป็นรูปตรีศูล
    .
    .
    .
    18. มาลาพยุหะ (Mala Vyuha) 
    : จัดทัพเป็นรูปพวงมาลา
    .
    .
    .
    19. วราหพยุหะ (Varaha Vyuha)
    : จัดทัพเป็นรูปหัวหมูป่า
    .
    .
    .
    20. สรรปพยุหะ (Sarpa Vyuha) / นาคพยุหะ (Naga Vyuha) 
    : จัดทัพเป็นรูปงู
    .
    .
    .
    21. หัสตพยุหะ (Hasta Vyuha) / จรณพยุหะ (Charana Vyuha) 
    : จัดทัพเป็นรูปฝ่ามือหรือฝ่าเท้า
    .
    .
    .
    ส่วนคำว่า อักเษาหิณี (Akshauhini) คือหน่วยวัดขนาดกองทัพในอินเดียโบราณ ประกอบด้วย

    ช้าง (Gaja)  =  21,870 เชือก 
    รถศึก (Ratha)  =  21,870 คัน 
    ม้า (Ashwa)  =  65,610 ตัว
    ทหารราบ (Padhata)  =  109,350 คน

    โดยมีรายละเอียดดังนี้..


    ช้าง + รถศึก ม้า 3 ตัว ทหารราบ 5 คน  =  ปังกติ (Patti)


    3 ปังกติ  =  เสนามุข (Sena-Mukha)
    ช้าง 3 ตัว + รถศึก 3 คัน ม้า 9 ตัว ทหารราบ 15 คน

    3 เสนามุข  =  คุลมะ (Gulma)
    ช้าง 9 ตัว + รถศึก 9 คัน ม้า 27 ตัว ทหารราบ 45 คน

    3 คุลมะ  =  คณะ (Gana)
    ช้าง 27 ตัว รถศึก 27 คัน ม้า 81 ตัว ทหารราบ 135 คน

    3 คณะ  =  วาหินี (Vahini)
    ช้าง 81 ตัว รถศึก 81 คัน ม้า 243 ตัว ทหารราบ 405 คน

    3 วาหินี  =  ปฤตนา (Pruthana)
    ช้าง 243 ตัว รถศึก 243 คัน ม้า 729 ตัว ทหารราบ 1,215 คน

    3 ปฤตนา  =  จมู (Chamu)
    ช้าง 729 ตัว รถศึก 729 คัน ม้า 2,187 ตัว ทหารราบ 3,645 คน

    3 จมู  =  อันตกินี (Anikini)
    ช้าง 2,187 ตัว รถศึก 2,187 คัน ม้า 6,561 ตัว ทหารราบ 10,935 คน

    10 อันตกีนี  =  อักเษาหิณี (Akshauhini)
    ช้าง 21,870 ตัว รถศึก 21,870 คัน ม้า 65,610 ตัว ทหารราบ 109,350 คน
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×