ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #214 : พระพินาย พระพิเนก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 786
      20
      26 พ.ย. 61



    พระพินาย
     คือ พระโกญจนาเนศวร เป็นเทพเจ้าแห่งช้าง ปรากฏในตำราคชลักษณ์ และคัมภีร์นารายณ์ยี่สิบปาง อันเป็นเอกสารไทยช่วงรัตนโกสินทร์ ได้รับการนับถือในฐานะครูหมอช้างและเป็นเทพที่ไม่ปรากฏในศาสนาฮินดู
    .
    .
    .
    .
    .
    พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) สันนิษฐานว่านาม "โกญจนาเนศวร" เป็นนามของพระขันทกุมาร เพราะคำว่า "โกญจนา" ตรงกับคำสันสกฤตว่า "เกราญจะ (Krauncha)" ซึ่งเป็นชื่อภูเขาที่พระขันทกุมารประทับ 


    รองศาสตราจารย์ ดร.มณีปิ่น พรหมสุทธิลักษณ์ อธิบายว่า มาจากคำว่า "เกราญจนาเนศวร" แปลว่า "ผู้เป็นใหญ่เหนือเกราญจะ" และได้อธิบายว่า ชาวสยามโบราณคงทราบว่าพระศิวะมีบุตรสององค์ แต่เข้าใจผิดว่าเป็นองค์เดียวกัน จึงโอนชื่อพระขันทกุมารไปรวมกับพระคเณศ


    คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง อธิบายว่า มาจากคำว่า "โกญจนาท" แปลว่า "เสียงร้องของช้าง" และนามจึงควรจะเป็น "โกญจนาเทศวร์" แปลว่า "พระเป็นเจ้าที่มีเสียงร้องของช้าง"


    พระโกญจนาเนศวรปรากฏในคัมภีร์นารายณ์ยี่สิบปาง ดังนี้


    ในไตรดายุค (Treta Yuga) บิ๊กบอสมีคำสั่งให้พระอัคนีทำเทวฤทธิ์เพื่อบังเกิดศิวบุตร พระอัคนีได้บันดาลเปลวเพลิงออกมาจากหูทั้งสอง เบื้องขวาคือพระคเณศ เบื้องซ้ายคือพระโกญจนาเนศวร 


    พระโกญจนาเนศวรนั้นมีเศียรเป็นช้าง 3 เศียร หกกร ในมือมีช้างชนิดต่างๆ ทั้งบนโลกและสวรรค์ ประทับยืนอยู่บนหัวของช้างเจ็ดเศียร มีบทบาทในการสร้างช้างเผือกสำหรับพระราชา


    พระโกญจนาเนศวรมีลักษณะใกล้เคียงกับตรีมุขคณปติ (Trimukha Ganapati) หนึ่งใน 32 ปางปรากฏในธยานโศลก (Dhyana Shlokas) ของอินเดียใต้ 


    แต่เมื่อคราวพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ออกแบบพระโกญจนาเนศวร (พระพินาย) ให้มีลักษณะอย่างพระคเนศคือมีเศียรเดียว สี่กร มือถือขอช้างและบ่วงบาศ
    .
    .
    .
    .
    .
    ส่วน พระพิเนก นั้นคือ พระคเณศ ปฐมบูชาผู้ขจัดอุปสรรคทั้งปวง
    .
    .
    .
    .
    .
    พระพิเนกและพระพินายปรากฏในรามเกียรติ์ของเรา ในตอนที่บิ๊กบอสยกทัพไปตบยักษ์ตรีบุรัม ได้เกณฑ์เหล่าเทพเทวดาร่วมตี้ดังนี้


    พระขันทกุมาร
     เป็นทัพหน้า
    พระราหู ถือธงชัย
    พระพิเนก เป็นปีกซ้าย
    พระพินาย เป็นปีกขวา
    พระกาฬ เป็นกองเกียกกาย (เสบียง)
    ท้าวเวสสุวัณ เป็นยกกระบัตร (เครื่องใช้)
    พระเพลิง เป็นกองหลัง


    แถม พระพินาย ยังแบ่งภาคลงมาเป็น นิลเอก 
    ส่วน พระพิเนก แบ่งภาคลงมาเป็น นิลขัน
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×