ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #211 : รามายณะ : มหากาพย์แห่ง ASEAN

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 607
      18
      2 ก.ค. 62

    กรุณาแยกแยะระหว่าง "รามเกียรติ์" กับ "โขน" ออกจากกัน


    รามเกียรติ์คือเรื่องราว (Story) แต่โขนคือการแสดง (Performance)


    รามเกียรติ์คือแฟนฟิคของ "รามายณะ" ที่แพร่หลายเข้ามาในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์แต่ครั้นบรรพกาล จนทำให้เกิดมหากาพย์รามายณะในแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น

    - รามเกียรติ์ ของไทย
    พรหมจักรชาดก ของล้านนา
    พระลักพระลาม ของล้านช้าง (ลาว)
    เรียมเกร์ (Reamker) ของเขมร
    ยามะซะตอว์ (Yama Zatdaw) ของพม่า 
    ฮิกายัต เซอรี รามา (Hikayat Seri Rama) ของมลายู
    กากะวิน รามายานา (Kakawin Ramayana) ของชวา
    มหาราเดีย ลาวาน่า (Maharadia Lawana) ของชาวมารานาว (Maranao) ในฟิลิปปินส์


    เรื่องรามเกียรติ์นั้น เราก็รู้ๆกันดี จึงไม่ขอเล่า แต่จะเล่าเรื่องรามายณะของชนชาติอื่นให้ฟัง....
    .
    .
    .
    พรหมจักรชาดก เล่าถึงโพธิสัตว์ที่ลงมาเกิดเป็น "พรหมจักร" โอรสเจ้าเมืองพาราณสี พร้อมด้วยน้องชาย "รัมมจักร" ที่ต้องมาเปิดกิลด์วอร์กับเจ้าเมืองลังกา "พญาวิโรหา" ซึ่งพระเอกก็ได้ตี้อย่าง "พญากาวินทะ" กษัตริย์ผู้มีเมียเป็นลิง และลิงเผือกโอรสนามว่า "หรมาร"
    .
    .
    .
    พระลักพระลาม เล่าถึง "พระลาม""พระลัก" โอรสเจ้าเมืองศรีสัตนาคนหุต เดินทางไปเลือกคู่ ก็อาศัยสูตรยกธนูตามสเตป ฤษีพ่อตาก็บอกให้รอ จะไปเอาน้ำมาสรงให้ แต่ทั้งสามกลับชิ่งไปก่อน ฤษีจึงขอให้พระอินทร์ลงโทษทั้งสามต้องพลัดพลากจากกัน ซึ่งนางสีดาก็ถูก "ท้าวฮาบมะนาสวน" ลักพาตัวไป จนต้องเปิดกิลด์วอร์ และได้ตี้อย่าง "หุลละมาน" มาช่วย 
    .
    .
    .
    เรียมเกร์ (Reamker) หรือ รามเกียรติ์ฉบับภาษาเขมร ที่ไม่เหมือนกับรามเกียรติ์ของไทยตรงที่เรียมเกร์จะมีเงาะป่าเข้าร่วมตี้ด้วย

    การละเล่นลโคนโขลนั้นรับมาจากอิทธิพลมาจากไทยเต็มๆ ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทางสยามได้ช่วยขับไล่อิทธิพลของญวนออกไป และให้นักองค์ด้วงกลับไปครองแผ่นดินเป็นสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี 

    นักองค์ด้วงได้ทูลขอครูโขนในราชสำนักไทยไปสอนที่กัมพูชาด้วย ดังนั้นนาฏศิลป์นี้เขมรรับมาจากกรุงเทพร้อยเปอร์เซ็นต์

    (รายละเอียดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในโพสต์ของ อ.กรกิจ ดิษฐาน ดังต่อไปนี้ครับ
    https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10155595168931954&set=a.430946001953&type=3&theater)

    .
    .
    .
    ยามะซะตอ (Yama Zatdaw) เล่าเรื่องแบบรามายณะ กระทั้งยุคราชวงศ์คองบอง พม่าได้กวาดต้อนผู้คนจากกรุงศรีอยุธยามา ทั้งเจ้านาย ช่างฝีมือ นักแสดง และนักดนตรี ยามะซะตอจึงรับอิทธิพลมาจากอยุธยาค่อนข้างสูง จนเกิดโขนพม่าในราชสำนักอังวะ

    ตัวละครในยามะซะตอมีความใกล้เคียงกับรามายณะดั้งเดิม เป็นคำพม่าที่ทับศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต ยกตัวอย่างเช่น หย่ามะ (รามา) ตี่ด่า (สีดา) แล๊ดขนะ (ลักษมัณ) ห่านุหมั่น (หนุมาน) หย่าวะนะ (ราวณะ) บิบิตะนะ (วีภีษมะ) เป็นต้น
    .
    .
    .
    หิกายัตศรีราม (Hikayat Seri Rama) เล่าเรื่องแบบรามายณะ ชื่อตัวละครก็ทับศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต
    .
    .
    .
    กากะวิน รามายานา (Kakawin Ramayana) เล่าเรื่องแบบรามายณะ ชื่อตัวละครก็ทับศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต แต่ช่วงหลังของเรื่องกลับต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง มีการผสมผสานความเชื่อ เทพผู้พิทักษ์ที่อวตารลงมาเป็นมนุษย์ชื่อ "เซมาร์ (Semar)" 

    เซมาร์มีลูกสามคน ได้แก่ "กาเร็ง (Gareng)" "เปตรุก (Petruk)" "บาก็อง (Bagong)" ด้วยรูปลักษณ์ที่แปลกตา พ่อลูกเลยถูกเรียกว่า "ปูโนกาวัน (Punokawan)" แปลว่าตัวตลกทั้งสี่ แต่กระนั้นเซมาร์และลูกๆกลับเปี่ยมไปด้วยอัจฉริยภาพและความดี
    .
    .
    .
    มหาราเดีย ลาวาน่า (Maharadia Lawana) หรือ มหาราชาราวัณ เล่าเรื่องของ "ลาวานา" แห่งเกาะปูลู นาการา (Pulu Nagaraได้ลักพาตัว "ตุวัน ปอเตร มาลาโน ติไฮอา (Tuwan Potre Malano Tihaia)" ทำให้ "ราเดีย มันกันดิรี (Radia Mangadiri)" และ "ราเดีย มันกาวา (Radia Mangawarna)" ออกติดตามจนไปรวมตี้กับ "ลักษมานา (Laksmana)" ชิงตัวมาลาโนกลับคืนมา

    ตอนจบของเรื่องลงเอยที่มันกันดิรีได้ชายากลับมา ลักษมานากลายเป็นมนุษย์ และลาวานากลับตัวกลับใจเป็นสุลต่านที่ปกครองเมืองอย่างเป็นธรรม
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×