ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #208 : 5 มหรสพหลวง

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 388
      11
      2 ก.ค. 62

    มหรสพที่จัดแสดงในงานพระราชพิธีต่างๆ ตั้งแต่สมัยอยุธยา ธนบุรี จนถึงรัตนโกสินทร์ มีตั้งแต่การแสดงของราษฎรที่เกณฑ์หรือถูกเชิญให้มาร่วมแสดง เช่น หนังใหญ่ โขน ระบำ ละครนอก ละครใน ละครชาตรี ประเลง หุ่นกระบอก กระบี่กระบอง หกคะเมน ไต่ลวด นอนดาบ รำแพน


    การแสดงของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในพระนคร เช่น ละครเขมร มังกรจีน งิ้วจีน งิ้วญวน หุ่นจีน หุ่นญวน หุ่นลาว มอญรำ ชวารำ ญวนหก ญวนรำโคม ตลอดจนการบรรเลงวงดนตรี


    ส่วนมหรสพที่จัดแสดงของหลวง เรียกว่า การละเล่นมหรสพหลวง เป็นการแสดงที่เล่นเฉพาะในพระราชพิธีหลวงเท่านั้น ผู้เล่นเป็นชายล้วน มีครั้งเดียวในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี 2415 โปรดให้ผู้หญิง คือ นางเถ้าแก่เล่นแทนชาย ในงานโสกันต์พระเจ้าน้องยาเธอและพระเจ้าน้องนางเธอ 5 พระองค์ มีปรากฏในพระราชนิพนธ์โคลงดั้นเรื่องโสกันต์


    และจากหลักฐานตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง การละเล่นมหรสพหลวง มี 5 ชนิด ได้แก่
    .
    .
    .
    ระเบง


    ระเบง ป็นการเล่าถึงเหล่ากษัตริย์ร้อยเอ็ดเจ็ดพระนครจะเดินทางไปที่เขาไกรลาส 

    ระหว่างทางก็ชมนกชมไม้ไปตามสเต็ปจนพบกับพระกาล

    คิงเหล่านั้นไม่รู้จักพระกาลก็จะไล่ พระกาลจึงสาปให้สลบ ต่อมาถอนคำสาปให้คิงเหล่านั้นฟื้น แล้วบอกให้กลับเมือง เหล่ากษัตริย์ก็เชื่อฟังเดินทางกลับเมืองแต่โดยดี

    การละเล่นใช้ฆ้อง 3 ใบเถา เรียกว่า ฆ้องระเบง ตีรับท้ายคำร้องทุก ๆ วรรค โดยตีลูกเสียงสูงไปหาต่ำ จากต่ำไปหาสูง ผู้เล่นที่เป็นต้นเสียงจะร้องนำ ผู้เล่นทั้งหมดจะร้องรับพร้อม ๆ กัน  และทำท่าประกอบไปด้วย บทร้องขึ้นต้นทุกวรรคว่า “โอละพ่อ” บรรยายกิริยาของกษัตริย์ที่จะเดินทางไปเขาไกรลาสและพบพระกาลกลางทาง
    .
    .
    .
    โมงครุ่ม 



    โมงครุ่ม เป็นการละเล่นที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อีหลัดถัดทา 

    การแสดงจะแบ่งผู้แสดงออกเป็นกลุ่มๆละ 4 คน กลุ่มหนึ่งจะมีกลองโมงครุ่ม ผู้เล่นยืนใกล้กับกลองข้างละ 2 คน แล้วมีคนคอยตีโหม่ง 1 คน

    คนตีโหม่งจะเป็นคนบอกท่าให้คนรำ เมื่อผู้เล่นพร้อมแล้ว คนตีจึงร้องว่า “อีหลัดถัดทา” จากนั้นตีโหม่งสองที ผู้เล่นก็จะยักเอวซ้ายทีขวาที พร้อมร้องว่า “ถัดถัดท่า ถัดท่าท่าถัด” 

    จนคนตีโหม่งตีรัวสัญญาณให้เปลี่ยนท่า ร้องบอกว่า “โมงครุ่ม” พร้อมตีโหม่งสองที ผู้เล่นจะใช้ไม้ตีหน้ากลองซ้ายที ขวาที ผู้ตีโหม่งตีรัวสัญญาณให้ผู้เล่นหยุด แล้วบอกท่าใหม่
    .
    .
    .
    กุลาตีไม้ 



    กุลาตีไม้ ในสมัยโบราณจะเล่นคู่กับโมงครุ่ม

    ผู้เล่นจะแบ่งเป็นกลุ่ม กี่กลุ่มก็ได้ตามความเหมาะสม กลุ่มหนึ่งต้องมีจำนวนคู่ นั่งคุกเข่าหันหน้าเข้าหากัน ล้อมเป็นวงกลม วางไม้กำพตไว้ด้านหน้า 

    จากนั้นก็เริ่มด้วยการร้องแบบตบมือ แล้วหยิบไม้กำพตมาตีเป็นจังหวะ แล้วหันไปตีกับคนซ้ายและขวา แล้วลุกขึ้นยืนตีกันเป็นคู่ๆ ทำซ้ำๆ เรื่อยๆ บทร้องประกอบมีว่า

    ศักดานุภาพล้ำ            แดนไตร
    สิทธิครูมอบให้            จึงแจ้ง
    ฤทธาเชี่ยวชาญชัย        เหตุใคร นาพ่อ
    พระเดชพระคุณปกเกล้า   ไพร่ฟ้าอยู่เย็น
    .
    .
    .
    แทงวิสัย 



    แทงวิสัย เป็นการแสดงรำอาวุธของผู้แสดง 2 คน ใช้เวลาไม่นานเพียงชั่วแห่ขบวนโสกันต์

    การแต่งกายของผู้เล่นจะคล้ายตัวเสี้ยวกาง ศีรษะสวมเทริดมือถือหอกหรือทวน

    ผู้เล่นจะใช้ปลายอาวุธแตะกระทบกันข้างบนบ้างข้างล่างบ้าง เต้นเวียนไปเวียนมา อย่างเดียวกับการสู้รบในการแสดงงิ้วของจีน แต่เป๋นไปตามทำนองของจังหวะของวงปี่พาทย์ไทยแทน
    .
    .
    .
    กระอั้วแทงควาย



    กระอั้วแทงควาย เป็นการละเล่นของทวาย 

    คำว่า กระอั้ว เป็นชื่อสามีของนางกะแอ

    การละเล่นจะเน้นไปทางความสนุกสนานชวนขบขันมากกว่าอย่างอื่น เล่าเรื่องการล่าควาย ผู้เล่นเป็นนายกระอั้ว จะถือหอกใหญ่ มีนางกระแอเดินตามด้วยท่าทางตุ้งติ้ง พอพบควายก็ร้องหวีดว้าย เมื่อควายทำท่าไล่ขวิด ผัวก็เงื้อหอกแทง ผลัดกันหนีผลัดกันไล่ไปเรื่อยๆ คนดูก็จะเฮฮาและแตกตื่นตกใจบ้างในตอนที่ควายวิ่งหนีมาทางคนดู
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×