ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #185 : สมาคมวรรณคดี

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 350
      8
      2 ก.ค. 62

    หมายเหตุ สมาคมวรรณคดีในตอนนี้ ไม่ใช่ อันเดียวกับวรรนคดีสมาคมในตอนที่ 166 นะ


    สมาคมวรรณคดี (Literary Association) เป็นดำริของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงสังเกตเห็นว่ามีผู้สนใจในการแต่งหนังสือมากขึ้น แต่ผู้แต่งหนังสือเหล่านั้นขาดที่ปรึกษาในด้านภาษาและการวินิจฉัยเนื้อหาของเรื่องที่แต่ง


    จึงได้ปรึกษากับกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส) จัดตั้งสโมสรที่เป็นสื่อกลางเรียกว่า "สโมสรนักนิพนธ์" แล้วได้ทรงเชิญบุคคลที่มีความรู้และรักในเรื่องประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปวรรณคดีของไทยมาร่วมสังสรรค์เสวนากัน โดยได้ประชุมกันครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2474 ที่ราชบัณฑิตยสภา


    ต่อมา ในการประชุมครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2474 ที่ประชุมได้ลงมติให้เรียกว่า "สมาคมวรรณคดี"


    ที่สมาคมวรรณคดีนั้น เป็นเสมือนที่แลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ วรรณคดีและศิลปวัฒนธรรมจากคนหนึ่งคนไปสู่อีกหลายๆคน ถ้าทรงเห็นว่าใครเหมาะสมกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ให้ไปค้นคว้าแต่งเป็นเรื่องนำมาอ่านให้ที่ประชุมฟัง เมื่อผ่านการอภิปรายแล้ว ก็รวบรวมเรื่องไปตีพิมพ์ในหนังสือบันทึกของสมาคมวรรณคดี กำหนดออกเดือนละครั้ง ซึ่งออกฉบับแรกเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2474 เพื่อเผยแพร่แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป


    กรมพระดำรงก็ทรงเตรียมจะร่างข้อบังคับตั้งสมาคมวรรณคดีขึ้นเป็นทางการ แต่แล้ววันที่ 24 มิถุนายน 2475 ก็เกิดการเปลื่ยนแปลงการปกครอง (หรือที่เรียกกัยว่า การอภิวัฒน์สยาม) พระดำรินี้จึงเป็นอันต้องเลิกราไป


    ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง กรมพระดำรงได้รับความกระทบกระเทือนพระทัย และยังทรงถูกตัดทอนงบใช้จ่ายภายในวัง ทำให้ทรงประชวร จึงทรงตัดสินพระทัยไปประทับยังเมืองปีนังเพื่อความสงบและหลีกพ้นปัญหาการเมือง 


    ที่ปีนังนี้เองได้ก่อเกิดวรรณกรรมชิ้นสำคัญขึ้นชิ้นหนึ่ง นั่นคือ "สาส์นสมเด็จ" เป็นลายพระหัตถ์โต้ตอบระหว่างพระองค์และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ นอกจากทั้งสองพระองค์ทรงเป็น "พระปิยมิตร" กันแล้ว ยังทรงเป็นพระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ร่วมกันด้วย
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×