ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #158 : 20 ตัวเอกขวัญใจไทยแลนด์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.37K
      29
      27 ม.ค. 62

    หมายเหตุ -- บทความนี้จัดทำขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 
    หมายเหตุที่ 2 -- บทความนี้นับแค่เรื่องที่ออกฉายแล้วเท่านั้น เรื่องที่กำลังสร้าง หรือยังไม่ฉาย "ไม่นับ" นะจ๊ะ
    หมายเหตุที่ 3 -- นี้เป็นไม่ใช่การจัดอันดับนะจ๊ะ เป็นแค่เล่าเรื่องผ่าน timeline เฉยๆ


    #วรรณคดีTOPTEN วันนี้ เราจะขอแหวกแนวกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา โดยวันนี้เราจะนำเสนอ 20 อันดับตัวเอ้กตัวเอกที่ได้รับความนิยมตลอดกาลจากคนไทย จนกลายมาเป็น "ขวัญใจไทยแลนด์"

    ซึ่งเราก็แบ่งเป็นตัวละครที่มาจากในวรรณคดี 10 ตัว บวกกับตัวละครที่มาจากวรรณกรรมยอดนิยมเข้าไปอีก 10 ตัว กลายเป็น 20 ตัวพอดิบพอดี


    ย้ำอีกที นี้ไม่ใช่การจัดอันดับนะจ๊ะ  ถ้าพร้อมกันแล้ว เราจะไปชมพร้อมกันเลย เย้ๆๆ
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    จากวรรณคดีสุดชิค

    1. พระราม (รามเกียรติ์) 

    พ่อรูปหล่อตัวเขียวคนงาม (ทั้งที่ต้นฉบับเป็นสีฟ้า) ขวัญใจคนไทยและเทศ หนึ่งในสี่นักร้องสุดฮอตแห่งวงอโยธยาบอยแบนด์ เรื่องราวของพี่แกนั้นสุดแสนจะโด่งดังจนเราอาจจะลืมไปเลยว่านางสีดานั้นเป็นนางเอก

    พระรามปรากฏอยู่ตามสื่อต่างๆอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็นหนัง ซีรีย์ การ์ตูน อนิเมชั่น การ์ดเกม เพลง หรือแม้กระทั่งชื่อถนนก็ตาม (หนังอินเดียชอบทำเรื่องรามสีดาบ่อยซะเหลือเกิน ถ้าให้เทียบเฉลี่ยแล้วน่าจะพอๆกับแม่นากบ้านเรานี้แหละ)
    .
    .
    .
    2. เอื้อย (ปลาบู่ทอง) 

    ซินเดอเรลล่าแห่งสยามประเทศ นางเอกเจ้าน้ำตาที่ชวนให้เรารู้สึกสงสารนางจับใจ และที่สำคัญนางยังเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ในเรื่องการปล่อยปลาบู่สะเดาะเคราะห์อีกด้วย 

    ปลาบู่ทองถูกนำไปสร้างเป็นหนัง 5 ครั้ง และ
    ละคร 2 ครั้ง
    .
    .
    .
    3. จันทโครพ (จันทโครพ)

    พระเอกสุดหล่อของเรา ที่อาจารย์ย้ำนักย้ำหนาว่าอย่าเปิดผอบกลางทาง แต่สุดท้าย!! พี่จันก็เจือกเปิดจนกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตอิรุงตุงนัง เรื่องนี้สอนให้เรารู้ว่า ตอนเล็กๆไม่เรียนหนังสือ โตขึ้นมาต้องขัดรองเท้า

    จันทรโครพปรากฏตามจอเงินและจอแก้วหลายครั้ง และที่สำคัญจะขาดไปไม่ได้... ลิเก
    .
    .
    .
    4. นางสิบสอง / พระรถ เมรี พระสุธน มโนราห์ (the trilogy)

    จากเกิร์ลกรุ๊ปจากกุตารนคร เอฟซี สู่เรื่องราวของนางยักษ์วันละกั๊กวันละแบน จนถึงเรื่องราวของแม่นางกินรีสุดแสบ นี้แลคือมหากาพย์หนังไตรภาคที่ยาวนานประจำโลกวรรณคดี

    นางสิบสอง เมรี มโนราห์ the trilogy ถูกนำไปสร้างเป็นหนังรวมทั้งหมด 8 ครั้ง
    .
    .
    .
    5. ศรีธนญชัย (ศรีธนญชัย) 

    ถ้าหากอิคคิวซังเป็นตัวแทนแห่งปัญญาคุณธรรม (เรียกเป็นหนังจีนเลยสาส) ไอ้ศรีนี่คงจะเป็นตัวแทนแห่งปัญญาความจังไรเป็นแน่ ก็ดูจากวีรเวรที่พี่แกทำแต่ล่ะอย่างเซ่! นี่แหละหนาที่เขาว่าไว้ ศรีธนญชัยนั้นมีปัญญาระดับโคนัน แต่ความจัญไรนั้นระดับเดดพูล

    ศรีธนญชัยถูกเป็นไปสร้างหนังและละครอยู่หลายรอบ
    .
    .
    .
    6. ขุนแผน - วันทอง (ขุนช้างขุนแผน)

    เรื่องราวรักวุ่นวายของยัยสองใจกับนายไสยเวท (กูตั้งชื่อซะเป็นนิยายแจ่มใสเลยแฮ่ะ) ที่ ft. กับพี่กอล์ฟ ฟักกลิ้งฮีโร่ (ขุนช้างไง ผ่ามผ่าม) ที่ทำให้เราเกลียดผู้ชายมากขึ้นเชียวนะตัวเธอ

    ขุนช้างขุนแผนถูกนำไปสร้างเป็นละครเสภาอยู่หลายครั้ง รวมไปถึงสร้างเป็นละคร หนัง รวมไปถึงการ์ตูนอยู่หลายรอบ
    .
    .
    .
    7. ไกรทอง (ไกรทอง)

    พ่อหมอปราบจระเข้แห่งเมืองพิจิตร ผู้เป็นต้นตำรับของคำว่า yes เข้ บุคคลที่แฟนสมัยนี้เค้าเอออวยให้จิ้นกับพญาจระเข้หล่อล่ำกล้ามใหญ่ไข่ตุงแทน

    ไกรทองถูกนำไปสร้างเป็นหนัง 5 ครั้ง และ
    ละคร 2 ครั้ง
    .
    .
    .
    8. พระสังข์ - รจนา (สังข์ทอง)

    พ่อสังข์ทองรูปงาม และแม่สาวรจนาเสี่ยงมวงมาลัย พระนางยอดนิยมที่ไม่ว่าใครใครก็ต่างรู้จัก (รู้จักแต่เจ้าเงาะเว้ย พระสังข์นี่ใครกันวะ!!) พระเอกผู้เป็นต้นตำหรับให้สาวๆทั้งหลายพากันปลาบปลื้มไปกับความรักเดียวใจเดียวของฮี

    สังข์ทองเป็นเรื่องยอดนิยมสุดฮิตที่ไม่ว่าใครใครก็ต้องรู้จักกัน
    .
    .
    .
    9. พระอภัยมณี (พระอภัยมณี)

    ศิลปินเดี่ยวผู้เป่าปี่อยู่ริมทะเล จนกลายมาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ในการท่องเที่ยวจังหวัดระยอง (ทั้งๆที่สุนทรภู่ไม่ได้เป็นคนระยองอะไรเล้ย) 

    ศิลปินอินดี้ผู้ไม่สนใจอะไรเลยนอกจากเป่าปี่และหลีสาวไปวันๆ นี่ถ้าปี่แกหาย เราคงต้องถวายบ้องให้ท่านไปเพิ่มอรรถรสในการผจญภัยแหงๆ

    พระอภัยมณีถูกนำไปสร้างเป็นหนัง 3 ครั้ง และ
    ละคร 2 ครั้ง 
    .
    .
    .
    10. แก้วหน้าม้า (แก้วหน้าม้า)

    แม่สาวสุดก๋ากั๋นที่ทำให้รู้ว่าหน้าตาไม่ได้เป็นอุปสรรคใดใดในการมัดใจชายที่คุณรัก ยกเว้นแต่คุณมีฤษีที่ช่วยศัลกรรมใบหน้าได้ล่ะนะ 5555

    แก้วหน้าม้าถูกนำไปสร้างเป็นละคร 4 ครั้ง
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    จากวรรณกรรมสุดฮิต

    11. นางนาก (นางนากพระโขนง) พ.ศ. 2454

    ผีสาวตายทั้งกลม (ดีที่ไม่ตายทั้งกระทรวง) ที่ยืนรอคอยคนรักอยู่ที่ท่าน้ำ ซึ่งแม่นากไม่ว่าทำออกมาเวอร์ชั่นไหน ก็มักจะมาพร้อมมุกคลาสสิกอย่างมุกกล่อมลูกที่ท่าน้ำ มุกพี่มากขา! มุกเก็บมะนาว หรือแม้มุกแต่ห้อยหัวโตงเตงในวัดให้เห็นจนเป็นเอกลักษณ์อยู่เสมอ

    แม่นากถูกทำเป็นหนัง 24 ครั้ง 
    ละคร 8 ครั้ง 
    ละครวิทยุ 10 ครั้ง และ
    ละครเวที 4 ครั้ง
    .
    .
    .
    12. จะเด็ด (ผู้ชนะสิบทิศ) พ.ศ. 2475 

    จากแม่ทัพหนุ่มยอดนักรักคารมดีแห่งอาณาจักรพุกามที่ดูๆไปก็คล้ายๆกับขุนแผนบ้านเรายังไงไม่รู้ กลายมาเป็นหนึ่งในสามมหาราชาของพม่า พระเจ้าบุเรงนองกะยอดินนรธา 

    ผู้ชนะสิบทิศถูกนำมาทำเป็นหนังไตรภาคในระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2509 - พ.ศ. 2510 นำแสดงโดยไชยา สุริยัน นอกจากนี้ ยังถูกนำมาสร้างเป็นละคร 7 ครั้ง และ 
    ละครวิทยุ 3 ครั้ง
    .
    .
    .
    13. ขวัญ - เรียม (แผลเก่า) พ.ศ. 2479

    โรมิโอกับจูเลียตสไตล์ไทยแลนด์ โศกนาฏกรรมตำนานรักที่ระบือไปทั่วทั้งคลองแสบแสน จนถึงเพลงสัญญาหน้าฝนของคาราบาว

    แผลเก่าถูกนำมาสร้างเป็นหนัง 5 ครั้ง และ 
    ละคร 3 ครั้ง
    .
    .
    .
    14. พล นิกร กิมหงวน (สามเกลอ) พ.ศ. 2482

    ไอ้สามหนุ่มสุดเกรียนที่มักจะมีเรื่องราวสุดปั่นป่วนอยู่เป็นประจำ แถมยังมีพระยาปัจจนึก กับ ดร.ดิเรกมาร่วมด้วยช่วยกันสร้างความวางป่วงเข้าไปอีก

    สามเกลอถูกนำมาสร้างเป็นหนัง 3 ครั้ง
    ละคร 6 ครั้ง และ
    ละครเวที 1 ครั้ง
    .
    .
    .
    15. พจมาน (บ้านทรายทอง) พ.ศ. 2493

    สาวน้อยถักผมเปียที่ก้าวเข้ามาสู่บ้านทรายทองของพวกไฮโซต้นตำรับละครน้ำเน่า ซึ่งซีต้องเจอกับการกดขี่สารพัดจากหม่อมแม่และหญิงเล็ก บลาๆๆๆ แต่สุดท้ายก็... เหมือนซินเดอเรลล่าล่ะน่า 

    บ้านทรายทองถูกนำมาสร้างเป็นหนัง 2 ครั้ง
    ละคร 6 ครั้ง และ
    ละครเวที 4 ครั้ง
    .
    .
    .
    16. แม่พลอย (สี่แผ่นดิน) พ.ศ. 2494

    หญิงสาวชาววังกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนผ่านเรื่องราวและประวัติศาสตร์ต่างๆนานาตั้งแต่แผ่นดินของรัชกาลที่ ๕ จนกระทั่งสิ้นสุดรัชกาลที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    สี่แผ่นดินถูกนำมาสร้างเป็นละคร 5 ครั้ง 
    ละครเวที 1 ครั้ง และ
    ละครวิทยุ 2 ครั้ง
    .
    .
    .
    17. อินทรีแดง (อินทรีแดง) พ.ศ. 2498

    ฮีโร่สายเลือดไทย ชื่อจริงของเค้าคือโรม ฤทธิไกร จากปลายปากกาของเศก ดุสิต อินทรีแดงคนแรกและคนที่ได้นิยมสูงสุดคงหนีไม่พ้น มิตร ชัยบัญชา ที่ขนาดเศก ดุสิตยังเอ่ยปากบอกกับเขาว่า  "คุณคืออินทรีแดงของผม"

    อินทรีแดงถูกนำมาสร้างเป็นหนังทั้งหมด 11 ครั้ง 
    .
    .
    .
    18. โกโบริ - อังศุมาลิน (คู่กรรม) พ.ศ. 2508 

    เรื่งราวความรักของทหารญี่ปุ่นกับหญิงสาวชาวไทยในสมัยสงครามโลกที่ 2 พร้อมด้วยมีมยอดนิยมอย่างวิญญาณฉันรออยู่ที่ทางช้างเผือก จนกระทั่งเจ็ดประบาญ ๒ นำไปขยี้ในหนัง

    คู่กรรมถูกนำมาสร้างเป็นหนัง 4 ครั้ง
    ละคร 6 ครั้ง และ
    ละครเวที 1 ครั้ง
    .
    .
    .
    19. ไอ้คล้าว - ทองกวาว (มนต์รักลูกทุ่ง) พ.ศ. 2513

    ตำนานรักของสองหนุ่มสาวที่เต็มไปด้วยเสน่ห์กลิ่นอายของความเป็นลูกทุ่ง ต้นตำรับพ่อตาขาโหดถือปืนลูกซองที่พร้อมจะสอยลูกเขยทุกเม็ด รวมไปถึงบทเพลงดังต่างๆที่คุ้นหูกันดีถึง 

    มนต์รักลูกทุ่งถูกนำมาสร้างเป็นหนัง 4 ครั้ง และ
    ละคร 3 ครั้ง
    .
    .
    .
    20. บุญชู (บุญชูผู้น่ารัก) พ.ศ. 2531 

    (ต้องพิมพ์แบบเหน่อๆ เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับชม) เด็กหนุ่มจากสุพรรณที่มีเรื่องราวสุดวุ่นวายตั้งแต่มาเรียนยังกรุงเทพไปจนถึงการเป็นพ่อคน พร้อมด้วยก๊วนเพื่อนสุดรั่วอย่าง โมลี ไวยากรณ์ ประพันธ์ นรา คำมูล เฉื่อย หยอย และไอ้พี่ปองปากหมา 

    บุญชูถูกนำมาสร้างเป็นหนังทั้งหมด 10 ภาค
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×