ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #152 : นกการเวก : ปักษาแห่งสวรรค์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 942
      10
      2 ก.ค. 62

    กการเวก หรือ ปักษาวายุภักษ์ (Kalavinka) เป็นนกในเทพปกรณัมของตะวันออก ปรากฏในป่าหิมพานต์ ในไตรภูมิพระร่วงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า นกกรวิค 


    เป็นนกที่บินได้สูงเหนือเมฆ มีเสียงไพเราะยิ่งนัก สัตว์ใดเมื่อได้ยินแล้วจะต้องหยุดฟัง ในคัมภีร์ปัญจสุทนีกล่าวว่า นกการเวกกินน้ำมะม่วงสุกเป็นอาหาร ตามไตรภูมิพระร่วงนั้นกล่าวว่า ขนของมันเป็นที่ต้องการเพราะกลายเป็นทองคำได้


    ผู้ที่ต้องการขนนกการเวกจะต้องทำร้านไว้บนยอดไม้ เอาขันใส่น้ำไปวางไว้ นกการเวกจะมาอาบน้ำในขันแล้วสลัดขนไว้ให้ ขนนั้นเก็บไว้ก็จะกลายเป็นทอง


    พระยาอนุมานราชธนได้อธิบายถึงลักษณะว่า "ว่าเป็นนกที่มีหัว มือ และเท้าเหมือนครุฑ ปีกอยู่ที่สองข้างตะโพก ขนหางยาวอย่างขนนกยูง ลักษณะขนหางคล้ายใบมะขาม แต่บางแห่งวาดเป็นนกคอยาว หัวเหมือนนกกระทุง ขนหางเป็นพวงเหมือนไก่ ขายาวเหมือนนกกระเรียน..."


    นอกจากนี้ นกการเวกยังเป็นพาหนะของนางมณีเมฆขลา นางฟ้าที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาท้องทะเลและมหาสมุทรอีกด้วย ดังที่ปรากฎในรำพันพิลาปของท่านสุนทรภู่ว่า


    สดับคำฉ่ำชื่นจะยื่นแก้ว
    แล้วคลาดแคล้วคลับคล้ายเคลิ้มหายเสียง
    ทรงปักษาการเวกแฝงเมฆเมียง
    จึ่งหมายเสี่ยงวาสนาอุตส่าห์คอย


    ในพระธรรมนูญใช้ตรากล่าวว่าตราปักษาวายุภักษ์ เป็นตราของพระยาราชภักดีฯ เจ้ากรมพระจำนวน ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับภาษีอากร ต่อมาเมื่อโปรดให้ตั้งกระทรวงพระคลังฯและใช้ตราพระสุริยมณฑลแล้ว ตราปักษาวายุภักษ์ก็เลิกใช้ แต่นำเอามาใช้เป็นเครื่องหมายกระทรวงการคลัง



    มเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ตรัสอธิบายไว้ดังนี้ " รูปนกวายุภักษ์ในตรานั้นก็เป็นนกแบบสัตว์หิมพานต์ เหมือนกับนกอินทรีย์ ฉะนั้นไม่ทรงเชื่อว่าถูก "


    ต่อมาก็ทรงค้นหาพบใน หมายท้ายหนังสือพระราชวิจารณ์จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนริทรเทวีว่า พระมาลาทุกชนิดที่ปักขนนก ย่อมใช้ขนนกการเวกอย่างเดียวเป็นปกติ จึงทรงดำริปรับนกวายุภักษ์กับนกการเวกเข้ากัน



    ครั้นหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  ได้มีรับสั่งไปที่ที่ส่งขนนกชนิดนั้นเข้ามาปักพระมาลา ให้ส่งตัวนกเข้ามาถวาย จึงได้ตัวจริงเป็นนกยัดไส้มีขนติดบริบูรณ์เข้ามา


    เมื่อได้นกยัดไส้เข้ามาแล้วจึงทรงจัดเอาขึ้นเกาะคอนมีด้าม ให้เด็กถือนำพระยานุมาศในงานสมเด็จเจ้าฟ้าโสกันต์ ตามที่ได้พยานมาว่าเป็นนกอยู่ในแผ่นดิน ไม่ใช่นกอยู่ในฟ้าเช่นนั้น


    นกที่ว่านั้นก็คือ Bird  of  Paradise หรือ ปักษาสวรรค์ นั้นเอง



    ปักษาสวรรค์จัดอยู่ในวงศ์ Paradisaeidae มีจำนวนทั้งหมด 43 ชนิด ลักษณะลำตัวค่อนข้างอ้วนป้อม มีขนาดเท่านกเอี้ยงจนถึงอีกา ความยาวลำตัวรวมทั้งหางประมาณ 12.5-100 ซม 


    อาศัยอยู่ในป่าชื้นเขตร้อนในที่ราบต่ำจนถึงยอดเขา พบได้ที่ เกาะนิวกินี (New Guinea) หมู่เกาะโมลุกกัส (Moluccas Islands) และบริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย


    ในอดีต ปักษาสวรรค์ถูกล่าเพื่อเอาขนที่สวยงามไปใช้เป็นเครื่องประดับหมวกของผู้นิยมในทวีปยุโรป ปัจจุบันได้รับการคุ้มครองอย่างเข้มงวด ยกเว้นการล่าด้วยอาวุธโบราณของชาวพื้นเมือง เพื่อเอาขนไปประดับร่างกายในการทำพิธีกรรมต่างๆ เท่านั้น


    มีเรื่องเล่าว่า เฟอร์ดินานด์ แมกเจลแลน (Ferdinand Magellan) เคยได้ซากนกปักษาสวรรค์มาจากสุลต่านแห่งเกาะ Batjan หรือที่ทุกวันนี้เรียกเกาะ Labuha ซึ่งพระองค์ทรงจับนกนี้ได้จากเกาะนิวกินี
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×