ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #147 : ท้าวโลกบาลทั้ง 8

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.42K
      18
      2 ก.ค. 62

    คำว่า โลกบาล (Lokapala) นั้นแปลว่า ผู้รักษาโลก ตามจักรวาลวิทยาในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งจะแบ่งผู้รักษาโลกออกเป็น 8 ทิศดังนี้


    ทิศบูรพา (ตะวันออก) : อินทร์ (Indra)
    ประมุขแห่งทวยเทพ ผู้ปกครองสวรรค์และเป็นผู้อภิบาลโลก จ้าวแห่งสภาพภูมิอากาศ มีผิวกายสีเขียว ถือวชิราวุธเป็นอาวุธ ทรงช้างเอราวัณเป็นพาหนะ 

    ในทางพระพุทธศาสนาว่าทิศนี้มี พระโมคคัลลานะ (Maudgalyayana) เป็นผู้ดูแลรักษา


    ทิศประจิม (ตะวันตก) : วรุณ (Varuna)
    เทพเจ้าแห่งฝน น้ำและมหาสมุทร ในฤคเวทพระวรุณเคยเป็นเทพที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ก่อนจะถูกแทนที่ตำแหน่งด้วยพระอินทร์ มีผิวกายสีขาวผ่อง ถือบ่วงบาศ ทรงมรกเป็นพาหนะ 

    ในทางพระพุทธศาสนาว่าทิศนี้มี พระโกณฑัญญะ (Kaundinyaเป็นผู้ดูแลรักษา


    ทิศทักษิณ (ใต้) : ยม (Yama)
    จ้าวแห่งนรก ผู้ปกครองยมโลก มีผิวกายสีน้ำเงิน ถือบ่วงบาศกับไม้เท้ายมทัณฑ์ ทรงกระบือเป็นพาหนะ 

    ในทางพระพุทธศาสนาว่าทิศนี้มี พระสารีบุตร (Sariputtaเป็นผู้ดูแลรักษา


    ทิศอุดร (เหนือ) : กุเวร (Kubera)
    จ้าวแห่งทรัพย์ ผู้ปกครองยักษ์ ภูติผีปีศาจ คุหยกะ (ในรามเกียรติ์เรียกว่า ท้าวกุเปรัน) มีรูปร่างพิการผิวขาวมีฟัน 8 ซี่ และมีสามขา ถือกระบอง ทรงมนุษย์เป็นพาหนะ (ที่ปราสาทพนมรุ้งบอกว่าทรงคชสีห์) 

    ในทางพระพุทธศาสนาว่าทิศนี้มี พระอานนท์ (Anandaเป็นผู้ดูแลรักษา


    เทพสี่ทิศนี้ เรียกขานกันว่า ทิศปาลก (ทิ - ศะ - ปา - ลก) 


    ทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) : อีสาน (Ishana)
    ก็พระอิศวรนี้แล ผิวกายสีขาว ถือตรีศูล ทรงสังวาลย์นาค ทรงโคเป็นพาหนะ 

    ในทางพระพุทธศาสนาว่าทิศนี้มี พระราหุล (Rahulaเป็นผู้ดูแลรักษาทิศนี้


    ทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) : อัคนี (Agni)
    เทพเจ้าแห่งไฟ มีความสำคัญรองลงมาจากพระอินทร์ มี 2 หน้า 7 กรและ 7 ลิ้นที่ลุกเป็นไฟ มีผิวกายสีแดง ถือหอก ทรงระมาด (แรด) หรือแกะเป็นพาหนะ 

    ในทางพระพุทธศาสนาว่าทิศนี้มี พระมหากัสสปะ (Mahakasyapaเป็นผู้ดูแลรักษาทิศนี้


    ทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) : ไนรฤติ (Nirrti)
    เป็นเทวีแห่งความซวย ความยากจน ความเจ็บป่วย และการทุจริต ในคัมภีร์ไตรตติริยะ พราหมณะ ระบุว่าพระนางมีกายสีดำ สวมอาภรณ์สีดำ มีผิวกายสีขาบหรือคราม ทรงภูษาเหลือง ถือดาบเป็นอาวุธ ทรงรากษสเป็นพาหนะ 

    ในทางพระพุทธศาสนาว่าทิศนี้มี พระอุบาลี (Upaliเป็นผู้ดูแลรักษาทิศนี้


    ทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) : วายุ (Vayu)
    หรือ พระพาย เจ้าแห่งลม เป็นบุตรของนางอทิติ (มารดาของเหล่าอสูร) ผิวกายสีขาว ถือธง ทรงกวางเป็นพาหนะ 

    ในทางพระพุทธศาสนาว่าทิศนี้มี พระมหากัจจายนะ (Katyayana - พระสังกัจจายน์) เป็นผู้ดูแลรักษาทิศนี้
    .
    .
    .
    .
    ส่วนคัมภีร์ฝ่ายพระพุทธศาสนา ได้กําหนดเทวดารักษาทิศไว้เพียง 4 ทิศ เรียกว่าจตุโลกบาล หรือจตุมหาราช มีวิมานอยู่ประจําบนสวรรค์ชั้นที่ 1 ชั้นจาตุมหาราชิกา ได้แก่ 

    ท้าวธตรัฐ (Dhrtarastra) เป็นใหญ่ในบูรพา เป็นอธิบดีของพวกคนธรรพ์ ,
    ท้าววิรุฬหก (Virudhakaเป็นใหญ่ในทิศทักษิณ เป็นอธิบดีของพวกกุมภัณฑ์ เทวดา ,
    ท้าววิรูปักษ์ (Virupaksaเป็นใหญ่ในทิศประจิม เป็นอธิบดีของพวกนาค และ 
    ท้าวเวสสุวัณ (Vaisravanaเป็นใหญ่ในทิศอุดร เป็นอธิบดีของพวกยักษ์


    รัชกาลที่ ๖ ทรงให้ความสนพระทัย เกี่ยวกับเรื่องเทวดารักษาทิศ (โลกบาล) โดยเฉพาะคติความเชื่อที่แตกต่างกันของคัมภีร์ทั้งสองฝ่าย ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย ในพระราชหัตถเลขา เรื่อง "เทพเจ้าและสิ่งน่ารู้" มีความตอนหนึ่งว่า 


    "เมื่อพิจารณาเทียบเคียงกันเข้ากับฝ่ายไสยศาสตร์ จะเห็นได้ว่า 


    บูรพา ท้าวธตรัฐ กับพระอินทร์ พอนับว่าตรงกันได้ เพราะถ้าจะว่าพระอินทร์เป็นจอมภูติ หรือจอมคนธรรพ์ ก็พอจะใช้ได้ และนามธตรัฐ แปลว่ารองเมือง ก็พอควรเป็นชื่อพระอินทร์ได้ ,


    ทักษิณ ข้างไสยศาสตร์ว่าพระยม ในท้ายอาฏานาฏิยปริตร ว่าท้าววิรุฬหก จอมเทวดา ไม่ตรงพระยม แต่มหาสมัยสูตรว่า จอมกุมภัณฑ์ ดูตามศัพท์กุมภัณฑ์ แปลว่ามีอัณฑะเท่าหม้อ และได้ความว่า (เป็นอสูรจําพวกหนึ่ง มีพระรุทร (อิศวร) เป็นอธิบดี) ฉะนี้ ดูไขว้เขวไปใหญ่ ไม่ลงรอยกันเลยทีเดียว คราวนี้ลองตรวจศัพท์วิรุฬหกดู ได้ความว่าวิรุฬโห หรือวิรุฬหก แปลว่างอก ก็ไม่เข้าเค้าพระยมอีก จึงเป็นอันต้องลงเนื้อ เห็นว่าโลกบาลทิศนี้ ข้างพุทธศาสนา และพราหมณ์ ไม่ลงกันได้เป็นแน่เท้...


    ประจิม ข้างไสยศาสตร์ว่า เป็นทิศของพระวิรุณ ข้างพระพุทธศาสนาว่า ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค พระวิรุณเป็นเทวดา ผู้มีหน้าที่เกี่ยวแก่นํ้า เพราะฉะนั้น เอาเป็นรอยได้อีกทิศหนึ่ง ,


    อุดร เป็นทิศของท้าวกุเวร ตรงกันทั้งในพระพุทธศาสนา และไสยศาสตร์ 


    ส่วนทิศเฉียง ข้างพระพุทธศาสนาไม่ได้ออกนามโลกบาล แต่สังเกตตามนามทิศก็ตรงกัน 


    คือทิศตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่า อานียะ หมายถึงทิศของพระอัคนี ,ตะวันตกเฉียงใต้ เรียก เนรตี หมายถึงทิศของพระนิรฤดี ,ตะวันตกเฉียงเหนือเรียกว่า วายวะ คือพายัพ หมายถึงทิศของพระวายุ และตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่าอีสาน หมายถึงทิศของพระอิศาน"


    นอกจากนี้ พระบรมราชวินิจฉัยยังสันนิฐานเอาไว้ว่า โลกบาลประจําทิศอีสานคือ พระจันทร์ ในขณะที่โลกบาลประจําทิศทิศหรดีคือ พระอาทิตย์แทน


    เมื่อรวมกับทิศใหญ่กับทิศย่อยแล้วจะเป็นทิศทั้งหมด ๘ ทิศด้วยกัน ซึ่งเทพผู้รักษาทิศทั้ง ๘ ทิศนี้เรียกว่า อัฐโลกบาล  ภาพของเทพผู้รักษาทิศหรือทิศปาลกนี้มีทั้งที่เป็นภาพในงานจิตรกรรมฝาผนังและงานแกะสลัก
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×